/music/.mp3 http://www.watthaimn.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 กรรมการบริหารวัด

 บทความ

 ภาพกิจกรรม

 ร่วมบริจาคทำบุญ

 เว็บบอร์ด

 การเดินทาง

 ติดต่อเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

ศึกษาพระไตรปิฎก

ส.ค.ส.พระราชทาน

วันสำคัญทางศาสนา

เรียนธรรมศึกษาตรี

บทความน่าสนใจ

คำบูชาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

พระวินัยปิฎก

พระวินัยปิฎก
ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก

    ได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนั้น แบ่งออกเป็นวินัยปิฎก   สุตตันตปิฎก  และอภิธัมมปิฎก   โดยลำดับ   พระโบราณาจารย์ฝ่ายไทยได้ใช้วิธีย่อหัวข้อสำคัญในแต่ละปิฎก เพื่อจำง่ายเป็นอักษรย่อ ในการใช้อักษรย่อนั้น   วินัยปิฎกมี    คำ  สุตตันตปิฎก    คำ  อภิธัมมปิฎก     ดังต่อไปนี้....

                                                        วินัยปิฎก

    อักษรย่อในปิฎกอื่น ๆ ไม่มีปัญหา คงมีปัญหาเฉพาะวินัยปิฎก คือ   อา,   ปา,   ,   จุ,     อา   = อาทิกัมม์ ( การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ ) หมายเฉพาะรายการพระวินัย ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาถึงสังฆาทิเสส, ปา = ปาจิตตีย์ เป็นชื่อของอาบัติในปาฏิโมกข์ เฉพาะตั้งแต่ถัดสังฆาทิเสสลงมา ทั้งสองหัวข้อนี้เป็นการย่ออย่างจับความมากกว่าย่อตามชื่อหมวดหมู่ จึงไม่ตรงกับชื่อที่ใช้เป็นทางการในวินัยปิฎก ส่วนอีก ๓ ข้อท้ายตรงตามชื่อหมวดหมู่ ฉะนั้น ถ้าจะจัดตามชื่อ จึงควรเป็นดังนี้-

   ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์    ว่าด้วยศีลของภิกษุที่มาในปาฏิโมกข์   ( คำว่า ปาฏิโมกข์ คือศีลที่เป็นใหญ่เป็นสำคัญอันจะต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)

   ๒. ภิกขุนีวิภังค์   ว่าด้วยศีลของภิกษุณี

   ๓. มมหาวัคค์    แปลว่า วรรคใหญ่ แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๐ หมวด

   ๔. จุจุลลวัคค์    แปล   วรรคเล็ก แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๒ หมวด

    ๕. ป =   ปริวาร    หมายถึงหัวข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญญาใน ๔ เรื่องข้างต้น

   แต่ความเข้าใจของชาวอังกฤษที่ตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศอังกฤษเขาแบ่งวินัยปิฎกออกเป็น ๓ ส่วน คือ -

   ๑ . สุตตวิภังค์    หมายรวมทั้งศีลของภิกษุและภิกษุณี

   ๒. ขันธกะ    หมายรวมทั้งมหาวัคค์และจุลลวัคค์

   ๓. ปริวาร    คือหัวข้อเบ็ดเตล็ด

   ปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เกิดการผิดพลาดหรือบกพร่องในวินัยปิฎกแต่ละประการใด ต้นฉบับก็ตรงกัน เป็นแต่การเรียกชื่อหัวข้อ หรือวิธีแบ่งหัวข้อต่างกันออกไปเท่านั้น

   ในหนังสืออรรถกถาวินัย ( สมันตัปปาสาทิกาภาค ๑ หน้า ๑๗ ) พระอรรถกถาจารย์จัดหัวข้อย่อวินัยปิฎกไว้ว่า ชื่อวินัยปิฎก คือ ปาฏิโมกข์ ๒   ( ภิกขุปาฏิโมกข์ ภิกขุนีปาฏิโมกข์ )   วิภังค์ ๒ ( มหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์กับภิกขุนีวิภังค์)   ขันธกะ ๒๒ ( รวมทั้งในมหาวัคค์และจุลลวัคค์ ) และบริวาร ๑๖ เรื่องเหล่านี้คงเป็นปัญหาในการเรียกชื่อหมวดหมู่ตามเคย ถ้ารู้ความหมายแล้วจะท่องจำหัวข้อย่อ ๆ แบบไทยว่า   อา,   ปา,   ,   จุ  ก็คงได้ประโยชน์เท่ากัน อนึ่ง ท่านผู้อ่านจะเข้าใจยิ่งขึ้นเมื่ออ่านถึงภาค ๓ อันว่าด้วยความย่อแห่งพระไตรปิฎก เพราะจะได้เห็นหัวข้อที่แบ่งออกไปเป็นหมวดหมู่รอง ๆ ลงไปหมวดใหญ่อย่างชัดเจน

เล่มที่ ๑ ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)

              ได้กล่าวไว้แล้วในภาค ๑ ว่าด้วยความรู้เรื่องพระไตรปิฎก ว่าวินัยปิฎกนั้น ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุและภิกษุณี. เมื่อจะกล่าวโดยเรียงลำดับเล่ม วินัยปิฎก ๘ เล่มนั้น เล่ม ๑ เล่ม ๒ มีชื่อว่ามหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เล่ม ๓ มีชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี เล่ม ๔ เล่ม ๕ มีชื่อว่ามหาวัคค์ แปลว่า วรรคใหญ่ หรือพวกใหญ่ คือว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสงฆ์ ที่เป็นเรื่องสำคัญ ๆ และต้องทำเสมอ เช่น เรื่องจีวร, เรื่องอุโบสถ, ปวารณา, การจำพรรษา. เล่ม ๖ เล่ม ๗ มีชื่อว่า จุลลวัคค์ แปลว่า วรรคเล็ก หรือพวกเล็ก คือว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสงฆ์ที่มีความสำคัญรองลงมา จนถึงเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น เรื่องข้อวัตรต่าง ๆ เรื่องที่อยู่อาศัย เป็นต้น ส่วนเล่มสุดท้าย คือเล่มที่ ๘ มีชื่อว่าปริวาร เป็นการรวบรวมความรู้ในวินัยปิฎกทั้งเจ็ดเล่มข้างต้น จัดเป็นหมวดหมู่ให้เข้าใจง่าย. สมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ เรียกมหาวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์ รวมกันว่า สุตตวิภังค์.

              เฉพาะเล่ม ๑ มีการแบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ ให้ชื่อว่ากัณฑ์ รวมทั้งสิ้น ๗ กัณฑ์ คือ

              ๑. เวรัญชกัณฑ์ เล่าเรื่องพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา จนถึงเรื่องพระสาริบุตรของให้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา จนถึงเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา ไปยังกรุงพาราณสี (ราชธานีแห่งแคว้นกาสี) และเสด็จถึงกรุงเวสาลี (ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี) ในที่สุด.

              ๒. ปฐมปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ คือสิกขาบทที่ห้ามภิกษุเสพเมถุน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.

              ๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ตั้งแต่ราคา ๕ มาสกขึ้นไป พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และติดสินเป็นราย ๆ ไป.

              ๔. ตติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์ พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.

              ๕. จตุตถปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ห้ามมิให้ภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงวินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.

              ๖. เตรสกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นอาบัติหนักรองลงมาจากอาบัติปาราชิก เมื่อต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิดไว้ แล้วอยู่มานัตต์อีก ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงประชุมสงฆ์ ไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป ทำพิธีสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส. ทั้งสิบสามข้อนี้ ได้มีการบรรยายความเป็นมา ที่เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.

              ๗. อนิยตกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติซึ่งไม่แน่ว่าจะต้องอาบัติอะไรใน ๒-๓ ประการ สุดแต่กรณีแวดล้อมจะให้ตัดสินว่าต้องอาบัติอะไร อนิยตหรือสิกขาบทที่ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่นี้ มี ๒ สิกขาบท.

              รวมความว่า ใน มหาวิภังค์ หรือวินัยปิฎก เล่ม ๑ นี้ แสดงความเป็นมาแห่งการบัญญัติสิกขาบท ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ รวมเป็น ๑๙ ข้อ.

ขยายความ

๑. เวรัญชกัณฑ์

              เริ่มต้นด้วยเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร. พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง. เวรัญชพราหมณ์จึงเกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย. ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด. เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.

              ในสมัยนั้น เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย หาอาหารได้ยาก ถึงขนาดต้องใช้สลากปันส่วนอาหาร. ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ได้อาศัยข้าวแดงจากพ่อค้าที่พักแรมฤดูฝน ณ เมืองนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นผู้ชนะ (ที่สามารถต่อสู้กับความยากลำบากได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีแสวงหาในทางที่ผิด เช่น อวดตนเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น).

              พระโมคคัลลานะเสนอวิธีแก้ไขความอดอยากหลายประการ รวมทั้งการไปเที่ยวบิณฑบาตในที่อื่น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต.

              ส่วนพระสาริบุตรคำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์ จึงกราบทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นและไม่ตั้งมั่น พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่การบัญญัติสิกขาบท การสวดปาฏิโมกข์ (สวดทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน) ว่าเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ตั้งมั่น การไม่ทำเช่นนั้นเป็นเหตุให้พรหมจรรย์อันตรธาน. พระสาริบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลา คือพระสงฆ์ยังไม่มาก ลาภสักการะยังไม่มาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ก็ยังไม่ต้องบัญญัติสิกขาบท. ถ้าพระสงฆ์มาก ลาภสักการะมาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏในสงฆ์ จึงควรบัญญัติสิกขาบท. ทั้งขณะนั้นภิกษุสงฆ์ที่ติดตามพระพุทธเจ้า ก็ล้วนเป็นพระอริยบุคคล คืออย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน.

              เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงชวนพระอานนท์ไปบอกลาเวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้ว แสดงธรรมโปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคา ที่ท่าชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสี สู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน.

๒. ปฐมปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑)

              สมัยนั้นมีหมู่บ้านนามว่ากลันทะ ตั้งอยู่ไม่ไกลเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีผู้เป็นบุตรชาวกลันทะ นามว่าสุทินนะ, สุทินนะ (ผู้มีคำต่อท้ายชื่อว่าบุตรชาวกลันทะ) พร้อมด้วยสหายไปสู่กรุงเวสาลี เห็นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม จึงแวะเข้าไปสดับธรรมะ มีความเลื่อมใสใคร่จะออกบวช จึงกราบทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระศาสดายังไม่ประทานอนุญาตให้บวช เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต. สุทินนะจึงกลับไปขออนุญาตท่านมารดาบิดา แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดิม สุทินนะจึงนอนลงกับพื้น อดอาหารถึง ๗ วัน มารดาบิดาอ้อนวอนให้ล้มความตั้งใจ ก็ไม่ยอม พวกเพื่อน ๆ มาอ้อนวอน ก็ไม่ยอม ในที่สุด พวกเพื่อน ๆ อ้อนวอนให้มารดาบิดาของสุทินนะอนุญาต ก็ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ออกบวช ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ทางวัชชีคาม.

              ครั้งนั้น แคว้นวัชชี (ซึ่งมีกรุงเวสาลีเป็นราชธานี) เกิดทุพภิกขภัย พระสุทินนะมีญาติเป็นคนมั่งคั่งมาก เมื่อเดินทางไปถึงกรุงเวสาลี ญาติ ๆ ทราบข่าวก็นำอาหารมาถวายเหลือเฟือ พระสุทินนะก็ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอีกต่อหนึ่งแล้วเดินทางไปกลันทคาม (ตำบลบ้านเดิมของตน). ความทราบถึงมารดา บิดา, บิดาจึงนิมนต์ไปฉัน มารดาก็นำทรัพย์สมบัติมาล่อเพื่อให้สึก พระสุทินนะไม่ยอมจึงไม่สำเร็จ. ต่อมามารดาพระสุทินนะรอจนภริยาของพระสุทินนะ (ตั้งแต่ในสมัยยังไม่ได้บวช) มีระดู ได้กำหนดจะมีบุตรได้ จึงพานางไปหาพระสุทินนะที่ป่ามหาวัน ชวนให้สึกอีก พระสุทินนะไม่ยอม จึงกล่าวว่า ถ้าไม่สึกก็ขอพืชพันธุ์ไว้สืบสกุล. ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอทำได้ เพื่อให้มีบุตรสืบสกุล จึงเสพเมถุนด้วยภริยาของตน ซึ่งต่อมานางตั้งครรภ์และคลอดบุตร. บุตรของพระสุทินนะจึงได้นามว่าเจ้าพืช. ภริยาของพระสุทินนะ ก็ได้นามว่ามารดาของเจ้าพืช. ต่อมาทั้งมารดาและบุตรออกบวชได้สำเร็จอรหัตตผลทั้งสองคน.

              กล่าวถึงพระสุทินนะเกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกษุทั้งหลายถามทราบความ จึงพากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนเรื่องนั้น ทรงติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              ต่อมามีภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงเสพเมถุนด้วยนางลิง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติเพื่อเติมให้ชัดขึ้นว่า ห้ามแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน.

              ภิกษุเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีก พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติมิให้อุปสมบทแก่ผู้เช่นนั้น.

              ต่อจากนั้น มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่างละเอียดทุก ๆ คำ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างประกอบ.

              ภิกษุ ๕ ประเภท ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว (หรือถูกบังคับแต่ไม่ยินดี) ๒. ภิกษุผู้เป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน (หมายถึงเป็นบ้าไปชั่วขณะด้วยเหตุอื่น ไม่ใช่บ้าโดยปกติ อรรถกถาแก้ว่า ผีเข้า ในสมัยนี้เทียบด้วยเป็นบ้าเพราะฤทธิ์ยาบางชนิด) ๔. ภิกษุผู้มีเวทนากล้า ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง ๕. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน และพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัย ไต่สวน และชี้ขาดว่า ต้องอาบัติบ้าง ไม่ต้องอาบัติบ้าง ตามเงื่อนไขทางพระวินัยทั้งหมดมีประมาณ ๗๒ เรื่อง.


๑.        พระสุทินนะไม่ต้องอาบัติ เพราะเป็นต้นบัญญัติ ไม่มีการปรับอาบัติย้อนหลัง

๒.        ๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์

๓.        (ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)

๔.                      เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง. กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

๕.                      ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.

๖.                      เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.

๗.                      มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.

๘.        อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

๙.                      สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).

๑๐.                  ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น

๑๑.                  ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

๑๒.    วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

๑๓.                  ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.

๑๔.   

๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง. กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.

              เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.

              มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น

              ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.


๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง. กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.

              เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.

              มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น

              ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.


๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘

๑.        ๔. ตติยปาราชิกกัณฑ์

๒.        (ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๓)

             เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เรือนยอด ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี พระองค์ได้ทรงแสดงอสุภกถา คือถ้อยคำปรารภสิ่งที่ไม่สวยงาม สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ และคุณแห่งการเจริญอสุภะ คือ การพิจารณาเห็นร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม กับทั้งคุณแห่งอสุภสมาบัติ (การเข้าฌานมีอสุภะเป็นอารมณ์) โดยปริยายเป็นอันมาก. ครั้นแล้วตรัสว่า ทรงพระประสงค์จะหลีกเร้นอยู่ตามลำพังพระองค์ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำอาหารเข้าไปเพียงรูปเดียว.

             ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติอสุภภาวนา (การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน คือการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม) ก็เกิดเบื่อหน่าย รังเกียจด้วยกายของตน เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการประดับตกแต่ง อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว รังเกียจซากศพงู ซากศพสุนัข ซากศพมนุษย์ อันคล้องอยู่ที่คอฉะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายรังเกียจด้วยกายของตนอย่างนี้ ก็ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันแลกันบ้าง เข้าไปหานายมิคลัณฑิกะ ผู้แต่งตัวเหมือนสมณะ จ้างด้วยบาตรจีวรให้ฆ่าบ้าง โดยนัยนี้ นายมิคลัณฑิกะก็รับจ้างฆ่าภิกษุทั้งหลายวันละหนึ่งรูปบ้าง สองรูป สามรูป สี่รูป ห้ารูป จนถึงหกสิบรูปบ้าง.

              เมื่อครบถึงเดือนแล้ว เสด็จกลับจากที่เร้น ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงสั่งสอน อานาปานสติสมาธิ (คือการทำใจให้ตั้งมั่นโดยกำหนดกำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยปริยายต่าง ๆ แล้วทรงปรารภเรื่องภิกษุฆ่าตัวตาย ฆ่ากันและกัน รวมทั้งจ้างผู้อื่นให้ฆ่าตน ทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์หรือใช้ให้คนอื่นฆ่า ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ผู้ล่วงละเมิด.

๓.        อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งไม่สบาย ภิกษุฉัพพัคคียื (มีพวก ๖) เกิดพอใจในภริยาของอุบาสกนั้น จึงพูดพรรณนาคุณแห่งความตาย อุบาสกนั้นเชื่อ ก็ตั้งหน้ารับประทานแต่ของแสลง เป็นเหตุให้โรคกำเริบและตายด้วยโรคนั้น. ภริยาของอุบาสกจึงติเตียน ยกโทษภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวน ได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติเพิ่มเติม ห้ามการพรรณนาคุณของความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย ว่าผู้ใดละเมิด ต้องอาบัติปาราชิกด้วย.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายในคำบัญญัติสิกขาบทโดยละเอียด และมีข้อความแสดงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ว่ามี ๖ ประเภท คือ ๑. ภิกษุไม่รู้ (เช่น ทำของตกทับคนตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า) ๒. ไม่ประสงค์จะให้ตาย ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วขณะ) ๕. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า (ไม่รู้สึกตัว) ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

๔.        วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              มีเรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น ประมาณ ๑๐๐ เรื่อง เกี่ยวกับการกระทำของภิกษุที่มีปัญหาว่าจะต้องอาบัติปาราชิกเพราะสิกขาบทนี้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคได้ทรงไต่สวน และทรงชี้ขาดว่า ต้องอาบัติบ้าง ไม่ต้องอาบัติบ้าง ตามควรแก่กรณี. เฉพาะเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับการกระทำของนางภิกษุณี.


๑. อรรถกถาตั้งคำถามว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบหรือว่า พระเหล่านั้นจะฆ่าตัวตาย หรือจ้างเขาฆ่าแล้วเฉลยว่า ทรงทราบ เพราะภิกษุนั้นในชาติก่อนเคยเป็นพรานล่าเนื้อ ฆ่าเนื้อมาตลอดชีวิต เป็นเรื่องของการใช้กรรมที่ไม่มีใครจะแก้ไขได้ พระองค์จึงทรงหลีกเร้นเสียตลอดกึ่งเดือน เรื่องของการใช้กรรม ถ้าไม่ตายอย่างนี้ ก็ต้องตายอย่างอื่น

๕. จตุตถปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๔)

              เริ่มเรื่องว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นมีภิกษุหลายรูป ที่ชอบพอเป็นมิตรสหายกัน จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา. สมัยนั้น เกิดทุพภิกขภัย ในแคว้นวัชชี (ราชธานี ชื่อกรุงเวสาลี) ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยเรื่องอาหารบิณฑบาต จึงปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรดี.

              บางรูปเห็นว่า ควรช่วยแนะนำกิจการงานของคฤหัสถ์ บางรูปเห็นว่า ควรทำหน้าที่ทูต (คือนำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ (คล้ายบุรุษไปรษณีย์) บางรูปเห็นว่า ควรใช้วิธีสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังว่า ภิกษุรูปนั้นรูปนี้ มีคุณวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ได้ฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ เป็นต้น จนถึงว่าได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖. เมื่อเห็นว่าวิธีหลังนี้ดี จึงเที่ยวสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟัง จึงได้รับเลี้ยงดูจากคฤหัสถ์ชาวริมน้ำวัคคุมุทาเป็นอย่างดี มีผิวพรรณผ่องใส เอิบอิ่ม. เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเก็บเสนาสนะ เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ กรุงเวสาลี.

              ปรากฏว่าภิกษุที่มาแต่ทิศทางอื่นล้วนซูบผอม ผิวพรรณทราม มีเส้นเอ็นขึ้นเห็นได้ชัด ส่วนภิกษุที่มาจากฝั่งน้ำวัคคุมุทา กลับอิ่มเอิบ อ้วนพี พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสติเตียนและตรัสเรียกประชุมภิกษุทั้งหลาย ตรัสเรื่องมหาโจร ๕ ประเภท เปรียบเทียบกับภิกษุ คือ

๕.        มหาโจร ๕ ประเภท

              ๑. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่า, ปล้น, เอาไฟเผาในคามนิคมราชธานี. ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันเข้าไปฆ่าปล้น เอาไฟเผาในคามนิคม ราชธานี เทียบด้วยภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะจาริกไปในคามนิคม ราชธานี ให้คฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันจากริกไปในคามนิคม ราชธานี มีคฤหัสถ์บรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๑ (ซึ่งมีความปรารถนาลาภสักการะ แล้วก็ทำอุบายต่าง ๆ จนได้สมประสงค์).

              ๒. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็โกงเป็นของตนเอง (แสดงว่าตนคิดได้เอง ไม่ได้เรียนหรือศึกษาจากใคร). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๒.

              ๓. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่า ประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมล. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๓.

              ๔. ภิกษุชั่วบางรูปเอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (ที่ห้ามแจกห้ามแบ่ง) เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียง ตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ ประจบคฤหัสถ์ (พราะเห็นแก่ลาภ). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๔.

              ๕. ภิกษุผู้อวดคุณพิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นยอดมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย.

              ครั้นแล้วทรงติเตียนภิกษุชาวริมฝั่งน้ำวัดคุมุทาด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก.

๖.        อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปสำคัญผิดว่าตนได้บรรลุคุณพิเศษ จึงประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ (พยากรณ์อรหัตตผล) สมัยต่อมา จิตของเธอน้อมไปเพื่อราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดความรังเกียจ สงสัยว่า การประกาศตนว่าได้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยความสำคัญผิด จะทำให้ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม ยกเว้นให้สำหรับภิกษุผู้สำคัญผิดว่าได้บรรลุ.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียดแล้วแสดงอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ ๑. เพราะสำคัญผิดว่าได้บรรลุ ๒. ภิกษุมิได้มีความประสงค์โอ้อวด (เช่น บอกเล่าแก่เพื่อพรหมจารี) โดยมิได้มีความปราถนาจะได้ลาภ) ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวเพราะเหตุใด ๆ) ๕. ภิกษุมีเวทนากล้า (ไม่รู้สึกตัว) และ ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

๗.        วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๕ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ต้องอาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฏบ้าง ตามควรแก่กรณี.

              (สรุปความว่า อาบัติปาราชิกมี ๔ สิกขาบท ต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ แม้สึกไปแล้ว จะมาบวชใหม่อีก ก็ไม่ได้).


๑. เป็นสมัยเดียวกับที่กล่าวถึงในข้อ ๒ ปฐมปาราชิกกัณฑ์ อันว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ตอนที่ เล่าเรื่องพระสุทินนะ
๒. เป็นสมัยที่ภิกษุไม่ดีมีขึ้นหลายรูปแล้ว

เตรสกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑
(
ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน)

              เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกษุเสยยสกะถูกพระอุทายี แนะนำในทางที่ผิด ให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ความทราบถึงพระผุ้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน พระเสยยสกะรับเป็นสัตย์ ทรงติเตียนพระเสยยสกะเป็นอันมาก แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนโดยเจตนา ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติสังฆาทิเทสส (อาบัติที่ต้องให้สงฆ์เกี่ยวข้องในกรรมเบื้องต้นและกรรมอันเหลือ คือสงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ).

อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

              สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝัน เกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่เป็นอัพโพหาริก (ไม่ควรกล่าวว่า มีเหมือนอย่างเทน้ำหมดแก้วแล้ว น้ำก็ยังคงมีติดอยู่เล็กน้อย แต่ไม่ควรกล่าวว่า มี) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยพิสดารแล้ว กล่าวถึงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ ๑. เพราะฝัน ๒. ภิกษุไม่มีเจตนาจะทำให้เคลื่อน ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวด้วยเหตุใด ๆ) ๕. ภิกษุมีเวทนากล้า และ ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

วินีตวัตถุ
(
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

              ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๑ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสบ้าง ไม่ต้องบ้าง ตามควรแก่กรณี.

สิกขาบทที่ ๒
(
ห้ามจับต้องกายหญิง)

              เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วกล่าวถึงวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายีว่างดงาม มีเตียงตั่งฟูกหมอน น้ำดื่มใช้ตั้งไว้ดี มีบริเวณอันกวาดสะอาด. มนุษย์ทั้งหลายพากันไปชมวิหารมากด้วยกัน. พราหมณ์ผู้หนึ่งพาภริยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้พราหมณ์เดินหน้า ภริยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภริยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหนึ่ง เลยถือโอกาสจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธ ติเตียนเป็นอันมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือลูบคลำอวัยวะใด ๆ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ครั้นแล้ว ได้มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่างละเอียด และมีข้อแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ คล้ายคลึงกับสิกขาบทที่แล้ว ๆ มา ลงท้ายด้วยแสดงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งพระศาสดาทรงวินิจฉัย ไต่สวนชี้ขาดด้วยพระองค์เอง อันเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ประมาณ ๒๐ เรื่อง.

สิกขาบทที่ ๓
(
ห้ามพูดเกี้ยวหญิง)

              เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องสตรีหลายคนพากันไปชมวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายี ซึ่งเลื่องลือกันว่างดงาม พระอุทายีก็ถือโอกาสนั้นพูดจาพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น. หญิงบางคนที่เป็นคนคะนองไม่มีความอาย ก็ยิ้มแย้ม ซี้ซิก คิกคัก พูดล้อกับพระอุทายี. ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ก็ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน ทำนองชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด แล้วแสดงถึงอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) สำหรับภิกษุผู้พูด มุ่งอรรถ มุ่งธรรม มุ่งสั่งสอน ผู้เป็นบ้า และผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงไต่สวนวินิจฉัยชี้ขาด รวม ๑๒ เรื่อง.

สิกขาบทที่ ๔
(
ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม)

              เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าถึงหญิงหม้ายคนหนึ่งผู้มีรูปร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลนั้น สั่งสอนจนเกิดความเลื่อมใสแล้ว เธอปวารณาที่จะถวายผ้านุ่งห่ม อาหารที่นอนที่นั่งและยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรือชักชวนหญิงนั้น ให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่า เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นางหลงเชื่อ แสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลาย แสดงอาการรังเกียจ. นางจึงติเตียนพระอุทายี. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวน ติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายข้อความในสิกขาบทอย่างละเอียด พร้อมทั้งแสดงถึงการไม่ต้องอาบัติ โดยลักษณะ ๓ คือ ๑. พูดให้บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น รวม ๗ เรื่อง ซึ่งพระผู้มีพระภาคไต่สวนชี้ขาดว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่.

สิกขาบทที่ ๕
(
ห้ามชักสื่อ)

              เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย. สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูดสรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิง. พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาบิดาของเด็กหญิง เขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้ พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.

              สมัยนั้น ธิดาของหญิงผู้เคยเป็นโสเภณีคนหนึ่ง มีรูปงาม น่าดู น่าชม, สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบล จึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จัก ทั้งก็มีลูกคนเดียว ลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้. สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายี ขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จักจึงยอมยกให้. สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเดียว ต่อมาก็เลี้ยงดูแบบทาสี.

              เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปเกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้. นางจึงต้องกลับสู่กรุงสาวัตถี.

              เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ ๒ เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ. มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้. พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไป เป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.

              เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้ว และถูกรุกรานไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้น และหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็พากันติเตียน สาปแช่งพระอุทายี. ส่วนหญิงที่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.

              ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่อสำเร็จความใคร่ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด เพื่อสำเร็จความประสงค์ชั่วขณะหนึ่ง ก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. ไปด้วยกิจของสงฆ์ ของเจดีย์ หรือของภิกษุไข้ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ ไม่ต้องอาบัติ แล้วได้แสดงตัวอย่างที่เกิดเรื่องขึ้น ๗ เรื่องเกี่ยวกับสิกขาบท่นี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยชี้ขาด.

สิกขาบทที่ ๖
(
ห้ามสร้างกุฎีด้วยการขอ)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวแคว้นอาฬวีให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ (ในที่ซึ่งไม่มีใครจับจอง) เป็นของจำเพาะตน (เพื่อประโยชน์ของตนเอง) เป็นกุฎีไม่มีประมาณ (ไม่กำหนดเขตแน่นอน) ด้วยการขอเอาเอง (คือขอของใช้รวมทั้งขอแรง) กุฎียังไม่เสร็จ พวกเธอก็มากไปด้วยการขอ เช่น ขอคน ขอแรงงาน ขอโค ขอเกวียน ขอพร้า ขอขวาน เป็นต้น ก่อความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอันมาก ถึงกับเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า ก็พากันหวาดบ้าง สะดุ้งกลัวบ้าง หนีบ้าง ไปทางอื่นบ้าง หันหน้าหนีไปทางอื่นบ้าง ปิดประตูบ้าง เห็นโค สำคัญว่าเป็นภิกษุ ก็พากันหนีบ้าง.

              ท่านพระมหากัสสปจาริกไปสู่แคว้นอาฬวี พักที่อัคคาฬวเจดีย์ ไปบิณฑบาตก็พบมนุษย์ทั้งหลายพากันหวาดสะดุ้ง หลบหนี เมื่อกลับมาถามภิกษุทั้งหลาย ทราบความแล้ว พอพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปสู่เมืองอาฬวี ก็กราบทูลให้ทรงทราบ จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ตรัสเทศนาสั่งสอนไม่ให้เป็นผู้มักขอ ทรงเล่านิทานประกอบถึง ๓ เรื่อง แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ เป็นที่อยู่จำเพาะตนด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง พึงทำให้ได้ประมาณ คือยาวไม่เกิน ๑๒ คืบ กว้างไม่เกิน ๗ คืบ ทั้งต้องให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อน. ภิกษุทั้งหลายพึงแสดงที่ ซึ่งไม่มีใครจองไว้ ที่มีชานรอบ ถ้าภิกษุให้ก่อกุฎีด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง ในที่ซึ่งมีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อนก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และอธิบายถึงลักษณะการไม่ต้องอาบัติไว้ ที่มีลักษณะอันไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน และภิกษุผู้ทำเป็นบ้าหรือเป็นต้นบัญญัติ.


๑. ภิกษุที่ชื่ออุทายี มี ๒ รูป รูปหนึ่งผิวดำ จึงมีผู้เรียกว่า กาฬุทายี (อุทายีดำ) เคยเป็นอำมาตย์กรุงกบิลพัสดุ์ ออกบวชเมื่อคราวพระพุทธบิดาใช้ให้ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ส่วนพระอุทายีที่กล่าวถึงในที่นี้ชอบก่อเรื่องเลอะเทอะเสมอ จึงมีฉายาว่า โลลุทายี (อุทายีเลอะเทอะ)
๒. การพูดเกี้ยวของอินเดีย ในสมัยนั้น อาจจะเป็นอย่างอื่น ลักษณะการใช้ถ้อยคำ คงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ พึงเข้าใจว่า การใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการเกี้ยวหญิง ย่อมนับเข้าในข้อนี้
๓. เรื่องนี้ควรเป็นเครื่องเตือนใจให้สังวรในการเรี่ยไร รบกวนชาวบ้านจนไม่เป็นอันทำอะไร และแสดงไปในตัวว่า พระพุทธเจ้าทรงปราบปรามเรื่องเช่นนี้อย่างหนักเพียงไร

 

สิกขาบทที่ ๗
(
ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ครั้งนั้น คฤหบดีผู้เป็นอุปฐาก (บำรุง) พระฉันนะ ขอให้พระฉันนะแสดงที่ให้ ตนจะสร้างวิหารถวาย. พระฉันนะให้ปราบพื้นที่ ให้ตัดต้นไม้ที่ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นการก่อความสะเทือนใจ มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติ และทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่. ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปแสดงที่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท โดยละเอียด ส่วนลักษณะการไม่ต้องอาบัติ คงเป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๖.

สิกขาบทที่ ๘
(
ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตร (ผู้เป็นบุตรแห่งมัลลกษัตริย์) ได้บรรลุพระอรหัตตผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำอีก. ต่อมาท่านปรารถนาจะทำประโยชน์แก่คณะสงฆ์ โดยเป็นผู้จัดเสนาสนะ (เสนาสนคาหาปกะ มีหน้าที่จัดที่พักให้พระที่เดินทางมา) และเป็นผู้แจกภัตต์ (ภัตตุทเทสกะ มีหน้าที่จัดภิกษุไปฉันในที่นิมนต์ ในเมื่อทายกมาขอพระต่อสงฆ์) จึงกราบทูลความดำริของท่านแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และทรงแสดงความเห็นชอบด้วยที่จะให้ท่านทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่ทั้งสองนั้น.

              จึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ ให้สงฆ์เชิญพระทัพพะก่อนแล้ว ให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศขอความเห็นชอบในการสมมติ พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้แจกเสนาสนะ และแจกภัตต์ เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงเป็นอันสงฆ์ได้สมมติ (หรือแต่งตั้ง) แล้ว.

              พระทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่มาด้วยดี ครั้งหนึ่งถูกภิกษุพวกพระเมตติยะ และภุมมชกะ (สองรูปนี้เป็นหัวหน้าของกลุ่มภิกษุผู้มักก่อเรื่องเสียหาย) เข้าใจผิดหาว่าท่านไปแนะนำคฤหบดีผู้หนึ่ง มิให้ถวายอาหารดี ๆ แก่พวกตน ซึ่งความจริงคฤหบดีผู้นั้น ไม่เลื่อมใส และรังเกียจด้วยตนเอง. จึงใช้นางเมตติยาภิกษุณีให้เป็นโจทก์ฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ในข้อหาต้องอาบัติปาราชิกเพราะข่มขืนนาง.

              พระพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์ ไต่สวน ได้ความว่าเป็นการแกล้งใส่ความ จึงให้สึกนางเมตติยาภิกษุณี. พวกภิกษุผู้ใช้ออกรับสารภาพแทน ก็ไม่ทรงผ่อนผัน กลับทรงเรียกประชุมสงฆ์ ติเตียนหมู่ภิกษุผู้คิดร้าย ใส่ความฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. โจทด้วยเข้าใจผิดในภิกษุผู้บริสุทธิ์ ว่าไม่บริสุทธิ์ ๒. โจทภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์จริง ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

สิกขาบทที่ ๙
(
ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติ)

              เล่าเรื่องภิกษุ พวกพระเมตติยะ และภุมมชกะชุดเดิม แกล้งหาเลส โจทพระทัพพมัลลบุรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล คือเห็นแพะตัวผู้เป็นสัดด้วยแพะตัวเมีย ก็นัดกันตั้งชื่อแพะตัวผู้ว่า พระทัพพมัลลบุตร ตั้งชื่อแพะตัวเมียว่า เมตติยาภิกษุณี แล้วเที่ยวพูดว่า ตนได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรได้เสียกับนางเมตติยาภิกษุณีด้วยตาตนเอง.

              ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระทัพพมัลลบุตร ได้ความว่าเป็นการอ้างเลส ใส่ความ จึงมอบให้สงฆ์จัดการไต่สวนภิกษุพวกที่อ้างเลสใส่ความ เมื่อพวกเธอรับเป็นสัตย์จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามอ้างเลสใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.

              ต่อไปเป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และคำอธิบายลักษณะไม่ต้องอาบัติ เป็นอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๘. (ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๑ ถึงที่ ๙ เรียกว่าปฐมาปัตติกะ คือต้องอาบัติตั้งแต่ลงมือทำครั้งแรก ส่วนสิกขาบทที่ ๑๐ ถึง ๑๓ เรียกยาวตติยกะ สงฆ์ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ขืนดื้อดึงจึงต้องอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๑๐
(
ห้ามทำสงฆ์ให้แตกกัน)

              เริ่มเรื่อง เล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ, พระกฏโมรกดิสสกะ, พระที่เป็นบุตรของนางปัณฑเทวี และพระสมุทรทัตชักชวนให้ทำสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอไปในทางเคร่งครัดยิ่งขึ้น ๕ ข้อ ซึ่งเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคคงไม่ทรงอนุญาต และตนจะได้นำข้อเสนอนั้นประกาศแก่มหาชน. ข้อเสนอ ๕ ข้อ คือ
             
๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้าน ต้องมีโทษ
             
๒. ภิกษุพึงถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ผู้ใดรับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องมีโทษ
             
๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือผ้าหรือเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามที่ต่าง ๆ บ้าง นำมาซักและปะติดปะต่อเป็นจีวร) จนตลอดชีวิต ผู้ใดรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ต้องมีโทษ
             
๔. ภิกษุพึงอยู่โคนไม้จนตลอดชีวิต ผู้ใดเข้าสู่ที่มุง (ที่มีหลังคา) ต้องมีโทษ
             
๕. ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสัตว์ ผู้ใดฉัน ต้องมีโทษ

              ภิกษุเหล่านั้นเห็นมีทางชนะก็ร่วมด้วย พระเทวทัตจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลข้อเสนอทั้งห้าข้อนั้น.

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า, ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้าน ก็จงอยู่ในละแวกบ้าน. ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต, ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์, ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกกุล ก็จงใช้ผ้าบังสุกุล, ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ก็จงรับคฤหบดีจีวร, เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน (ที่มิใช่ฤดูฝน), เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงจะให้ภิกษุบริโภค).

              พระเทวทัตดีใจ จึงเที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตข้อเสนอที่ดีของตน ทำให้คนที่มีปัญญาทรามบางคนเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก. แต่คนที่เข้าใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทัต ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระเทวทัต รับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุพากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน เมื่อภิกษุอื่นห้ามปราม ไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) เพื่อให้เธอเลิกเรื่องนั้นเสีย ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขากบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. สงฆ์ไม่สวดประกาศ ๒. เธอละเลิกเสียได้ ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

สิกขาบทที่ ๑๑
(
ห้ามเป็นพรรคภวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน)

              เนื่องมาจากสิกขาบทที่ ๑๐ คือภิกษุโกกาลิกะ เป็นต้น สนับสนุนพระเทวทัต ว่าไม่ควรติเตียนพระเทวทัต พูดเป็นธรรม เป็นวินัย ต้องด้วยความพอใจของตน. ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุพวกที่สนับสนุน ภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกันนั้น. ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้ความจริงแล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามสนับสนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน ถ้าห้ามไม่ฟัง ให้ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ ก็คล้ายกับสิกขาบทที่ ๑๐ มีเพิ่มภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน มีเวทนากล้า อีก ๒ ข้อ.

สิกขาบทที่ ๑๒
(
ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้น พระฉันนะ ประพฤติอนาจาร (ความประพฤติอันไม่สมควร) ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว กลับว่าติเตียน. ภิกษุทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนและทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำตนเป็นผู้ว่ายาก ถ้าไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              "ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๑๐.

สิกขาบทที่ ๑๓
(
ห้ามประทุษร้ายสกุล คือประจบคฤหัสถ์)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นพระเจ้าถิ่นอยู่ในชนบท ชื่อว่ากิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี.

              มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่านมาพัก ณ ชนบทนั้น เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง เหมือนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร. แต่อุบาสกผู้หนึ่ง (เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง) เห็นเข้า จึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่าง ๆ

              ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) ให้เธอละเลิก ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติเหมือนสิกขาบทที่ ๑๑. (พึงสังเกตว่า ตั้งแต่สิกขาบที่ ๑๐ มา ถึงสิกขาบทที่ ๑๓ ที่เรียกว่ายาวตติยกะนั้น ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง จึงต้องอาบัติ).


๑. สิกขาบทนี้ ต่างจากสิกขาบที่ ๖ โดยสาระสำคัญ คือสิกขาบทที่ ๖ ภิกษุทำเอง ด้วยการขอสิ่งของและขอแรง ส่วนสิกขาบทนี้คนอื่นทำให้ จึงไม่มีการจำกัดขนาด แต่คงต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้เหมือนสิกขาบทก่อน เพื่อกันมิให้ปลูกตามใจชอบ โดยสงฆ์ไม่รับรู้อันอาจเกะกะไม่เป็นระเบียบ และอาจเป็นเหตุกระทบต่อความรู้สึกของคนอื่น. พึงสังเกตอย่างหนึ่งว่า ทั้งสองสิกขาบทนี้ ให้ปลูกสร้างที่อยู่โดยมีบริเวณโดยรอบ ขนาดเกวียนเดินรอบได้ ไม่นิยมให้ปลูกติด ๆ กัน
๒. พระดำรัสตอบของพระพุทธเจ้าเป็นไปในทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป อนุโลมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
๓. พระฉันนะรูปนี้ เคยตามเสด็จเมื่อคราวทรงผนวช จึงตัวว่าเป็นคนสำคัญ ไม่ยอมให้ใครว่ากล่าว กลายเป็นคนดื้อว่ายาก ใครปราบไม่ลง พระพุทธเจ้าทรงสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ คือ อย่าให้ใครว่ากล่าวตักเตือนหรือพูดจาด้วย จึงกลับตัวได้ในที่สุด

 

อนิยตกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่ว่า จะควรปรับในข้อไหน)

สิกขาบทที่ ๑
(
วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง)

              เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเข้าไปนั่งในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลนั้น เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา ผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถุน) ก็ตาม , อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะถูกต้องกายหญิง หรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตารับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๓ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).

สิกขาบทที่ ๒
(
วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง)

              เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน. พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพรภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงนั้น (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายีก็ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คืออาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับหูรับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๒ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).

              (หมายเหตุ : เรื่องของอนิยต หรือสิกขาบทอันไม่กำหนดแน่ว่าจะปรับอาบัติอย่างไร ใน ๒-๓ อย่าง ทั้งสองสิกขาบทนี้ หนักไปในทางแนะวิธีตัดสินอาบัติ แต่ก็บ่งอยู่ว่า ห้ามภิกษุนั่งในที่ลับตาก็ตาม ลับหู (แม้ไม่ลับตา) ก็ตาม กับหญิงสองต่อสอง เว้นแต่ในที่ลับตาจะมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย, แต่ในที่ลับหูหญิงหรือชายผู้รู้เดียงสานั่งเป็นเพื่อนอยู่ด้วย ก็พ้นจากความเป็นที่ลับหูไป).


๑.       ที่เป็นอริยบุคคล เช่น นางวิสาขา แต่โดยใจความ หมายถึงผู้ที่พบเห็น เป็นผู้มีวาจาควรเชื่อได้เป็นหลักฐาน

 

เล่มที่ ๒ ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)

              พระไตรปิฎก เล่ม ๒ นี้ สืบเนื่องมาจาก เล่ม ๑ คือ ว่าด้วยอาบัติของภิกษุต่อจากที่กล่าวมาแล้ว ในเล่ม ๑ แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๔ หมวด และมีธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ต่อท้าย คือ

              ๑. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องสละสิ่งของเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์นี้ มี ๓๐ สิกขากบท แบ่ออกเป็น ๓ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท

              ๒. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัตปาจิตตีย์ล้วน ๆ ที่ไม่ต้องมีเงื่อนไข ให้สละสิ่งของก่อน อาบัติปาจิตตีย์นี้ มี ๙๒ สิกขาบท แบ่งออกเป็น ๙ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท เว้นแต่วรรคที่ ๘ (สหธัมมิกวัคค์) มี ๑๒ สิกขาบท. (คำว่า ปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลคือความดีให้ตก).

              ๓. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ (แปลว่า อาบัติอันพึงแสดงคืน เบากว่าอาบัติปาจจิตตีย์) มี ๔ สิกขาบท.

              ๔. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยข้อที่ภิกษุพึงศึกษา อันเกี่ยวด้วยวัตร, ธรรมเนียม หรือจรรยามารยาท ต่าง ๆ มีด้วยกันทั้งหมด ๗๕ สิกขาบท. แบ่งออกเป็น หมวดสารูป (ข้อปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ) ๒๖ สิกขาบท หมวดโภชนปฏิสังยุต (ข้อปฏิบัติเกี่ยวด้วยการฉันอาหาร) ๓๐ สิกขาบท หมวดธัมมเทสนาปฏิสังยุต (ข้อปฏิบัติเกี่ยวด้วยการแสดงธรรม) ๑๖ สิกขาบท นอกจากนั้นยังมี หมวดเบ็ดเตล็ด อีก ๓ สิกขาบท จึงรวมเป็น ๗๕.

              ๕. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ เป็นข้อความสั้น ๆ แถมเข้ามา แสดงถึงวิธีระงับอธิกรณ์ด้วยธรรม ๗ ประการ.

ขยายความ

๑. นิสสัคคิยกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทที่ต้องสละสิ่งของ)

๑. จีรวรรค วรรคว่าด้วยจีวร เป็นวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บจีวรที่เกินจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีจีวรได้เพียง ๓ ผืน (ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า สังฆาฏิ). ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุผู้รวมกันเป็นคณะ ๖ รูป) เข้าบ้าน อยู่ในวัด ลงสู่ที่อาบน้ำด้วยไตรจีวรต่างสำรับกัน ภิกษุทั้งหลายติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บอติเรกจีวร (จีวรที่เกินจำเป็น คือเกินจำนวนที่กำหนด) ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์).

              ต่อมามีเหตุเกิดขึ้น พระอานนท์ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสาริบุตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม ให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน.

สิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เอาผ้าสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนข้างนอก) ฝากภิกษุรูปอื่นไว้ จาริกไปสู่ชนบทด้วยสบง (ผ้านุ่ง) กับจีวร (ผ้าห่ม) รวม ๒ ผืนเท่านั้น. ผ้าที่ฝากไว้นานเปรอะเปื้อน ภิกษุผู้รับฝากจึงนำออกตาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอยู่ปราศจากไตรจึวรแม้คืนหนึ่ง ถ้าล่วงละเมิด ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.

              ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น ภิกษุเป็นไข้ ไม่สามารถนำจึวรไปได้ทั้งสามผืน จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมมติแก่ภิกษุเช่นนั้นเป็นกรณีพิเศษ และไม่ปรับอาบัติ.

สิกขาบทที่ ๓ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้นอาลจีวร (ผ้าที่เกิดขึ้นนอกกาลที่อนุญาตให้เก็บไว้ได้เกิน ๑๐ วัน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ไมพอทำจีวร เธอคลี่ผ้าออก (เอามือ) รีดให้เรียบอยู่เรื่อย ๆ. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามทราบความแล้ว จึงทรงอนุญาตให้เก็บผ้านอกกาลไว้ได้ ถ้ามีหวังว่าจะได้ทำจีวร. ปรากฏว่าภิษุบางรูปเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บผ้านอกกาลไว้เกิน ๑ เดือน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๔ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามใช้นางภิกษุณีซักผ้า)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. อดีตภริยาของพระอุทายีเข้ามาบวชเป็นภิกษุณี รับอาสาซักผ้าของพระอุทายี ซึ่งมีน้ำอสุจิเปรอะใหม่ ๆ นางได้นำน้ำอสุจินั้นส่วนหนึ่งเข้าปาก ส่วนหนึ่งใส่ไปในองค์กำเนิด เกิดตั้งครรภ์ขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ซัก, ย้อม, หรือทุบ จีวรเก่า (คือที่นุ่งหรือห่มแล้วแม้คราวเดียว) ทรงปรับอาบัตนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๕ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ พระอุทายีแค่นได้ขอจีวรนางอุบลวัณณา ซึ่งมีผ้าอยู่จำกัด นางจึงให้ผ้านุ่ง (อัตรวาสก) ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามรับจีวรจากมือนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมมีเงื่อนไข ไม่ปรับอาบัติในกรณีที่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน.

สิกขาบทที่ ๖ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ)

              บุตรเศรษฐีเลื่อมใสพระอุปนนทะ ศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้ แต่เธอขอผ้า (ห่ม) จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาที่บ้านมาให้ก็ไม่ยอม พระศาสดาทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิงที่มิใช่ญาติ ถ้าขอได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมีเงื่อนไข ให้ขอได้ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรือจีวรหาย.

สิกขาบทที่ ๗ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามรับจีวรเกินกำหนด เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ รูป) เที่ยวขอจีวรให้กลุ่มภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย ทั้ง ๆ ที่ภิกษุเหล่านั้นมีผู้ถวายจีวรแล้ว เป็นการขอหรือเรี่ยไรแบบไม่รู้จักประมาณ ได้ผ้ามากจนถูกหาว่าจะขายผ้าหรืออย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ในกรณีที่ผ้าถูกโจรชิงหรือหายนั้น ถ้าคฤหัสถ์ปวารณาให้รับจีวรมากผืน ก็รับได้เพียงผ้านุ่งกับผ้าห่มเท่านั้น รับเกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดี ๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย)

              ชายผู้หนึ่งพูดกับภริยาว่า จะถวายผ้าแก่พระอุปนนทะ เธอทราบจึงไปพูดให้เขาถวายจีวรอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าถวายจีวรอย่างที่เธอไม่ใช้ เธอก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เขางติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกำหนดให้คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ให้ซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ถวายตน ด้วยหมายจะได้ของดี ๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๙ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดี ๆ ถวาย)

              ชายสองคนพูดกันว่า ต่างคนต่างจะซื้อผ้าคนละผืนถวายพระอุปนนทะ เธอรู้จึงไปแนะนำให้เขารวมทุนกันซื้อผ้าชนิดนั้นชนิดนี้ (ที่ดี ๆ) เขาพากันติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าไปขอให้คฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ มิได้ปวารณาไว้ก่อน เขาตั้งใจ จะต่างคนต่างซื้อจีวรถวายเธอ แต่เธอกลับไปขอให้เขารวมกันซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ โดยมุ่งให้ได้ผ้าดี ๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง)

              มหาอำมาตย์ผู้อุปฐากพระอุปนนทะ ศากยบุตร ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไปถวายพระอุปนนทะ ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรที่ควรโดยกาล เขาจึงถามหาไวยาวัจจกร (ผู้ทำการขวนขวายผู้รับใช้) ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหนึ่ง ว่าเป็นไวยาวัจจกรของภิกษุทั้งหลาย เขาจึงมอบเงินแก่ไวยาวัจจกรแล้วแจ้งให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร แม้จะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตย์ซึ่งส่งทูตมา ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร จนกระทั่งได้รับคำเตือนเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้ใช้ผ้านั้น จึงไปเร่งเร้าเอากับไวยาวัจจกรผู้กำลังมีธุระ จะต้องเข้าประชุมสภานิคม ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้องถูกปรับ ๕๐ (กหาปณะ) แม้เขาจะแจ้งให้ทราบกติกา ก็ไม่ฟัง คงเร่งเราเอาจนเขาต้องไปซื้อผ้ามาให้ และไปถูกปรับเพราะเข้าประชุมช้า. คนทั้งหลายจึงติเตียนว่าทำให้เขาต้องเสียค่าปรับ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ติเตียนแล้ว บัญญัติสิกขาบท ความว่า ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซื้อจีวร และเธอแสดงไวยาวัจจกรแล้ว เธอจะไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจจกรได้ไม่เกิน ๓ ครั้ง ไปยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่เกิน ๖ ครั้ง ถ้าทวงเกิน ๓ ครั้ง หรือไปยืนเกิน ๖ ครั้ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.


๑. ถ้าจำพรรษาครบ ๓ เดือน เก็บได้ ๑ เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บไว้ได้ต่อไปอีก ๔ เดือน รวมเป็น ๕ เดือน
๒. คำว่า มิใช่ญาติ คือไม่เกี่ยวเนื่องทางสายโลหิต ทางสายมารดา หรือบิดา ส่วนเขย หรือสะใภ้ ตลอดจนผู้เคยเป็นสามี ภริยา ก็ไม่นับเป็นญาติ. เพราะในตัวอย่างนี้ ผู้ก่อเหตุ คือผู้เคยเป็นสามีภริยากัน

 

๒. โกสิยวรรค วรรคว่าด้วยไหม เป็นวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งเจือด้วยไหม)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาช่างทำไหม ขอให้เขาต้มตัวไหม, และขอใยไหมบ้าง เพื่อจะหล่อสันถัต (เครื่องลาด, เครื่องปูนั่ง) เจือด้วยไหม, เขาหาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุหล่อสันถัต เจือด้วยไหม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๒ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียมดำล้วน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียม (ขนแพะ ขนแกะ) ดำล้วน คนทั้งหลายติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามหล่อเองหรือใช้ให้หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๓ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน เมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วนเพียงแต่เอาขนจียมขาวหน่อยหนึ่ง ใส่ลงไปที่ชาย มีผู้ติเตียน จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน ถ้าไม่ทำตามส่วนนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๔ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อยังใช้ของเก่าไม่ถึง ๖ ปี)

              ภิกษุทั้งหลายหล่อสันถัตทุกปี ต้องขอขนเจียมจากชาวบ้าน เป็นการรบกวนเขา มีผู้ติเตียนอ้างว่าของชาวบ้านเขาใช้ได้นานถึง ๕-๖ ปี จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ให้ถึง ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภายหลังภิกษุเป็นไข้ เขานิมนต์ไปที่อื่น ไม่กล้าไป เพราะจะนำสันถัตไปด้วยไม่ไหว จึงทรงอนุญาตให้มีการสมมติเป็นพิเศษสำหรับภิกษุไข้.

สิกขาบทที่ ๕ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่)

              ภิกษุทั้งหลายทิ้งสันถัตไว้ในที่นั้น ๆ พระผู้มีพรภาคทอดพระเนตรเห็น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาสันถัตเก่า ๑ คืบ โดยรอบ เขือลงไป เพื่อทำลายให้เสียสี. ถ้าไม่ทำอย่างนั้น หล่อสันถัตใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (สิกขาบทนี้ ทำให้เห็นความสำคัญของสันถัตเก่าที่จะต้องเก็บไว้ปนลงไปเมื่อหล่อใหม่ด้วย).

สิกขาบทที่ ๖ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์)

              ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในโกศลชนบท. มีผู้ถวายขนเจียมในระหว่างทาง เธอเอาจีวรห่อนำไป มนุษย์ทั้งหลายพากันพูดล้อว่า ซื้อมาด้วยราคาเท่าไร จะได้กำไรเท่าไร. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุเดินทางไกล มีผู้ถวายขนเจียม ถ้าปรารถนาก็พึงรับและนำไปเองได้ ไม่เกิน ๓ โยชน์ในเมื่อไม่มีผู้นำไปให้ ถ้านำไปเกิน ๓ โยชน์ แม้ไม่มีผู้นำไปให้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำความสะอาดขนเจียม)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) ใช้นางภิกษุณีให้ซัก ให้ย้อม ให้สางขนเจียม ทำให้เสียการเรียน การสอบถาม และเสียข้อปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ชั้นสูง. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติซัก, ย้อม, หรือสางขนเจียม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๘ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามรับทองเงิน)

              เจ้าของบ้านที่พระอุปนนทะ ศากยบุตร เข้าไปฉันเป็นนิตย์ เตรียมเนื้อไว้ถวายเวลาเช้า แต่เด็กร้องไห้ขอกินในเวลากลางคืน จึงให้เด็กกินไป รุ่งเช้าจึงเอากหาปณะ (เงินตรามีราคา ๔ บาท) ถวาย พระอุปนนทะก็รับ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับเอง ใช้ให้รับทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๙ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ (ทอง เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงิน ที่กำหนดให้ใช้ได้ทั่วไปในที่นั้น ๆ) มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าทำเหมือนเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๑๐ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก)

              ปริพพาชกผู้หนึ่ง เห็นพระอุปนนทะ ศากยบุตร ห่มผ้าสังฆาฏิสีงาม จึงชวนแลกกับท่อนผ้าของตน ภายหลังทราบว่าผ้าของตนดีกว่า จึงขอแลกคืน พระอุปนนทะไม่ยอมให้แลกคืน จึงติเตียนพระอุปนนทะ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำการซื้อขายด้วยประการต่าง ๆ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (หมายถึงซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยใช้สิ่งของแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างนักบวชในพระพุทธศาสนาทำได้).


๑.       ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีปัจจัย ๔ ได้ คือทายกมอบเงินไว้แก่ไวยาวัจจกร เพื่อให้จัดหาปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่ง ยารักษาโรค ภิกษุต้องการอะไร ก็บอกให้เขาจัดหาให้ จึงมีประเพณีถวายใบปวารณาปัจจัย ๔

 

๓. ปัตตวรรค วรรคว่าด้วยบาตร เป็นวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่าเป็นพ่อค้าบาตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก (คือที่เกิน ๑ ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ) ไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง)

              ช่างหม้อปวารณาให้ภิกษุทั้งหลายขอบาตรได้ แต่ภิกษุทั้งหลายขอเกินประมาณ จนเขาเดือดร้อน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงผ่อนผันให้ขอได้ ในเมื่อบาตรหาย หรือบาตรแตก หรือบาตรเป็นแผลเกิน ๕ แห่ง.

สิกขาบทที่ ๓ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน)

              มีผู้ถวายเภสัช ๕ สำหรับคนไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่พระปิลินทวัจฉะ ท่านก็แบ่งให้บริษัทของท่าน (ซึ่งเป็นภิกษุ). ภิกษุเหล่านั้นเก็บไว้ในที่ต่าง ๆ เภสัชก็ไหลเยิ้มเลอะเทอะวิหารก็มากไปด้วยหนู. คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เก็บเภสัช ๕ ไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกิน ๗ วัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาและทำนุ่ง ก่อนเวลา (จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน ๑ เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ภายใน ๑๕ วันก่อนฤดูฝน ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปชนบท เธอว่าจีวรชำรุดมาก เธอไม่ไปพระอุปนนทะจึงให้จีวรใหม่ ภายหลังภิกษุนั้นปลี่ยนใจจะตามเสด็จพระผู้มีพระภาค พระอุปนนทะโกรธ จึงชิงจีวรคืนมา พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ชิงคืนเองหรือใช้ให้ชิงคืนมา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ด้วยเหลือก็ไปขอเขาเพิ่ม ให้ช่างหูกทอเป็นจึวรอีก ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม ๓ ครั้ง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอให้ดีขึ้น)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ทราบว่า ชายผู้หนึ่งสั่งภริยาให้จ้างช่างหูกทอจีวรถวาย จึงไปหาช่างหูกสั่งให้เขาทอ ให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น เป็นต้น ด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิงนั้นไปเติมอีกเท่าตัว ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน ไปหาช่างหูให้ทออย่างนั้นอย่างนี้ ตนจะให้รางวัลบ้าง ครั้นพูดกับเขาแล้ว ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสักว่าบิณฑบาต ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษไว้เกินกำหนด)

              พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้รับผ้าจำนำพรรษา (ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา) แล้วเก็บไว้ได้. แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาล พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา ๑๐ วัน แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร เก็บเกินกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน)

              ภิกษุจำพรรษาแล้ว อยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรรู้ว่ามีจีวร ก็เข้าแย่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน จีวรหายบ้าง หนูกัดบ้าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. แต่จะอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ไม่เกิน ๖ คืน ถ้าเกินไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ (คือสงฆ์ประชุมกันสวดประกาศเป็นกรณีพิเศษ).

สิกขาบทที่ ๑๐ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซึ่งเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ เพื่อให้เขาถวายแก่ตน เขาถูกรบเร้าหนัก ก็เลยถวายไป ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.


๑.       ถ้าจำพรรษาครบ ๓ เดือน เก็บได้หลังจากออกพรรษา ๑ เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บต่อได้อีก ๔ เดือน จึงเป็น ๕ เดือน

 

ปาจิตติยกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)

              กัณฑ์นี้ มี ๙๒ สิกขาบท แบ่งออกเป็น ๙ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท เว้นแต่วรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท.

๑. มุสาวาทวรรค วรรคว่าด้วยการพูดปด เป็นวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามพูดปด)

              พระหัตถกะ ศากยุบุตร สนทนากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วกลับรับ รับแล้วกลับปฏิเสธ กล้าพูดปดทั้ง ๆ รู้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดปดทั้ง ๆ รู้.

สิกขาบทที่ ๒ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามด่า)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลอันเป็นที่รักอื่น ๆ แล้วด่า แช่ง ด้วยคำด่า ๑๐ ประการ คือถ้อยคำที่พากพิงถึงชาติ (กำเนิด), ชื่อ, โคตร, การงาน, ศิลปะ, อาพาธ, เพศ, กิเลส, อาบัติ, และคำด่าที่เลว พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ด่าภิกษุอื่น.

สิกขาบทที่ ๓ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามพูดส่อเสียด)

              ภิกษุฉัพพีคคีย์พูดส่อเสียดภิกษุสองฝ่ายซึ่งทะเลาะกัน ฟังความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น ฟังความข้างโน้นไปบอกข้างนี้เพื่อให้แตกร้าวกัน ทำให้ทะเลาะกันยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดส่อเสียดภิกษุอื่น.

สิกขาบทที่ ๔ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสกทั้งหลายให้กล่าวธรรม (พร้อมกัน) โดยบท ทำให้อุบาสกเหล่านั้น ขาดความเคารพในภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สอนธรรมแก่อนุปสัมบัน (คือผู้มิได้เป็นภิกษุหรือภิกษุณี) พร้อมกันโดยบท.

สิกขาบทที่ ๕ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน)

              อุบาสกไปฟังธรรม นอนค้างที่วัด ในหอประชุม ภิกษุบวชใหม่ก็นอนร่วมกับเขาด้วย เป็นผู้ไม่มีสติสัมปัญญะ นอนเปลือยกาย ละเมอ กรน เป็นที่ติเตียนของอุบาสกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้มิใช่ภิกษุ). ต่อมาทรงผ่อนผันให้นอนร่วมกันได้ไม่เกิน ๓ คืน.

สิกขาบทที่ ๖ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง)

              พระอนุรุทธ์เดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ขออาศัยในอาคารพักแรมของหญิงคนหนึ่ง ต่อมามีคนเดินทางมาขออาศัยในโรงพักนั้นอีก หญิงเจ้าของบ้านพอใจในรูปโฉมของพระอนุรุทธ์ จึงจัดให้พักใหม่ห้องเดียวกับนาง แล้วยั่วยวนท่านต่าง ๆ ท่านกลับเฉย และแสดงธรรมให้ฟัง จนหญิงนั้นปฏิญญา ตนถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับมาตุคาม (คือผู้หญิง).

สิกขาบทที่ ๗ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง)

              พระอุทายีแสดงธรรมกระซิบที่หูของสตรี ทำให้ผู้อื่นสงสัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามแสดงธรรมแก่สตรี ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม (สตรี) เกิน ๖ คำ ต้องปาจิตตีย์ เว้นแต่มีชายผู้รู้เดียงสาอยู่.

สิกขาบทที่ ๘ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช)

              พระพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่องเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในปาราชิก สิกขาบทที่ ๔ คืออวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน แต่คราวนี้ ทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช (มิได้เป็นภิกษุ หรือภิกษุณี).

สิกขาบทที่ ๙ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพระอุปนนทะ ศากยบุตร เลยแกล้งประจานพระอุปนนทะ กับพวกอุบาสก ที่กำลังเลี้ยงพระว่า พระอุปนนทะต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน (ผู้มิได้เป็นภิกษุ หรือภิกษุณี) ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ.

สิกขาบทที่ ๑๐ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด)

              ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงขุดดินเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นขุดบ้าง มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าผิดประเพณีนิยมของสมณะ พระผู้มีพระภาค (ทรงอนุโลมตามประเพณีที่ถือว่าแผ่นดินเป็นของมีชีวิต คือมีอินทรีย์หนึ่ง) จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขุดดินเองหรือใช้ให้ผู้อื่นขุด ต้องปาจิตตีย์.


๑.       อรรถกถาเรียกว่า ขุททกกัณฑ์ แปลว่า หมวดเล็กน้อย และเรียกนิสสัคคิยกัณฑ์วา ติงสกกัณฑ์ แปลว่า หมวด ๓๐ สิกขาบท
๒. ในที่นี้ หมายถึงผู้ชาย แต่ในสิกขาบทที่ ๔ หมายรวมทั้งหญิงและชาย
๓. หมายถึงดินที่ฝนตกรดแล้วเกิน ๔ เดือน สิกขาบทนี้น่าจะเห็นว่าเป็นการป้องกันการทำให้สัตว์ในดิน เช่น ไส้เดือนตายด้วย

 

๒. ภูตคามวรรค วรรคว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้ เป็นวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำลายต้นไม้)

              ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงตัดต้นไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นตัดบ้าง มนุษย์ทั้งหลายพากันติดเตียน ด้วยถือว่าต้นไม้มีชีวิต มีอินทรีย์หนึ่ง พระผู้มีพระภาค (ทรงอนุโลมตามสมมติของชาวโลก) จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำให้ต้นไม้ตาย(ต้นไม้มี ๕ อย่าง คือที่มีหัวเป็นพืช เช่น ขิง, มีลำต้นเป็นพืช เช่น ไทร, มีปล้องเป็นพืช เช่น อ้อย, ไม้ไผ่, มียอดเป็นพืช เช่น ผักชีล้อม, มีเมล็ดเป็นพืช เช่น ข้าว, ถั่ว).

สิกขาบทที่ ๒ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน)

              พระฉันนะประพฤติอนาจาร ถูกโจทอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับพูดเฉไฉไปต่าง ๆ บ้าง นิ่งเสียบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดไปอย่างอื่น ผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก (ด้วยการนิ่งในเมื่อถูกไต่สวนในท่ามกลางสงฆ์).

สิกขาบทที่ ๓ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ)

              ภิกษุทั้งหลายซึ่งมีพระเมตติยะและพระภุมมชกะเป็นหัวหน้า ติเตียน บ่นว่าพระทัพพมัลลบุตร ผู้แจกเสนาสนะ แจกภัตต์ พระผู้มีพระภาคทรงสอบสวนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ติเตียน บ่นว่า (ภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ).

สิกขาบทที่ ๔ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง)

              ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะ (ที่นอนที่นั่ง) มาไว้กลางแจ้งในฤดูหนาว ผิงแดดแล้วหลีกไป ไม่เก็บไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ ไม่บอกให้ใครรับรู้ เสนาสนะถูกหิมะตกใส่ (เปียกชุ่ม) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุตั้งไว้เอง หรือใช้ผู้อื่นให้ตั้งไว้ซึ่งเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ของสงฆ์ในกลางแจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือไปโดยไม่บอกกล่าวให้ใครรับรู้ ต้องปาจิตตีย์ ต่อมาทรงอนุญาตพิเศษให้เก็บเสนาสนะ ในมณฑปหรือที่โคนไม้ ซึ่งสังเกตว่า ฝนจะไม่ตกรั่วรด กาเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด ๘ เดือน (แห่งฤดูหนาวและฤดูร้อน ฤดูละ ๔ เดือน).

สิกขาบทที่ ๕ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ)

              ภิกษุพวก ๑๗ รูป ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วหลีกไป ไม่เก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือบอกให้ใครรับรู้ ปลวกกินเสนาสนะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุปู หรือให้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือไม่บอกกล่าวให้ใครรับรู้ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์หาวิธีแย่งที่อยู่ภิกษุอื่น โดยเข้าไปนอนเบียดภิกษุเถระ ด้วยคิดว่า เธออึดอัดเข้าก็จะหลีกไปเอง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ เข้าไปนอนเบียดผู้เข้าไปอยู่ก่อนในวิหารของสงฆ์ ด้วยคิดว่า เธออึดอัดก็จะหลีกไปเอง เธอมุ่งอย่างนี้เท่านั้น ไม่ใช่อย่างอื่น ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์(พวก ๖) แย่งที่ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) เมื่อเห็นขัดขืนก็โกรธ จึงจับคอฉุดคร่าออกไป พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ จากวิหารของสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน)

              ภิกษุ ๒ รูปอยู่ในกุฎีเดียวกัน เตียงหนึ่งอยู่ข้างล่าง เตียงหนึ่งอยู่ข้างบน ภิกษุอยู่ข้างบนนั่งบนเตียงโดยแรง เท้าเตียงหลุด ตกลงถูกศีรษะของภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุนั่งนอนบนเตียงหรือตั่งอันมีเท้าเสียบ (ในตัวเตียง) ในวิหารของสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น)

              มหาอำมาตย์ผู้อุปฐากของพระฉันนะให้สร้างวิหารถวายพระ เมื่อเสร็จแล้ว พระฉันนะอำนวยการพอกหลังคาพอกปูนบ่อย ๆ วิหารก็เลยพังลงมา พระฉันนะเก็บหญ้า เก็บไม้ ได้ทำข้าวของพราหมณ์ผู้หนึ่งให้เสียหาย พราหมณ์ยกโทษติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ถ้าภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่ พึงยืนในที่ไม่มีของเขียว (พืชพันธุ์ไม้) อำนวยการพอกหลังคาไม่เกิน ๓ ชั้น จนจดกรอบประตูเพื่อตั้งบานประตูได้ เพื่อทาสีหน้าต่างได้ ถ้าทำให้เกินกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน)

              ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์ เอาน้ำนั้นรดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดบ้าง เป็นที่ติเตียนของภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ เอาน้ำมีสัตว์รดหญ้า หรือดิน หรือใช้ให้ผู้อื่นรด ต้องปาจิตตีย์.


๑.       คำว่า ต้นไม้ ในตัวสิกขาบทนี้ แปลจากคำว่า ภูตคาม
๒. จากสิกขาบทนี้เป็นอันให้เลิกใช้ที่อยู่ชนิดนั้น เว้นแต่จะทำให้แน่นหนา

๓. โอวาทวรรค วรรคว่าด้วยการให้โอวาท เป็นวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นภิกษุอื่น ๆ สอนนางภิกษีณีแล้วได้ของถวายต่าง ๆ อยากจะมีลาภบ้าง จึงแจ้งความประสงค์แก่นางภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อนางภิกษุณีไปสดับโอวาทก็สอนเพียงเล็กน้อย แล้วชวนสนทนาเรื่องไร้สาระโดยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ไม่ได้รับสมมุติจากสงฆ์ สอนนางภิกษุณีต้องปาจิตตีย์. ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์หาทางสมมติกันเองในที่นอกสีมา (เพราะจำนวน ๖ รูป พอที่จะเป็นจำนวนสงฆ์) พระผู้มีพระภาคจึงทรงกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับภิกษุที่จะสอนนางภิกษุณีถึง ๘ ข้อ โดยกำหนดให้มีพรรษาถึง ๒๐ หรือเกินกว่าเป็นข้อสุดท้าย.

สิกขาบทที่ ๒ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว)

              พระจูฬปันถกสอนนางภิกษุณีจนค่ำ มนุษย์ทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่ออาทิตย์ตกแล้ว ภิกษุสอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ นางภิกษุณีทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้เมื่อนางภิกษุณีเจ็บไข้.

สิกขาบทที่ ๔ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสนอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระเถระทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุพูดว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ต้องปาจิตตีย์ (ห้ามประจานกันเอง แม้เห็นแก่อามิสจริง ถ้าเที่ยวพูดไป ก็ต้องอาบัติทุกกฏ).

สิกขาบทที่ ๕ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ)

              ภิกษุรูปหนึ่งให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ)

              พระอุทายีเย็บจีวรให้นางภิกษุณี มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเย็บเอง หรือใช้ผู้อื่นให้เย็บจีวร เพื่อให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ โอวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ชวนนางภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนนางภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน แม้ชั่วระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังผ่อนผันให้เดินทางร่วมกันได้ เมื่อทางนั้นมีภัย ต้องไปเป็นคณะ.

สิกขาบทที่ ๘ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางร่วมเรือร่วมกัน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ชวนนางภิกษุณีไปในเรือลำเดียวกัน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกันขึ้นหรือล่อง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้ข้ามฟากได้.

สิกขาบทที่ ๙ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีเที่ยวไปสู่ตระกูล แนะนำให้เขาถวายอาหารแก่พระเทวทัตกับพวก มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่นางภิกษุณีแนะให้เขาถวาย ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้ ว่าถ้าคฤหัสถ์เขาเริ่มไว้เองก่อน ฉันได้.

สิกขาบทที่ ๑๐ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณี)

              พระอุทายีนั่งในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณีผู้เป็นอดีตภริยาของตนเสมอ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.


๑. สตฺถคมนีโย แปลได้สองอย่าง คือเป็นทางที่ต้องไปด้วยหมู่เกวียน ซึ่งถือเอาความว่า ต้องไปเป็นคณะอีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ต้องไปด้วยศัสตรา คือต้องมีศัสตราวุธ

 

๓. โภชนวรรค วรรคว่าด้วยการฉันอาหาร เป็นวรรคที่ ๔ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๑ มื้อ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปฉันอาหารในโรงพักเดินทางที่คณะเจ้าของเขาจัดอาหารให้เป็นทานแก่คนเดินทางที่มาพัก แล้วเลยถือโอกาสไปพักและฉันเป็นประจำ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุพึงฉันอาหารในโรงพักเพียงมื้อเดียว ถ้าฉันเกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้ภิกษุไข้ ซึ่งเดินทางต่อไปไม่ไหวฉันเกินมื้อเดียวได้.

สิกขาบทที่ ๒ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม)

              พระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะ จึงต้องเที่ยวขออาหารเขาตามสกุล ฉันรวมกลุ่มกับบริษัทของตน มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุฉันอาหารรวมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้เมื่อเป็นไข้, เมื่อถึงหน้าถวายจีวร, เมื่อถึงคราวทำจีวร, เมื่อเดินทางไกล, เมื่อไปทางเรือ, เมื่อประชุมกันอยู่มาก ๆ, เมื่อนักบวชเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร.

สิกขาบทที่ ๓ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น)

              กรรมกรผู้ยากจนคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปฉันที่บ้าน ภิกษุทั้งหลายไปเที่ยวบิณฑบาตฉันเสียก่อน (อาจจะเกรงว่าอาหารเลวหรือไม่พอฉัน) เมื่อไปฉันที่บ้านกรรมกรคนนั้นจึงฉันได้เพียงเล็กน้อย (เพราะอิ่มมาก่อนแล้ว) ความจริงอาหารเหลือเฟือ เพราะชาวบ้านรู้ข่าวเอาของไปช่วยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารรายอื่นก่อน ภายหลังทรงผ่อนผันให้ในยามเจ็บไข้, ในหน้าถวายจีวร, ในคราวทำจีวร, มอบให้ภิกษุอื่นฉันในที่นิมนต์แทน.

สิกขาบทที่ ๔ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร)

              มารดานางกาณาทำขนมไว้จะให้บุตรีนำไปสู่สกุลแห่งสามี ภิกษุเข้าไปรับบิณฑบาตแล้วกลับบอกกันต่อไปให้ไปรับ นางจึงถวายจนหมด แม้ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ที่ทำขนมก็เกิดเรื่องทำนองนี้ จนบุตรีของนากาณาไม่ได้ไปสู่สกุลสามีสักที ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุตรีของนาง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเข้าไปสู่สกุล ถ้าเขาปรารณาด้วยขนมหรือด้วยข้าวสัตตุผง เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา พึงรับเพียงเต็ม ๒-๓ บาตร ถ้ารับเกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์. ทางที่ชอบ ภิกษุรับ ๒-๓ บาตรแล้ว พึงนำไปแบ่งกับภิกษุทั้งหลาย.

สิกขาบทที่ ๕ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว)

              ภิกษุรับนิมนต์ไปฉันบ้านพราหมณ์คนหนึ่ง แล้วบางรูปไปฉันที่อื่นหรือไปรับบิณฑบาตอีก พราหมณ์ติเตียน แสดงความน้อยใจ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุฉันเสร็จแล้วบอกไม่รับอาหารที่เขาเพิ่มให้แล้ว เคี้ยวหรือฉันของเคี้ยวของฉัน ต้องปาจิตตีย์. ภายหลังทรงอนุญาตให้ฉันอาหารที่เป็นเดนได้.

สิกขาบทที่ ๖ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด)

              ภิกษุรูปหนึ่งรู้ว่า ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว แกล้งแค่นไค้ให้ฉันอาหารอีก เพื่อจับผิดเธอ (ตามสิกขาบที่ ๕) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๗ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารในเวลาวิการ)

              ภิกษุพวก ๑๗ ฉันอาหารในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันอาหารในเวลาวิกาล (ตั้งแต่เที่ยงไปจนรุ่งอรุณ).

สิกขาบทที่ ๘ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน)

              พระเวลัฏฐสีสะเก็บข้าวตากไว้ฉันในวันอื่น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน.

สิกขาบทที่ ๙ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ขออาหารประณีต คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, ปลา, เนื้อ, นมสด, นมส้ม มาเพื่อฉันเอง เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น เว้นไว้แต่อาพาธ.

สิกขาบทที่ ๑๐ โภชนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน)

              ภิกษุรูปหนึ่งไม่ชอบรับอาหารที่มนุษย์ถวาย จึงไปถือเอาเครื่องเซ่น ที่เขาทิ้งไว้ตามสุสานบ้าง ตามต้นไม้บ้าง ตามหัวบันไดบ้าง มาฉัน เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันอาหารที่เขามิได้ให้ (ประเคน) เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน.


๑. การฉันอาหารเป็นคณะ ในที่นี้ หมายถึง ๔ รูปขึ้นไป
๒. ทำให้เจ้าของบ้านที่นิมนต์เสียใจว่าเขาเลี้ยงไม่อิ่มหรืออย่างไร

๕. อเจลกวรรค วรรคว่าด้วยชีเปลือย เป็นวรรคที่ ๕ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามยื่นอาหารด้วยให้ชีเปลือยและนักบวชอื่น ๆ)

              ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจกเป็นทานแก่คนอดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาที่เป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอิญให้เกินไป ๑ ก้อน แก่นักบวชหญิงนั้น ด้วยเข้าใจผิด พวกเขาเองจึงล้อกันว่า พระอานนท์เป็นชู้ของหญิงนั้น. และภิกษุรูปหนึ่งฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง. มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะการยื่นให้ด้วยมือ แสดงคล้ายเป็นศิษย์ หรือคฤหัสถ์ประเคนของพระ จะกลายเป็นเหยียดตัวเองลงเป็นคฤหัสถ์). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพพาชก แก่ปริพพาชิกา ด้วยมือของตน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๒ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไล่เธอกลับ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๓ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร เข้าไปในสกุลที่มีสามีภริยาเขานั่งอยู่ด้วยกัน ได้ภิกษาแล้ว สามีไล่ให้กลับ แต่ภริยานิมนต์ให้นั่งอยู่ก่อน จึงนั่งอยู่ เขาไล่ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่กลับ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุเข้าสู่สกุลที่มีสามีภริยาอยู่ด้วยกัน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๔ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำลังกับมาตุคาม)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ไปสู่เรือนสหาย นั่งในที่ลับมีที่กำบังกับภริยาของสหายนั้น เขาติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำลังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๕ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ไปสู่เรือนสหาย นั่งในที่ลับ (หู) กับภริยาของสหายนั้นสองต่อสอง เขาติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๖ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร รับนิมนต์ไปฉันในที่แห่งหนึ่งแล้ว ไปสู่สกุลอื่นเสียก่อน ทำให้ภิกษุอื่น และเจ้าของบ้านที่นิมนต์ไว้ต้องคอย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมหลายครั้ง รวมความในสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุรับนิมนต์แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ (ในวัด) เที่ยวไปในสกุลทั้งหลายก่อนฉันก็ดี ภายหลังฉันก็ดี เว้นแต่สมัย คือคราวถวายจีวร และคราวทำจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้)

              มหานาม ศากยะ ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ให้ขอเภสัชได้ตลอด ๔ เดือน แล้วปวารณาต่ออีก ๔ เดือน แล้วปวารณาต่อจนตลอดชีวิต ภิกษุฉัพพัคคีย์ขอเนยใส ในขณะที่คนใช้ของมหานาม ศากยะ ไปทำงาน แม้จะถูกขอร้องให้คอยก็ไม่ยอม กลับพูดว่า ปวารณาแล้วไม่ให้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงขอปัจจัยสำหรับภิกษุไข้ที่เขาปวารณา ๔ เดือนได้ ถ้าขอเกินกำหนดนั้น เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก และปวารณาตลอดชีวิต ต้องปาจิตตีย์. (ไม่เป็นไข้ขอไม่ได้ แสร้งขอในเมื่อไม่มีความจำเป็นก็ไม่ได้).

สิกขาบทที่ ๘ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปดูกองทัพที่ยกไป พระเจ้าปเสนทิทอดพระเนตรเห็นก็ทรงทักท้วง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไปดูกองทัพที่เขายกไป ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุสมควร.

สิกขาบทที่ ๙ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นไปในกองทัพ และพักอยู่เกิน ๓ คืน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องไปในกองทัพ ภิกษุจะพักอยู่ในกองทัพได้ไม่เกิน ๓ ราตรี ถ้าอยู่เกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามดูเขารบกัน เป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นต้องไปพักในกองทัพ ๒-๓ ราตรี เธอได้ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และดูทัพที่จัดเป็นกระบวนเสร็จแล้ว. ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๖ รูป ถูกลูกเกาทัณฑ์ (เพราะไปดูเขารบกัน) เป็นที่เยาะเย้ยติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุที่พักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ ราตรี ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และทัพที่จัดเป็นขบวนเสร็จแล้ว ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.


๑. วางให้ไม่เป็นอาบัติ
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตีความไปอย่างอื่นว่า สกุลที่เขากำลังบริโภคอาหารกันอยู่

 

  ๖. สุราปานวรรค วรรคว่าด้วยการดื่มสุรา เป็นวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามดื่มสุราเมรัย)

              พระสาคตะปราบนาค (งูใหญ่) ของพวกชฏิลได้ ชาวบ้านดีใจ ปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่หาได้ยาก ภิกษุฉัพพัคคีย์แนะให้ถวายเหล้าใส สีแดงดั่งเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม พระสาคตะเมานอนอยู่ที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุดื่มสุรา (น้ำเมาที่กลั่น) และเมรัย (น้ำเมาที่หมักหรือดอง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๒ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามจี้ภิกษุ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เอานิ้วมือจี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) รูปหนึ่ง เธอสะดุ้ง เลยขาดใจตาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจี้ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามว่ายน้ำเล่น )

              ภิกษุ (พวก ๑๗) เล่นน้ำในแม่น้ำอจิรวดี พระเจ้าปเสนทิออกอุบายฝากขนมไปถวายพระพุทธเจ้า เพื่อให้ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านี้ไปเล่นน้ำ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุว่ายน้ำเล่น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๔ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย)

              พระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน กลับไม่เอื้อเฟื้อ ขืนทำต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) หลอกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) ให้กลัวผีจนร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำภิกษุให้กลัว ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามติดไฟเพื่อผิง)

              ภิกษุทั้งหลายก่อไฟผิงในฤดูหนาว งูร้อนออกจากโพรงไล่กัดภิกษุแตกหนีกระจายไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุก่อไฟเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อไฟก็ดี เพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงอนุญาตให้ทำได้เมื่อเป็นไข้ (ผิงไฟที่คนอื่นเขาก่อไว้แล้ว ไม่ผิด).

สิกขาบทที่ ๗ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามอาบน้ำบ่อย ๆ เว้นแต่มีเหตุ)

              ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในแม่น้ำตโปทา พระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จไปจะสนานพระเกศา ทรงรออยู่ภิกษุเหล่านั้นอาบอยู่ พระองค์จึงได้สนานพระเกศาและกลับไปไม่ทัน ประตูเมืองปิด ต้องทรงพักค้างแรมอยู่นอกเมือง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุอาบน้ำก่อนกำหนดกึ่งเดือน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงอนุญาตให้อาบน้ำได้ก่อนกำหนดระยะกึ่งเดือน ในเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น ร้อนจัด เจ็บไข้ (ในปัจจันตประเทศ เช่น ประเทศเรา ไม่เกี่ยวกับสิกขาบทนี้ เพราะทรงบัญญัติสำหรับประเทศภาคกลางของอินเดีย).

สิกขาบทที่ ๘ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม)

              ภิกษุและปริพพาชกเดินทางจากเมืองสาเกตมาสู่เมืองสาวัตถี โจรปล้นระหว่างทาง เจ้าหน้าที่จับโจรได้พร้อมทั้งของกลาง จึงขอให้ภิกษุไปเลือกจีวรของตนที่ถูกชิงไป ภิกษุเหล่านั้นจำไม่ได้ เป็นที่ติเตียนจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุได้จีวรใหม่มา พึงถือเอาเครื่องทำให้เสียสี สีใดสีหนึ่งใน ๓ สี คือสีคราม สีโคลน สีดำคล้ำ (มาทำเครื่องหมาย). ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ใช้จีวรใหม่ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(วิกัปจีวรไว้แล้ว จะใช้ ต้องถอนก่อน)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร วิกัปจีวรกับภิกษุอื่นแล้วยังไม่ได้ถอน ใช้จีวรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุวิกัปจีวรกับภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร หรือสามเณรี แล้วใช้สอยจีวรนั้นที่ยังมิได้ถอน ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น)

              ภิกษุพวก ๖ ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุพวก ๑๗ ซึ่งไม่ค่อยเก็บงำบริขาร (เครื่องใช้) ของตนให้เรียบร้อย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุซ่อนบาตร จีวร กล่องเข็ม ประคดเอวของภิกษุ แม้เพื่อจะหัวเราะเล่น ต้องปาจิตตีย์.


๑. แกล้งพูดให้กลัวโจร กลัวสัตว์ร้าย กลัวผี เข้าในข้อนี้ทั้งสิ้น
๒. วิกัป คือทำให้เป็นสองเจ้าของ ถ้าผ้าเกิดขึ้นเกินจำเป็นที่อนุญาตให้มีได้ ภิกษุจะต้องทำให้เป็นสองเจ้าของกับภิกษุ ภิกษุณี เป็นต้น เวลาจะใช้ก็ต้องขออนุญาตต่อผู้ที่ตนมอบให้ร่วมเป็นเจ้าของก่อน                                                                               

๗. สัปปาณกวรรค วรรคว่าด้วยสัตว์มีชีวิต เป็นวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฆ่าสัตว์)

              พระอุทายีเกลียดกา จึงยิงกา ตัดศีรษะเสียบไว้ในหลาว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจงใจฆ่าสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์)

              ภิกษุพวก ๖ รู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว)

              ภิกษุพวก ๖ รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๔ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วบอกกับภิกษุอื่นขอให้ช่วยปกปิดด้วย ภิกษุนั้นก็ช่วยปกปิด พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐)

              ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก ๆ บรรพชาอุปสมบท เด็ก ๆ เหล่านั้น ลุกขึ้นร้องไห้ขออาหารกินในเวลากลางคืน เพราะทนหิวไม่ไหว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ให้บุคคลมีอายุต่ำกว่า ๒๐ อุปสมบท ผู้นั้นไม่เป็นอันอุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย (ที่นั่งเป็นพยาน) ต้องถูกติเตียน และในข้อนั้น ภิกษุ (ผู้เป็นอุปัชฌายะให้บวช) ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน)

              ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษี ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน)

              ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีคนหนึ่งทะเลาะกับสามีขอเดินทางร่วมไปกับภิกษุนั้นด้วย สามีติดตามทำร้ายภิกษุ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              ภิกษุอริฏฐะผู้เคยฆ่าแร้งมาก่อน มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า เมื่อมีภิกษุกล่าวตู่พระธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลายพึงห้ามปราม ถ้าไม่เชื่อฟังสงฆ์พึงสวดประกาศ เพื่อให้เธอละเลิกเสีย สวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่เชื่อฟัง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ยังคบหาพระอริฏฐะผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย ผู้ยังไม่ยอมละทิ้งความเห็นผิดนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามคบ ห้ามอยู่ร่วม ห้ามนอนร่วมกับภิกษุเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจีตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๑๐ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              สามเณรชื่อกัณฑกะ มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย สงฆ์จึงขับเสียจากหมู่ ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับคบหา พูดจา ร่วมกินร่วมนอนกับสามเณรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามพูดด้วย ห้ามใช้สอย ห้ามใช้ของร่วม หรือนอนร่วมกับสามเณรเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.


๑. คำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ กับคำว่า ภิกษุพวก ๖ ใช้หมายความอย่างเดียวกันในหนังสือนี้
๒. ศัพท์บาลีว่า สมฺภุญฺเชยฺย มีคำอธิบายในท้ายสิกขาบทว่า การร่วมใช้อามิส เช่น ให้อามิส หรือรับของกับอีกอย่างหนึ่ง การใช้ธรรมร่วม เช่น แสดงธรรมหรือให้แสดงธรรมร่วมกันโดยบท โดยอักขระ                                                                                       

๘. สหธัมมิกวรรค วรรคว่าด้วยการว่ากล่าวถูกต้องตามธรรม เป็นวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว)

              พระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน กลับพูดว่า จะขอถามภิกษุผู้รู้วินัยดูก่อน พระผูมีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ภิกษุว่ากล่าวถูกต้องตามธรรมกลับพูดว่า จักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้รู้วินัยก่อน ต้องปาจิตตีย์ อันภิกษุผู้ศึกษา จะต้องรู้จะต้องสอบสวน จะต้องไต่ถาม.

สิกขาบทที่ ๒ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์แกล้งกล่าวติเตียนพระวินัยว่า สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ชวนให้น่ารำคาญ รบกวนเปล่า ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า เมื่อสวดปาฏิโมกข์ ภิกษุแกล้งกล่าวติเตียนสิกขาบท ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร เมื่อฟังสวดปาฏิโมกข์ว่า ภิกษุไม่รู้ก็ต้องอาบัติ จึงกล่าวว่า เพิ่งรู้ว่าข้อความนี้มีในปาฏิโมกข์ (ทั้ง ๆ ที่ฟังมาแล้วไม่รู้ว่ากี่ครั้ง เป็นการแก้ตัว) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวแก้ตัวเช่นนั้น เป็นการปรับอาบัติในภิกษุ (ผู้แก้ตัวว่า) หลงลืม.

สิกขาบทที่ ๔ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ทำร้ายร่างกายภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) เธอร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธเคือง ทำร้ายภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ เงื้อมือจะทำร้ายภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธเคือง เงื้อมือ (จะทำร้าย) ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์แกล้งโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมีมูล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗ สหธัมมิกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น)

              ภิกษุพวก ๖ แกล้งพูดให้ภิกษุพวก ๑๗ กังวลสงสัยว่า เมื่อบวชอายุจะไม่ครบ ๒๐ จริง ถ้าเช่นนั้นก็คงไม่เป็นพระ ภิกษุพวก ๑๗ ร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุ ด้วยคิดว่า ความไม่สบายจักมีภิกษุนั้น แม้เพียงครู่หนึ่ง มุ่งเพียงเท่านั้น มิได้มุ่งเหตุอื่น ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุทั้งหลายแล้วไปแอบฟังความว่า ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตนอย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ภิกษุแอบฟังความด้วยประสงค์จะทราบว่าภิกษุเหล่านั้นพูดว่าอย่างไร มุ่งเพียงเท่านั้น มิได้มุ่งเหตุอื่น ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะในการประชุมทำกรรมของสงฆ์ แล้วกลับว่าติเตียนในภายหลัง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ฉันทะ (คือความพอใจหรือการมอบอำนาจให้สงฆ์ทำกรรมได้) เพื่อกรรมอันเป็นธรรม แล้วบ่นว่าในภายหลัง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ)

              สงฆ์กำลังประชุมกันทำกรรมอยู่ ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะแก่ภิกษุพวกตนรูปหนึ่งให้เข้าไปประชุมแทน ภายหลังภิกษุรูปนั้นไม่พอใจจึงลุกออกจากที่ประชุมทั้งที่มิได้ให้ฉันทะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะหลีกไปในเมื่อถ้อยคำวินิจฉัยยังค้างอยู่ในสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๑ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง)

              จีวรเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์ประชุมกันให้แก่พระทัพพมัลลบุตร ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับว่าสงฆ์ให้จีวรเพราะชอบกัน ภิกษุทั้งหลายจึงติเตียนว่า ร่วมประชุมกับสงฆ์แล้ว ทำไมจึงมาพูดติเตียนในภายหลัง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๑๒ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้ว่าเขาเตรียมจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ ไปพูดให้เขาถวายแก่ภิกษุ (ที่เป็นพรรคพวกของตน) เขาไม่ยอม เธอก็พูดแค่นได้จนเขารำคาญ ต้องถวายไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุน้อมลาภที่เขากะว่าจะถวายแก่สงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์.

๙. รตนวรรค วรรคว่าด้วยนางแก้ว (พระราชเทวี) เป็นวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา)

              พระเจ้าปเสนทิโกศลขอให้พระพุทธเจ้าส่งภิกษุไปสอนธรรมแก่พระองค์ พระผู้มีพระภาคจึงส่งพระอานนท์ไปสอนเป็นประจำ เช้าวันหนึ่งพระอานนท์เข้าไปยังตำหนักของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนางมัลลิกาต้องรีบออกจากตำหนักนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า ภิกษุมิได้รับนัดหมายก้าวล่วงธรณีเข้าไป (ในห้อง) ของพระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษก ในเมื่อพระราชายังไม่เสด็จออก พระมเหสียังไม่ออก ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่)

              ภิกษุรูปหนึ่งเก็บถุงเงินของพราหมณ์ผู้หนึ่งด้วยปรารถนาดี เมื่อพราหมณ์มาถามก็คืนให้ไป พราหมณ์แกล้งกล่าวว่าเงินในถุงของตนมีมากกว่านั้น (เพื่อไม่ต้องให้รางวัล) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บเองหรือใช้ผู้อื่นให้เก็บซึ่งรตนะ (แก้วแหวนเงินทอง) หรือสิ่งของสมมติว่าเป็นรตนะ ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ของตกในวัดหรือในที่อยู่ ควรเก็บเพื่อจะคืนเจ้าของไป ถือว่าเป็นการปฏิบัติชอบ.

สิกขาบทที่ ๓ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(จะเข้าบ้านในเวลาวิการ ต้องบอกลาภิกษุก่อน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าสู่บ้านในเวลาวิกาล (เที่ยงแล้วไป) ชวนชาวบ้านพูดเรื่องไร้สาระ เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาล ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงผ่อนผันให้เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาลได้ เมื่อบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดหรือในเมื่อมีกิจรีบด่วน.

สิกขาบทที่ ๔ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์)

              ช่างกลึงงาช้างปวารณาให้ภิกษุของกล่องเข็มได้ ภิกษุทั้งหลายก็ขอกันเรื่อย มีกล่องเล็กขอกล่องใหญ่ มีกล่องใหญ่ขอกล่องเล็ก จนช่างไม่เป็นอันทำขาย. เขาติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ทำกล่องเข็มที่ทำด้วยกระดูก, งาช้าง, เขาสัตว์ ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยทิ้ง (ก่อนจึงแสดงอาบัติตก).

สิกขาบทที่ ๕ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำเตียงตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร นอนบนเตียงสูง พระผู้มีพระภาคเสด็จตรวจวิหารพบเข้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั่งใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องล่าง ถ้าทำให้มีเท้าเกินกำหนด ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดทิ้ง (จึงแสดงอาบัติตก).

สิกขาบทที่ ๖ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้ทำเตียงตั่งหุ้มด้วยนุ่น)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง หุ้มด้วยนุ่น เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).

สิกขาบทที่ ๗ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปูนั่งไม่มีประมาณ ผ้าย้อยไปข้างหน้าข้างหลังของเตียงแลตั่ง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าปูนั่ง พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้นไป ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก) ภายหลังทรงอนุญาตชายผ้าปูนั่งอีก ๑ คืบ

สิกขาบทที่ ๘ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ ลากผ้าไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะทำให้ผ้าปิดฝี พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้น ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).

สิกขาบทที่ ๙ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ลากผ้าไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้น ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).

สิกขาบทที่ ๑๐ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ)

              พระนนทะ พุทธอนุชา ใช้จีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านเดินมาแต่ไกล ก็ลุกขึ้นต้อนรับ ด้วยนึกว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมา เมื่อเข้าใกล้เห็นว่ามิใช่ จึงติเตียนว่าใช้จีวรขนาดเท่าของพระสุคตพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำจีวรให้มีขนาดเท่าจีวรสุคตหรือยิ่งกว่า ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย. ประมาณแห่งจีวรสุคต คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ.


๑. คำว่า นุ่น หมายถึงนุ่นหรือสำลีจากไม้ยืนต้น, ไม้เลื้อยและหญ้า. ในวินัยอนุญาตให้ใช้ทำหมอนได้       

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ คือที่พึงแสดงคืน มี ๔ สิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๑ แห่งปาฏิเทสนียะ

(ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณีมาฉัน)

              นางภิกษุณีรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาต ได้แล้ว ขากลับเห็นภิกษุรูปหนึ่ง จึงบอกถวายอาหารที่ได้มา ภิกษุนั้นก็รับจนหมด นางจึงอดอาหารเพราะหมดเวลาที่จะเข้าไปบิณฑบาตอีกแล้ว รุ่งขึ้นนางไปบิณฑบาตได้พบภิกษุรูปนั้นอีก ก็บอกถวาย ภิกษุรูปนั้นก็รับจนหมด นางจึงอดอาหารอีก ในวันที่ ๓ ก็เป็นเช่นนี้ จนเวลาหลีกรถเศรษฐี นางถึงกับหมดแรงล้มลง เศรษฐีขอขมา ทราบความก็ติเตียนภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน รับของเคี้ยวของฉันจากมือของภิกษุณีมาเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

สิกขาบทที่ ๒ แห่งปาฏิเทสนียะ

(ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร)

              ภิกษุทั้งหลายได้รับนิมนต์ให้ไปฉันในสกุล นางภิกษุณีพวก ๖ ซึ่งชอบพอกับภิกษุพวก ๖ ได้ยืนอยู่ด้วย บอกกับเขาว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุพวก ๖ ฉันได้ตามต้องการ แต่ภิกษุอื่น ๆ ฉันอย่างไม่สะดวกใจ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทั้งหลายได้รับนิมนต์ให้ไปฉันในสกุล. ถ้านางภิกษุณีผู้คุ้นเคยมายืนอยู่ในที่นั้น บอกกับเขาว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายพึงไล่นางภิกษุณีนั้นไป จนกว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งมิได้ไล่นางภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.

สิกขาบทที่ ๓ แห่งปาฏิเทสนียะ

(ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ)

              ในสมัยนั้นสกุลบางสกุลเลื่อมใสทั้งฝ่ายสามีและภริยา เป็นสกุลเจริญด้วยศรัทธา แต่เสื่อมทรัพย์ (เป็นสกุลพระอริยบุคคล) บุคคลเหล่านี้ย่อมสละของเคี้ยวของกินที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่ภิกษุทั้งหลาย บางครั้งตัวเองถึงอด. คนทั้งหลายพากันติเตียนพวกภิกษุว่ารับไม่รู้จักประมาณ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดประกาศสมมติสกุลนั้นว่าเป็นสกุลของพระเสขะ แล้วทรงบัญญัติห้ามเข้าไปรับของเคี้ยวของฉันในสกุลที่สงสมมติว่าเป็นเสขะ ด้วยมือของตนมาเคี้ยวแลฉัน ทรงปรับอาบัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงอนุญาตว่า ถ้าเขานิมนต์ไว้ก่อนหรือเป็นไข้ เข้าไปรับอาหารมาฉันได้.

สิกขาบทที่ ๔ แห่งปาฏิเทสนียะ

(ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า)

              เจ้าศากยะที่เป็นหญิงนำอาหารไปเพื่อรับประทานในเสนาสนะป่า ถูกพวกทาสชิงของและข่มขืน เจ้าศากยะที่เป็นชายออกจับพวกนั้นได้ ติเตียนภิกษุทั้งหลายว่าไม่บอกเรื่องโจรอาศัยอยู่ในวัด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเปลี่ยวน่ากลัว รับของเคี้ยวของฉัน ซึ่งเขามิได้จัดไว้ก่อนด้วยมือของตน ภายในอาราม มาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภายหลังทรงผ่อนผันให้แก่ภิกษุไข้.

๔. เสขิยกัณฑ์ (ว่าด้วยวัตรและจรรยามารยาทที่ภิกษุจะต้องศึกษา)

              ต้นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบททุกข้อทั้งเจ็ดสิบห้าข้อในเสขิยกัณฑ์นี้ เนื่องมาแต่ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุพวก ๖) ทำความไม่ดีไม่งามไว้ทั้งสิ้น ในตัวสิกขาบทมิได้ปรับอาบัติไว้ เพียงแต่กล่าวว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบทระบุว่า ถ้าทำเข้าต้องอาบัติทุกกฏ (ซึ่งแปลว่าทำชั่ว) พร้อมทั้งแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติไว้ด้วย ในที่นี้จะรวบรัดกล่าวเฉพาะตัวสิกขาบท ส่วนวัตถุประสงค์ที่บัญญัติสิกขาบทนั้น ตลอดจนคำอธิบายท้ายสิกขาบท ข้อใดควรกล่าวไว้ก็จะกล่าวไว้ในวงเล็บ อนึ่ง เมื่อจัดหมวดใหญ่ ๆ ไว้แล้ว ยังจัดวรรคไว้คาบเกี่ยวระหว่างหมวดใหญ่ ๆ อีกด้วย ในที่นี้จึงเลือกแสดงไว้แต่หมวดใหญ่เพื่อกันความฟั่นเฝือ การจัดวรรคอาจสะดวกในการสวดก็ได้ แต่ในปัจจุบันการสวดปาฏิโมกข์ของพระมิได้ระบุวรรคไว้ด้วย คงออกชื่อแต่หมวดใหญ่ ๆ.

(๑) สารูป

(หมวดว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศ)
มี ๒๖ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล (เบื้องล่างปิดเข่า เบื้องบนปิดสะดือ ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง).

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง.

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่เปิดกาย).

สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้า).

สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน (คือไม่มองไปทางโน้นทางนี้ เหมือนจะค้นหาอะไร).

สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน (คือไม่ยกผ้าขึ้นด้านเดียวหรือ ๒ ด้าน).

สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.

สิกขาบที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน.

สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน.

จบหมวดสารูป ๒๖ สิกขาบท

(๒) โภชนปฏิสังยุต

(หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร)
มี ๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร รับบิณฑบาต

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป).

สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตพอสมเสมอขอบปากบาตร.

สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.

สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.

สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.

สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่ฉันแกงมากเกินไป).

สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.

สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก.

สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน.

สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ

สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป.

สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.

สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง.

สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน.

สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว.

สิกขาบทที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก.

สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.

สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.

สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.

สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว.

สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.

สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.

สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.

สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.

สิกขาบทที่ ๒๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร.

สิกขาบทที่ ๒๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.

สิกขาบทที่ ๒๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.

สิกขาบทที่ ๓๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.


๑. บาตรสมัยนั้นไม่ลึกมากอย่างปัจจุบัน แม้ภาชนะใส่ของคล้ายชาม ก็เรียกว่าบาตร จึงเลียได้

(๓) ธัมมเทสนาปฏิสังยุต

(หมวดว่าด้วยการแสดงธรรม)
มี ๑๖ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ.

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ.

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีศัสตรา (ของมีคม) ในมือ.

สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธ (ของซัดไปหรือยิงไปได้) ในมือ.

สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้า (รองเท้าไม้).

สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า.

สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน.

สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน.

สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า.

สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ.

สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ.

สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่บนอาสนะ (ผ้าหรือเครื่องปูนั่ง).

สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูง.

สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่

สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า.

สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง.

(๔) ปกิณณกะ

(หมวดเบ็ดเตล็ด)
มี ๓ สิกขาบท

สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.

สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พืชพันธุ์ไม้).

สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ.

๕. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง

๑. สัมมุขาวินัย การระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า (บุคคล, วัตถุ, ธรรม).

๒. สติวินัย การระงับอธิกรณ์ ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ.

๓. อมูฬหวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยการยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า.

๔. ปฏิญญาตกรณะ การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย.

๕. เยภุยยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ.

๖. ตัสสปาปิยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด.

๗. ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป.

เล่มที่ ๓ ชื่อภิกขุนีวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)

              ในเล่ม ๑ และ ๒ แห่งบาลีวินัยปิฎก ซึ่งย่อมาแล้ว ว่าด้วยศีลของภิกษุ ซึ่งมีอยู่ ๒๒๗ ข้อ อันจะต้องสวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน บัดนี้จึงมาถึงบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ซึ่งชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล ๓๑๑ ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์.

              ในศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ เพียง ๑๓๐ ข้อ ส่วนอีก ๑๘๑ ข้อ นำมาจากศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ ข้อ ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ ก็ไม่นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณี.

              บาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ที่ชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์นี้ แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๗ หัวข้อ คือ

              ๑. ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาราชิก คืออาบัติที่ต้องเข้าแล้ว ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุณี อาบัติปราชิกของนางภิกษุณีมี ๘ แต่แสดงไว้ในที่นี้เพียง ๔ ส่วน อีก ๔ ข้อ อนุโลมตามของภิกษุ.

              ๒. สัตตรสกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗ ข้อ (สัตตรส แปลว่า ๑๗) อาบัติสังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว ต้องประพฤติมานัตต์ ๑๕ วัน (คือ ๑ ปักษ์) ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องประจานตัวเองแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย และตลอดเวลา ๑๕ วันนั้น ต้องเสียสิทธิหลายอย่าง อาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุมี ๑๓ ข้อ ใช้ได้แก่นางภิกษุณีเพียง ๗ ข้อ เป็นของนางภิษุณีแท้ ๆ ที่แสดงไว้ในบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ นี้เพียง ๑๐ ข้อ.

              ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องสละสิ่งของ เรียกเต็มว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ เท่ากับของภิกษุ แต่ของภิกษุมาใช้เพียง ๑๘ ข้อ อีก ๑๒ ข้อที่แสดงไว้ในที่นี้ เป็นของนางภิกษุณีโดยตรง.

              ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ตามปกติ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ รวม ๑๖๖ ข้อ ในจำนวนนี้ ที่แสดงไว้ในที่นี้อันเป็นของนางภิกษุณีโดยตรงมี ๙๖ ข้อ นำของภิกษุมาใช้ ๗๐ ข้อ (๙๖+๗๐ = ๑๖๖) อาบัติปาจิตตีย์ของภิกษุมี ๙๒ ข้อ.

              ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัตปกฏิเทสนียะ คืออาบัติที่ควรแสดงคืน รวม ๘ ข้อ ซึ่งไม่ซ้ำกับของภิกษุเลย อาบัติปกฏิเทสนียะของภิกษุมี ๔ ข้อ มีที่น่าสังเกตก็คือ อาบัตินี้ของนางภิกษุณี เนื่องด้วยการขอของบริโภคทั้งแปดข้อ.

              ๖. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยระเบียบมารยาทที่ต้องศึกษา รวม ๗๕ ข้อ เป็นการนำของภิกษุมาใช้ทั้ง ๗๕ เป็นแต่ว่าในที่นี้ได้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในเรื่องนุ่งห่มไม่เรียบร้อย กับเรื่องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนเขฬะ (น้ำลาย) ลงในน้ำ ซึ่งก็มีที่ห้ามอยู่แล้วในเสขิยวัตร ๗๕ ของภิกษุ.

              ๗. อธิกรณสมถะ วิธีระงับอธิกรณ์ คงมี ๗ ข้ออย่างเดียวกับของภิกษุ.


๑. คำว่า บาลีวินัยปิฎก หมายถึงวินัยปิฎก ฉบับภาษาบาลี. อนึ่ง คำว่า ภิกขุนี เป็นภาษาบาลี ภิกษุณีเป็นภาษาสันสกฤต
๒. อาบัติปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลคือความดีให้ตก

ขยายความ

๑. ปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๘ สิกขาบท)

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

(ห้ามกำหนัดยินดีการจับต้องของบุรุษ)

              มีเรื่องเล่าว่า นางภิกษุณีชื่อสุนทรีนันทา มีความกำหนัดยินดีการจับต้องการแห่งหลานชายของนางวิสาขา ผู้มีนามว่าสาฬหะ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

(ห้ามปกปิดอาบัติปาราชิกของนางภิกษุณีอื่น)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรู้ว่านางสุนทรีนันทาภิกษุณีมีครรภ์กับสาฬหะมาณพ ก็ไม่โจทท้วงบอกกล่าว. นางสุนทรีนันนทาปกปิดการมีครรภ์ของตน จนครรภ์แก่จึงสึกไปคลอด พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษีณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

(ห้ามเข้าพวกภิกษุที่สงฆ์ขับจากหมู่)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้ประพฤติไม่ดี สงฆ์จึงสวดประกาศยกเสียจากหมู่ (ไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน). พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

(ห้ามเกี่ยวข้องนัดหมาย เป็นต้น กับบุรุษ)

              นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.

              (หมายเหตุ : ปาราชิกอีก ๔ ข้อ คือตั้งแต่ข้อ ๕ ถึงข้อ ๘ อนุโลมตามของภิกษุ


๑. รากขวัญ คือไหปลาร้าหรือหลุมคอ
๒. ภิกษุหรือภิกษุณีที่ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ จะต้องถูกลงโทษ ที่เรียกว่าอุขเขปนียกรรม คือการประกาศไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน ไม่ให้เข้าหมู่ เมื่อประพฤติดีแล้ว จึงถอนประกาศนั้น

๒. สัตตรสกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท)

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑

(ห้ามก่อคดีในโรงศาลกับคฤหัสถ์และนักบวช)

              นางถุลลนันทาภิกาณี เป็นความกับชายคนหนึ่งด้วยเรื่องโรงเก็บของที่บิดาของชายคนนั้นถวายเป็นของภิกษุณีสงฆ์ แต่เมื่อบิดาตาย ชายคนนั้นจะเอาคืน ศาลตัดสินให้นางภิกษุณีชนะ. ชายนั้นหาว่านางโกง. นางแจ้งความ. ศาลลงโทษชายนั้น. ชายนั้นสร้างที่อยู่ให้อาชีวก และให้อาชีวกมาด่า. นางแจ้งความ. ศาลตัดสินจำคุกชายนั้น. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีฟ้องความกับคฤหบดี บุตรคฤหบดี ทาส กรรมกร หรือแม้โดยที่สุดกับสมณะนักบวช ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่เป็นโจร)

              ชายาของเจ้าลิจฉวีคนหนึ่งนอกใจสามี สามีจะฆ่า จึงหนีไป พร้อมทั้งขโมยของมีค่าไปด้วย นางไปขอบวชในลัทธิอื่น ก็ไม่มีใครบวชให้ แต่นางถุลลนันทาภิกษุณีเห็นแก่ของกำนัล ยอมบวชให้ สามีตามมาถึงเมืองสาวัตถี ฟ้องต่อพระเจ้าปเสนทิขอให้สึกให้ พระเจ้าปเสนทิไม่ทรงยินยอม ทรงถือว่าบวชแล้วก็แล้วไป. สามีจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณี. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีรู้อยู่ รับสตรีซึ่งเป็นโจร อันคนทั้งหลายรู้ว่ามีโทษประหารให้อยู่ (ให้บวช) โดยไม่บอกเล่า พระราชา, สงฆ์, คณะ, หมู่, พวก เว้นแต่ผู้ที่สมควร (คือบวชในลัทธิอื่นแล้ว หรือบวชในสำนักนางภิกษุณีอื่นอยู่แล้ว) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓

(ห้ามเข้าบ้าน, ข้ามน้ำ, ค้างคืนแต่ผู้เดียว)

              มีเรื่องหลายเรื่องที่นางภิกษุณีข้ามน้ำ, นอนตามลำพัง, เดินทางแตกหมู่แล้วถูกข่มขืน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีแต่ลำพังผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ตาม, ข้ามแม่น้ำก็ตาม, ค้างคืนก็ตาม, ล้าหลังแยกจากหมู่ (ในการเดินทาง) ก็ตาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔

(ห้ามสวดเปลื้องโทษโดยไม่บอกสงฆ์ที่สวดลงโทษ)

              ภิกษุสงฆ์สวดประกาศลงโทษนางภิกษุณีรูปหนึ่งผู้ไม่เห็นอาบัติ นางถุลลนันทาภิกษุณีหาพวกสวดประกาศเปลื้องโทษ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีไม่บอกกล่าวสงฆ์ผู้ทำการ ไม่รู้ฉันทะ (ไม่ได้รับความยินยอม) ของคณะ เปลื้องโทษ นางภิกษุณีที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสนา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕

(ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษ)

              นางภิกษุณีรูปหนึ่ง รูปร่างงดงาม คนก็รุมถวายอาหารดี ๆ เกิดมีเสียงครหาขึ้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า

              นางภิษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษผู้มีความกำหนัด ด้วยมือของตนมาเคี้ยว มาฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖

(ห้ามพูดจูงใจให้นางภิกษุณีประพฤติย่อหย่อน)

              นางสุนทรีนันทาภิกษุณีผู้มีรูปงาม เห็นคนถวายอาหารดี ๆ มาก และรู้ว่าคนเหล่านั้นมีความกำหนัดจึงไม่รับ. นางอนันตริกาภิกษุณี กลับพูดจูงใจว่า เขากำหนัดหรือไม่กำหนัด จะเป็นไรไป ควรรับได้ ท่านไม่กำหนัดก็แล้วกัน. ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตสังฆาทิเสสแก่นางภิกษุณีผู้พูดจูงใจให้ย่อหย่อนแบบนั้น.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗

(ห้ามพูดดูหมิ่นภิกษุณีสงฆ์เมื่อโกรธเคือง)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีทะเลาะกับนางภิกษุณีอื่น มีความโกรธเคือง พูดว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สมณสตรีพวกศากยบุตรนี้จะอะไรนักเทียว สมณสตรีดี ๆ พวกอื่นก็มี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณสตรีเหล่านั้น

              พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกล่าวาจาเช่นนั้น เมื่อโกรธเคือง และเมื่อกล่าวไปแล้ว ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘

(ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีถูกลงโทษในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธเคือง จึงกล่าวหาว่า นางภิกษุณีทั้งหลาย ลุแก่อคติ ๔ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามติเตียนเช่นนั้น และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙

(ห้ามรวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย)

              นางภิกษุณีที่เป็นศิษย์ของนางถุลลนันทาภิกษุณี รวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดความชั่วของกันและกัน. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามประพฤติเช่นนั้น และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐

(ห้ามพูดยุยงนางภิกษุณีผู้ประพฤติผิด)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีพูดกับนางภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือน (ตามสิกขาบทที่ ๙) ว่า "แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรวมกลุ่มกัน อย่าแยกกัน. แม้นางภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ เบียดเบียนภิกษุสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกันก็มีอยู่ในสงฆ์ แต่สงฆ์ก็มิได้กล่าวอะไรซึ่งนางอภิกษุณีเหล่านั้น. สงฆ์ว่ากล่าวพวกท่าน เพราะดูหมิ่น เพราะข่มเหง เพราะไม่ชอบใจ เพราะเสียงซุบซิบ เพราะ(พวกท่าน) มีกำลังน้อย. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนางภิกษุณี กล่าวกะนางภิกษุณีที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือนเช่นนั้น. ถ้ามีใครขืนทำ ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน ถ้าไม่ฟัง ให้สวดประกาศเตือน ครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

              (หมายเหตุ : อีก ๗ สิกขาบทไม่ได้กล่าวไว้ แต่ให้ใช้สิกขาบทของภิกษุ คือสิกขาบที่ ๕, , , และ ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ รวม ๗ สิกขาบท)


๑. คฤหบดี แปลว่า ผู้ครองเรือน
๒. สมัยนั้น ใครลักทรัพย์ ๑ บาท คือ ๕ มาสกขึ้นไป ต้องประหารชีวิต
๓. คือเป็นอุปัชฌายะให้บวช
๔. ตามสิกขาบทนี้ แสดงว่านางภิกษุณีจะต้องอยู่ในหมู่ในคณะ จะปลีกตัวไปไหน หรือแม้นอนคนเดียว ไม่มีเพื่อนภิกษุณีด้วย ย่อมต้องอาบัติ

๓. นิสสัคคิยกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท)

ปัตตวรรค (วรรคว่าด้วยบาตร)

(มี ๑๐ สิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๑ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามสะสมบาตร)

              นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป สะสมบาตรไว้มาก เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีสะสมบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (บาตรที่นับว่าสะสม คือนอกจากที่ใช้ประจำ ๑ ลูก และนอกจากที่ทำวิกัป หรือทำให้เป็นสองเจ้าของ คืออนุญาตให้ผู้อื่นมีสิทธิด้วย).

สิกขาบทที่ ๒ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามอธิษฐานจีวรนอกกาลและแจกจ่าย)

              ชาวบ้านเห็นนางภิกษุณีกลุ่มหนึ่งมีจีวรเก่า แต่ประพฤติตนสำรวมดี จึงเลื่อมใสถวายจีวรนอกกาลแก่ภิกษุณีสงฆ์. นางถุลลนันทาภิกษุณีอ้างว่าตนกราลกฐินแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรในกาล ให้แจกจ่าย (เมื่อทำวิธีนี้ จีวรก็ตกเป็นของนางถุลลนันทาภิกษุณี ในฐานะเป็นผู้มีพรรษามาก). เจ้าของจีวรถามนางภิกษุณีที่ตนประสงค์จะให้ได้รับ ทราบว่าไม่ได้รับ เพราะนางถุลลนันทาภิกษุณีทำไปอย่างนั้น จึงติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอธิษฐานจีวรนอกาล เป็นจีวรในกาล แล้วแจกจ่าย ทรงปรับอาบัตนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๓ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามชิงจีวรคืนเมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีแลกจีวรกับภิกษุณีรูปอื่นแล้ว ภายหลังชวนแลกคืนตามเดิม พร้อมทั้งชิงเอาทั้ง ๆ ที่อีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ทันตกลงประการไร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ชิงคืนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นชิง.

สิกขาบทที่ ๔ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอของอย่างหนึ่งแล้วขออย่างอื่นอีก)

              อุบาสกคนหนึ่งถามนางถุลลนันทาภิกษุณีว่า ต้องการอะไร นางตอบว่า ต้องการเนยใส เขาจึงซื้อเนยใสมาถวาย นางกลับบอกว่า ไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน. เขาจึงเอาเนยใสไปคืน จะขอน้ำมันมาแทน แต่พ่อค้าไม่ยอมให้คืน. เขาจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณี. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอของอย่างหนึ่ง แล้วขอของอย่างอื่นอีก ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๕ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามสั่งซื้อของกลับกลอก)

              อุบาสกผู้หนึ่งเอาเงิน ๑ กหาปณะฝากไว้ที่พ่อค้าในตลาด แล้วบอกกับนางถุลลนันทาภิกษุณีว่า ต้องการอะไรในราคานั้นให้ไปนำมา. นางใช้นางสิกขมานา (สามเณรีผู้กำลังศึกษา คือสามเณรีที่เตรียมตัวจะเป็นนางภิกษุณีตามระยะกาลกำหนด) ผู้หนึ่ง ให้ไปนำน้ำมันมาราคา ๑ กหาปณะ ครั้นนำมาแล้ว สั่งเปลี่ยนใหม่ว่า ไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส. นางสิกขมานานำน้ำมันไปคืน จะขอเนยใสมา พ่อค้าไม่ยอมรับคืน. นางสิกขมานาก็ยืนร้องไห้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สั่งซื้อของกลับกลอกเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๖ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามจ่ายของผิดวัตถุประสงค์เดิม)

              พวกอุบาสกเรี่ยไรกันเพื่อทำจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์ แล้วเก็บของไว้ ณ บ้านของพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการจีวรให้ไปรับมาจัดแบ่งกัน. นางภิกษุณีทั้งหลายเอาผ้านั้นไปจ่ายแลกเภสัชมาบริโภคเสียเอง. เขารู้เข้าก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายแก่สงฆ์ไว้ไปจ่ายแลกของอื่น.

สิกขาบทที่ ๗ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอของมาจ่ายแลกของอื่น)

              พวกอุบาสกเรี่ยไรกันเพื่อทำจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์ แล้วเก็บของไว้ที่บ้านของพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการจีวร ก็ให้ไปรับมาจัดแบ่งกัน. นางภิกษุณีขอผ้านั้นด้วยตนแล้ว เอาบริขารนั้นไปจ่ายแลกเภสัชมาบริโภค. เขารู้เข้าก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายแก่พระสงฆ์ซึ่งตนขอมาเองไปจ่ายแลกของอื่น.

สิกขาบทที่ ๘ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม)

              ชนกลุ่มหนึ่งเรี่ยไรกันเพื่อทำข้าวยาคูถวายนางภิกษุณีทั้งหลาย (ในที่นี้ไม่ใช้คำว่า สงฆ์ ด้วยมุ่งหมายหมู่นางภิกษุณีที่ลำบากด้วยข้าวยาคู) แล้วฝากของไว้ที่บ้านพ่อค้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการข้าวยาคู ให้ไปเอาข้าวสารมาต้มเป็นข้าวยาคูบริโภค. นางภิกษุณีทั้งหลายเอาของนั้นจ่ายแลกเภสัชมาบริโภค. เขาทราบเข้าพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายไว้แก่คณะนางภิกษุณี มาจ่ายแลกของอย่างอื่น. (ความต่างกันของสิกขาบทนี้ กับสิกขาบที่ ๖ ที่ ๗ อยู่ที่คณะกับสงฆ์ คณะหมายเอา ๒-๓ รูป สงฆ์หมายเอา ๔ รูปขึ้นไป).

สิกขาบทที่ ๙ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอของของคณะมาจ่ายแลกของอื่น)

              เรื่องเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๘ เป็นแต่นางภิกษุณีขอก่อนแล้วจึงจ่ายแลกของ ทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๗ เป็นแต่สิกขาบทนี้เขาถวายแก่คณะ.

สิกขาบทที่ ๑๐ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอของบุคคลมาจ่ายแลกของอื่น)

              เรื่องทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๙ เป็นแต่เขาถวายของเป็นส่วนบุคคลสำหรับค่าทำความสะอาดบริเวณ แต่ผู้รับเอามาจ่ายแลกเภสัช.

จีวรวรรค (วรรคว่าด้วยจีวร)

สิกขาบทที่ ๑ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอผ้าห่มหนาวเกินราคา ๑๖ กหาปณะ)

              พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในธรรมเทศนาของนางถุลลนันทาภิกษุณี ออกปากให้ขอของได้ นางจึงขอผ้ากัมพลราคาแพง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ขอ (หรือให้เขาจ่าย) ผ้าห่มหนาว ราคาเกิน ๔ กังสะ (๑๖ กหาปณะ).

สิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอผ้าห่มฤดูร้อน ราคาเกิน ๑๐ กหาปณะ)

              พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในธรรมเทศนาของนางถุลลนันทาภิกษุณี ตรัสให้ขอสิ่งที่ต้องการได้ นางขอผ้าเปลือกไม้ ก็ถวายผ้าเปลือกไม้ตามประสงค์. มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่ามักมาก (เข้าใจว่าจะขอผ้าที่ทรงห่มอยู่ซึ่งมีราคาแพง). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี เมื่อขอผ้าห่มฤดูร้อน ขอผ้าเกินราคา ๒ กังสะครึ่ง (๑๐ กหาปณะ).

              (หมายเหตุ นิสสัคคิยกัณฑ์ที่แสดงไว้นี้ มีเพียง ๑๒ สิกขาบท ทั้ง ๆ ที่กล่าวมา มี ๓๐ สิกขาบท เพราะนำของภิกษุมาใช้ ๑๘ สิกขาบท. กล่าวอีกอย่างหนึ่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ของภิกษุ ๓๐ สิกขาบทนั้น เอาออกเสีย ๑๒ นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณีได้ ๑๘ สิกขาบท. ที่เอาออก ๑๒ คือสิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค. สิกขาบทที่ ๑ ถึง ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๘ และที่ ๙ แห่งปัตตวรรค).


๑. มีข้อน่าสังเกตอยู่ ๒ แห่ง คือผ้าห่มฤดูหนาว ใช้คำว่า ผ้าห่มหนัก (ครุปาปุรณํ) ผ้าห่มฤดูร้อน ใช้คำว่า ผ้าห่มเบา (ลหุปาปุรณํ) คำว่า ขอ แปลหักจากคำว่า "ทำให้เขาจ่าย" (เจตายเปยฺย)

ปาจิตติยกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)

              (ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ ๙๖ สิกขาบท ส่วนอีก ๗๐ สิกขาบทนำของภิกษุมาใช้ จึงรวมเป็น ๑๖๖ สิกขาบท ใน ๙๖ สิกขาบทนี้ แบ่งออกเป็น ๙ วรรค วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๗ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท วรรคที่ ๘ และที่ ๙ วรรคละ ๑๓ สิกขาบท).

ลสุณวรรคที่ ๑
(
วรรคว่าด้วยกระเทียม)

สิกขาบทที่ ๑ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันกระเทียม)

              อุบาสกผู้หนึ่งอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ขอกระเทียมได้ พร้อมทั้งสั่งคนเฝ้าไร่ให้จัดถวาย วันหนึ่งนางภิกษุณีหลายรูปไปขอกระเทียม เผอิญกระเทียมที่บ้านหมด เขาจึงให้ไปเก็บเอาเองที่ไร่. นางถุลลนันทาภิกษุณี ไม่รู้จักประมาณ ใช้คนเก็บไปเสียมากมาย. คนเฝ้าไร่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ฉันกระเทียม. (คงเพื่อป้อนกันไม่ให้ไปเที่ยวขอกระเทียมชาวบ้านอีก).

สิกขาบทที่ ๒ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนำขนในที่แคบออก)

              นางภิำกษุณีไปอาบน้ำเปลือยกายในท่าน้ำอันเดียวกับหญิงแพศยา (โสเภณี) ถูกพวกหญิงแพศยายกโทษติเตียนว่า นำขนในที่แคบออกเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัิติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้นำขนในที่แคบออก.

สิกขาบทที่ ๓ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด)

              นางภิกษุณี ๒ รูปเกิดความกำหนัด จึงเข้าห้องใช้ฝ่ามือตบ (ตามเนื้อตัวของกันและกัน) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัิตปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๔ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้)

              นางภิกษุณีมีความกำหนัดใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ใส่ในองค์กำเนิด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น. (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว-คำอธิบายท้ายสิกขาบท).

สิกขาบทที่ ๕ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว)

              พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีใช้น้ำชำระได้เมื่อปัสสาวะ ภิกษุณีบางรูปใช้น้ำชำระลึกเกินไปทำให้เป็นแผล. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว. (เพื่อป้องกันการกระทำด้วยความกำหนัด-คำอธิบายท้ายสิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๖ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน)

              มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งออกบวช ภริยาก็ออกบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย เวลาฉัน นางภิกษุณีที่เคยเป็นภริยามายืนถือภาชนะน้ำดื่มและถือพัดปฏิบัติอยู่. ภิกษุที่เคยเป็นสามีเห็นไม่เหมาะจึงห้ามปราม นางโกรธจึงเอาภาชนะน้ำคว่ำลงไปบนศีรษะและเอาพัดตีภิกษุนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปยืนถือภาชนะน้ำและพัดเมื่อภิกษุกำลังฉัน.

สิกขาบทที่ ๗ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ)

              นางภิกษุณีไปขอข้าวเปลือกดิบได้มา แต่ถูกแย่งชิงที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น. (คือฉันข้าวที่ตนทำ หรือใช้ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับข้าวเปลือกดิบนั้น ต้องอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๘ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง)

              นางภิกษุณีถ่ายอุจจาระใส่ภาชนะ เทลงไปนอกฝา ตกใส่ศีรษะของพราหมณ์คนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, ขยะ, หรือของที่เป็นเดน นอกฝาหรือนอกกำแพง.

สิกขาบทที่ ๙ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด)

              นางภิกษุณีทิ้งอุจจาระ เป็นต้น ลงในนาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, หรือของที่เป็นเดน ในของเขียวสด.

สิกขาบทที่ ๑๐ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูฟ้นอรำขับร้อง)

              มีงานมหรสพบนยอดเขากรุงราชคฤห์ นางภิกษุณีไปดู มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การบรรเลง.


๑. คำว่า ที่แคบ หมายถึงรักแร้ทั้งสองและองค์กำเนิด
๒. มีคำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เมื่อกำหนัดยินดีสัมผัส แม้ใช้ใบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องปาจิตตีย์

 

ปาจิตติยกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)

              (ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ ๙๖ สิกขาบท ส่วนอีก ๗๐ สิกขาบทนำของภิกษุมาใช้ จึงรวมเป็น ๑๖๖ สิกขาบท ใน ๙๖ สิกขาบทนี้ แบ่งออกเป็น ๙ วรรค วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๗ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท วรรคที่ ๘ และที่ ๙ วรรคละ ๑๓ สิกขาบท).

ลสุณวรรคที่ ๑
(
วรรคว่าด้วยกระเทียม)

สิกขาบทที่ ๑ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันกระเทียม)

              อุบาสกผู้หนึ่งอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ขอกระเทียมได้ พร้อมทั้งสั่งคนเฝ้าไร่ให้จัดถวาย วันหนึ่งนางภิกษุณีหลายรูปไปขอกระเทียม เผอิญกระเทียมที่บ้านหมด เขาจึงให้ไปเก็บเอาเองที่ไร่. นางถุลลนันทาภิกษุณี ไม่รู้จักประมาณ ใช้คนเก็บไปเสียมากมาย. คนเฝ้าไร่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ฉันกระเทียม. (คงเพื่อป้อนกันไม่ให้ไปเที่ยวขอกระเทียมชาวบ้านอีก).

สิกขาบทที่ ๒ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนำขนในที่แคบออก)

              นางภิำกษุณีไปอาบน้ำเปลือยกายในท่าน้ำอันเดียวกับหญิงแพศยา (โสเภณี) ถูกพวกหญิงแพศยายกโทษติเตียนว่า นำขนในที่แคบออกเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัิติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้นำขนในที่แคบออก.

สิกขาบทที่ ๓ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด)

              นางภิกษุณี ๒ รูปเกิดความกำหนัด จึงเข้าห้องใช้ฝ่ามือตบ (ตามเนื้อตัวของกันและกัน) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัิตปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๔ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้)

              นางภิกษุณีมีความกำหนัดใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ใส่ในองค์กำเนิด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น. (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว-คำอธิบายท้ายสิกขาบท).

สิกขาบทที่ ๕ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว)

              พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีใช้น้ำชำระได้เมื่อปัสสาวะ ภิกษุณีบางรูปใช้น้ำชำระลึกเกินไปทำให้เป็นแผล. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว. (เพื่อป้องกันการกระทำด้วยความกำหนัด-คำอธิบายท้ายสิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๖ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน)

              มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งออกบวช ภริยาก็ออกบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย เวลาฉัน นางภิกษุณีที่เคยเป็นภริยามายืนถือภาชนะน้ำดื่มและถือพัดปฏิบัติอยู่. ภิกษุที่เคยเป็นสามีเห็นไม่เหมาะจึงห้ามปราม นางโกรธจึงเอาภาชนะน้ำคว่ำลงไปบนศีรษะและเอาพัดตีภิกษุนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปยืนถือภาชนะน้ำและพัดเมื่อภิกษุกำลังฉัน.

สิกขาบทที่ ๗ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ)

              นางภิกษุณีไปขอข้าวเปลือกดิบได้มา แต่ถูกแย่งชิงที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น. (คือฉันข้าวที่ตนทำ หรือใช้ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับข้าวเปลือกดิบนั้น ต้องอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๘ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง)

              นางภิกษุณีถ่ายอุจจาระใส่ภาชนะ เทลงไปนอกฝา ตกใส่ศีรษะของพราหมณ์คนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, ขยะ, หรือของที่เป็นเดน นอกฝาหรือนอกกำแพง.

สิกขาบทที่ ๙ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด)

              นางภิกษุณีทิ้งอุจจาระ เป็นต้น ลงในนาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, หรือของที่เป็นเดน ในของเขียวสด.

สิกขาบทที่ ๑๐ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูฟ้นอรำขับร้อง)

              มีงานมหรสพบนยอดเขากรุงราชคฤห์ นางภิกษุณีไปดู มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การบรรเลง.


๑. คำว่า ที่แคบ หมายถึงรักแร้ทั้งสองและองค์กำเนิด
๒. มีคำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เมื่อกำหนัดยินดีสัมผัส แม้ใช้ใบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องปาจิตตีย์

อันธการวรรคที่ ๒
(
วรรคว่าด้วยเวลากลางคืน)

สิกขาบทที่ ๑ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด)

              นางภิกษุณีบางรูปยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในราตรีอันมืด มิได้ตามประทีป. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๒ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ)

              นางภิำกษุณีบางรูปยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในที่ลับ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๓ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง)

              นางภิกษุณีบางรูปเห็นว่า ห้ามทำ เช่น สิกขาบทที่ ๒ ในที่ลับ จึงยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในที่แจ้ง มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๔ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก)

              นางถุลลนันทาภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท อาบัติแก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๕ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา)

              นางภิกษุณีบางรูปไปฉันประจำในบ้านหนึ่ง. วันหนึ่งเมื่อฉันเสร็จแล้วก็หลีกไปโดยมิได้บอกลาเจ้าของบ้าน. นางทาสีกวาดบ้าน จึงเอาเครื่องลาดใส่ลงไปในภาชนะ. เจ้าของบ้านไม่เห็นเครื่องลาด จึงถามเอากับนางภิกษุณี นางภิกษุณีตอบว่าไม่ทราบ. เขาก็ทวงเอากับนางภิกษุณี บริภาษเอาแล้วตัดการถวายอาหารประจำ. ภายหลังคนทั้งหลายพบเครื่องลาดนั้นในภาชนะ จึงให้เจ้าของบ้านไปขอขมานางภิกษุณีนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปสู่สกุลก่อนเวลาอาหาร (ก่อนเที่ยง) นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนหลีกไป.

สิกขาบทที่ ๖ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร (เที่ยงไปแล้ว) ไม่บอกเจ้าของบ้าน นั่งบ้าง นอนบ้าง เหนืออาสนะ มนุษย์ทั้งหลายละอายนาง ก็ไม่นั่งไม่นอนเหนืออาสนะ (เกรงจะเป็นการตีเสมอ) และพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่เข้าสู่สกุล ในเวลาหลังอาหาร ไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน นั่งหรือนอนบนอาสนะ.

สิกขาบทที่ ๗ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน)

              นางภิกษุณีหลายรูปเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในระหว่างทางแวะขออาศัยพักกับสกุลพราหมณ์แห่งหนึ่ง. นางพราหมณีขอให้รอจนกว่าพราหมณ์ผู้สามีจะกลับมา. นางภิกษุณีก็ปูลาดที่นอน ด้วยคิดว่าจะรอแล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง. พราหมณ์นั้นมาในเวลากลางคืน ถาม ทราบความแล้ว สั่งให้ไล่ออกไป. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล ไม่บอกเจ้าของบ้านก่อนปูลาด หรือใช้ให้ปูลาดที่นอนแล้วนั่งหรือนอน.

สิกขาบทที่ ๘ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา)

              นางภัททากาปิลานีเห็นศิษย์ที่ตนเป็นอุปัชฌายะ บวชให้ รับใช้ดี จึงกล่าวกะนางภิกษุณีทั้งหลายว่า "แม่เจ้าทั้งหลาย นางภิกษุณีนี้อุปฐากเราดี เราจักให้จีวรแก่เธอ." นางภิกษุณีนั้นก็เทียวพูดยกโทษกะผู้อื่นด้วยถ้อยคำ (ประชด) ที่ถือมาผิด จำมาผิดว่า "ได้ยินว่า ข้าพเจ้าอุปฐากแม่เจ้าไม่ดี แม่เจ้าจึงไม่ให้จีวรแก่ข้าพเจ้า." ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ผู้ยกโทษผู้อื่นด้วยถ้อยคำที่ถือมาผิด ทรงจำผิด.

สิกขาบทที่ ๙ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์)

              ของของนางภิกษุณีหลายรูปหาย นางภิกษุณีจึงพากันถามนางจัณฑากาลีภิกษุณีว่า เห็นบ้างไหม ? นางจัณฑกาลีภิกษุณีก็สาปแช่งตัวเอง สาปแช่งผู้อื่นว่า ถ้าข้าพเจ้าเอาของไป ขอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ขอให้ตกนรก ถ้าใครหาความจริงไม่จริง ก็ขอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ให้ตกนรก. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สาปแช่งตัวเองหรือผู้อื่นด้วยนรกหรือพรหมจรรย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีทะเลาะกับนางภิกษุณีอื่น ๆ ก็ตีอกชกหัวแล้วร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้.


๑. อาสนะ คือเครื่องลาดหรือปูลาด แต่ในท้ายสิกขาบทแก้ว่า ที่ว่างแห่งบัลลังก์ จึงหมายความว่า นั่งบนเก้าอี้ ก็ชื่อว่านั่งบนอาสนะ
๒. คำว่า อุปัชฌายะ สำหรับนางภิกษุณีใช้ว่า ปวัตตินี ก็ได้ อุปัชฌายา ก็ได้

นัคควรรคที่ ๓
(
วรรคว่าด้วยเรื่องเปลือยกาย)

สิกขาบทที่ ๑ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ)

              นางภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำร่วมกับหญิงแพศยา ในท่าน้ำอันเดียวกัน ถูกพูดเย้ยหยันต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เปลือยกายอาบน้ำ.

สิกขาบทที่ ๒ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ)

              นางภิำกษุณีพวก ๖ ทำผ้าอาบน้ำเกินประมาณย้อยไปข้างหน้าข้างหลัง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้ทำผ้าอาบน้ำเกินประมาณ คือ ยาวเกิน ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบพระสุคต.

สิกขาบทที่ ๓ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพูดแล้วไม่ทำ)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีพูดกับภิกษุณีรูปหนึ่งว่า ผ้าทำจีวรของท่านดี แต่จีวรทำไว้ไม่ดี เย็บไว้ไม่ดี. นางภิกษุณีนั้นจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะเลาะออก ท่านจะเย็บให้ไหม. นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากว่า จะเย็บให้. นางภิกษุณีนั้นเลาะจีวรนั้นแล้ว จึงให้แก่นางถุลลนันทาภิกษุณี. นางพูดว่า จะเย็บ ๆ แต่ก็ไม่เย็บ หรือขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เลาะหรือให้เลาะจีวรแล้ว ภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่เย็บเองหรือไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ เว้นไว้แต่พักไว้เพียง ๔-๕ วัน.

สิกขาบทที่ ๔ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน)

              นางภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรกับนางภิกษุณีด้วยกันแล้วจาริกไปสู่ชนบท จีวรเหล่านั้นเก็บไว้นานก็เปรอะเปื้อน. นางภิกษุณี (ที่รับฝาก) จึงนำออกตาก. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน.

              (หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ ๕ ผืน คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว) ๒. อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ๔. สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) ๕. อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ). พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน ๕ ผืน เกิน ๕ วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด).

สิกขาบทที่ ๕ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น)

              นางภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต แล้วตากจีวรที่เปียกไว้ เข้าไปสู่วิหาร. ภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง จึงห่มจึวรนั้นเข้าไปสู่บ้าน. เจ้าของจีวรออกมาเที่ยวถามหา ทราบความก็ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ใช้จีวรสับกับของผู้อื่น. (ได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อนไม่เป็นอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๖ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์)

              สกุลอุปฐากของ นางถุลลนันทาภิกษุณีกล่าวว่า ใคร่จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์. นางกลับตัดบทด้วยวาจาว่า ท่านทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก, ไฟไหม้เรือนของเขา. เขาจึงติเตียนที่ทำอันตรายไทยธรรม (ของถวาย) ของเขา และทำให้เขาเสื่อมจากทรัพย์และจากบุญ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์.

สิกขาบทที่ ๗ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม)

              จีวรนอกกาลเกิดขึ้นแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์จึงประชุมกันเพื่อแบ่งจีวรนั้น. นางถุลลนันทาภิกษุณีถือเอาเหตุที่ศิษย์ของตนหลีกไปที่อื่น คัดค้านมิให้แบ่ง. ภิกษุณีทั้งหลายจึงแบ่งไม่ได้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่คัดค้านการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม.

สิกขาบทที่ ๘ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สมณจีวร (ผ้าที่ทำสำเร็จรูปสำหรับภิกษุณี) แก่นักแสดงละครบ้าง, นักฟ้อนบ้าง นักกระโดดบ้าง, นักเล่นกลบ้าง, นักเล่นกลองบ้าง โดยขอให้เขาสรรเสริญตนในที่ประชุมชน. พวกนั้นก็เที่ยวสรรเสริญต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ให้สมณจีวรแก่ผู้ครองเรือน แก่นักบวช (นอกศาสนา) ชายหรือหญิง.

สิกขาบทที่ ๙ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ)

              สกุลอุปฐากของนางถุลลนันทาภิกษุณีกล่าวว่า ถ้าสามารถก็จะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์. เมื่อภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาเสร็จแล้ว ก็ประชุมกันจะแบ่งจีวร นางถุลลนันทาภิกษุณีคัดค้านให้รอไปก่อน อ้างว่าภิกษุณีสงฆ์ยังหวังจะได้จีวรอยู่. เมื่อ (รอไปพอสมควรแล้วป ภิกษุณีทั้งหลายก็เตือนเรื่องจีวรที่จะได้นั้น. นางถุลลนันทาภิกษุณีจึงไปเตือนสกุลที่เขาว่าจะให้ เขาตอบว่า เขาไม่สามารถให้เสียแล้ว. ภิกษุณีทั้งหลายจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณีที่ทำให้คอยจนเกินสมัยสำหรับทำจีวร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทำให้ล่วงเลยสมัยทำจีวรไปด้วย (อ้าง) ความหวังว่าจะได้จีวรที่เพียงเขาพูดไว้.

สิกขาบทที่ ๑๐ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม)

              อุบาสกผู้หนึ่งสร้างวิหารถวายสงฆ์ และใคร่จะถวายจีวรนอกกาลแก่ภิกษุสงฆ์และภิกษุสงฆ์ ในการฉลองวิหารนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อขอให้ทรงเพิกถอน (ภาษาพระว่า เดาะ) กฐิน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตโดยให้ประชุมสงฆ์สวดประกาศ ขอมติในการเพิกถอนกฐิน. แต่ในภิกษุณีสงฆ์ ไม่มีใครทำการนี้สำเร็จ เพราะนางถุลลนันทาภิกษุณีคัดค้านไว้ด้วยหวังจะได้ลาภจีวรเป็นส่วนตัว. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้คัดค้านการเพิกถอนกฐินอันเป็นธรรม.


๑. คำว่า นักเล่นกลอง แปลจากคำว่า กุมภถูนิกา

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔
(
วรรคว่าด้วยการนอนร่วมกัน)

สิกขาบทที่ ๑ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป)

              นางภิกษุณีสองรูปนอนร่วมกันบนเตียงเดียวกัน พวกมนุษย์พากันติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่นอนบนเตียงเดียวกันสองรูป.

สิกขาบทที่ ๒ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป)

              นางภิำกษุณีสองรูปนอนร่วมกัน ใช้เครื่องปูลาดและห่มผืนเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๓ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี)

              มนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญนางภัททากาปิลานีภิกษุณีด้วยประการต่าง ๆ. นางถุลลนันทาภิกษุณีริษยา จึงเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง สอนธรรมบ้าง ใช้ให้สอนบ้าง ทำการท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้า นางภัททากาปิลานี (เพื่อก่อความรำคาญให้). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้แกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี.

สิกขาบทที่ ๔ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่พยาบาลเอง ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นพยาบาลสหชีวินี (คือนางภิกษุณีที่ตนเป็นอุปัชฌายะ บวชให้) ผู้เป็นไข้ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๕ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่)

              นางถุลลนันทาภิกษุณี ให้ที่อยู่แก่นางภัททากาปิลานีภิกษุณีแล้ว ภายหลังมีจิตริษยา โกรธเคืองฉุดคร่านางภัททากาปิลานี จากที่อยู่ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ให้ที่อยู่แก่นางภิกษุณีแล้ว โกรธเคือง ฉุดคร่าเองหรือใช้ให้ฉุดคร่าออกไป.

สิกขาบทที่ ๖ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคลุกคลีกัลคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีคลุกคลีกับคฤหบดีบ้าง บุตรคฤหบดีบ้าง เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่คลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เป็นผู้อันนางภิกษุณีทั้งหลายตักเตือนแล้ว ไม่ฟัง ภิกษุณีสงฆ์สวดประกาศให้ละเลิก ครบ ๓ ครั้ง แล้วก็ยังไม่ละเลิก.

สิกขาบทที่ ๗ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง)

              นางภิกษุณีเดินทางเปลี่ยว มีภัยเฉพาะหน้า ภายในแว่นแคว้น โดยมิได้ไปกับหมู่เกวียน ถูกพวกนักเลงประทุษร้าย เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เดินทางเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๘ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น)

              ความในสิกขาบทนี้เหมือนกับสิกขาบทที่ ๗ ต่างแต่ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น คือออกนอกรัฏฐะ (เช่น จากแคว้นกาสีไปสู่แคว้นมคธ).

สิกขาบทที่ ๙ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางภายในพรรษา)

              นางภิกษุณีเดินทางภายในพรรษา เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๑๐ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว)

              นางภิกษุณีอยู่จำพรรษในกรุงราชคฤห์. ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ก็คงอยู่ประจำในที่นั้นเป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้วไม่หลีกไปสู่ที่จาริก แม้สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์.

จิตตาคารวรรคที่ ๕
(
วรรคว่าด้วยอาคารอันวิจิตร )

สิกขาบทที่ ๑ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น)

              มนุษย์ทั้งหลายพากันไปดูอาคารอันวิจิตร (ด้วยลวดลาย) ในอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล นางภิกษุณีพวก ๖ ก็พากันไปดูบ้าง. มีผู้ติเตียนว่าทำตนเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไปดูพระราชวังก็ตาม, อาคารอันวิจิตรก็ตาม, ป่าก็ตาม, สวนก็ตาม, สระน้ำก็ตาม.

สิกขาบทที่ ๒ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์)

              นางภิำกษุณีใช้อาสันทิ (ม้ายาว) บ้าง บัลลังก์ (เก้าอี้นวมบุด้วยขนสัตว์) บ้าง มีผู้ติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้อาสันทิและบัลลังก์. (อาสันทิ ตัดเท้าออก, บัลลังก์ รื้อนวมขนสัตว์ออก ใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๓ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามกรอด้าย)

              นางภิกษุณีพวก ๖ กรอด้าย มีผู้ติเตียนว่า ทำการเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้กรอด้าย.

สิกขาบทที่ ๔ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับใช้คฤหัสถ์)

              นางภิกษุณีทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ (รับใช้). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้รับใช้คฤหัสถ์ (เช่น หุงข้าว หรือซักผ้าให้เขา).

สิกขาบทที่ ๕ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากว่าจะระงับอธิกรณ์แล้วไม่ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ระงับ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้นในเมื่อไม่มีเหตุขัดข้อง.

สิกขาบทที่ ๖ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้ของเคี้ยวขอบริโภคด้วยมือของตนแก่นักแสดงละครบ้าง, นักฟ้อนบ้าง, นักกระโดดบ้าง, นักเล่นกลบ้าง, นักเล่นกลองบ้าง เพื่อให้เขาสรรเสริญตนในที่ชุมนุมชน. พวกนั้นก็พากันสรรเสริญต่าง ๆ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ผู้ให้ข้องเคี้ยวของบริโภคด้วยมือของตนแก่คฤหัสถ์ก็ตาม แก่นักบวชชายก็ตาม หญิงก็ตาม.

สิกขาบทที่ ๗ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนแล้วไม่สละ (คือไม่ซักแล้วเฉลี่ยให้ผู้อื่นใช้บ้าง). นางภิกษุณีที่มีประจำเดือนก็ไม่ได้ใช้ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้สำหรับผู้มีประจำเดือนครบ ๓ วันแล้วไม่สละ (มีความจำเป็น เช่น ผ้าอื่นถูกโจรลักไปหรือหายเสีย หรือไม่มีภิกษุณีผู้มีประจำเดือน ไม่เป็นอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๘ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จาริก. ที่อยู่ถูกไฟไหม้. ไม่มีใครกล้าช่วยขนของออก ด้วยเกรงว่าจะถูกหาว่าทำให้ของหาย. นางถุลลนันทาภิกษุณีกลับมาถาม ทราบความ กลับยกโทษติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จากริก. (เมื่อจะเดินทางไปที่อื่น ต้องมอบที่อยู่ให้นางภิกษุณีหรือนางสิกขมานา หรือนางสามเณรี).

สิกขาบทที่ ๙ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา)

              นางภิกษุณีพวก ๖ เรียนติรัจฉานวิชชา (วิชาภายนอกที่ไม่มีประโยชน์) มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เรียนติรัจแนวิชชา.

สิกขาบทที่ ๑๐ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา)

              นางภิกษุณีพวก ๖ สอนติรัจฉานวิชชา มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สอนติรัจฉานวิชชา.


๑. คำว่า จิตตาคาร หรืออาคารอันวิจิตรนี้ ฝรั่งมีความเห็นว่า ควรแปลว่า อาคารที่แสดดงจิตรกรรม (Picture Gallery). คำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เป็นที่เล่นที่รื่นรมย์ของมนุษย์ทั้งหลาย
๒. ในสมัยนั้นผ้าหายาก จึงมีผู้ถวายไว้เป็นของกลาง สำหรับใช้เฉพาะผู้มีประจำเดือน เมื่อใช้แล้วต้องซักทำความสะอาด แล้วให้ผู้อื่นใช้บ้าง

อารามวรรคที่ ๖
(
วรรคว่าด้วยอาราม)

สิกขาบทที่ ๑ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า)

              ภิกษุหลายรูปนุ่งผ้าผืนเดียว (ไม่ได้ห่มจีวร) ทำจีวรอยู่ในวัดใกล้หมู่บ้าน. นางภิกษุณีไม่ได้บอกล่วงหน้า เข้าไปในวัด (คงทำให้น่าเกลียดที่เข้าไปเห็นพระนุ่งสบงโดยไม่ห่มจีวร). ภิกษุเหล่านั้นพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท และบัญญัติเพิ่มเติมอีก ๒ ครั้ง รวมเป็นข้อความว่า นางภิกษุณีรู้อยู่ไม่บอก (ล่วงหน้า) เข้าไปสู่ที่วัดที่มีภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ)

              นางภิำกษุณีพวก ๖ โกรธเคืองพระกัปปิตกะ ผู้เป็นอุปัชฌายะของพระอุบาลี คิดจะฆ่าเสีย. บางรูปเล่าให้พระอุบาลีฟัง. พระอุบาลีจึงบอกให้พระกัปปิตกะทราบ. พระกัปปิตกะจึงหลบซ่อน. นางภิกษุณีพวกนั้นฆ่าไม่สำเร็จ จึงโกรธเคืองพระอุบาลีว่าเป็นผู้ไปบอก จึงพากันด่าและบริภาษพระอุบาลี. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ด่า หรือบริภาษภิกษุ.

สิกขาบทที่ ๓ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีโกรธเคืองภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งสวดประกาศลงอุกเขปนียกรรม (ยกจากหมู่) แก่นางจัณฑกาลีภิกษุณี เพราะเหตุที่ไม่เห็นอาบัติ จึงด่าบริภาษภิกษุณีสงฆ์ว่า "นางภิกษุณีเหล่านี้เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักธรรม, โทษของกรรม, กรรมวิบัติหรือกรรมสมบัติ" พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้บริภาษภิกษุณีสงฆ์.

สิกขาบทที่ ๔ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว)

              พราหมณ์ผู้หนึ่งนิมนต์นางภิกษุณีหลายรูปไปฉัน. บางรูปฉันเสร็จแล้ว ไม่รับอาหารที่เขาจะเติมให้อีกแล้ว (ภาษาพระว่า ห้ามข้าวแล้ว) ก็ไปสู่สกุลญาติ บางรูปก็รับบิณฑบาตแล้วจากไป. พราหมณ์ผู้นิมนต์ทราบเรื่องก็ติเตียน ด้วยความน้อยใจว่า ตนไม่สามารถวายอาหารให้ได้ตามต้องการหรืออย่างไร ? พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีรับนิมนต์แล้ว หรือไม่รับอาหารที่เขาจะเติมให้อีกแล้ว เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น)

              นางภิกษุณีไปบิณฑบาตในตรอกแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี. เจ้าของบ้านนิมนต์ให้ฉันอาหาร แล้วสั่งให้บอกภิกษุณีอื่นให้มาบ้าง. เธอคิดจะกีดกัน จึงพูดกับนางภิกษุณีอื่น ๆ ว่า ที่นั่นมีสุนัขร้าย มีโคดุ เป็นที่เฉอะแฉะ อย่าไปเลย. ภายหลังความแตก เพราะนางภิกษุณีรูปอื่นไปทางตรอกนั้น ได้รับนิมนต์ให้ฉัน แล้วถูกต่อว่า ว่าเหตุไฉนนางภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่มา. เมื่อเขาทราบความก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ตระหนี่สกุล (คือพูดกีดกันมิให้ภิกษุณีรูปอื่นไปสู่สกุล หรือแกล้งพูดติเตียนนางภิกษุณีด้วยกันให้เขาฟังเพื่อจะได้นิมนต์ตนแต่ผู้เดียว).

สิกขาบทที่ ๖ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ)

              นางภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.

              (หมายเหตุ : ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท อ้างว่า ทำให้ไม่ได้ฟังโอวาทและไม่ได้อยู่ร่วม. คำว่าอยู่ร่วม หมายความว่า ทำกรรมร่วมกัน เรียนร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน. เหตุผลที่ให้นางภิกษุณีอยู่ในวัดที่มีภิกษุ อาจจะเพื่อป้องกันคนข่มเหงด้วยอีกส่วนหนึ่ง).

สิกขาบทที่ ๗ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย)

              นางภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาแล้วมิได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์-ภิกษุณีสงฆ์) โดยฐานะ ๓ คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยนึกรังเกียจสงสัย ต้องปาจิตตีย์ (ปวารณา คือการอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนได้).

สิกขาบทที่ ๘ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม)

              นางภิกษุณีพวก ๖ มีภิกษุพวก ๖ มาให้โอวาทอยู่แล้ว ก็ไม่ไปฟังโอวาทร่วมกับนางภิกษุณีทั้งหลาย มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่ไปเพื่อรับโอวาท เพื่อการอยู่ร่วม ต้องปาจิตตีย์. (การอยู่ร่วม คือร่วมสามัคคีทำกรรม หรือศึกษาเล่าเรียนร่วมกับนางภิกษุณีอื่น ๆ).

สิกขาบทที่ ๙ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท)

              นางภิกษุณีไม่ถามวันอุโบสถ ไม่ขอรับโอวาท มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถ การเข้าไปหาเพื่อรับโอวาท. ถ้าให้ล่วงกำหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๐ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น)

              นางภิกษุณีรูปหนึ่ง สองต่อสองกับบุรุษ ให้บีบฝีซึ่งเกิดขึ้นที่ "ปสาขา" (ใต้สะดือลงไป เหนือเข่าขึ้นมา). บุรุษนั้นพยายามข่มขืนนางภิกษุณีนั้น. นางจึงร้องขึ้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะก่อน เป็นผู้สองต่อสองกับบุรุษ ให้บีบก็ตาม, ให้ผ่าก็ตาม, ให้ชะก็ตาม, ให้พันผ้าก็ตาม, ให้แก้ผ้าพันก็ตาม ซึ่งฝีหรือแผลอันเกิดขึ้นที "ปสาขา" ต้องปาจิตตีย์.


๑. อกฺโกเสยฺย-ด่า, ปริภาเสยฺย = บริภาษ. ตามศัพท์น่าจะเป็นว่า ด่า คือด่าตรง ๆ บริภาษ คือด่าโดยอ้อม แต่คำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า บริภาษ คือพูดให้กลัว
๒. คำบริภาษตรงนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการด่าโดยอ้อม. คำว่า กรรม หมายถึงสังฆกรรม คือกรรมที่ทำเป็นการสงฆ์ กรรมวิบัติ คือสังฆกรรมที่ไม่สมบูรณ์ กรรมสมบัติ คือสังฆกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์

คัพภินีวรรคที่ ๗
(
วรรคว่าด้วยหญิงมีครรภ์)

สิกขาบทที่ ๑ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์)

              นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีครรภ์ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม)

              นางภิำกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีคนที่สอง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช ต้องปาจิตตีย์. (หญิงเช่นนี้ หมายรวมทั้งผู้เป็นมารดาและแม่นม).

สิกขาบทที่ ๓ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปี. นางก็เป็นผู้เขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอธิบายวิธีที่นางสิกขมานาจะขอสิกขาสมมติ (การสวดประกาศให้การศึกษา) จากภิกษุณีสงฆ์ และการสวดสมมติของภิกษุณีสงฆ์ ตลอดจนการเปล่งวาจาสมาทานและการไม่ประพฤติล่วงธรรม ๖ ข้อ. ครั้นแล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๔ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงวิธีที่นางสิกขมานาผู้ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว จะพึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์เพื่อขอวุฏฐานสมมติ (การสวดประกาศให้ความเห็นชอบที่จะอุปสมบทได้) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ นางไม่อดทนต่อหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย, เหลือบ, ยุง, ลม, แดด, สัตว์เสือกคลาน, คำพูดล่วงเกินและเวทนากล้า. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี)

สิกขาบทที่ ๗ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)

              สองสิกขาบทนี้ มีข้อความคล้ายสิกขาบทที่ ๓ และสิกขาบทที่ ๔ คือจะต้องขอสิกขาสมมติ และขอวุฏฐานสมมติจากนางภิกษุณีสงฆ์ จึงจะให้บวชได้ ถ้าให้บวชผู้ยังมีคุณสมบัติไม่สมบูรณ์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก คือผู้เป็นศิษย์ที่อุปัชฌายะ หรือปวัตตินี บวชให้) บวชแล้วมิได้สงเคราะห์เอง หรือให้ผู้อื่นสงเคราะห์ (ด้วยการสอนธรรม, การสอบถาม, การให้โอวาท, การพร่ำสอน) ตลอดเวลา ๒ ปี. นางจึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌายะ (ปวัตตินี) ผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๙ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี)

              นางภิกษุณีทั้งหลายมิได้ติดตาม ปวัตตินี (อุปัชฌายะ) ผู้บวชให้ตนตลอด ๒ ปี จึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่นางภิกษุณีผู้เป็นสหชีวินี (สัทธิวิหาริก) ผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๑๐ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก) บวชแล้ว มิได้พาไปที่อื่น มิได้ใช้ให้พาไปที่อื่น สามี (ของนางภิกษุณีนั้น) รับตัวไป (คือพาให้สึกไป). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้สหชีวินีบวชแล้ว ไม่พาไปที่อื่น โดยที่สุดแม้เพียง ๕-๖ โยชน์ ต้องปาจิตตีย์.


๑. ธรรม ๖ อย่าง คือศีล ๕ กับเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิการ. อนึ่ง เฉพาะศีลที่ ๓ เว้นจากการประพฤติล่วงพรหมจรรย์
๒. คำว่า ไม่ติดตามนี้ คำท้ายสิกขาบท หมายถึงไม่รับใช้. พึงสังเกตว่า นางภิกษุณีบวชแล้ว จะต้องติดตามรับใช้อุปัชฌายะ เพื่อได้ศึกษา เพื่ออยู่ในปกครอง ๒ ปี แต่ภิกษุต้องถือนิสสัย คืออยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรืออาจารย์ ๕ ปี

กุมารีภูตวรรคที่ ๘
(
วรรคว่าด้วยหญิงสาวที่ยังไม่มีสามี)

สิกขาบทที่ ๑ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปี)

              นางภิกษุณีทั้งหลายใหญิงสาวที่มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบวช. นางไม่อดทนต่อหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย เป็นต้น. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงสาวที่มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบวช ต้องปาจิตตีย์.

              (หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ ๑๒ จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก ๒ ปี จนอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ ๒๐ จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรีและเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว).

สิกขาบทที่ ๒ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ ๒ ปี)

สิกขาบทที่ ๓ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ)

              สองสิกขาบทนี้ มีเค้าความทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ และที่ ๔ และที่ ๖ ที่ ๗ แห่งคัพภินีวรรค ที่กล่าวมาแล้ว เป็นแต่นำมาใช้ในกรณีที่เป็นหญิงสาวมีอายุครบ ๒๐ ปี มีสิทธิจะบวชได้ ก็คงให้ศึกษาก่อน และศึกษาแล้วก็ต้องให้สงฆ์สวดสมมติอนุญาตให้อุปสมบทก่อน.

สิกขาบทที่ ๔ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ ๑๒)

              นางภิกษุณี พรรษาไม่ครบ ๑๒ ให้ผู้อื่นบวช. ตนเองก็เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. แม้สัทธิวิหารินี (ผู้ที่ตนบวชให้แปลตามศัพท์ว่า ผู้อยู่ร่วม) ก็เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณี พรรษาหย่อนกว่า ๑๒ ให้ผู้อื่นบวช ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ)

              นางภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ (แต่งตั้ง) ให้ผู้อื่นบวช. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีที่มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้ผู้อื่นบวช ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอให้แต่งตั้งเป็นอุปัชฌายะ ภิกษุณีสงฆ์พิจารณาแล้วไม่อนุญาต (เพราะเห็นว่ายังไม่เหมาะสม). นางก็รับคำว่า "สาธุ" ภายหลังภิกษุณีสงฆ์แต่งตั้งนางภิกษุณีอื่นให้เป็นอุปัชฌายะ. นางจัณฑกาลีภิกษุณีจึงเที่ยวโพนทะนาว่ากล่าว. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีที่สงฆ์ยังไม่อนุญาตให้เป็นอุปัชฌายะ รับคำว่า สาธุ แล้ว ภายหลังกลับติเตียน ต้องปาจิตตีย์. (สิกขาบทนี้ให้อำนาจภิกษุณีสงฆ์ พิจารณาผู้ที่จะเป็นอุปัชฌายะด้วย แม้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว จะไม่แต่งตั้งสวดสมมติให้ก็ได้)

สิกขาบทที่ ๗ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากกับนางสิกขมานารูปหนึ่งว่า ถ้าให้จีวรจะบวชให้ แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีกล่าวกะนางสิกขมานาว่า ถ้าท่านจักให้จีวรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักบวชให้ แล้วภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่บวชให้เองก็ดี ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ก็ดี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากกับนางสิกขมานารูปหนึ่งว่า ถ้าติดตามครบ ๒ ปี จะบวชให้ แล้วไม่บวช ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีกล่าวกะนางสิกขมานาว่า ถ้าติดตาม (รับใช้) ครบ ๒ ปี แล้วจะบวชให้ ภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่บวชให้เองก็ดี ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ก็ดี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาผู้คลุกคลีด้วยบุรุษ คลุกคลีด้วยชายหนุ่ม เป็นคนดุร้าย ก่อความเศร้าใจแก่คนอื่น มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาผู้คลุกคลีด้วยบุรุษ คลุกคลีด้วยชายหนุ่ม เป็นคนดุร้าย ก่อความเศร้าใจแก่คนอื่น ต้องปาจิตตีย์ (บุรุษ คือคนมีอายุครบ ๒๐ แล้ว, กุมารกะหรือชายหนุ่ม คือที่อายุยังไม่ถึง ๒๐).

สิกขาบทที่ ๑๐ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตบ้าง ที่สามียังไม่อนุญาตบ้าง. มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามียังมิได้อนุญาต ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๑ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำกลับกลอกในการบวช)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีคิดจะบวชให้นางสิกขมานา จึงนิมนต์พระภิกษุที่เป็นเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ครั้นแล้วเห็นของเคี้ยวของฉันมีมาก จึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะยังไม่บวชให้นางสิกขมานาละ" แล้วส่งภิกษุเถระเหล่านั้นกลับ นิมนต์พระเทวทัต เป็นต้น (รวม ๕ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระที่ก่อเรื่องยุ่งยาก) มาประชุมกัน บวชให้นางสิกขมานา. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๑๒ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชให้คนทุกปี)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีบวชให้คนทุก ๆ ปี ที่อยู่ไม่พอกัน มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้บวชให้ทุกปี (ต้องบวชปีเว้นปี).

สิกขาบทที่ ๑๓ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชให้ปีละ ๒ คน)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีบวชให้ปีละ ๒ คน. ที่อยู่ไม่พอกัน มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่บวชให้ปีละ ๒ คน.


๑. มีทางสันนิษฐานได้เป็น ๒ ประการ คือพูดเป็นเชิงเรียกสินบนหรือสิ่งตอบแทนอย่างอนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง หมายเพียงไปหาจีวรมาได้ก็จะบวชให้ คือมิใช่รับไว้เป็นของตน. เพราะเป็นประเพณีที่ผู้ขอบวชจะต้องมอบจีวรแก่อุปัชฌายะ แล้วอุปัชฌายะทำพิธีมอบให้ในเวลาบวช
๒. ฉบับฝรั่ง แปลคำว่า ปาริวาสิกฉนฺททาเนน ไปในทางว่าด้วยแสดงความพอใจภิกษุที่อยู่ปริวาส (ในการออกจากอาบัต) แต่คำอธิบายท้ายสิกขาบท และอรรถกถามุ่งไปในทางทำให้พระที่มาประชุมชุดก่อนต้องเก้อเลิกไป

ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙
(
วรรคว่าด้วยร่มและรองเท้า)

สิกขาบทที่ ๑ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีพวก ๖ ใช้ร่มใช้รองเท้า. มนุษย์ทั้งหลายติเตียนว่าใช้ของเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีใช้ร่มใช้รองเท้า ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญัติเพิ่มเติม อนุญาตให้ใช้ได้ ถ้าเป็นไข้ หรือไม่ใช้แล้วจะไม่สบาย.

สิกขาบทที่ ๒ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย)

              นางภิกษุณีพวก ๖ ไปด้วยยาน. มนุษย์ทั้งหลายติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไปด้วยยาน ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติม อนุญาตให้ไปด้วยยานได้ ถ้าเป็นไข้.

              (หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่าเลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น).

สิกขาบทที่ ๓ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง)

              นางภิกษุณีถูกสกุลที่ตนเข้าไปฉันขอร้องให้นำผ้า "สังฆาณี" (ผ้าแคบ แต่ยาวพอนุ่งปิดสะโพกได้ เมื่อนุ่งแล้วจะดูเป็นผ้าหยักรั้ง ผรั่งเรียกว่า Loin-cloth คือผ้าปกสะโพก แสดงรูปชาวอินเดียนุ่งผ้าแบบนี้ให้ดูด้วย) ไปมอบให้สตรีอีกคนหนึ่ง. นางภิกษุณีนั้นคิดว่าจะใส่บาตรนำไปก็เกรงน่าเกลียด จึงนุ่งไป ในขณะที่ไปในถนนถ้ายขาด ผ้าจึงหลุดลงมาเรี่ยราด ถูกติเตียนว่าใช้ผ้านุ่งเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้ผ้าสังฆาณี.

สิกขาบทที่ ๔ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง)

              นางภิกษุณีพวก ๖ ใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง (คือเครื่องประดับศีรษะ, คอ, มือ, เท้า และสะเอว) มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี)

              นางภิกษุณีพวก ๖ อาบน้ำด้วยน้ำหอมและน้ำมีสี (อาจใช้ย้อมกายได้) มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีอาบน้ำด้วยน้ำหอมและน้ำมีสี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ)

              นางภิกษุณีพวก ๖ อาบน้ำด้วยแป้งที่ทำด้วยงาอบกลิ่น มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีอาบน้ำด้วยแป้งงาอบกลิ่น ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีให้นางภิกษุณด้วยกันทาน้ำมันบ้าง นวดบ้าง มีผู้ติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้ผู้อื่นทาน้ำมันหรือนวด)

              สิกขาบททั้งสามนี้ ก็เหมือนกับสิกขาบที่ ๗ ต่างแต่ผู้ทาน้ำมันและนวดในสิกขาบทที่ ๘ เป็นนางสิกขมานา; สิกขาบทที่ ๙ เป็นสามเณรี; สิกขาบทที่ ๑๐ เป็นคิหินี (สตรีผู้เป็นคฤหัสถ์).

สิกขาบทที่ ๑๑ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีทั้งหลายไม่อาปุจฉา นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าของภิกษุ มีผู้ติเตียน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่อาปุจฉา นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๑๒ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส)

              สมัยนั้น นางภิกษุณีถามปัญหาภิกษุผู้ที่ตนมิได้ขอโอกาส มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีถามปัญหาที่ตนมิได้ขอโอกาส ต้องปาจิตตีย์. (เป็นระเบียบเรื่องความเคารพ).

สิกขาบทที่ ๑๓ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ)

              นางภิกษุณีเข้าบ้าน ไม่มีผ้าสังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือโอบที่ใช้ปิดตั้งแต่หลุมคอลงไป และตั้งแต่สะดือขึ้นมา). มนุษย์พากันแกล้งชมโฉมต่าง ๆ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่ใช้ผ้าสังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) เข้าบ้าน (กำหนดตั้งแต่เขตรั้วเข้าไป) ต้องปาจิตตีย์.

              (หมายเหตุ : ปาจิตตีย์ของนางภิกษุณีทั้งหมดมี ๑๖๖ แต่แสดงไว้ในภิกขุนีวิภังค์นี้เพียง ๙๖ สิกขาบท แบ่งเป็น ๙ วรรค. ๗ วรรคแรก มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท. ๒ วรรคหลัง มีวรรคะ ๑๓ สิกขาบท. และได้นำปาจิตตีย์ของภิกษุมาใช้ ๗๐ สิกขาบท (๙๖+๗๐=๑๖๖) คือปาจิตตีย์ของภิกษุมี ๙๒ สิกขาบท นำออกเสีย ๒๒ สกขาบทเฉพาะที่ไม่จำเป็นสำหรับนางภิกษุณี. ๒๒ สิกขาบทที่ไม่ใช้แก่นางภิกษุณี คือ โอวาทวรรคที่ ๓ รวมหมดทั้งสิบสิกขาบท โภชนวรรคที่ ๕ เฉพาะสิกขาบทที่ ๓, , ๖ และ ๙ รวม ๔ สิกขาบท : อเจลกวรรคที่ ๕ เฉพาะสิกขาบทที่ ๑; สัปปาณกวรรคที่ ๗ เฉพาะสิกขาบทที่ ๔, ๕ และ ๗ รวม ๓ สิกขาบท: รตนวรรคที่ ๙ เฉพาะสิกขาทที่ ๑, , ๗ และ ๙ รวม ๔ สิกขาบท: รวมทั้งสิ้น ๒๒ สิกขาบท, ท่านผู้ประสงค์จะทราบว่าสิกขาบทที่ไม่นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณีตามที่ระบุไว้ ๒๒ สิกขาบทนี้ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง โปรดดูหน้า ๑๖๘ ถึง ๑๗๙).


๑. อรรถกถาแสดงว่ามีลักษณะเป็นตาข่ายร้อยดอกไม้ ด้ายหลุด ดอกไม้หล่นกระจาย จึงน่าจะเป็นเครื่องประดับสะเอว แต่ Miss I.B. Horner แปลคำนี้ว่า Peticoat หรือกระโปรงชั้นใน, เมื่อดูสิกขาบทต่อไปเทียบเคียงแล้ว ทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นเครื่องประดับสะเอว
๒. ตามศัพท์แปลว่า ถามโดยเอื้อเฟื้อ โดยความคือขอโอกาสหรือขออนุญาต

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๑ ถึงสิกขาบทที่ ๘

(ห้ามขอโภชนะประณีต ๘ อย่าง ตามลำดับสิกขาบท มาฉัน)

              ความในสิกขาบททั้งแปดนี้อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ของที่ขอรวม ๘ อย่าง ตามลำดับสิกขาบท คือนางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ของเหล่านี้ มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ คือ ๑. เนยใส ๒. น้ำมัน ๓. น้ำผึ้ง ๔. น้ำอ้อย ๕. ปลา ๖. เนื้อ ๗. นมสด ๘. นมสด (เรียลำดับสิกขาบทตามลำดับของ).

              (หมายเหตุ : อาบัติปาฏิเทสนียะ แปลว่า อาบัติที่ต้องแสดงคืน ทั้งแปดสิกขาบทนี้ ไม่มีพ้องกับของภิกษุเลย. อนึ่ง ของภิกษุ ๘ อย่างที่ห้ามขอมาฉัน ในเมื่อไม่เป็นไข้นี้ เคยเรียกในสิกขาบทสำหรับภิกษุว่า โภชนะประณีตมี ๙ อย่าง โดยเพิ่มเนยข้น (นวนีตํ) เข้าในลำดับที่ ๒ แล้วเลื่อนข้ออื่น ๆ ไปไว้ถัดไป โดยนัยนี้ จึงขาดเนยข้นไปอย่างเดียว อาจเป็นเพราะไม่มีใครทำตัวอย่าง จึงไม่บัญญัติสิกขาบทก็ได้).

๖. เสขิยกัณฑ์

(ว่าด้วยวัตรและมารยาทที่ภิกษุณีจะต้องศึกษา)

              ในพระไตรปิฎกเรียกชื่อว่าเสขิยธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาของนางภิกษุณี คงมี ๗๕ ข้อ เหมือนของภิกษุ เป็นแต่ได้แสดงต้นเรื่องไว้ ๒ ข้อ ที่นางภิกษุณีพวก ๖ นุ่งห่มไม่เป็นปริมณฑล และถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น ซึ่งมีฟ้องกันอยู่แล้วในข้อห้ามสำหรับภิกษุ.

๗. อธิกรณสมถะ

(ว่าด้วยธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง)

              ทั้งเจ็ดข้อนี้ก็ตรงกับภิกษุ

สรุปศีลของนางภิกษุณี

              ชื่อ                       ของนางภิกษุณี           นำของภิกษุมาใช้           รวม

              ปาราชิก                                                                             

              สังฆาทิเสส                    ๑๐                                                   ๑๗

              นิสสัคคิยปาจิตตีย์           ๑๒                            ๑๘                      ๓๐

              ปาจิตตีย์                        ๙๖                           ๗๐                      ๑๖๖

              ปาฏิเทสนียะ                                                -                         

              เสขิยะ                             -                            ๗๕                       ๗๕

              อธิกรณสมถะ                    -                                                     

              รวมทั้งสิ้น                     ๑๓๐                         ๑๘๑                    ๓๑๑

เล่มที่ ๔ ชื่อมหาวรรค (เป็นวินัยปิฎก)

              คำว่า มหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ บรรจุข้อความมากถึง ๒ เล่มพระไตรปิฎก คือเล่ม ๔ และ เล่ม ๕. เฉพาะในเล่ม ๔ นี้แบ่งเป็นหมวดหรือตอนที่สำคัญ ซึ่งเรียกว่า "ขันธกะ" รวม ๔ ขันธกะ หรือ ๔ ตอน คือ

              ๑. มหาขันธกะ (หมวดใหญ่หรือตอนใหญ่) ว่าด้วยเหตุการณ์ตั้งแต่ตรัสรู้ จนถึงแสดงปฐมเทศนา, แสดงอนัตตลักขณสูตร, แสดงธรรมโปรดสกุลบุตร พร้อมทั้งครอบครัวและมิตรสหาย, แสดงธรรมโปรดภัททวัคคียกุมาร ๓๐ คน, แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิลพันรูป, แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร, พระสาริบุตร พระโมคคัลลานะออกบวช อุปัชฌายวัตร (ข้อปฏิบัติต่อท่านผู้บวชให้), สัทธิวิหาริกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อศิษย์ที่ตนบวชให้), การประณาม (ขับไล่), กรขอขมา, การบวชด้วยญัตติจตุตถกรรม, การบอกนิสสัย ๔, อาจริยวัตร (ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์), อันเตวาสิกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อภิกษุที่เป็นศิษย์ผู้อยู่ในปกครอง), นิสสัยระงับ, ผู้ควรให้บวช, การอบรมผู้เคยเป็นเดียรถีย์ก่อนให้บวช, ภัณฑุกรรม, การขาดคุณสมบัติในการบวช, การบวชสามเณร, สิกขาบท และการลงโทษสามเณร, ผู้ที่ห้ามบวช, วิธีการในการอุปสมบท, และเรื่องของภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงโทษ เพราะไม่เห็นความผิด (อาบัติ).

              ๒. อุโบสถขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยอุโบสถ) กล่าวถึงการฟังธรรม, การสวดปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถ, การสมมติสีมา, การสมมติโรงทำอุโบสถ, ปัญหาเรื่องสีมา, การสวดปาฏิโมกข์ย่อ, การอนุญาตให้เรียนปักขณนา, ส่วนประกอบอื่น ๆ ในกรปฏิบัติก่อนสวดปาฏิโมกข์ การนับวันอุโบสถและบุคคลที่ไม่อนุญาตให้ทำอุโบสถ.

              ๓. วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยวันเข้าพรรษา) การจำพรรษา, วันเข้าพรรษา ๒ อย่าง, การเลื่อนวันเข้าพรรษาให้เร็วเข้า, การเดินทางกลับภายใน ๗ วัน, อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา, การจำพรรษาในที่ต่าง ๆ และอาบัติทุกกฏเพราะรับคำแล้วไม่ทำตามถ้อยคำเกี่ยวกับการจำพรรษา.

              ๔. ปวารณาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยการปวารณา คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้) ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่พึงทราบและพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการปวารณา.

              นี้เป็นใจความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค วินัยปิฎก.

 

ขยายความ

๑. มหาขันธกะ (หมวดใหญ่)

              พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา. พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด ๗ วัน. ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ. ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย. ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และโดยปฏิโลม (ย้อนลำดับ) แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น.

ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ที่ชอบตวาดคน

              เมื่อครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้โพธิ ไปยังไม้อชปาลนิโครธ (ต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้นั้นตลอด ๗ วัน. มีพราหมณ์ผู้ชอบตวาดคนมาเฝ้า. กราบทูลถามถึงธรรมะที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ทรงเปล่งอุทานเป็นใจความว่า ผู้ที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์ คือผู้ลอยบาป ไม่มักตวาดคน ไม่มีกิเลสเหมือนน้ำฝาด สำรวมตน มีความรู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีความพอง (เย่อหยิ่ง).

ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก

              ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธ ไปยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้จิกนั้นตลอด ๗ วัน. ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน. พญานาคชื่อมุจลินท์มาวงด้วยขนดรอบพระกายของพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง เป็นต้น. ทรงเปล่งอุทานปรารภสุข ๔ ประการ คือ สุขเพราะความสงัด, สุขเพราะไม่เบียดเบียน, สุขเพราะปราศจากราคะ ก้าวล่วงกามเสียได้ และประการสุดท้าย สุดอย่างยอด คือการนำความถือตัวออกเสียได้.

เหตุการณ์ที่ต้นเกตก์

              ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้จิก ไปยังไม้ราชายตนะ (ต้นเกตก์) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้เกตก์นั้นตลอด ๗ วัน. มีพ่อค้า ๒ คนชื่อ ตปุสสะ กับภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกกละชนบท ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง. ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจาตุมหาราชถวาย แล้วเสวยข้าวนั้น. พ่อค้า ๒ คนปฏิญญาตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกชุดแรกในโลก ที่เปล่งวาจาถึงรตนะ ๒ (คือพระพุทธ พระธรรม).

เสด็จกลับไปต้นไทรอีก

              ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้เกตก์ ไปยังต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก (อชปาลนิโครธ) และประทับ ณ โคนไม้ไทรนั้น ทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ลึกซึ้ง ยากที่คนอื่นจะตรัสรู้ได้ ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไปในที่จะไม่แสดงธรรม.

พระพรหมมาอาราธนา

              ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำริ จึงมาเฝ้ากราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม อ้างเหตุผลว่า ผู้ที่มีกิเลสน้อย พอจะรู้พระธรรมได้มีอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาสัตว์เปรียบเทียบด้วยดอกบัว ๓ ชนิด คือที่อยู่ใต้น้ำ, เสมอน้ำ, โผล่พ้นน้ำ อันเทียบด้วยบุคคล ๓ ชนิด (ที่พอจะตรัสรู้ได้ ส่วนประเภท ๔ คือดอกบัวที่ไม่มีหวังจะโผล่ได้ เทียบด้วยบุคคลผู้ไม่มีหวังจะตรัสรู้). จึงทรงตกลงพระหฤทัยที่จะแสดงธรรม. ทรงปรารภอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสีย ๗ วันแล้ว ทรงปรารภอุททกดาบสรามบุตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสียเมื่อวานนี้เอง จึงตกลงพระหฤทัยเสด็จไปแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ (พวก ๕) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ระหว่างทางทรงพบอุปกาชีวก ได้รับสั่งโต้ตอบกับอาชีวกนั้น แต่อุปกะไม่เชื่อ.


๑. อรรถกถาแก้ว่า ความพองมีอยู่ ๕ อย่าง คือพองเพราะราคะ, โทสะ, โมหะ, มานะและทิฏฐิ

ทรงแสดงธรรมครั้งแรก

              เมื่อเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสีแล้ว ครั้งแรกภิกษุปัญจวัคคีย์แสดงอาการกระด้างกระเดื่อง แต่เมื่อทรงเตือนให้นึกถึงว่า เมื่อก่อนพระองค์ไม่เคยตรัสบอกเลยว่าตรัสรู้ บัดนี้ตรัสบอกแล้วจึงควรตั้งใจฟัง ก็พากันตั้งใจฟัง. พระผู้มีพระภาคจีงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีใจความสำคัญ คือ ๑. ทรงชี้ทางที่ผิด อันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติสายกลาง) ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ๒. ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยละเอียด. ๓. ทรงแสดงว่าทรงรู้ตัวอริยสัจจ์ทั้งสี่, ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจจ์ทั้งสี่ และทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงทรงแน่พระหฤทัยว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว (อันแสดงว่าทรงปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว). เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวชก่อน. ต่อมา พระวัปปะกับพระภัททิยะ สดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรมและได้ขอบวช. ต่อมา พระมหานามะกับพระอัสสชิสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวช เป็นอันได้บวชครบทั้งห้ารูป.

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

              ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น มีใจความสำคัญคือ ๑. รูป(ร่างกาย) เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิดหรือเจตนา) และวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น) ไม่ใช่ตน. ถ้าเป็นตนก็จะบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะไม่ใช่ตนจึงบังคับบัญชาไม่ได้. ๒. แล้วตรัสถามให้ตอบเป็นข้อ ๆ ไปว่า ขันธ์ ๕ (มีรูป เป็นต้นนั้น) เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ตอบว่า ไม่เที่ยง. สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือสุข ? ตอบว่า เป็นทุกข์. สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ? ตอบว่า ไม่ควร. ๓. ตรัสสรุปว่า เพราะเหตุนั้น ควรเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า รูป เป็นต้น นั้น ทุกชนิดไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ๔. ตรัสแสดงผลว่า อริยสาวกผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เป็นต้นนั้น เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. รู้ว่าสิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ไม่ต้องทำหน้าที่อะไรเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก. ภิกษุปัญจวัคคีย์มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ในโลก ๖ องค์ (ทั้งพระพุทธเจ้า).

แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรกับครอบครัวและมิตรสหาย

              ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือน กลุ้มใจออกจากบ้านไปยังป่าอิสิปตนมิคทายวันในเวลาเช้ามืด ได้พบพระผู้มีพระภาค สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม. เศรษฐีผู้เป็นบิดาออกตาม พบพระผู้มีพระภาคได้สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย (พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์) เป็นสรณะตลอดชีวิต นับเป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัย. ในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนาที่แสดงแก่เศรษฐีผู้เป็นบิดา ยสกุลบุตรก็ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช. ครั้งนั้นมีพระอรหันต์ในโลก ๗ องค์. รุ่งเช้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปฉันที่เรือนเศรษฐีผู้บิดา ทรงแสดงธรรมโปรดมารดาและภริยาของพระยสะให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ประกาศตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต. นับเป็นอุบาสิกาชุดแรกในโลก. ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ ๔ คน กับอีก ๕๐ คนตามลำดับ ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖๑ องค์.

ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา

              ผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายส่งไปประกาศพระศาสนา โดยให้ไปทิศทางละ ๑ รูป อย่าไปรวมกัน ๒ รูป ส่วนพระองค์ตรัสว่า จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม.

ทรงอนุญาตการบรรพชาอุปสมบท

              ภิกษุที่ไปเผยแผ่พระศาสนาเหล่านั้น นำกุลบุตรที่ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทมาเฝ้า เพื่อให้พระผู้มีพระภาคทรงบรรพชาอุปสมบทให้ ได้รับความลำบาก จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นดำเนินการได้เอง โดยให้ผู้ประสงค์จะบวชโกนผม ปลงหนวด นุ่งห่มย้อมฝาด ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ครบ ๓ ครั้ง ก็เป็นอันได้บวชด้วยการถึงสรณะ ๓ (ติสรณคมนูปสัมปทา).

ตรัสเรื่องความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม

              เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาเสร็จแล้ว ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เราได้บรรลุ ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม (อนุตตรวิมุติ) ด้วยการไตร่ตรองโดยแยบคาย (โยนิโส สัมมัปปธาน) แม้ท่านทั้งหลายก็ได้บรรลุ ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม ด้วยการไตร่ตรองอันแยบคาย และด้วยความเพียรชอบอันแยบคายเช่นเดียวกัน.

โปรดสหาย ๓๐ คน

              ครั้นประทับ ณ กรุงพาราณสีพอสมควรแล้ว ก็เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ระหว่างทางทรงแวะพัก ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ได้แสดงธรรมโปรดภัททวัคคียกุมาร ซึ่งเป็นสหายกัน ๓๐ คน ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วขอบวช. พระองค์ก็ได้ประทานการบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด).

โปรดชฏิล ๓ พี่น้องและบริวาร

              ครั้นถึงตำบลอุรุเวลา ซึ่งชฏิล ๓ พี่น้องอาศัยอยู่ คืออุรุเวลากัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป แต่ละคนมีบริวาร ๕๐๐, ๓๐๐, และ ๒๐๐ โดยลำดับ. ในชั้นแรกได้ทรงขอพักในเขตอาศรมของอุรุเวลากัสสป ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่าง จนอุรุเวลากัสสปคลายทิฏฐิมานะ ขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสให้บอกลาบริวารก่อน บริวารก็ตกใจ จะบวชด้วยจึงลอยบริขารลงในน้ำ ขอบวชร่วมกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ประทานการบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด).

              นทีกัสสป น้องคนที่สองเห็นบริขารลอยมาตามกระแสน้ำ คิดว่าเกิดอันตรายแก่พี่ของตน แต่เมื่อสอบถาม ทราบความถึงลอยบริขารของตนและบริวารขอบวช ทำนองเดียวกับพี่ชาย และคยากัสสปเห็นบริขารลอยมาก็สงสัย เมื่อสอบถาม ทราบความก็ขอบวช พร้อมด้วยบริวารเช่นเดียวกัน.


๑. เป็นพระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา

ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร

              เมื่อประทับ ณ ตำบลอุรุเวลาพอสมควรแล้ว ก็เสด็จไปยังตำบลยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้เคยเป็นชฎิลมาก่อน. ณ ที่นั้นทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร มีใจความว่า

              ๑. ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ (ซึ่งเป็นอายตนะภายใน) เป็นของร้อน; รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย, ธรรมะ คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ (ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก) เป็นของร้อน; วิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางตา, หู เป็นต้น เป็นของร้อน; ผัสสะ คือความกระทบอารมณ์ทางตา เป็นต้น เป็นของร้อน; เวทนา คือความเสวยอารมณ์เป็นสุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งเกิดจากสัมผัสทางตา เป็นต้น เป็นของร้อน. ร้อนเพราะไฟคือราคะ โทสะ ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ และความขัดใจ.

              ๒. เมื่ออริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นได้เช่นนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในตา, หู เป็นต้น (ซึ่งเป็นอายตนะภายใน), ย่อมเบื่อหน่ายในรูป, เสียง เป็นต้น (ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก), ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ มีความรู้อารมณ์ ทางตา เป็นต้น, ย่อมเบื่อหน่ายในผัสสะ มีความกระทบอารมณ์ทางตา เป็นต้น, ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา มีความเสวยอารมณ์ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัส เป็นต้น. เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น, เมื่อพ้นก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว, รู้ว่าสิ้นความเกิด ได้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว, ได้ทำหน้าที่เสร็จแล้ว, ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก.

              ผลของการแสดงพระธรรมเทศนานี้ ภิกษุพันรูปมีจิตพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

โปรดพระเจ้าพิมพิสาร

              เมื่อประทับ ณ ตำบลยาสีสะพอสมควรแล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุผู้เคยเป็นชฎิลพันรูป ประทับอยู่ ณ เจดีย์ซึ่งประดิษฐานไว้ดีแล้ว ณ สวนตาลหนุ่ม. พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ พร้อมด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวมคธ จำนวน ๑๒ นหุต ได้สดับกิติศัพท์ของพระผู้มีพระภาค จึงเสด็จไปและไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ในชั้นแรกพระผู้มีพระภาคทรงให้อุรุเวลกัสสปประกาศความที่ตนละเลิกลัทธิเดิมมาขอบวชว่ามีเหตุผลอย่างไร เพื่อทำลายทิฏฐิมานะของบุคคลบางคนก่อน แล้วจึงทรงแสดงอนุบุพพิกถา (แสดงเรื่องทาน, ศีล, สวรรค์, โทษของกามและอานิสงส์ของการออกจากกามโดยลำดับ) แล้วจึงทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมทั้งพราหมณ์คฤหบดี ๑๑ นหุต ได้ดวงตาเห็นธรรม (เป็นโสดาบันบุคคล).

              พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลในการที่ทรงสมพระราชประสงค์ ๕ ประการ คือ ขอให้ได้อภิเษกในราชสมบัติ, ขอให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่แว่นแคว้น, ขอให้ได้เข้าไปนั่งใกล้, ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมและขอให้ได้รู้ธรรมะของพระผู้มีพระภาค. ครั้นแล้วกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดพระชนมชีพ แล้วทรงอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยและฉันในวันรุ่งขึ้น.

              ในวันรุ่งขึ้นที่พระผู้มีพระภาคเสด็จไปเสวย ณ ราชนิเวศน์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. เมื่ออังคาส (เลี้ยงดู) เสร็จแล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าทอง ถวายเวฬุวันป่าไผ่แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข. พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้วเสด็จกลับ. ทรงปรารภเหตุนั้น จึงประทานพระพุทธานุญาตให้มีอาราม (คือวัด) ได้.


๑. นหุตหนึ่ง เท่ากับหนึ่งหมื่น

สาริบุตร โมคคัลลานะออกบวช

              สมัยนั้น สัญชัยปริพพาชกอาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน และสมัยนั้น สาริบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง. สาริบุตรได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช. ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อ ๆ ให้ฟังว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น .

              สาริบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพพาชก ๒๕๐ คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้อาจารย์. สัญชัยขอให้อยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะถึง ๓ ครั้ง แต่สาริบุตร โมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพพาชกอีก ๒๕๐ คน. สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต.

              เมื่อไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา.

              ครั้งนั้นคนสำคัญชาวมคธออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเป็นอันมาก. คนทั้งหลายจึงพากันติเตียน ว่าเป็นปฏิปทาที่ทำสกุลวงศ์ให้ขาดสูญ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายโต้ตอบว่าพระองค์แนะนำโดยธรรม มิใช่โดยอธรรม เมื่อมนุษย์ทั้งหลายจำนนต่อคำว่า "ธรรม" และหาทางจับผิดที่ว่ามีอะไรเป็น "อธรรม" ไม่ได้ ก็พากันเลิกติเตียนภายใน ๗ วัน.

ทรงอนุญาตให้มีอุปัชฌายะ

              สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่มีอุปัชฌายะ ไม่มีผู้ให้โอวาทสั่งสอน ก็นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีอากัปปกิริยาไม่เหมาะสมเที่ยวไปบิณฑบาต. เขากำลังบริโภคอยู่ก็ยื่นบาตรเข้าไปเหนือของบริโภค ของขบเคี้ยว เป็นต้น. บ้างก็ขอแกงบ้าง ขอข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน. บ้างก็ส่งเสียงสูงเสียงดังในโรงอาหาร เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงอนุญาตให้มีอุปัชฌายะ. ให้อุปัชฌายะตั้งจิตในสัทธิวิหาริกเหมือนบุตร. ให้สัทธิวหาริกตั้งจิตในอุปัชฌายะเหมือนบิดา. ทรงสอนวิธีถืออุปัชฌายะซึ่งต้องเปล่งวาจาด้วยกันทั้งสองฝ่าย, (อุปัชฌายะ แปลตามศัพท์ว่า ผู้สอน หมายถึงผู้บวชให้และสั่งสอน สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วย หมายถึงศิษย์ที่อุปัชฌายะบวชให้).

ทรงบัญญัติอุปัชฌายวัตร

              ครั้นแล้วทรงบัญญัติอุปชาฌายวัตร คือข้อที่สัทธิวิหาริกจะพึงปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ มีการรับใช้การปฏิบัติตนต่อท่าน การช่วยจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ท่าน ประมาณไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ข้อ.

ทรงบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร

              ครั้นแล้วทรงบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร คือข้อที่อุปัชฌายะจะพึงปฏิบัติชอบในสัทธิวิหาริก มีการสั่งสอนการสงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร การพยาบาลเมื่อป่วยไข้ การทำอะไรต่ออะไรให้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ข้อเช่นกัน.

ทรงปรับอาบัติ, อนุญาตให้ประณามและขอขมา

              ครั้งนั้น สัทธิวิหาริกไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ เป็นที่ติเตียน จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่สัทธิวิหาริกผู้ไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ.

              แม้เช่นนั้น ก็ยังมีสิทธิวิหาริกที่ไม่ปฏิบัติชอบ, จึงทรงอนุญาตให้อุปัชฌายะประณาม คือไล่ลัทธิวิหาริกด้วยแจ้งให้ทราบด้วยกายหรือวาจาได้.

              สัทธิวิหาริกที่ถูกไล่แล้ว ไม่ขอขมา จึงทรงอนุญาตให้ขอขมาและ ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ไม่ขอขมา.

              สัทธิวิหาริกขอขมาแล้ว อุปัชฌายะไม่ยอมยกโทษให้ จึงทรงอนุญาตให้อุปัชฌายะยกโทษให้. อุปัชฌายะไม่ยกโทษให้ก็มี สัทธิวิหาริกจึงจากไปบ้าง สึกไปบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง. ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่อุปัชฌายะที่สัทธิวิหาริกขอขมาแล้วไม่ยอมยกโทษให้.

ทรงวางวิธีประณามให้รัดกุม

              สมัยนั้น อุปัชฌายะประณาม (ขับไล่) สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติชอบ ไม่ประณามสัทธิวิหาริกที่ไม่ปฏิบัติชอบ. ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติว่า สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติชอบ ไม่ควรประณาม ผู้ใดประณาม ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติไม่ชอบ จะไม่ประณามไม่ได้. ถ้าไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.

              ครั้นแล้วจึงทรงแสดงองค์ ๕ ของสัทธิวิหาริกที่ควรประณาม มีขาดความละอาย ขาดความเคารพ เป็นต้น. แล้วทรงแสดงองค์ ๕ ของสัทธิวิหาริกที่ไม่ควรประณาม มีประกอบด้วยความละอาย ความเคารพ เป็นต้น. สัทธิวิหาริกที่ควรประณาม แต่ไม่ประณามก็มีโทษ ถ้าประณามก็ไม่มีโทษ. ส่วนสัทธิวิหาริกที่ไม่ควรประณาม ถ้าประณามก็มีโทษ ถ้าไม่ประณามก็ไม่มีโทษ.

ทรงอนุญาตการบวชเป็นการสงฆ์

              พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อราธะ ขอบวช ไม่มีภิกษุรูปใดบวชให้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ใครระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสาริบุตรตอบว่า ท่านระลึกได้ ว่าพราหมณ์ผู้นี้เคยถวายอาหารแก่ท่านทัพพีหนึ่ง พระผู้มีพระภาคจึงสรรเสริญที่กตัญญูและมอบให้พระสาริบุตรบวชให้พราหมณ์นั้น โดยทรงแสดงวิธีบวชเป็นการสงฆ์ที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา (การบวชด้วยกรรม มีการเสนอญัตติเป็นที่ ๔ คือการเสนอญัตติ ขออนุมัติสงฆ์ ๑ ครั้ง; เป็นการสวดประกาศฟังมติ ว่าจะคัดค้านหรือไม่อีก ๓ ครั้ง) ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น คือผู้บวชประพฤติไม่เรียบร้อย และอ้างว่าไม่ได้ขอบวช พระบวชให้เอง จึงทรงอนุญาตให้บวชเฉพาะแก่ผู้ขอบวช.

ผู้บวชเพราะเห็นแก่ท้อง

              พราหมณ์ผู้หนึ่งเห็นว่าบวชแล้วกินอิ่มนอนหลับ จึงออกบวช. ครั้นอาหารที่เขาถวายประจำหมดวาระ ภิกษุทั้งหลายจึงชวนออกบิณฑบาต ก็กล่าวว่า จะสึก เพราะคิดว่าจะบวชโดยไม่ต้องบิณฑบาต. มีผู้ติเตียนว่าบวชเพราะเห็นแก่ท้อง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔ แก่ผู้บวชใหม่ (นิสสัย ๔ คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต อันได้แก่อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค เพื่อซ้อมความเข้าใจกันก่อนว่า แม้ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เป็นของพออาศัยดำรงชีพอยู่ได้ก็ต้องอดทน เช่น อาหารที่เที่ยวบิณฑบาตได้มา, ผ้าที่เก็บตกมาปะติดปะต่อพอทำนุ่งห่ม, ที่อยู่อื่นไม่มีก็ใช้โคนไม้, ยาอื่นไม่มีก็ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ซึ่งปัจจุบันพบกันว่าเป็นยาปฏิชีวนะ).

ข้อบัญญัติเพิ่มเติมในการบวช

              ๑. ภิกษุบอกนิสสัยก่อน ผู้บวชไม่พอใจ จึงทรงห้ามบอกนิสสัยก่อน แต่ให้บอกเมื่อบวชเสร็จแล้ว ในเวลาติด ๆ กัน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บอกนิสสัยก่อน.

              ๒. ภิกษุที่ร่วมในการบวชเป็นคณะ คือ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ให้บวชมีคณะต่ำกว่า ๑๐ คณะ ครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้.

              ๓. ภิกษุมีพรรษา ๑ บ้าง ๒ บ้าง ให้สัทธิวิหาริกบวช แม้พระอุปเสน วังคันตบุตรมีพรรษาเพียง ๑ ก็ให้สิทธิวิหาริกอุปสมบท จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนกว่า ๑๐ ที่บวชให้สัทธิวิหาริก; พรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้.

              ๔. ภิกษุมีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ให้สิทธิวิหาริกบวช ปรากฏเป็นผู้ด้อยกว่าสัทธิวหาริก. จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ฉลาด สามารถ ผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้สัทธิวิหาริกบวชได้.

ทรงอนุญาตให้มีอาจารย์

              สมัยนั้น อุปัชฌายะทั้งหลายเดินทางไปที่อื่นบ้าง สึกไปบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ไปเข้ารีดเสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายไม่มีใครให้โอวาทสั่งสอน ก็นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ประกอบด้วยอากัปปกิริยาอันไม่สมควรต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้มีอาจารย์. ให้อาจารย์ตั้งจิตในอันเตวาสิก (ผู้อยู่ใต้ปกครอง) เหมือนบุตรและให้อันเตวาสิกตั้งจิตในอาจารย์เหมือนบิดา. แล้วทรงแสดงวิธีถือนิสสัย (การขออาศัยอยู่ใต้ปกครอง) ของอันเตวาสิก และคำกล่าวตอบของอาจารย์.

อาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร

              ครั้นแล้วทรงแสดงวัตรที่อันเตวาสิกคือผู้อยู่ใต้ปกครอง จะพึงปฏิบัติต่ออาจารย์. และวัตรที่อาจารย์จะพึงปฏิบัติต่ออันเตวาสิก ถ้อยทีปฏิบัติชอบต่อกัน ไม่น้อยกว่าฝ่ายละ ๑๐๐ ข้อ.

การประณาม, การขอขมา, การยกโทษ

              สมัยนั้น อุปัชฌายะและอาจารย์เดินทางไปที่อื่นบ้าง สึกไปบ้าง เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงลักษณะ ๕ ประการ ที่นิสสัย (การอยู่ใต้ปกครอง) ระงับจากอุปัชฌายะ คืออุปัชฌายะ ๑. หลีกไปที่อื่น ๒. สึก ๓. ถึงมรณภาพ ๔. เข้ารีตเดียรถีย์ และ ๕. อุปัชฌายะมีคำสั่ง (เช่น สั่งประณาม คือไล่ไม่ให้อยู่ในปกครอง). ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะ ๖ ประการที่นิสสัยระงับจากอาจารย์ คือ ๕ ข้อแรกเหมือนกับของอุปัชฌายะ ส่วนข้อที่ ๖ เมื่ออันเตวาสิกพบเข้ากับอุปัชฌายะ (คือเมื่อพบกับผู้มีสิทธิปกครองอันสูงกว่า การอยู่ใต้ปกครองของอาจารย์ก็ระงับไป).

คุณสมบัติของอุปัชฌายะ ๕ อย่าง

              พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ ๕ อย่างและการประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างของภิกษุ ที่ทำให้เป็นผู้ไม่ควรให้อุปสมบท, ไม่ควรให้นิสสัย, ไม่ควรมีสามเณรรับใช้ รวม ๑๖ หมวด เป็นหมวดขาดคุณสมบัติ ๕ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน รวม ๘ ประเภท คือ ๘ หมวด. หมวดประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน รวม ๘ ประเภท หรือ ๘ หมวด. (การมีคุณสมบัติ หรือขาดคุณสมบัติดังกล่าวนี้ โปรดดูที่แปลไว้อย่างพิสดารแล้ว หน้า ๖๐ เพียงแต่ตัดข้อที่ ๖ ออกทุกข้อ. และการขาดคุณสมบัติก็คือ ไม่มีคุณสมบัติตามที่แปลไว้นั้น).

คุณสมบัติของอุปัชฌายะ ๖ อย่าง

              ครั้นแล้วทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ และการประกอบด้วยคุณสมบัติ ๖ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน ฝ่ายละ ๘ หมวด รวม ๒ ฝ่ายเป็น ๑๖ หมวด ของภิกษุ ว่าควรให้อุปสมบท ควรให้นิสสัย และควรมีสามเณรรับใช้หรือไม่ ดังที่แปลไว้แล้วในหน้า ๖๐ (มีข้อน่าสังเกตว่า ๕ ข้อ หรือ ๖ ข้อนั้นต่างกันที่ข้อสุดท้าย คือมีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ คือในคุณสมบัติ ๕ อย่างไม่มีข้อกำหนดเรื่องพรรษา ถ้าเติมข้อกำหนดเรื่องพรรษาก็เป็น ๖ อย่าง).

              ในตอนท้ายได้สรุปถึงคุณสมบัติ ๕ อันมี ๑๖ หมวดและคุณสมบัติ ๖ อันมี ๑๖ หมวด เพื่อกำหนดง่าย.

ข้อปฏิบัติต่อผู้เคยเป็นเดียรถีย์

              มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้บวชแล้ว ไปเข้ารีตเป็นเดียรถีย์ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้เคยเป็นเดียรถีย์เข้ามาบวช อุปัชฌายะว่ากล่าวโดยธรรม กลับคัดค้านแล้วจากไปเข้ารีตเดียรถีย์. ครั้นแล้วขอเข้ามาบวชอีก ไม่ควรบวชให้.

              ส่วนผู้ที่เคยเป็นเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องได้รับการอบรม (ปริวาส) ๔ เดือน คือให้โกนผม ปลงหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ๓ จบ. แล้วให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศขอให้สงฆ์ให้ปริวาส (การอบรม) ๔ เดือน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงสำเร็จไปขั้นหนึ่ง. ในระหว่าง ๔ เดือน ถ้าประพฤติตนไม่เรียบร้อย ไม่เป็นที่พอใจ ก็ไม่ควรบวชให้ ถ้าประพฤติตนเรียบร้อย เป็นที่น่าพอใจ จึงบวชให้.

              อนึ่ง ได้ประทานข้อกำหนดพิเศษแก่พระญาติผู้เกิดในศากยสกุล ถ้าเคยเป็นเดียรถีย์มาก่อน แล้วมาขอบวช ให้บวชให้เลย ไม่ต้องรับการอบรม ๔ เดือน.

ห้ามบวชให้คนเป็นโรค ๕ ชนิด

              สมัยนั้น มีโรค ๕ ชนิดเกิดขึ้นมากในแคว้นมคธ คือโรคเรื้อน, โรคฝี, โรคกลาก, โรคมองคร่อ และโรคลมบ้าหมู มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นโรคเหล่านี้ ก็พากันไปหาหมอชีวกเพื่อให้ช่วยรักษาให้. หมอชีวกไม่รับรักษา อ้างว่า มีภาระต้องรักษาพระราชา, บุคคลในราชสำนักและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, คนเหล่านั้นเห็นไม่มีทางอื่น จึงขอบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ เป็นภาระแก่ภิกษุทั้งหลายที่จะต้องพยาบาล. แม้หมอชีวกเองก็ต้องทำงานหนักจนเสียราชกิจ. ชายคนหนึ่งออกบวชให้หมอชีวกรักษา พอหายแล้วก็สึกไป. หมอชีวกเห็นเข้าจำได้ ถามทราบความ ก็ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัย ห้ามบวชแก่คนเป็นโรค ๕ ชนิด ผู้ใดบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามบวชให้ข้าราชการ

              เกิดความไม่สงบชายแดน พระเจ้าพิมพิสารตรัสสั่งมหาอำมาตย์ที่เป็นนายทัพให้ไปปราบ มีหลายคนหนีไปบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงขอให้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติวินัย มิให้พระบวชคนที่เป็นข้าราชการ เพราะอาจมีพระราชาที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเบียดเบียนภิกษุเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสห้ามบวชให้ข้าราชการ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่บวชให้ (ในสมัยนี้ ผู้เป็นข้าราชการจะต้องมีใบอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายให้อนุญาตแทนพระองค์, พระอุปัชฌายะและสงฆ์จึงบวชให้).

ห้ามบวชให้โจรที่มีชื่อ

              สมัยนั้น โจรองคุลิมาลบวชอยู่ในสำนักภิกษุทั้งหลาย. คนเห็นก็ตกใจกลัวบ้าง สะดุ้งบ้าง วิ่งหนีบ้าง มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัย ห้ามบวชให้โจรที่มีชื่อเสียงทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บวชให้.

ห้ามบวชโจรที่ทำลายเครื่องพันธนาการ

              ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงประกาศมิให้ใครทำอะไร (เช่น จับกุม) บุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา. โจรผู้หนึ่งทำโจรกรรม ถูกพันธนาการด้วยเครื่องจองจำ แต่ทำลายเครื่องจองจำได้ จึงหนีไปบวช. คนทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุผู้บวชให้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้โจรที่ทำลายเครื่องพันธนาการ, ผู้บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามบวชบุคคลที่ไม่สมควรอื่นอีก

              ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ภิกษุทั้งหลายให้บุคคลผู้ไม่สมควร มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้บุคคลผู้ไม่สมควรอื่นอีก คือ

              โจรที่ถูกหมายประกาศให้ฆ่า
             
บุคคลที่ถูกโบยด้วยแส้ ถูกลงโทษแล้วเนรเทศ
             
บุคคลที่ถูกนาบด้วยเหล็กแดงให้เสียโฉม
             
บุคคลที่เป็นหนี้
             
บุคคลที่เป็นทาส

ให้บอกสงฆ์เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช

              เด็กลูกช่างทอง ทะเลาะกับพ่อแม่ หนีมาบวช พ่อแม่มาถาม ภิกษุทั้งหลายไม่ทราบจึงปฏิเสธ ครั้นเขาพบว่ามาบวชก็ติเตียน หาว่าภิกษุเหล่านั้นพูดปด (ความจริงไม่รู้). พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้บอกกล่าวสงฆ์เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช (ภัณฑุกัมม์-การโกนศีรษะ).

ห้ามบวชผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐

              เด็ก ๑๗ คนขออนุญาตมารดาบิดาออกบวช ถึงเวลากลางคืนลุกขึ้นร้องไห้ขออาหาร, พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ทั้งที่รู้อยู่ (ว่าอายุไม่ถึง). ถ้าบวชให้ให้จัดการตามควร. (มีวินัยที่อื่นปรับอาบัติปาจิตตีย์อยู่แล้ว).


๑. คำแปลโรคทั้งห้าชนิดนี้ เป็นไปตามที่ฝ่ายไทยเราเคยแปลกันมา มีข้อที่ควรอธิบาย คือโรคมองคร่อนั้น ได้แก่โรคที่เมีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด ได้สอบดูกับคำแปลของศาสตราจารย์ริดส์ เดวิดส์ ร่วมกับ โอลเดนเบอร์ก มีดังนี้ ๑. โรคเรื้อน (Leprosy) ๒. โรคฝี (Boils) ๓. โรคเรื้อนแห้ง (Dry leprosy) ๔. วัณโรคแห่งปอด ZConsumption) ๕. โรคลมชัก (Fit)
๒. ลูกช่างทองคนหนึ่ง ในภาษาบาลีใช้คำว่า กัมมารภัณฑุ ฝรั่งแปลว่า ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นหรือล้าน แต่อรรถกถาอธิบายไว้ว่า ไว้ผมแหยม ๕ แหยม ตรงอื่นโกนหมด

ข้อห้ามเกี่ยวกับสามเณร

              อหิวาตกโรคเกิดขึ้น สกุลหนึ่งรอดตายมาเฉพาะบิดากับบุตร ทั้งสองคนออกบวช เมื่อมีผู้ถวายอาหารแก่บิดา บุตรวิ่งไปขอแบ่ง เป็นที่ติเตียน จึงทรงห้ามบรรพชา (บวชเป็นสามเณร) ให้เด็กที่มีอายุหย่อน ๑๕ ปี.

              ภายหลังมีเหตุจำเป็นที่ต้องสงเคราะห์บวชให้เด็กอื่น ๆ ที่พ่อแม่ตายหมด จึงทรงผ่อนผันให้บวชให้เด็กอายุหย่อน ๑๕ ปี ซึ่งสามารถไล่กาได้ (คือพอจะรู้เดียงสา) และมีเหตุเกิดขึ้นเกี่ยวกับสามเณร จึงทรงบัญญัติมิให้ภิกษุรูปหนึ่งมีสามเณรรับใช้ถึง ๒ รูป, ถ้าทำเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ผ่อนผันเรื่องการถือนิสสัย

              สมัยนั้น ภิกษุจะต้องถือนิสสัย (อยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรืออาจารย์) ตลอด ๑๐ ปี เกิดความไม่สะดวก จึงทรงผ่อนผันให้ภิกษุที่ฉลาด สามารถถือนิสสัยตลอด ๕ ปี ส่วนภิกษุผู้ไม่ฉลาด ให้ถือนิสสัยตลอดชีวิต. แล้วทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ ๕ อย่าง รวม ๔ จุด การประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่าง รวม ๔ ชุด ที่ภิกษุจะต้องถือนิสสัย หรือไม่ต้องถือนิสสัย. แล้วทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ ๖ อย่าง รวม ๔ ชุด การประกอบด้วยคุณสมบัติ ๖ อย่าง รวม ๔ ชุด ที่ภิกษุจะต้องถือนิสสัย หรือไม่ต้องถือนิสสัย. การขาดคุณสมบัติ หรือการประกอบด้วยคุณสมบัติ มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่กำหนดไว้สำหรับอุปัชฌายะและอาจารย์ โดยเฉพาะที่กล่าวถึงคุณสมบัติ ๖ อย่าง ข้อที่ ๖ ก็คือกำหนดว่าจะต้องมีพรรษาครบ ๕ หรือเกิน ๕.

พระราหุลบวชเป็นสามเณร

              พระผู้มีพระภาคเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ พระราหุลกราบทูลขอราชสมบัติ. พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้พระสาริบุตรบวชให้ ทรงกำหนดวิธีบรรพชาเป็นสามเณรด้วยการถึงสรณะ ๓ (คือพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์). พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้องพระผู้มีพระภาคอย่าให้บวชแก่บุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามบวชผู้ที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต. ผู้บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ให้มีสามเณรรับใช้ได้เกินรูป ๑

              พระสาริบุตรมีสามเณรราหุลไว้รับใช้ ๑ รูป แต่เมื่อมีสามเณรอื่น ๆ บวชเพิ่มขึ้น ก็ไม่กล้ารับไว้ในปกครอง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถมีสามเณรไว้รับใช้ได้ ๒ รูป กับสามารถจะให้โอวาทสั่งสอนได้จำนวนเท่าใด ก็อนุญาตให้มีสามเณรไว้รับใช้ได้ตามจำนวนนั้น (คือไม่จำกัดจำนวน แท้จริงการมีสามเณรไว้รับใช้ ไม่เหมือนแบบมีคนใช้ของคฤหัสถ์ เพราะภิกษุจะต้องเป็นผู้ปกครองสั่งสอน ให้การศึกษาทางพระพุทธศาสนา การใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็คงมีบ้าง).

ศีล ๑๐ ของสามเณร

              สามเณรทั้งหลายสงสัยว่าสิกขาบทหรือศีลของตนมีเท่าไร จะพึงศึกษาในสิกขาบทอะไรบ้าง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ๑๐ ของสามเณร คือ

              ๑. เว้นจากฆ่าสัตว์                                  ๒. เว้นจากลักทรัพย์
             
๓. เว้นจากประพฤติล่วงพรหมจรรย์            ๔. เว้นจากพูดเท็จ
             
๕. เว้นจากดื่มสุราเมรัย
             
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (เที่ยงแล้วไป)
             
๗. เว้นจากฟ้อนรำขับร้องประโคมและการดูมหรสพ
             
๘. เว้นจากทัดทรงตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิว ต่าง ๆ
             
๙. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ (คือเว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนอันใหญ่ มีภายในใส่นุ่นและสำลี)
             
๑๐. เว้นจากการรับทองเงิน

การลงโทษสามเณร

              สมัยนั้น สามเณรไม่มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติองค์ ๕ ที่จะทำทัณฑกรรม (ลงโทษ) สามเณร คือ
             
๑. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภของภิกษุทั้งหลาย
             
๒. ขวนขวายเพื่อให้เกิดความเสียหาย (อนัตถะป แก่ภิกษุทั้งหลาย
             
๓. ขวนขวายเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่ได้
             
๔. ด่า, บริภาษภิกษุทั้งหลาย
             
๕. ทำภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน

เรื่องเกี่ยวกับการลงโทษ

              ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่าจะลงโทษสามเณรอย่างไร จึงทรงอนุญาตให้กำหนดข้อห้ามได้. ภิกษุทั้งหลายห้ามไม่ให้เข้าสังฆาราม (วัดที่สงฆ์อยู่). สามเณรเข้าไม่ได้ ก็เดินทางไปที่อื่นบ้าง สึกไปบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง. จึงทรงห้ามมิให้ภิกษุห้ามสามเณรเข้าสังฆารามทั้งหมด ถ้าทำเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุญาตให้ทำการห้ามเฉพาะในบริเวณที่อยู่ ที่ไปมา (กักบริเวณ). ภิกษุทั้งหลายห้ามกลืนกินอาหาร (ห้ามใช้ปากบริโภคอาการหรือดื่มข้าวยาคู). คนถวายอาหาร ถวายข้าวยาคู สามเณรก็ไม่กล้าฉัน. มีผู้ติเตียน. จึงทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ห้ามแบบนั้น.

              ภิกษุฉัพพัคคีย์กักบริเวณสามเณรหลายรูป อุปัชฌายะทั้งหลายตามเที่ยวถามหา ทราบความก็ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัยว่า ถ้ายังไม่บอกเล่าอุปัชฌายะก่อน ไม่พึงทำการห้าม (กักบริเวณ) สามเณร. ผู้ทำเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามชวนสามเณรของภิกษุอื่นไปอยู่ด้วย

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ชวนสามเณรของภิกษุผู้เป็นเถระไปอยู่ด้วย. ท่านลำบากด้วยการหาไม้สีฟันและน้ำล้างหน้าเอง. จึงทรงบัญญัติพระวินัย ไม่ให้ชวนบริษัท (สามเณร) ของภิกษุอื่นไปอยู่ด้วย ถ้าทำเช่นนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.

การให้สามเณรสึก

              สามเณรของพระอุปนนทะ ศากยบุตร ประทุษร้าย (ข่มขืน) นางภิกษุณี. ภิกษุทั้งหลายติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้นาสนะ (ไล่สึก) สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ คือ

เรื่องเกี่ยวกับการลงโทษ

              ๑. ฆ่าสัตว์                           ๒. ลักทรัพย์
             
๓. ประพฤติผิดในกาม            ๔. พูดปด
             
๕. ดื่มสุราเมรัย                     ๖. ติเตียนพระพุทธ
             
๗. ติเตียนพระธรรม               ๘. ติเตียนพระสงฆ์
             
๙. มีความเห็นผิด                ๑๐. ประทุษร้าย (ข่มขืน) นางภิกษุณี

บุคคลที่ห้ามบวชอื่น ๆ อีก

              ต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในการที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้แก่ผู้ไม่สมควร จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้แก่ผู้ไม่สมควรต่อไปนี้
             
๑. กะเทย                                ๒. คนที่ลักเพศ (คือบวชเอาเองโดยไม่ถูกต้อง)
             
๓. ภิกษุที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์           ๔. สัตว์ดิรัจฉาน
             
๕. ผู้ฆ่ามารดา                            ๖. ผู้ฆ่าบิดา
             
๗. ผู้ฆ่าพระอรหันต์                     ๘. ผู้ข่มขืนนางภิกษุณี
             
๙. ผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน               ๑๐. ผู้ประทุษร้ายพระพุทธเจ้าถึงยังพระโลหิตให้ห้อ
             
๑๑. คนมีอวัยวะ ๒ เพศ (อุภโตพยัญชนก)
             
ทั้งสิบเอ็ดประเภทนี้ ถ้าบวชให้แล้วรู้เข้าภายหลัง ต้องให้สึกไป.


๑. ภายหลังทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถอบรมสั่งสอน มีสามเณรไว้รับใช้ได้ไม่จำกัด
๒. กะเทยหรือที่เรียกว่าบัณเฑาะก์ คือผู้ที่พอใจให้บุรุษเกี่ยวข้องกับตนโดยมีความรู้สึกตนเหมือนเป็นสตรี

ลักษณะที่ไม่ควรให้อุปสมบท (บวชเป็นพระ) อีก ๒๐ ประเภท

              ครั้นแล้วทรงบัญัติพระวินัยแสดงลักษณะที่ไม่ควรให้บวช (อุปสมบท) บุคคล รวม ๒๐ ประเภท ดังต่อไปนี้

              ๑. ผู้ไม่มีอุปัชฌายะ
             
๒. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นสงฆ์ (อุปัชฌายะต้องมีรูปเดียว ไม่ใช่มากรูป)
             
๓. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นคณะ (๒,๓ ชื่อว่าเป็นคณะ, ๔ ขึ้นไปเป็นสงฆ์)
             
๔. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นกะเทย
             
๕. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นคนลักเพศ (ผู้บวชเอาเอง)
             
๖. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์
             
๗. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน (มีเรื่องเล่าว่า นาคปลอมมาบวช)
             
๘. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ฆ่ามารดา
             
๙. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ฆ่าบิดา
             
๑๐. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
             
๑๑. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ข่มขืนนางภิกษุณี
             
๑๒. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
             
๑๓. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้ประทุษร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงยังพระโลหิตให้ห้อ
             
๑๔. ผู้มีอุปัชฌายะเป็นผู้มีอวัยะ ๒ เพศ
             
๑๕. ผู้ไม่มีบาตร
             
๑๖. ผู้ไม่มีจีวร
             
๑๗. ผู้ไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร
             
๑๘. ผู้ขอยืมบาตรเขามาบวช
             
๑๙. ผู้ขอยืมจีวรเขามาบวช
             
๒๐. ผู้ขอยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามาบวช

              ทั้งยี่สิบประเภทนี้ ถ้า (สงฆ์) บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลักษณะที่ไม่ควรให้บรรพชา (เป็นสามเณร) ๓๒ ประเภท

              ๑. คนมีมือขาด                                         ๒. คนมีเท้าขาด
             
๓. คนมีทั้งมือทั้งเท้าขาด                           ๔. คนมีหูขาด
             
๕. คนมีจมูกแหว่ง                                     ๖. คนมีทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง
             
๗. คนมีนิ้วมือขาด                                     ๘. คนมีนิ้วหัวแม่มือขาด
             
๙. คนมีเอ็น (เท้า) ขาด                             ๑๐. คนมีมือเป็นแผ่น (นิ้วติดกัน)
             
๑๑. คนค่อม                                           ๑๒. คนเตี้ย (เกินไป)
             
๑๓. คนคอพอก                                      ๑๔. คนถูกนาบด้วยเหล็กแดงจนเสียโฉม (ในการลงโทษ)
             
๑๕. คนถูกโบยถูกแส้ (มีรอยแผล)              ๑๖. คนถูกหมายจับ (ให้ฆ่าได้เมื่อพบ)
             
๑๗. คนมีเท้าปุก (เป็นตุ้ม)
             
๑๘. คนเป็นโรคอันเป็นโทษแห่งบาป (โรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย)
             
๑๙. คนประทุษร้ายบริษัท (คืออยู่ในหมู่แล้วทำให้หมู่ดูวิปริต ด้วยรูปร่างอันผิดปกติของตน เช่น สูงเกินไป เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป ผอมเกินไป อ้วนเกินไป เป็นต้น)
             
๒๐. คนตาบอดข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง       ๒๑. คนเป็นง่อย
             
๒๒. คนกระจอก (เท้าผิดปกติ ต้องเดินด้วยหลังเท้า เป็นต้น)
             
๒๓. คนเป็นอัมพาต (ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง)
             
๒๔. คนเปลี้ย (เดินเองไม่ได้)                   ๒๕. คนชรา ทุพพลภาพ
             
๒๖. คนตาบอดแต่กำเนิด                         ๒๗. คนใบ้
             
๒๘. คนหูหนวก                                      ๒๙. คนทั้งบอดทั้งใบ้
             
๓๐. คนทั้งบอดทั้งหนวก                           ๓๑. คนทั้งใบ้ทั้งหนวก
             
๓๒. คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวก
             
บุคคลทั้งสามสิบสองประเภทนี้ ผู้บรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
              (
หมายเหตุ : การกำหนดข้อห้ามไม่ให้บวชคน ๓๒ ประเภทนี้เป็นสามเณรนั้นเป็นอันห้ามสำหรับบวชเป็นพระด้วย เพราะตามวิธีการบวช ผู้ที่จะบวชเป็นพระจะต้องผ่านลำดับจากการเป็นสามเณรมาก่อนแม้ชั่วครู่หนึ่ง. การตั้งข้อกำหนดนี้ เพื่อมิให้พระพุทธศาสนาเป็นเหมือนถังขยะรับคนที่ทางโลกไม่ต้องการแล้ว. แต่ก็ไม่มีข้อห้ามเด็ดขาดถึงขนาดว่า บวชให้แล้วต้องให้สึกไปเหมือนบุคคล ๑๑ ประเภทที่กล่าวไว้ในข้อห้ามบวชเด็ดขาด).

ข้อกำหนดเรื่องให้นิสสัยเพิ่มเติม

              ต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติพระวินัย มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเรื่องการให้นิสสัย (รับเข้าในปกครอง) ดังนี้
             
๑. ห้ามให้นิสสัยแก่ภิกษุอลัชชี (ผู้ไม่ละอายในการต้องอาบัติ) ถ้าให้นิสสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
             
๒. จะรู้ว่าเป็นผู้มีความละอาย หรือเป็นอลัชชี ให้รอดู ๔-๕ วันได้ ว่าจะเข้ากับภิกษุทั้งหลายได้หรือไม่
             
๓. ภิกษุเดินทางไกล อนุญาตให้ไม่ต้องถือนิสสัยในเมื่อไม่มีภิกษุผู้ให้นิสสัย
             
๔. อนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้, ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ไม่ต้องถือนิสสัยได้ในเมื่อไม่มีภิกษุผู้ให้นิสสัย
             
๕. อนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่าไม่ต้องถือนิสสัยได้ในเมื่อไม่มีภิกษุผู้ให้นิสสัย แต่ถ้ามีภิกษุผู้ให้นิสสัยมา ต้องถือนิสสัย.

ข้อกำหนดเรื่องการอุปสมบท

              ต่อมาทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนา ไม่ต้องระบุนาม แต่ระบุเพียงโคตร (สกุล) ได้ และให้สวดประกาศครั้งละ ๒-๓ รูปได้ โดยมีอุปัชฌายะรูปเดียวกัน. และทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ ๒๐ โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์.

ข้อบัญญัติในพิธีกรรมอุปสมบท

              ครั้นแล้วทรงแสดงวิธีการต่าง ๆ ในการอุปสมบท เช่น การสอบถามอันตรายิกธรรม (อุปสัคที่ต้องห้ามในการบวช) ๑๗ ข้อ มีโรค ๕ อย่างนั้น เป็นต้น ทั้งการซักถามเป็นส่วนตัวก่อน แล้วจึงซักถามในที่ประชุมสงฆ์ ตลอดจนการสวดประกาศ ๓ จบ แล้วอนุมัติให้เป็นภิกษุได้.

              เมื่อบวชแล้ว ให้วัดเงาแดด ให้บอกฤดู ให้บอกส่วนของวัน ให้บอกสังคีติ คือบอกรวมข้างต้นทั้งหมด เพื่อเป็นหลักฐาน.

              แล้วให้บอกนิสสัย ๔ (ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ซึ่งกล่าวมาแล้วข้างต้น).

              แล้วให้บอกอกรณียกิจ (สิ่งที่ไม่ควรทำ) ๔ อย่าง คือการเสพเมถุน, การลักทรัพย์, การฆ่าสัตว์ และมนุษย์, การอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน (เพื่อป้องกันการทำความผิดที่สำคัญในตอนแรก).

การปฏิบัติต่อผู้ทำผิด

              มีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงแสดงข้อปฏิบัติในกรณีนั้น ๆ คือ
             
๑. เมื่อภิกษุไม่เห็นอาบัติ (คือต้องอาบัติแล้ว ไม่รับว่าต้อง) ถูกสงฆ์ประกาศยกเสียจากหมู่จึงสึกไป ภายหลังขอเข้ามาบวชใหม่, ถ้าสอบถามแล้วยอมรับว่าต้องอาบัติจริง ก็ให้บวชได้. เมื่อบวชแล้ว ให้ทำพิธีทำคืนอาบัติที่ต้องไว้แต่ครั้งก่อน
             
๒. เมื่อภิกษุไม่ทำคืนอาบัติ ถูกสงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่จึงสึกไป ภายหลังมาขอบวช ถ้ารับว่าจักทำคืนอาบัติ ก็ให้บวชได้ เมื่อบวชแล้ว ให้ทำคืนอาบัติที่ต้องไว้แต่ครั้งก่อนให้เรียบร้อย
             
๓. เมื่อภิกษุมีความเห็นชั่วหยาบ คือความเห็นผิดอย่างแรง ถูกสงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่จึงสึกไป ภายหลังมาขอบวช ถ้ารับว่าจักละความเห็นผิดนั้น ก็ให้บวชได้

              เมื่อบวชแล้วไม่ยอมทำคืนอาบัติก็ดี ไม่ยอมสละความเห็นผิดก็ดี สงฆ์มีสิทธิประกาศยกเสียจากหมู่ได้อีก. แต่ถ้าไม่ได้ภิกษุครบองค์สงฆ์ที่จะสวดประกาศ ก็อยู่ร่วมกับเธอได้ ไม่ต้องอาบัติ.

๒. อุโบสถขันธกะ (หมวดว่าด้วยอุโบสถ)

              พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ เห็นนักบวชลัทธิอื่นประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ มีคนไปฟังธรรม มีความรัก ความเลื่อมใส ทำให้นักบวชเหล่านั้นมีผู้เข้าเป็นฝักฝ่าย ทรงปรารภจะให้ภิกษุในพระพุทธศาสนาทำอย่างนั้นบ้าง จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลพระราชดำรินั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุมัติ ประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์.

              ครั้งแรกภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่นั่งนิ่ง ๆ ชาวบ้านจะฟังธรรมก็ไม่ได้ฟัง จึงติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม.

การสวดปาฏิโมกข์เป็นอุโบสถกรรม

              พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุทั้งหลาย ควรอนุญาตให้สวดเป็นปาฏิโมกข์นั้นจักเป็นอุโบสถกรรม คือการทำอุโบสถของภิกษุเหล่านั้น. จึงทรงบัญญัติตามที่ทรงพระดำรินั้น และทรงแสดงวิธีสวดปาฏิโมกข์ เริ่มต้องแต่กิจเบื้องต้น.

ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปาฏิโมกข์

              ๑. ภิกษุทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ทุกวัน ตรัสห้ามและปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น. ทรงอนุญาตให้สวดเฉพาะวันอุโบสถ
             
๒. ภิกษุทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ ๓ ครั้ง ต่อ ๑ ปักษ์ (กึ่งเดือน) คือในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, และ ๘ ค่ำ, ตรัสห้ามและปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น. ทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์เพียงครั้งเดียวต่อ ๑ ปักษ์ คือในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ
             
๓. ภิกษุฉัพพัคคีย์สวดปาฏิโมกข์เฉพาะในพวกของตน. ตรัสห้ามและปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น. ทรงอนุญาตให้ทำอุโบสถโดยพร้อมเพรียงกัน
             
๔. ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า จะกำหนดเขตพร้อมเพรียงกันในอาวาสหนึ่งหรือถือเขตแผ่นดินทั้งผืน ตรัสให้ใช้อาวาสเดียวกันเป็นเขตสามัคคี
             
๕. พระมหากัปปินะ (ผู้เป็นพระอรหันต์) คิดว่าท่านบริสุทธิ์อยู่แล้ว จะควรได้ทำอุโบสถสังฆกรรมหรือไม่ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสตอบว่า ถ้าเธอไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอุโบสถแล้ว ใครเล่าจะทำเช่นนั้น. และตรัสสั่งให้ไปทำอุโบสถสังฆกรรม
             
๖. ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า อาวาสเดียวกันนั้น กำหนดอย่างไร จึงทรงอนุญาตให้สมมติ คือประกาศสีมา (เขตแดน) โดยกำหนดภูเขา, ก้อนหิน, ป่าไม้, ต้นไม้, หนทาง, จอมปลวก, แม่น้ำหรือแอ่งน้ำ เป็นเครื่องหมาย (นิมิต) แล้วทรงแสดงวิธีสวดสมมติสีมาด้วยเครื่องหมายเหล่านั้น
             
๗. ภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมา (ประกาศเขตแดน) ใหญ่เกินไป ๔ โยชน์บ้าง ๕ โยชน์บ้าง ๖ โยชน์บ้าง. ภิกษุทั้งหลายมาพอดีสวดปาฏิโมกข์ก็มี สวดจบแล้วก็มี กำลังสวดอยู่ก็มี จึงทรงห้ามสมมติสีมาใหญ่เกินไป ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ฝ่าฝืน แล้วทรงอนุญาตให้สมมติสีมาอย่างใหญ่เพียง ๓ โยชน์
             
๘. ภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาริมฝั่งแม่น้ำ ภิกษุที่มาทำอุโบสถถูกน้ำพัด บาตรจีวรถูกน้ำพัด จึงตรัสห้ามสมมติสีมาเช่นนั้น ทรงอนุญาตใหทำได้ต่อเมื่อมีเรือจอดอยู่เป็นประจำ หรือมีสะพานทอดอยู่เป็นประจำ
             
๙. ภิกษุทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ตามบริเวณ ไม่มีที่สังเกต. ภิกษุที่เป็นอาคันตุกะ (ผู้มาจากที่อื่น) ไม่รู้ว่าทำอุโบสถกันที่ไหน จึงทรงอนุญาตให้สมมติโรงอุโบสถทำอุโบสถ จะเป็นวิหาร (กุฎีที่อยู่อาศัย) หรือ เพิง หรือปราสาท (เรือนเป็นชั้น หรือเรือนโล้น (หลังคาตัด) หรือถ้ำ ก็ได้
             
๑๐. ภิกษุทั้งหลายสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน. ตรัสห้ามและตรัสแนะให้สวดถอนโรงอุโบสถเสียหลัง ๑ คงให้ใช้เพียงหลังเดียว
             
๑๑. ภิกษุทั้งหลายสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป มีพระมาประชุมมาก บางรูปต้องนั่งนอกเขต. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นอันทำอุโบสถ และได้ตรัสแนะให้กำหนดเครื่องหมาย (นิมิต) แล้วประชุมสงฆ์สวดสมมติหน้ามุข อุโบสถขยายให้ใหญ่ออกไปตามต้องการ
             
๑๒. ภิกษุบวชใหม่มาประชุมก่อนในวันอุโบสถ นึกว่าพระเถระคงยังไม่มา จึงกลับไป. กว่าจะได้ทำอุโบสถก็กลางคืน จึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุที่เป็นเถระมาประชุมก่อนในวันอุโบสถ
             
๑๓. มีวัดหลายวัดในเขตสีมาเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายต่างวัดต่างทำอุโบสถ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงให้รวมทำแห่งเดียวกัน ไม่ให้แยกกันทำ
             
๑๔. ตรัสอนุญาตให้สมมติสีมา เป็นเขตอยู่ร่วมกัน ทำอุโบสถร่วมกัน โดยให้เป็นเขตไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร (ภายในเบริเวณสีมานั้น ไปไหนได้ไม่ต้องนำจีวรติดตัวไปด้วยครบสำรับ) และให้สมมติเว้นเขตบ้านและละแวกบ้าน (เพื่อไม่ให้เก็บจีวรไว้ในบ้าน)
             
๑๕. ตรัสอนุญาตว่า เมื่อสวดถอน (เลิกใช้) ให้ถอนเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรก่อนแล้ว ถอนเขตอยู่ร่วมกันทีหลัง
             
๑๖. ถ้ายังมิได้สมมติสีมา ให้ใช้หมู่บ้านหรือนิคมที่อยู่นั้นเป็นคามสีมาและนิคมสีมาได้ แล้วอนุญาตให้ใช้เขตพ้นระยะน้ำสาดถึง ในแม่น้ำเป็นอุทกุกเขปสีมา (เขตวักน้ำสาด) เป็นเขตลอยเรือหรือแพ หรือปลูกโรงทำอุโบสถได้กลางแม่น้ำ ทะเลหรือสระน้ำ แต่ไม่อนุญาตแม่น้ำ ทะเล หรือสระน้ำทั้งหมดเป็นเขต (สีมา)
             
๑๗. ตรัสห้ามมิให้สมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน ให้มีชานของสีมา
             
๑๘. ตรัสอธิบายว่า วันอุโบสถ ๑๔ ค่ำก็มี ๑๕ ค่ำก็มี (กลางเดือนเป็น ๑๕ ค่ำ ปลายเดือนเป็น ๑๔ ค่ำบ้าง ๑๕ ค่ำบ้าง สุดแต่เดือนขาด เดือนเต็ม)
             
๑๙. ตรัสอธิบายหลักเกณฑ์เรื่องสวดปาฏิโมกข์ย่อ เมื่อมีเหตุสมควร ๑๐ อย่างเกิดขึ้น
             
๒๐. ภิกษุที่จะกล่าวธรรมต้องได้รับเชื้อเชิญ ทรงอนุญาตให้พระเถระกล่าวธรรมเอง หรือเชิญภิกษุอื่นกล่าวธรรม
             
๒๑. ตรัสอนุญาตให้มีการสมมติผู้ถามพระวินัย และผู้ตอบพระวินัย
             
๒๒. ตรัสอนุญาตให้ขอโอกาสก่อน แล้วจึงโจทอาบัติ
             
๒๓. ในการทำกรรมเป็นการสงฆ์ ทรงอนุญาตให้ค้านได้ ให้แสดงความคิดเห็นได้ อธิษฐานในใจว่าไม่เห็นด้วย ในเมื่อคนเดียวค้านเข้าจะยุ่งยาก
             
๒๔. ตรัสห้ามมิให้แกล้งสวดปาฏิโมกข์มิให้ผู้อื่นได้ยิน ถ้ามีเสียงผิดปกติและพยายามแล้ว ไม่เป็นอาบัติ
             
๒๕. ตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์โดยมีคฤหัสถ์ปนอยู่ในบริษัท
             
๒๖. ภิกษุผู้มิได้รับเชื้อเชิญ ตรัสห้ามมิให้สวดปาฏิโมกข์ ทรงอนุญาตให้พระเถระเป็นใหญ่ในเรื่องปาฏิโมกข์ (จะสวดเองหรือให้ใครสวดก็ได้)
             
๒๗. พระเถระสวดเองไม่ได้ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถเป็นใหญ่ในเรื่องปาฏิโมกข์
             
๒๘. พระทั้งวัดไม่สามารถสวดปาฏิโมกข์ได้ ให้ส่งภิกษุรูปหนึ่งไปเรียนจากอาวาสใกล้เคียง จะโดยย่อหรือโดยพิสดารก็ตาม ให้พระเถระเป็นผู้ใช้ไป ผู้ถูกใช้ขัดขืนในเมื่อไม่ป่วยไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ
             
๒๙. ตรัสอนุญาตให้เรียนปักขณนา (การคำนวณปักษ์) ได้ทุกรูป เพื่อบอกดิถีแก่คนทั้งหลายได้
             
๓๐. ตรัสอนุญาตให้เรียกชื่อ ให้จับสลากเพื่อนับจำนวนภิกษุในวันอุโบสถ
             
๓๑. ตรัสอนุญาตให้ปัดกวาด, ปูอาสนะ, ตามประทีป, ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ในโรงอุโบสถ โดยให้พระเถระเป็นผู้สั่งการ
             
๓๓. ตรัสห้ามภิกษุที่จะไปที่อื่นโดยไม่บอกลาอุปัชฌาย์หรืออาจารย์, ให้อุปัชฌายะหรืออาจารย์สอบสวนว่าจะไปไหน ไปกับใคร ถ้าเห็นไม่สมควรก็ไม่ให้อนุญาต ถ้าไม่อนุญาต ขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ
             
๓๔. ภิกษุผู้ทรงความรู้ ประพฤติตนดีมา ให้ต้อนรับด้วยดี ถ้าไม่ต้อนรับ ต้องอาบัติทุกกฏ
             
๓๕. ถ้าไม่มีใครสวดปาฏิโมกข์ได้เเลย และไม่สามารถจะส่งใครไปเรียนวิธีสวด ห้ามอยู่จำพรรษาร่วมกับภิกษุเหล่านั้น ถ้าขืนอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
             
๓๖. ภิกษุเป็นไข้ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อนำไปบอกแก่สงฆ์. ถ้าไม่มีผู้รับไปบอก ให้นำขึ้นเตียง ขึ้นตั่ง หามไปทำอุโบสถ. ไม่ให้ทำอุโบสถแยกกัน ถ้าให้เคลื่อนที่ อาพาธอาจกำเริบหรืออาจถึงมรณภาพ ให้สงฆ์ไปทำอุโบสถที่ภิกษุรูปนั้น. แล้วตรัสให้ภิกษุผู้รับบอกปาริสุทธิต้องไปบอกแก่สงฆ์ให้จงได้ ถ้าไปไม่ได้เอง ให้มอบหมายผู้อื่นบอกแทน
             
๓๗. ในสังฆกรรมอื่นจากอุโบสถ ถ้าภิกษุเป็นไข้ ตรัสอนุญาตให้มอบฉันทะ และมีเงื่อนไขคล้ายอุโบสถ (ฉันทะคือความพอใจ มอบให้สงฆ์ทำกรรมไปโดยตนไม่ต้องร่วมด้วย)
             
๓๘. ในวันอุโบสถ ถ้ามีสังฆกรรมอื่นด้วย ตรัสอนุญาตให้ภิกษุผู้บอกความบริสุทธิ์นั้นบอกให้ฉันทะด้วย
             
๓๙. ภิกษุถูกญาติจับตัว ถูกคนอื่น ๆ จับตัวไม่สามารถมาร่วมทำอุโบสถได้ ให้เจรจาขอตัวมาทำอุโบสถ ถ้าเจรจาไม่สำเร็จ ให้นำออกให้พ้นเขตสีมา เพื่อให้สงฆ์ทำอุโบสถ ห้ามทำอุโบสถทั้งที่มีภิกษุอื่นอยู่ในเขตสีมา แต่มิได้เข้าร่วมประชุม
             
๔๐. ถ้าในอุโบสถหรือสังฆกรรมอื่นมีภิกษุเป็นบ้า ให้สงฆ์สวดสมมติเพื่อจะได้ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมอื่นโดยไม่มีเธออยู่ด้วย
             
๔๑. พระมี ๔ รูป ตรัสอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์, ถ้ามี ๓ รูป หรือ ๒ รูป ให้ประชุมกันบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน เรียกว่าปาริสุทธิอุโบสถ. ถ้ามีรูปเดียว ให้ปัดกวาดสถานที่คอยภิกษุอื่น เมื่อไม่เห็นมาให้อธิษฐาน คือตั้งใจระลึกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ถ้าไม่ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
             
๔๒. มิให้ทำอุโบสถทั้งที่ยังมีอาบัติ ให้แสดงอาบัติก่อนแล้วจึงทำอุโบสถ ถ้าสงสัยในอาบัติก็ให้บอกแก่ภิกษุรูปหนึ่งก่อน
             
๔๓. ห้ามภิกษุที่ต้องอาบัติเหมือน ๆ กัน แสดงอาบัติเช่นนั้นแก่กัน (สภาคาบัติ) ถ้าแสดงหรือรับต้องอาบัติทุกกฏ
             
๔๔. ถ้าระลึกได้ว่ายังมีอาบัติอยู่ หรือสงสัยว่าจะต้องอาบัติใด ๆ ในขณะฟังปาฏิโมกข์ ให้บอกแก่ภิกษุที่อยู่ใกล้เพื่อรับทราบไว้ เมื่อเสร็จอุโบสถจะได้ทำคืน
             
๔๕. ถ้าสงฆ์ต้องอาบัติในเรื่องเดียวกัน (สภาคาบัติ) ทั้งวัด ให้ส่งพระรูปหนึ่งไปแสดงที่วัดอื่น ถ้าไม่มีวัดใกล้เคียง ให้ไปกลับภายใน ๗ วัน เพื่อหาที่แสดงอาบัติของส่วนรวม
             
๔๖. ถ้าสงฆ์ทั้งวัดต้องอาบัติเรื่องเดียวกัน แต่ไม่รู้ชื่อหรือต้นเค้าแห่งอาบัติ ให้สอบถามภิกษุผู้รู้วินัยที่เดินทางมาพัก แล้วแสดงคืนเสีย แต่ถ้าได้ไต่ถามพูดจากันแล้ว ภิกษุทั้งหลายยังไม่ยอมแสดงอาบัติ (เพราะยังไม่เชื่อ เป็นต้น) ก็ให้ปล่อยไว้ ไม่ต้องว่ากล่าว
             
๔๗. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถที่ไม่ต้องอาบัติเกี่ยวกับไม่รู้ว่ายังมีภิกษุอื่นอยู่อีก จึงทำอุโบสถไปก่อน รวม ๑๕ ข้อ
             
๔๘. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถที่ทำด้วยบริสุทธิ์ใจ แต่ก็รู้ว่ายังมีภิกษุอื่นอีก ยังมิได้มาทำอุโบสถ คงปรับอาบัติทุกกฏเฉพาะภิกษุผู้สวด รวม ๑๕ ข้อ
             
๔๙. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ (เหมือนข้อ ๔๘) แต่สงสัยว่าจะเป็นการควรหรือไม่ แล้วขืนสวดปาฏิโมกข์ คงปรับอาบัติทุกกฏเฉพาะผู้สวด รวม ๑๕ ข้อ
             
๕๐. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ (เหมือนข้อ ๔๙) แต่สงสัยว่าจะเป็นการควรหรือไม่ แล้วขืนสวดปาฏิโมกข์ คงปรับอาบัติเฉพาะผู้สวด รวม ๑๕ ข้อ
             
๕๑. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ (เหมือนข้อ ๕๐) แต่มุ่งให้แตกแยกกัน แล้วขืนสวดปาฏิโมกข์. ปรับอาบัติถุลลัจจัย (แรงกว่าทุกกฏ) แก่ภิกษุผู้สวด รวม ๑๕ ข้อ
             
๕๒. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขแบบต้น ๆ ระหว่างภิกษุที่อยู่ประจำวัดกับภิกษุที่อยู่ประจำวัด, ระหว่างภิกษุที่อยู่ประจำวัดกับภิกษุอาคันตุกะ, ระหว่างภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ประจำวัด และระหว่างภิกษุอาคันตุกะ กับอาคันตุกะ รวม ๗๐๐ ข้อ
             
๕๓. แล้วทรงแสดงเงื่อนไขการนับวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ที่ภิกษุอยู่ประจำวัดกับภิกษุอาคันตุกะมีความเห็นแตกต่างกัน ให้อนุโลมตามภิกษุข้างมาก เป็นต้น อีกหลายร้อยข้อ
             
๕๔. ในที่สุดทรงแสดงหลักการที่มิให้ผู้ไม่สมควรนั่งรวมอยู่ด้วยในการสวดปาฏิโมกข์ ในวันอุโบสถ รวม ๒๒ ข้อ ที่ไม่ให้สวดปาฏิโมกข์ เช่น มีนางภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย เป็นต้น.
              (
หมายเหตุ: การลำดับเลขแต่ ๑ ถึง ๕๔ ข้อนี้ ลำดับเอาเองเพื่ออ่านเข้าใจง่าย ถ้าจะลำดับให้พิสดารตามที่ทรงบัญญัติทุกข้อ ก็คงจะถึงจำนวนพันข้อ).

๓. วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดวันเข้าพรรษา)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ยังมิได้ทรงบัญญัติเรื่องการจำพรรษา (คือพักอยู่ในวัดตลอด ๓ เดือนฤดูฝน) ภิกษุทั้งหลายเที่ยวจาริกไปทุกฤดูกาล. มีผู้ติเตียน ว่าเที่ยวเหยียบต้นหญ้า และเหยียบสัตว์ตาย. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัยให้ภิกษุจำพรรษา.

              ครั้งแรกภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่นั่งนิ่ง ๆ ชาวบ้านจะฟังธรรมก็ไม่ได้ฟัง จึงติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม.

              แล้วทรงแสดงว่า วันจำพรรษามี ๒ อย่าง คือ วันจำพรรษาต้น และวันจำพรรษาหลัง (เมื่อดวงจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงแล้ว ๑ เดือน คือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันเข้าพรรษาหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า ทรงบัญญัติตามปีปกติและปีมีอธิกมาส จึงมี ๒ อย่าง).

              แล้วทรงห้ามจาริกไปไหนระหว่าง ๓ เดือนของวันเข้าพรรษาแรกหรือเข้าพรรษาหลัง แล้วแต่กรณี ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

              แล้วทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้เมื่อถึงวันเข้าพรรษาแล้วไม่จำพรรษา หรือพบวัดที่จะจำพรรษาแล้วแกล้งเดินทางเลยไปเสีย.

ทรงอนุมัติการเลื่อนวันจำพรรษา

              พระเจ้าพิมพิสารทรงส่งทูตไปเฝ้า ขอให้เลื่อนวันจำพรรษาออกไปอีก ในวันเพ็ญหน้า (รวมเป็น ๑ เดือน) จึงทรงอนุญาตให้อนุวัตตามพระราชา (สันนิษฐานว่าทรงขอให้เลื่อนจำพรรษาไปตามวันอธิกมาสทางโลก).

ทรงอนุญาตให้ไปกลับภายใน ๗ วัน

              แล้วทรงอนุญาตให้เดินทางได้ในระหว่างพรรษาโดยให้กลับภายใน ๗ วัน ในเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น ที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ดังต่อไปนี้
             
๑. ทายกปรารถนาจะบำเพ็ญกุศล ส่งคนมานิมนต์ ในกรณีเช่นนี้ ทรงอนุญาตให้ไปได้เฉพาะที่เขาส่งคำนิมนต์มา ถ้าไม่ส่งคำนิมนต์มา ไม่ให้ไป
             
๒. เพื่อนสหธัมมิก คือผู้บวชร่วมกัน (ภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร, สามเณรี) เป็นไข้จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตาม ทรงอนุญาตให้ไปได้. นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเพื่อนสหธัมมิกอีก คือเมื่อเพื่อนสหธัมมิกเป็นไข้ ภิกษุปรารถนาจะช่วยแสวงหาอาหาร, ผู้พยาบาล, ยารักษาโรคก็ไปได้, เมื่อเพื่อนสหธัมมิกเกิดความไม่ยินดี เกิดความรังเกียจ หรือเกิดความเห็นผิดขึ้น ไปเพื่อระงับเหตุนั้น , เมื่อเพื่อนสหธัมมิก (เฉพาะภิกษุ, ภิกษุณี) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปรารถนาจะอออกจากอาบัติในขั้นใด ๆ ก็ตาม หรือสงฆ์ปรารถนาจะทำสังฆกรรมลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปที่จะถูกลงโทษต้องการให้ไป ก็ไปได้เพื่อไกล่เกลี่ยไม่ให้ต้องทำกรรม หรือให้ลงโทษเบาลงไป, เพื่อให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยพระวินัยเพื่อปลอบใจ เป็นต้น. หรือเมื่อนางสิกขมานาหรือสามเณรปรารถนาจะบวช ไปเพื่อช่วยเหลือในการนั้น
             
๓. มารดา บิดา พี่น้อง หรือ ญาติ เป็นไข้ ส่งคนมานิมนต์หรือไม่ รู้เข้า ไปได้
             
๔. วิหารชำรุด ไปเพื่อหาสิ่งของมาปฏิสังขรณ์.

ขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติ

              เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ไม่สามารถจะจำพรรษาในที่นั้น ๆ ต่อไปได้ ทรงอนุญาตให้ไม่ต้องอาบัติ ดังต่อไปนี้
             
๑. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
             
๒. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ทรงอนุญาตให้ไปกับเขาได้ ชาวบ้านแตกกันเป็น ๒ ฝ่าย
             
๓. ขาดแคลนอาหารหรือยารักษาโรค หรือขาดผู้บำรุง ได้รับความลำบาก ทรงอนุญาตให้ไปได้
             
๔. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ทรงอนุญาตให้ไปให้พ้นได้
             
๕. ภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผูพยายามให้แตกกัน หรือทำให้แตกกันแล้ว ไปเพื่อหาทางระงับได้.

ทรงอนุญาตการจำพรรษาในที่บางแห่ง

              มีภิกษุบางรูปประสงค์จะจำพรรษาในบางที่บางแห่งต่าง ๆ กัน ทรงผ่อนผันให้จำพรรษาได้ คือ
             
๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในที่ของนายโคบาล)
             
๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรงอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
             
๓. ในหมู่เกวียน
             
๔. ในเรือ.

ทรงห้ามจำพรรษาในที่ไม่สมควร

              ทรงห้ามการจำพรรษาในที่ไม่สมควร คือ
             
๑. ในโพรงไม้
             
๒. บนกิ่งหรือค่าคบไม้
             
๓. กลางแจ้ง
             
๔. ไม่มีเสนาสนะ (คือที่นอนที่นั่ง)
             
๕. ในโลงผี
             
๖. ในกลด (เช่น เต๊นท์ของนายโคบาล)
             
๗. ในตุ่ม

ข้อห้ามอื่น ๆ

              ๑. ห้ามตั้งกติกาที่ไม่สมควร เช่น ไม่บวชสามเณรให้ในพรรษา
             
๒. ห้ามรับปากว่าจะจำพรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น.


๑. อรรถกถาแก้ว่า ตั้งเสา ๔ เสา แล้วเอาร่มหรือกลดทาบลงไปบนเสานั้น

๔.ปวารณาขันธกะ (หมวดปวารณา)

              เล่าเรื่องภิกษุที่จำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกา ไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ตรัสถาม ทราบความแล้ว ก็ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา (คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้) ในเมื่อจำพรรษาแล้ว โดยให้สวดประกาศตั้งญัตติ แล้วให้ภิกษุพรรษาแก่กว่าปวารณาก่อน ๓ ครั้ง ภิกษุพรรษาอ่อนปวารณาทีหลัง.

              ทรงห้ามไม่ให้นั่งลงกับพื้น (คงนั่งกระหย่ง) จนกว่าจะปวารณาเสร็จ คือให้ทุกรูปนั่งกระหย่ง รูปไหนเสร็จก่อนก็นั่งลงกับพื้นได้.

              ทรงแสดงวันปวารณาว่ามี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ และทรงแสดงปวารณา ๔ อย่าง คือปวารณาแยกกันที่ไม่เป็นธรรม, ปวารณารวมกันที่ไม่เป็นธรรม, ปวารณาแยกกันที่เป็นธรรม, ปวารณารวมกันที่เป็นธรรม แล้วตรัสสอนให้ปวารณาเฉพาะรวมกันที่เป็นธรรม.

              แล้วทรงแสดงการบอกปวารณา (ใช้ให้ผู้อื่นปวารณาแทน) ของภิกษุผู้เป็นไข้ มีลักษณะคล้ายบอกบริสุทธิ์หรือฉันทะในเรื่องปาฏิโมกข์.

              และทรงอนุญาตให้ปวารณาเป็นการสงฆ์ต่อเมื่อมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ภิกษุ ๔ รูปลงมาถึง ๒ รูป ให้ปวารณากันเอง (เป็นส่วนบุคคล). ถ้ามีรูปเดียวให้อธิษฐาน คือตั้งใจว่าวันนี้เป็นวันปวารณา.

              ทรงแสดงการปวารณาไปโดยไม่รู้ว่ายังมีภิกษูอื่นมาไม่ครบ ๑๕ ประเภทที่ไม่ต้องอาบัติ และแสดงเงื่อนไขอื่น ๆ เหมือนเรื่องอุโบสถ.

              อนึ่ง ทรงห้ามภิกษุที่ยังมีอาบัติมิให้ปวารณา ถ้าขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. ทรงอนุญาตให้ขอโอกาสแล้วโจทอาบัติได้. ถ้าภิกษุผู้ต้องอาบัติ ไม่ยอมให้โอกาสเพื่อโจทอาบัติ ให้สงฆ์สวดประกาศหยุดการปวารณาไว้ อ้างเหตุว่า ผู้นั้นผู้นี้ยังมีอาบัติอยู่. แล้วทรงแสดงลักษณะที่หยุดการปวารณาไว้ หรือหยุดไม่ได้ (เพราะปวารณาไปแล้ว) เป็นต้น.

              มีภิกษุทื่อื่นประสงค์จะมาก่อการทะเลาะ หรือก่อให้เกิดอธิกรณ์ ทรงอนุญาตให้รีบปวารณาเสียให้เสร็จก่อนที่ภิกษูเหล่านั้นจะมา ถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้ ให้สวดปาฏิโมกข์แทน โดยเลื่อนวันปวารณาออกไปอีกปักษ์หนึ่ง (๑๕ วัน) ถ้าภิกษุที่ก่อเรื่องยังพักอยู่จนถึงปวารณาที่เลื่อนไปนั้น ให้สวดประกาศเลื่อนการปวารณาออกไปได้อีกปักษ์หนึ่ง แล้วสวดปาฏโมกข์แทน. ถ้าภิกษุเหล่านั้นยังพักอยู่อีก แม้ไม่ประสงค์จะปวารณา ก็ต้องปวารณาหมดทุกรูป (เลื่อนอีกไม่ได้)

              สงฆ์อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ถ้าปวารณาแล้วจะแยกย้ายจากกันไป ทรงอนุญาตให้เลื่อนวันปวารณาไปได้อีก ๑ เดือน.

 

 

เล่มที่ ๕ ชื่อมหาวัคค์ (เป็นวินัยปิฎก)

              ได้กล่าวแล้วว่า มหาวัคค์ มี ๒ เล่ม คือเล่ม ๔ กับเล่ม ๕, ในเล่ม ๔ ที่ย่อจบมาแล้วมี ๔ หมวด หรือ ๔ ขันธกะ แต่ในเล่ม ๕ มี ๖ หมวด หรือ ๖ ขันธกะ (รวมทั้งสิ้น ในมหาวัคค์ จึงมี ๑๐ ขันธกะ) ดังนี้

              ๑. จัมมขันธกะ (หมวดว่าด้วยหนัง) ในหมวดนี้เล่าประวัติของพระโสณโกฬิวิสะ บุตรเศรษฐี ผู้ออกบวชแล้วบำเพ็ญเพียรจนเท้าแตก. ทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าหญ้าชั้นเดียว ห้ามใช้รองเท้าสีต่าง ๆ และห้ามใช้รองเท้าหนังสัตว์ที่ไม่ควรต่าง ๆ ทรงแสดงเรื่องมารยาทในการใช้รองเท้าว่าอย่างไรเป็นเสียความเคารพ อย่างไรไม่เสีย. ทรงห้ามรองเท้าไม้ ห้ามใช้ยานที่ไม่สมควร ห้ามใช้ที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่. ห้ามใช้หนังแผ่นใหญ่. เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะผู้อยู่ในแคว้นอวันตี. และกำหนดเขตชนทบทภาคกลางและชนบทชายแดน

              ๒. เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยารักษาโรค) กล่าวถึงยาต่างชนิด เล่าเรื่องพระเวลัฏฐสีสะ, พระปิลินทวัจฉะ, ทรงอนุญาตการผ่าตัด, ทรงอนุญาตยา ๔ ชนิดและยาสมอดองด้วยน้ำมูตร, ทรงอนุญาต คนทำงานวัด, อนุญาตเภสัช ๕, เล่าเรื่องพระกังขาเรวตะ, พระผู้มีพระภาคทรงประชวรโรคลมในท้อง, ห้ามเก็บอาหารและหุงต้มในที่อยู่. เรื่องเนื้อที่ไม่สมควรฉัน, การเสด็จสู่ปาฏลิคาม, เรื่องนางอัมพปาลี, เรื่องน้ำดื่ม ๘ อย่างและเรื่องกาลิก ๔

              ๓. กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน) กล่วถึงต้นเหตุทรงอนุญาตกฐิน อานิสงส์ ๕ เมื่อได้กราลกฐิน, กฐินไม่เป็นอันกราล, ข้อกำหนด ๘ อย่างในการเดาะกฐิน (รื้อไม้สะดึง), ความกังวลและไม่กังวลเกี่ยวกับกฐิน

              ๔. จีวรขันธกะ (หมวดว่าด้วยจีวร) กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ตั้งแต่ทรงอนุญาตให้รับจีวรได้ ตลอดจนผ้าที่จะใช้หลายชนิด กับทั้งผ้าที่เกิดขึ้นโดยผู้ถวายตั้งเงื่อนไขไว้ต่าง ๆ

              ๕. จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา) ว่าด้วยการทำกรรมของสงฆ์ต่างชนิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องลงโทษ เช่น อุกเขปนียกรรม (การยกขึ้นจากหมู่) เป็นต้น

              ๖. โกสัมพิขันธกะ (ว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงโกสัมพี) ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องสงฆ์แตกสามัคคีกัน แล้วทรงแสดงวิธีปรองดองของสงฆ์ในทางพระวินัย.


๑. กราล คือลาดผ้าลงกับไม้สดึง : กฐิน เป็นชื่อของไม้สดึง คือไม้แบบสำหรับตัดจีวร

ขยายความ

๑. จัมมขันธกะ (หมวดว่าด้วยหนัง)

              พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ ทรงเรียกประชุมชาวบ้านจำนวนมากที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ ได้ทรงทราบข่าวว่า บุตรเศรษฐีชื่อ โสณโกฬิวิสะมีขนขึ้นที่พื้นเท้า ก็ทรงใคร่จะได้เห็น จึงตรัสให้ไปเฝ้า ทอดพระเนตรแล้ว ก็ทรงสั่งสอนชาวบ้านเหล่านั้นด้วยเรื่องประโยชน์ปัจจุบันแล้ว ให้บุคคลเหล่านั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อสดับเรื่องประโยชน์อนาคต.

              พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุบุพพิกถา (ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ คือเรื่องทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม อานิสงส์ในการออกจากกาม) และอริยสัจจ์ ๔ ประการ. ชาวบ้านเหล่านั้นปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.

              ส่วนโสณโกฬิวสะขอบวช เมื่อบวชแล้วมีความเพียรเดินจงกรม (เดินไปมากำหนดข้อฝึกหัดจิตใจ) จนเท้าแตกโลหิตไหล. พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระโสณโกฬิวิสะเมื่อยังไม่บวชเคยดีดพิณ จึงทรงแสดงธรรมให้เดินสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป เหมือนสายพิณที่ขึงแต่พอดี ย่อมดีดดังไพเราะ พระโสณโกฬิวิสะปฏิบัติตามก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล.

ทรงอนุญาตรองเท้าใบไม้

              พระผู้มีพระภาคทรงเห็นพระโสณโกฬิวิสะ เป็นผู้สุขุมาล (ละเอียดอ่อน) ก็ทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าใบไม้ชั้นเดียว พระโสณะเกี่ยงว่า ถ้าอนุญาตแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม ท่านจึงจะใช้ จึงทรงอนุญาตรองเท้าที่ทำด้วยใบไม้ชั้นเดียว ห้ามใช้ชนิดที่ทำ ๒ - ๓ ชั้นหรือซ้อนหลายชั้น.

ทรงห้ามรองเท้าที่ไม่ควร

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้รองเท้าสีต่าง ๆ มีผู้ติเตียน จึงทรงห้ามใช้. เธอใช้หูรองเท้า (ประกอบรองเท้าคีบ) สีต่าง ๆ มีผู้ติเตียน ก็ทรงห้ามอีก. เธอยักย้ายไปใช้รองเท้าลักษณะต่าง ๆ เช่น รองเท้าปิดส้น. ปิดหลังเท้า และที่สวยงาม ประดับประดาต่าง ๆ ซึ่งเป็นของคฤหัสถ์ใช้กัน ก็ทรงห้ามทั้งหมด. นอกจากนั้น ยังทรงห้ามใช้รองเท้าหนังสัตว์ที่ไม่ควรต่าง ๆ ซึ่งคฤหัสถ์สมัยนั้นใช้กัน เช่น รองเท้าทำด้วยหนังราชสีห์, เสือโคร่ง, อูฐ เป็นต้น

ข้ออนุญาตและข้อห้ามเกี่ยวกับรองเท้า

              ๑. ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้น ที่คนอื่นใช้แล้ว ห้ามใช้ที่เป็นของใหม่
             
๒. ถ้าภิกษุผู้เป็นอาจารย์ หรือปูนอาจารย์ เป็นอุปัชฌายะ หรือปูนอุปัชฌายะ ไม่สวมรองเท้าเดินจงกรม ห้ามภิกษุใช้รองเท้า เดินจงกรม
             
๓. ทรงห้ามใช้รองเท้าในวัด ภายหลังทรงอนุญาตให้ใช้ได้ รวมทั้งทรงอนุญาตให้ใช้คบเพลิง, ประทีปและไม้เท้า (เพื่อไม่เหยียบหนาม เหยียบตอ และเพื่อสะดวกในเวลากลางคืน)
             
๔. ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่เจ็บเท้า, เท้าแตก หรือมีโรคที่เท้า ใช้รองเท้าได้
             
๕. จะขึ้นเตียง ขึ้นตั่ง ก็ทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าได้ (เพื่อว่าล้างเท้าใหม่ ๆ น้ำที่ติดเท้าและผงต่าง ๆ จะได้ไม่ทำให้เตียงตั่งเสียหาย)
             
๖. ห้ามใช้รองเท้าไม้ (เพราะมีเสียงดัง)
             
๗. ห้ามใช้รองเท้าทำด้วยใบตาลและไม้ไผ่ (เพราะพระเที่ยวขอให้เขาตัดต้นตาลและต้นไผ่ที่ยังรุ่น)
             
๘. ห้ามใช้รองเท้าหญ้าและรองเท้าใบไม้หลายชนิด ตลอดจนรองเท้าทำด้วยเงินทองเพชรพลอย และโลหะต่าง ๆ (เพราะมัวยุ่งอยู่ด้วยเรื่องรองเท้า ไม่เป็นอันเล่าเรียนหรือประพฤติปฏิบัติ)
             
๙. ทรงอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงติดกับที่ สำหรับใช้ในการถ่ายอุจจาระ, ปัสสาวะ และชำระ.
             
ทั้งหมดนี้ ถ้าล่วงละเมิด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ข้อห้ามเกี่ยวกับโคตัวเมีย

              เขานำโคตัวเมียข้ามลำน้ำอจิรวดี ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวจับที่เขาบ้าง, หูบ้าง, คอบ้าง, หางบ้าง, ขึ้นขี่หลังบ้าง, ถูกต้ององคชาตด้วยจิตกำหนัดบ้าง, จับลูกโคกดน้ำให้ตายบ้าง มีผู้ติเตียนอื้อฉาว. จึงทรงห้ามทำเช่นนั้น ถ้าขืนทำ ให้ปรับอาบัติตามควรแก่กรณี (มีสิกขาบทในที่อื่นห้ามเป็นข้อ ๆ อยู่แล้ว การห้ามในที่นี้จึงไม่ระบุอาบัติไว้).

ข้อห้ามเกี่ยวกับยาน

              ทรงห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่จะไม่สบาย ทรงอนุญาตที่มีผู้ชายลาก ทรงอนุญาตคานหามมีตั่งนั่ง และแปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน (ในเรื่องนี้ เป็นการห้ามตามความรังเกียจของประเทศ คือคนในสมัยนั้นเห็นพระนั่งยานก็พากันค่อนขอดติเตียน จึงทรงห้ามเพื่อตัดปัญหา แต่ก็ทรงอนุญาตเมื่อมีเหตุผลสมควร ส่วนการอนุญาตคานหาม เปลหาม ก็เพื่อสะดวกในยามเจ็บไข้).

ข้อห้ามเกี่ยวกับที่นั่งที่นอน

              ทรงห้ามที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ที่มีลักษณะวิจิตรงดงาม เป็นของใช้คฤหัสถ์ และห้ามใช้หนังสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ (สำหรับปูนั่งหรือนอน) เช่น คฤหัสถ์. ภายหลังมีภิกษุต้องการใช้หนังโค และมีผู้ฆ่าโค นำหนังมาถวาย จึงทรงห้ามใช้หนังสัตว์ทุกชนิด เว้นไว้แต่นั่งบนของที่คฤหัสถ์เขามีไว้ใช้ แต่ไม่ให้นอนบนนั้น. (วินัยข้อนี้เพื่อป้องกันมิให้พระมีเครื่องนั่งนอนหรูหราแบบคฤหัสถ์ แต่ในกรณีที่เขานิมนต์ให้นั่งบนที่นั่งของเขาที่มีอยู่โดยปกติ ก็ทรงอนุญาต). นอกจากนั้น ทรงอนุญาตให้ใช้หนังสัตว์ที่เขาทำเป็นเชือกผูก.

ห้ามสรวมรองเท้าเข้าบ้าน

              ทรงห้ามสรวมรองเท้าเข้าบ้าน เว้นแต่ป่วยไข้. (ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ทำเช่นนั้น. เห็นได้ว่าบัญญัตินี้ อนุโลมตามความนิยมหรือไม่นิยมของกลุ่มชน).

พระโสณกุฏิกัณณะ

              โสณกุฏิกัณณะอุบาสก ใคร่จะบวช จึงไปหาพระมหากัจจานะ ขอให้ช่วยสงเคราะห์บวชให้. ท่านเห็นว่าลำบากที่จะประพฤติปฏิบัติจึงห้ามไว้ ครั้งที่สองเมื่อขอบวชอีกและเห็นว่าตั้งใจแน่วแน่ จึงบวชเป็นสามเณรให้ และกว่าจะหาภิกษุประชมครบ ๑๐ รูป เพื่อบวชเป็นภิกษุให้ก็ลำบากยิ่งนัก เพราะในชนบทกันดารเช่นนั้นมีภิกษุน้อย. พระโสณกุฏิกัณณะบวชแล้ว มาเฝ้าพระพุทธเจ้า นำคำขอร้องของพระมหากัจจานเถระผู้เป็นอุปัชฌายะมากราบทูลหลายข้อ เกี่ยวด้วยการผ่อนผันพระวินัยบางประการสำหรับเขตกันดาร.

ข้ออนุญาตสำหรับชนบทชายแดน

              ๑. ทรงอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรในชนบทชายแดน (ปัจจันตชนบท) ทั้งปวง ด้วยภิกษุเป็นคณะเพียง ๕ รูป (ปกติให้ใช้ ๑๐ รูป)

              ๒. ทรงกำหนดชนบทภาคกลาง (มัชฌิมชนบท) ดังนี้คือ
             
ทิศตะวันออก ภายในแต่มหาสาลนครเข้ามา
             
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในแต่แม่น้ำสัลลวตีเข้ามา
             
ทิศใต้ ภายในแต่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อถูนะเข้ามา
             
ทิศเหนือ ภายในแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา
             
ทั้งหมดนี้ร่วมในมัชฌิมชนบท พ้นเขตนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป บวชกุลบุตรได้.

              ๓. ทรงอนุญาตให้ใช้รองเท้าหลายชั้นได้ (เพราะแผ่นดินขรุขระเป็นระแหง)

              ๔. ทรงอนุญาตให้อาบน้ำได้ประจำ (ดูสิกขาบทที่ ๗ สุราปานวรรค)

              ๕. ทรงอนุญาตให้ใช้หนังแกะ หนังแพะ หนังเนื้อ เป็นเครื่องลาดได้ ตามที่มีใช้กันอยู่ในเขตนั้น

              ๖. ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมารับจีวรที่เขาถวายได้ โดยยังไม่ต้องนับวัน ตราบเวลาที่ผ้ายังไม่ถึงมือภิกษุ (เพราะมีข้อห้ามมิให้ภิกษุเก็บจีวรที่เกินกว่า ๓ ผืน ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้ประจำไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องวิกัป คือทำให้เป็นสองเจ้าของ จึงเก็บไว้ได้ และถ้าจีวรประจำไม่มีก็ต้องอธิษฐานจีวรใหม่เป็นจีวรประจำ).


๑. ท่านผู้อ่านโปรดทราบว่า ข้อห้ามเหล่านี้หรือในวินัยโดยมาก ต้องมีใครทำอะไรที่เป็นต้นบัญญัติแล้วไม่ดี ไม่งาม มีผู้ติเตียน จึงทรงห้ามเป็นคราว ๆ ไป คือห้ามตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่ทรงคิดห้ามเอง โดยไม่มีเหตุเกิดขึ้น
๒. เรื่องของท่านผู้นี้ มีกล่าวไว้บ้าง แต่ในที่นั้นนำมาเล่าจากพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕

๒. เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยา)
ทรงอนุญาตเภสัช ๕ และอื่น ๆ

              ๑. ภิกษุหลายรูปอาพาธ ดื่มข้าวยาคู หรือฉันอาหารก็อาเจียนออก (เพราะอาหารไม่ย่อย) จึงซูบผอม พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้ฉันได้ทั้งในกาล (ก่อนเที่ยง) และในวิกาล (เที่ยงแล้วไป)

              ๒. ทรงอนุญาตเปลวสัตว์หลายอย่าง ให้เคี้ยวบริโภคเป็นเภสัชได้เฉพาะในกาล

              ๓. ทรงอนุญาตให้ฉันมูลเภสัช (ยาที่เป็นหัวหรือเหง้าไม้) เช่น ขมิ้น ขิง เป็นต้น ได้ตลอด ไม่กำหนดกาล แต่ต้องมีเหตุสมควร ถ้าไม่มีเหตุสมควร ต้องอาบัติทุกกฏ สำหรับภิกษุผู้อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้หินบดบดได้

              ๔. ทรงอนุญาตให้ฉันกสาวเภสัช (ยาที่เป็นน้ำฝาดจากต้นไม้) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร

              ๕. ทรงอนุญาตให้ฉันปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) ได้ตลอดชีวิต ในเมื่อมีเหตุสมควร

              ๖. ทรงอนุญาตให้ฉันผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) เช่น ดีปลี สมอ มะขามป้อม ได้ตลอดชีวติ

              ๗. ทรงอนุญาตให้ฉันชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) เช่น มหาหิงคุ์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร

              ๘. ทรงอนุญาตโลณเภสัช (เกลือที่เป็นยา) เช่น เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ได้ตลอดชีวิต เมื่อมีเหตุสมควร

              ๙. ทรงอนุญาตให้ใช้ยาผง ในเมื่อเป็นแผลพุพอง หรือกลิ่นตัวแรง เพื่อมิให้แผลติดจีวร สำหรับภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทรงอนุญาตให้ใช้มูลโค (แห้ง) ดิน (แห้ง) และกากเครื่องย้อม ทรงอนุญาตครก สาก และแล่ง(สำหรับร่อนยาผง) เพื่อการนี้

              ๑๐. ทรงอนุญาตเนื้อสัตว์ดิบ โลหิตดิบ ในเมื่ออาพาธ เนื่องด้วยอมนุษย์

              ๑๑. ทรงอนุญาตยาตา และกลักยาตา สำหรับภิกษุผู้อาพาธเป็นโรคตา แต่ห้ามมิให้ใช้กลักยาตา ที่ทำด้วยเงินทองแบบของคฤหัสถ์ กับทรงอนุญาตฝาปิดกลักยาตา และให้ใช้ด้ายพันกันฝาตก กับทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ป้ายยาตาและถุงใส่ไม้ป้ายยาตา รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า

              ๑๒. ทรงอนุญาตให้ทาน้ำมันที่ศีรษะ เมื่อเป็นโรคร้อนศีรษะ และอนุญาตให้นัตถุ์ยา และกล้องยานัตถุ์ แต่กล้องยานัตถุ์ ห้ามใช้ที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบของคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตกล้องยานัตถุ์ที่มีหลอดคู่. ทรงอนุญาตให้สูดควัน (ของยา) ทางจมูก, ทรงอนุญาตกล้องยาสูบ (ที่ใช้รักษาโรค) แต่ไม่ให้ใช้กล้องที่ทำด้วยทองเงินหรืองดงามแบบคฤหัสถ์, ทรงอนุญาตให้มีเครื่องปิดกล้องยาสูบ (เพื่อกันสัตว์เข้าไปข้างใน), ทรงอนุญาตถุงใส่กล้องยาสูลและถุงคู่ รวมทั้งสายสำหรับสะพายคล้องบ่า

              ๑๓. ทรงอนุญาตให้เคี่ยวน้ำมัน (ทำยา) และทรงอนุญาตให้เติมน้ำเมาลงในน้ำมันที่จะทำยาได้ โดยมีเงื่อนไขว่า น้ำเมาที่ใส่นั้น สีกลิ่นรสไม่ปรากฏ. ทรงอนุญาตภาชนะสำหรับใส่น้ำมันที่ทำด้วยโลหะ, หรือผลไม้. ทรงอนุญาตการทำให้เหงื่อออก ตั้งแต่อย่างธรรมดาถึงอย่างเข้ากระโจม โดยมีถาดน้ำร้อนอยู่ในนั้น

              ๑๔. ทรงอนุญาตให้นำเลือดออกด้วยใช้เขาควายดูด. (คือการกอก ได้แก่เจาะเลือดออกเล็กน้อย แล้วใช้เขาควายกดลงไปให้ดูดเลือดออก ในอรรถกถาไม่ได้บอกว่าต้องจุดไฟด้วยหรือไม่ ตามธรรมดาการทำเช่นนี้ต้องจุดไฟที่เศษกระดาษหรือเชือ้ไฟอื่น ๆ เพื่อไล่อากาศ เขาควายจึงมีแรงดูด)

              ๑๕. ทรงอนุญาตยาทาเท้า เมื่อเท้าแตก และอนุญาตให้ปรุงยาทาเท้าได้

              ๑๖. ทรงอนุญาตการผ่าฝี และอนุญาตกระบวนการทั้งปวงที่เนื่องด้วยแผลผ่าตัดนั้น

              ๑๗. ทรงอนุญาตยา ๔ ชนิด ในขณะถูกงูกัด คือ มูตร (ปัสสาวะ) คูถ (อุจจาระ) ขี้เถ้าและดินในขณะรีบด่วนเช่นนั้น ถ้าไม่มีคนทำให้ ให้ถือเอาเองแล้วฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ (ยาชนิดนี้จะเพื่อให้อาเจียนหรืออย่างไร ไม่มีบอกไว้)

              ๑๘. ทรงอนุญาตยาและอาหารอ่อนบางอย่างตามควรแก่โรคและความต้องการที่จำเป็น เช่น น้ำด่างจากขี้เถ้าของข้าสุกเผา แก้โรคท้องอืด สมอดองน้ำมูตรโค แก้โรคผอมเหลือง, การทาตัวด้วยของหอม แก้โรคผิวหนัง. น้ำข้าวใส, น้ำถั่วต้มที่ไม่ข้น, น้ำถั่วต้มที่ข้นเล็กน้อย, น้ำเนื้อต้ม (เป็นการผ่อนผันให้เหมาะแก่อาพาธ).

ทรงห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน

              มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสพระปิลินทวัจฉะ ในฐานะมีอำนาจจิตสูง ใช้อำนาจจิตได้หลายอย่าง พากันถวายเภสัช ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย เป็นอันมาก ท่านก็แบ่งถวายภิกษุผู้เป็นบริษัทของท่าน ภิกษุเหล่านั้นเก็บของเหล่านี้ใส่ผ้ากรองบ้าง ใส่ถุงบ้าง แขวนไว้บ้าง พาดที่หน้าต่างบ้าง มีหนูรบกวนมาก เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุรับเภสัช ๕ แล้ว จะเก็บไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าล่วงกำหนดนั้นไป ให้ปรับอาบัติตามควร (คืออาบัติปาจิตตีย์ ส่วนอาหารห้ามเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันแพ้เพียงคืนเดียว).

ทรงอนุญาตของฉันบางอย่าง

              ทรงอนุญาตให้ฉันน้ำอ้อยที่ใส่ขี้เถ้าใส่แป้งเล็กน้อย (เพียงเพื่อให้ยึดติดกัน) ทรงอนุญาตให้ฉันถั่วเขียว และข้าวต้มเปรี้ยวใส่เกลือได้ สำหรับภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ให้เจือน้ำดื่มได้.

ห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่ เป็นต้น

              พระผู้มีพระภาคทรงอาพาธด้วยโรคลมในท้อง. พระอานนท์ของา ข้าวสาร ถั่วเขียว ด้วยตนเอง เก็บค้างคืนไว้ในที่อยู่แล้วต้มเองในที่อยู่เสร็จแล้วถวาย พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่ (อันโตวุตถะป ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่ (อันโตปักกะ) และห้ามหุงต้มเอง (สามปักกะ) ผู้ล่วงละเมิดต้องอาบัติทุกกฏ แต่การอุ่นของที่สุกแล้วอนุญาตให้ทำได้. ต่อมาเกิดข้าวยากในกรุงราชคฤห์ ทรงอนุญาตให้เก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่, ให้หุงต้มอาหารในที่อยู่, ให้หุงต้มเองได้. (แต่เมื่อบ้านเมืองกลับสู่สภาพปกติ ก็ทรงห้ามการเก็บอาหารค้างคืนที่อยู่ เป็นต้นนั้นอีก ดังที่ปรากฏข้างหน้า).

              อนึ่ง ทรงอนุญาตว่า (ในการเดินทางไกล) เห็นผลไม้ตกอยู่ ถ้าไม่มีกัปปิยการก (ผู้จัดทำสิ่งที่ควร) ก็ให้เก็บนำไปเอง ต่อพบกัปปิยการก จึงให้วางบนพื้นดิน ให้เขาจัดถวายให้ฉันได้. ทรงอนุญาตให้รับประเคนผลไม้ที่เก็บมาเองได้. (ข้อนี้ต่อมาก็ทรงยกเลิกเช่นเดียวกับเรื่องการเก็บอาหารในที่อยู่).

ทรงอนุญาตเรื่องการฉันหลายข้อ

              ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ฉันเสร็จแล้ว บอกไม่รับอาหารที่เขาเพิ่มให้แล้ว ฉันอาหารที่ไม่เป็นเดน ซึ่งนำมาจากบ้านเจ้าภาพได้ (ห้ามไว้ในสิกขาบทที่ ๕ โภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ แต่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ถ้าเจ้าภาพนำมาถวายที่วัดอีกให้ฉันได้). อนึ่งถ้าเขาถวายไว้ก่อนเวลาอาหาร และถ้าของนั้นเป็นของป่า ของเกิดในสระก็ทรงอนุญาตให้ฉันได้. อนึ่ง ผลไม้ที่ไม่มีพืช หรือที่ปล้อนพืชออกแล้ว ไม่มีใครทำให้ควรก็ทรงอนุญาตให้ฉันได้. (ในข้อหลังนี้ มุ่งเพียงไม่ให้ทำลายเมล็ดพืชของผลไม้ ถ้าฉันโดยไม่ทำลายเมล็ดพืชก็ทำได้).

ทรงห้ามทำการผ่าตัดหรือผูกรัดที่ทวารหนัก

              ทรงห้ามผ่าตัด หรือผูกมัดด้วยหนังหรือผ้า ภายในบริเวณ ๒ นิ้ว โดยรอบทวารหนัก ผู้ฝ่าฝืนต้องอาบัติถุลลัจจัย (เกี่ยวกับริดสีดวงทวาร).

ทรงห้ามฉันเนื้อที่ไม่ควร

              ๑. ทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ผู้ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ภิกษุจะฉันเนื้อสัตว์ ต้องพิจารณาก่อน ขืนฉัน ทั้งไม่พิจารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. (นางสุปปิยาอุบาสิกาเห็นภิกษุอยากฉันเนื้อ หาเนื้อไม่ได้ จัดตัดเนื้อตนเองปรุงอาหารถวาย)

              ๒. ทรงห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่ไม่สมควรอีก ๙ ชนิด คือ เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัขบ้าน, เนื้องู, เนื้อราชสีห์ (สิงโต), เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อเสือดาว, เนื้อหมีและเนื้อสุนัขป่า.

ทรงอนุญาตและไม่อนุญาตของฉันบางอย่าง

              ๑. ทรงอนุญาตข้าวยาคู และขนมผสมน้ำผึ้ง ทรงสรรเสริญข้าวยาคูว่ามีอานิสงส์มาก (ส่วนหนึ่งแปลไว้ในข้อความน่ารู้ ในหมายเลข ๖๒)

              ๒. ถ้าเป็นข้าวยาคู แบบข้น มีเนื้อข้าวมาก ที่เรียกว่าโภชชยาคู ซึ่งฉันได้อิ่ม ถ้ารับนิมนต์ฉันที่อื่นไว้ ห้ามฉันยาคูชนิดนี้ของผู้อื่น ก่อนไปฉันในที่นิมนต์

              ๓. ทรงแสดงธรรมโปรดเวลัฏฐะ กัจจานะ ผู้ถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ปฏิญญาตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาทรงปรารภเรื่องงบน้ำอ้อย ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ป่วยไข้ฉันได้ แต่ภิกษุผู้ไม่ป่วยไข้ ให้ละลายน้ำฉัน.

เสด็จแสดงธรรมที่ปาฏลิคามและโกฏิคาม

              พระผู้มีพระภาคเสด็จจากรกุงราชคฤห์ไปยังปาฏลิคาม ทรงแสดงธรรมโปรดอุบาสกชาวปาฏลิคาม เรื่องโทษแห่งศีลวิบัติ (ความบกพร่องแห่งศีล) ของผู้ทุศีล และอานิสงส์แห่งศีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) ของผู้มีศีล.

              มหาอำมาตย์แห่งมคธ ชื่อสุนีธวัสสการะ นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาไปยังโกฏิคาม (ตั้งอยู่ในแคว้นวัชชี) ทรงแสดงธรรมเรื่องอริยสัจจ์ ๔.

นางอัมพปาลีถวายป่ามะม่วง

              นางอัมพปาลี (ผู้เป็นหญิงนครโสเภณี) ได้เดินทางโดยขบวนยานจากกรุงไพศาลี (ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี) ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงโกฏิคาม แล้วนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น. คณะกษัตริย์ลิจฉวีแห่งกรุงไพศาลี ก็เดินทางไปโกฏิคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ของนางอัมพปาลีไว้ก่อนแล้ว คณะกษัตริย์ลิจฉวีขอร้องนางอัมพปาลีให้พวกตนได้เลี้ยงก่อน นางไม่ยอม. ในวันรุ่งขึ้นเมื่อถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว จึงกราบทูลถวายป่ามะม่วงให้เป็นสังฆาราม.

สีหเสนาบดีเปลี่ยนศาสนา

              สีหเสนาบดีเป็ฯสาวกนิครนถ์ (ศาสนาเชน) ได้ฟังคณะกษัตริย์ลิจฉวีสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ก็ใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อไปปรึกษากับอาจารย์คือนครนถนาฏบุตร ก็ถูกห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดได้ตัดสินใจไปเฝ้าโดยไม่บอกอาจารย์. เมื่อได้ไปเฝ้ากราบทูลถามถึงข้อที่มีคนกล่าวหาพระผู้มีพระภาค ซึ่งได้ทรงชี้แจงโดยละเอียดแล้วทรงแสดงธรรมโปรด. สีหเสนาบดีได้ดวงตาเห็นธรรม (เป็นโสดาบันบุคคล) และได้นิมนต์ฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น. พวกนิคนถ์เที่ยวพูดว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารเลี้ยงพระ พระสมณโคดมรู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อสัตว์นั้น. สีหเสนาบดีได้ทราบก็ปฏิเสธว่าไม่เป็นจริง แล้วก็ถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ต่อไปจนเสร็จ.

              พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนั้น จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าทำถวายเจาะจงภิกษุ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ฉัน และทรงอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ฟัง, ไม่ได้นึกรังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค).


๑. ข้าวเปรี้ยวใส่เกลือ แปลจากคำว่า โลณโสจิรกํ ในฉบับยุโรป เป็น โลณโศวีรกํ คำว่า โสวีรก ในสันสกฤต เป็น เสาวีรก (sour gruel) ใช้เป็นอาหารอ่อนสำหรับคนไข้

ทรงถอนข้ออนุญาตสำหรับยามข้าวยาก

              ต่อมากรุงไพศาลีสมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงถอนข้ออนุญาตที่ประทานไว้ในสมัยข้าวยาก เป็นอันกลับห้ามต่อไป คือ

              ห้ามเก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่, ห้ามหุงต้มในที่อยู่, ห้ามหุงต้มด้วยตนเอง, ห้ามฉันผลไม้ที่เก็บมาเอง โดยหาคนประเคนทีหลัง ๔ ข้อนี้ ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด. ห้ามฉันอาหารจนไม่รับของที่เขาจะถวายเพิ่มแล้ว กลับฉันของที่เขานำมาถวายจากบ้านเจ้าภาพอีก, หรือฉันอาหารที่รับประเคนไว้ก่อนเวลาอาหาร หรือฉันอาหารที่เกิดในป่า ในสระน้ำ เช่น ผลไม้ เหง้าบัว ให้ปรับอาบัติแก่ผู้บริโภคตามควรแก่กรณี (อาบัติปาจิตตีย์).

ทรงอนุญาตที่เก็บอาหาร

              มีผู้นำของที่เป็นอาหาร เช่น เกลือ, น้ำมัน, ข้าวสาร, ของเคี้ยว (ผลไม้) มาถวาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ คือที่เก็บของที่สมควร โดยให้สวดประกาศเป็นการสงฆ์ โดยทรงระบุกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คือ ๑. อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน ๒. โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิที่ไม่มีที่ล้อม ๓. คหปติกา กัปปิยภูมิที่คฤหบดีถวาย และ ๔. สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ คือสวดประกาศเป็นการสงฆ์.

ทรงแสดงธรรมโปรดเมณฑกคฤหบดี

              พระผู้มีพระภาคเสด็จจากกรุงไพศาลี ไปยังภัททิยนคร ประทับ ณ ชาติยาวัน. ณ ที่นั้น เมณฑกคฤหบดี (ผู้เป็นเศรษฐี) ได้ไปเฝ้า ได้สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ก็นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น. เมื่อฉันเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโปรดครอบครัว พร้อมทั้งทาสของเมณฑกคฤหบดีให้ได้ดวงตาเห็นธรรม. ทุกคนปฏิญญาตนเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

ทรงอนุญาตตามที่เมณฑกคฤหบดีขอร้อง

              เมณฑกคฤหบดีทราบว่าพระผู้มีพระภาคจะเสด็จเดินทางไกลไปอังคุตตราปะ จึงกราบทูลขอร้องให้ทรงอนุญาตเสบียง จึงทรงอนุญาต ดังต่อไปนี้

              ๑. ทรงอนุญาตของ ๕ อย่างที่เกิดจากโค (ปัญจโครส) คือนมสด, นมส้ม, เปรียง, เนยข้น, เนยใส.

              ๒. ทรงอนุญาตให้แสวงหาเสบียงทางได้ คือ ข้าวสาร, ถั่วเขียว, ถั่วราชมาส, เกลือ, งบน้ำอ้อย, น้ำมัน, เนยใส ตามความต้องการ

              ๓. เมื่อมีคนมอบเงินทองแก่กัปปิยการก ทรงอนุญาตให้ยินดีเฉพาะของที่ควร ซึ่งจะได้มาจากเงินทองนั้น แต่ไม่ทรงอนุญาตให้ยินดีตัวเงินทอง หรือให้แสวงหาเงินทองเลย.

ทรงอนุญาตน้ำอัฏฐบาน (น้ำดื่ม ๘ อย่าง)

              ณ ตำบลอาปณะ ทรงปรารภคำขอของเกณิยะ ชฏิลผู้ปรุงน้ำปานะ (น้ำดื่มจากผลไม้) มาถวาย จึงทรงอนุญาตน้ำปานะ ๘ อย่าง คือ ๑. น้ำมะม่วง ๒. น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. น้ำกล้วยมีเมล็ด ๔. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๕. น้ำมะทราง ๖. น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. น้ำเหง้าอุบล ๘. น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่.

              ทรงอนุญาตน้ำจากผลไม้ทุกชนิด เว้นแต่ประเภทข้าว ทรงอนุญาตน้ำจากใบไม้ทุกชนิด เว้นแต่รสแห่งผักที่ต้มแล้ว ทรงอนุญาตน้ำจากดอกไม้ทุกชนิด เว้นแต่น้ำดอกมะทราง (มธุกปุปผรส) และทรงอนุญาตน้ำจากต้นอ้อย (ให้ดื่มหลังเที่ยงได้).

ทรงอนุญาตผักและของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง

              ณ เมืองกุสินารา ทรงปรารภคำขอของมัลลกษัตริย์ชื่อโรชะ ผู้เคยเป็นสหายของพระอานนท์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันผักและของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งทุกชนิด (เฉพาะก่อนเที่ยง).

ทรงห้ามและทรงอนุญาตอื่นอีก

              ณ ตำบลอาตุมา ทรงปรารภการกระทำของภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ผู้เคยเป็นช่างตัดผม จึงทรงห้าม มิให้ชักชวนบุคคลไปในทางไม่สมควร กับห้ามมิให้ภิกษุผู้เคยเป็นช่างตัดผมใช้เครื่องมีดโกน. ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

              ณ กรุงสาวัตถี ทรงอนุญาตของเคี้ยวประเภทผลไม้ทุกชนิด ให้ฉันได้.

              พืชของสงฆ์ ปลูกในที่ของบุคคล ให้แบ่งส่วนแล้วบริโภคได้ (อรรถกถาว่าให้แบ่งให้ ๑ ใน ๑๐).

ทรงแนะข้อตัดสิน

              ทรงแนะว่า สิ่งที่ไม่ได้ทรงห้ามไว้ แต่เข้ากับสิ่งไม่ควร ค้านกับสิ่งที่ควร ก็นับว่าไม่ควร สิ่งที่ไม่ได้ทรงห้ามไว้ แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ค้านกับสิ่งที่ไม่ควร ก็นับว่าควร สิ่งที่มิได้ทรงอนุญาตไว้ แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควรค้านกับสิ่งที่ควร ก็นับว่าไม่ควร สิ่งที่มิได้ทรงอนุญาตไว้ แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ค้านกับสิ่งที่ไม่ควร ก็นับว่าควร.

              อนึ่ง ทรงชี้ขาดเรื่องกาลิก (คือของฉันที่อนุญาตไว้ตามกำหนดกาลเวลา) รวม ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก ของที่ให้ฉันได้เช้าชั่วเที่ยง ๒. ยามกาลิก ของที่ให้ฉันได้ไม่ข้ามคืน ๓. สัตตาหกาลิก ของที่ให้ฉันได้ไม่เกิน ๗ วัน และ ๔. ยาวชีวิก ของที่อนุญาตให้ฉันได้ตลอดชีวิต. ของเหล่านี้ เมื่อผสมกัน ให้นับตามอายุของที่มีเวลาน้อย. (เช่น เอาน้ำตาลซึ่งฉันได้ภายใน ๗ วัน มาผสมกับข้าวสุก ก็ฉันได้เพียงเช้าชั่วเที่ยง).


๑. แปลคำว่า ตกฺก ตามที่ไทยเราเคยแปลกันเช่นนั้น แต่เท่าที่สอบสวนแล้ว ตรงที่แปลว่า นมส้ม ควรแปลว่า นมข้น (curds) ตรงคำว่า เปรียง ควรแปลว่า นมส้ม (buttermilk)
๒. น้ำดื่มทำจากผลไม้ ๘ อย่างนี้ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นของเย็น หรือตากแดดใช้ได้ แต่จะทำให้สุกด้วยไฟ ฉันเวลาวิกาลไม่ได้ ชะรอยจะกลายเป็นเหมือนแป้งเปียกซึ่งใกล้ไปในทางเป็นอาหารมากขึ้น

๓. กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน)

              ภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ซึ่งเป็นผู้ถือการอยู่ป่า, การเที่ยวบิณฑบาต, นุ่งห่มผ้าบังสุกุล (ผ้าเก็บตกมาปะติดปะต่อทำเป็นจีวร) และใช้จีวร ๓ ผืน (ไม่เกินกว่านั้น) เป็นวัตร เดินทางจะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค มาถึงเมืองสาเกต ถึงวันเข้าพรรษา ต้องจำใจจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกตุ มีความระลึกถึงสมเด็จพระบรมศาสดา ออกพรรษาแล้วจึงมาเฝ้าทั้งที่จีวรเปียกน้ำฝน และต้องเดินทางลุยน้ำลุยโคลน พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้วกราลกฐินได้. (กราลกฐิน คือลาดไม้สะดึงหรือไม้แบบ ลงไปเอาผ้าทาบ ตัดผ้าตามไม้แบบนั้น แล้วช่วยกันทำจีวรแจกแก่ภิกษุผู้สมควร).

อานิสงส์ ๕ ของภิกษุผู้ได้กราลกฐิน

              ทรงแสดงอานิสงส์ ๕ สำหรับภิกษุผู้ได้กราลกฐิน คือ ๑. ไปไหนไม่ต้องบอกลาภิกษุอื่น ตามความในสิกขากบทที่ ๖ อเจลกวรรค ปาจิตตียกัณฑ์ ๒. ไปไหนไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรับ ตามสิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ฉันอาหารรวมกลุ่มกันได้ ตามสิกขาบทที่ ๒ โภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. เก็บจีวรไว้ได้หลายตัวตามต้องการโดยไม่ต้องวิกัป (คือทำให้เป็นสองเจ้าของ) ตามสิกขาบทที่ ๔ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์ และ ๕. ผ้าที่เกิดขึ้นในวัดนั้นเป็นของเธอ (คือเธอมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง ภิกษุเขตอื่นมาก็ไม่มีสิทธิ).

ทรงให้สวดประกาศกฐิน

              ทรงอนุญาตให้สวดประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นการสงฆ์ โดยตั้งญัตติ ๑ ครั้ง สวดประกาศขอความเห็นชอบ ๑ ครั้ง (รวมเรียกว่าญัตติทุติยกรรม).

ทรงแสดงเรื่องกฐินเป็นอันกราลและไม่เป็นอันกราล

              ทรงแสดงว่ากฐินไม่เป็นอันกราลด้วยเพียงสักว่า ขีด, ประมาณ, ซักผ้า, กะผ้า, ตัดผ้า, เย็บเนา, เย็บล้มตะเข็บ เป็นต้น รวมทั้งไม่เป็นอันกราลด้วยผ้าที่ทำนิมิต (พูดให้เขาใช้ผ้านั้น ๆ เป็นผ้ากฐิน) และด้วยผ้าที่เลียบเคียงให้เขาถวายเป็นผ้ากฐิน.

              แล้วทรงแสดงว่ากฐินเป็นอันกราลด้วยผ้าใหม่, ผ้าเทียมใหม่, ผ้าเก่า เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยอีกหลายประการ.

ข้อกำหนดในการเดาะกฐิน

              ทรงแสดงมาติกา คือแม่บทหรือข้อกำหนดในการเดาะกฐิน (คือเลิกหรือรื้อไม้สะดึงออกได้) รวม ๘ ประการ คือ ๑. เดินทางไปที่อื่นไม่คิดจะกลับมา ๒. ทำจีวรเสร็จแล้ว ๓. ตั้งใจเลิกเรื่องการทำจีวร ๔. จีวรที่กำลังทำอยู่ ทำเสียหรือหายเสีย ๕. ด้วยได้ยินข่าว คือเธอจากไปด้วยคิดจะกลับมาอีก แต่ได้ยินข่าวว่าในวัดที่เธออยู่เขาเลิกทำกันแล้ว ๖. ด้วยหมดหวัง คือหวังว่าจะได้จีวร แต่ก็ไม่สมหวัง ๗. อยู่นอกเขตสีมา คือคิดจะกลับมาที่วัดนั้น จนหมดสมัยของกฐิน และ ๘. เลิกกฐินพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย คือเมื่อพ้นกำหนดก็เป็นอันเลิกกฐินร่วมกัน. (ต่อจากนี้เป็นคำอธิบายมาติกาทั้งแปดโดยพิสดาร). ในตอนท้ายได้สรุปเกี่ยวด้วยปลิโพธ (ความหมายใจหรือห่วงใย) ๒ ประการ คืออาวาสปลิโพธ ความห่วงใยด้วยวัด (คือตั้งใจจะกลับมาที่วัด) กับจีวรปลิโพธ ความห่วงใยด้วยจีวร (คือหมายใจจะทำจีวรภายในกำหนด) ถ้าหมดปลิโพธ ก็เป็นอันเลิกกฐิน.


๑. มีเหตุเกิดขึ้นบ่อย ๆ ภิกษุผู้ไม่รู้วินัยข้อนี้ ชักชวนชาวบ้าน หรือพูดเลียบเคียงให้เขาทอดกฐินในวัดของตน กฐินนั้นก็ไม่เป็นกฐิน คือเป็นโมฆะ ไม่ได้ประโยชน์ทั้งผู้ถวายผู้รับ ข้อนี้ควรช่วยกันรับรู้ไว้ด้วย

๔. จีวรขันธกะ (หมวดว่าด้วยจีวร)

              คณะผู้มั่งมีชาวกรุงราชคฤห์ไปเที่ยวเมืองไพศาลี เห็นบ้านเมืองเจริญ และมีหญิงนครโสเภณี นามว่า อัมพปาลี เมื่อกลับไปกรุงราชคฤห์ จึงไปแนะนำพระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตให้มีหญิงนครโสเภณีบ้าง เมื่อทรงอนุญาต จึงหาหญิงสาวร่างงามชื่อนางสาลวตีมาเป็นหญิงนครโสเภณีประจำกรุงราชคฤห์. นางตั้งครรภ์คลอดบุตรเป็นชาย จึงให้นำไปทิ้งยังกองขยะ. อภัยราชกุมารไปพบจึงให้รับไปเลี้ยงไว้ในวัง. เด็กนั้นจึงมีชื่อว่า ชีวก (รอดตาย) โกมารภัจจ์ (พระราชกุมารเลี้ยงไว้). เมื่อชีวกโกมารภัจจ์เติบโต จึงเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ เมืองตักกสิลา อยู่ ๗ ปี เมื่อสำเร็จแล้วในระหว่างเดินทางกลับก็ได้รักษาภริยาเศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ด้วยใช้ยาน้ำมันให้นัตถุ์ทางจมูก ได้ลาภสักการะมาก ก็ตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณที่อยู่ของอภัยราชกุมาร

              ต่อมาได้รักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารหายด้วยให้ทายาเพียงครั้งเดียว จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก และประจำพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์.

              ต่อมาได้รักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งกรุงราชคฤห์ด้วยการผ่าตัด, รักษาโรคลำไส้ใหญ่ของบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งกรุงพาราณสีด้วยการผ่าตัด, รักษาโรคผอมเหลืองของพระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนีด้วยการถวายยาให้ทรงดื่ม ได้ผลดีทุกราย. ครั้งหลังถวายยาถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคโดยไม่ต้องให้เสวย เพียงอบยาใส่ดอกอุบล ๓ กำ แล้วให้ใช้พระหัตถ์ขยี้ทีละกำก็ได้ผลดี. ในที่สุดได้กราบทูลขอร้องต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายรับคฤหบดีจีวรได้ (คือจีวรที่ผู้ศรัทธาถวายให้ใช้ สมัยก่อนอนุญาตแต่จีวรที่เก็บเศษผ้ามาปะติดปะต่อใช้). ทรงปรารภคำขอของหมอชีวก จึงทรงอนุญาตให้รับคฤหบดีจีวรได้ แต่ถ้าใครจะยังถือจะใช้จีวรที่เก็บมาปะติดปะต่อ ที่เรียกบังสุกุลจีวร ก็ให้ถือต่อไปตามอัธยาศัย.

ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับจีวร

              เมื่อมนุษย์ทั้งหลายทราบว่าทรงอนุญาตให้ถวายจีวรได้ก็พากันนำมาถวายมากหลาย. เมื่อจีวรมีมากก็ทรงอนุญาตให้สวดประกาศแต่งตั้งภิกษุผู้รับจีวร (ในนามของสงฆ์), ภิกษุผู้เก็บจีวร, ภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง (สำหรับเก็บจีวร), ภิกษุผู้แจกจีวร และทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุเหล่านั้นด้วย.

ทรงอนุญาตสีย้อมและวิธีการเกี่ยวกับจีวร

              ทรงอนุญาตสีย้อมจีวร ๖ ชนิด คือที่ทำจากรากไม้, ลำต้นไม้, เปลือกไม้, ใบไม้, ดอกไม้และผลไม้ และทรงอนุญาตวิธีการต่าง ๆ ในการย้อม

ทรงอนุญาตวิธีตัดจีวร

              เมื่อเสด็จไปยังทักขิณาคิรี (ภูเขาภาคใต้) ทอดพระเนตรเห็นนาชาวมคธมีขอบคันและกะทงนา จึงตรัสให้พระอานนท์ลองตัดจีวรเป็นรูปนั้นดู. เมื่อพระอานนท์ทำเสร็จ ทรงสรรเสริญว่าฉลาด. ต่อมาทรงอนุญาตจีวร ๓ ผืน (ไตรจีวร) คือผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก) ๒ ชั้น ผ้าห่ม ๑ ชั้น ผ้านุ่ง ๑ ชั้น. แล้วทรงอนุญาตให้เก็บจีวรที่เกินจำนวน ๓ ผืนไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน ถ้าจะเก็บเกินว่านั้นให้วิกัป (คือทำให้เป็นสองเจ้าของ) ต่อมาทรงอนุญาตว่า ถ้าเป็นผ้าเก่าให้ใช้สังฆาฏิ ๔ ชั้น ผ้าห่ม ๒ ชั้น (เพื่อไม่ให้เห็นช่องขาดปุปะ)

ทรงอนุญาตคำขอ ๘ ประการของนางวิสาขา

              นางวิสาขาปรารถนาจะถวายความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ จึงกราบทูลขอพร ๘ ประการ เพื่อถวายสิ่งต่าง ๆ แก่ภิกษุ อ้างเหตุผลที่เคยประสบมาต่าง ๆ อันควรจะทรงอนุญาต ก็ทรงอนุญาตตามที่ขอร้อง คือ ๑. ผ้าอาบน้ำฝน ๒. อาคันตุกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้มา) ๓. คมิกภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้ไป) ๔. คลานภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้) ๕. คิลานุปัฏฐากภัต (อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลไข้) ๖. ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้ ๗. ข้าวยาคูที่ถวายเป็นประจำ และ ๘. ผ้าอาบน้ำสำหรับนางภิกษุณี.

ทรงอนุญาตผ้าอื่น ๆ

              ต่อมาทรงอนุญาตผ้าปูลาด หรือผ้าปูนอน (เพื่อป้องกันเสนาสนะเปรอะเปื้อน) ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี เมื่อเป็นฝีเป็นต่อม, ทรงอนุญาตผ้าเช็ดหน้า และผ้าอื่น ๆ ที่ใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ, ถุงใส่ของ, แล้วตรัสสรุปว่า ไตรจีวร ให้อธิษฐาน ไม่ให้วิกัป, ผ้าอาบน้ำฝนให้อธิษฐานใช้ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ต่อจากนั้นให้วิกัป, ผ้าปูนั่ง, ผ้าปูนอน ให้อธิษฐาน ไม่ให้วิกัป, ผ้าปิดฝีให้อธิษฐานไว้ใช้ตลอดเวลาที่อาพาธ หายแล้วให้วิกัป, ผ้าเช็ดหน้าและผ้าที่ใช้เป็นบริขารอื่น ๆ ให้อธิษฐาน ไม่ให้วิกัป.

ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับจีวรอีก

              ต่อมาทรงอนุญาตว่า (ในไตรจีวรนั้น) ให้ใช้ผ้าที่ไม่ต้องตัด (เย็บเป็นกระทง) ได้เพียง ๒ ผืน ต้องเป็นผ้าที่ตัด ๑ ผืน ถ้าจะตัดผ้าไม่พอให้ใช้ผ้าเพลาะ (นำชิ้นผ้าอื่นมาผสม) ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้นุ่งห่มผ้าที่มิได้ตัด (เย็บให้เป็นกะทง) เลย. อนึ่ง ทรงอนุญาตให้ให้ผ้าแก่มารดาบิดาได้ แต่ไม่ให้นำของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตก (คำว่า ทำศรัทธาไทยให้ตก คือเอาของที่เขาถวายไปให้แก่คนอื่นที่เป็นคฤกหัสถ์ และไม่ใช่มารดาบิดา)

              มีปัญหาเรื่องการนำจีวรไปไม่ครบสำรับ จีวรที่เก็บไว้ถูกโจรลักไป จึงทรงกำหนดเงื่อนไขว่าจะเข้าบ้านโดยเก็บจีวรไว้ ไม่นำไปครบสำรับได้ เช่น วิหารมีกลอนป้องกันได้ดี เป็นต้น และมีปัญหาเรื่องมีผู้ถวายจีวรแก่สงฆ์ จะแบ่งอย่างไร รวมทั้งปัญหาเรื่องภิกษุจำพรรษาในวัดหนึ่ง แต่ละโมภ ไปรับจีวรในวัดอื่น เป็นส่วนแบ่งหรือทำเป็นว่าอยู่ ๒ แห่ง จะตัดสินอย่างไร.

พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ

              เรื่องตอนนี้ได้นำไปแปลไว้แล้วโดยละเอียดในหน้า ๘๗ และหน้า ๖๒ ที่ว่าด้วยคนไข้ที่ดีและไม่ดี ผู้พยาบาลไข้ที่ดีและไม่ดี. นอกจากนั้นได้ทรงแสดงวิธีสวดประกาศของสงฆ์ เพื่อมอบบริขาร (เครื่องใช้) ของผู้เป็นไข้ที่สิ้นชีวิตแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ แต่ถ้าเป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (คือของใช้ขนาดใหญ่) ห้ามแบ่งและแจกให้เก็บไว้เป็นของสงฆ์.

การเปลือยกายและการใช้ผ้า

              ทรงห้ามเปลือยกายแบบเดียรถีย์ และปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ผู้ล่วงละเมิด. อนึ่ง ทรงห้ามใช้ผ้าคากรอง, เปลือกต้นไม้กรอง, ผลไม้กรอง, ผ้ากัมพล ทำด้วยผมคน, ผ้ากัมพล ทำด้วยขนหางสัตว์ ปีกนกเค้า หรือหนังเสือ, ซึ่งเป็นของพวกเดียรถีย์ ใช้นุ่งห่ม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ผ้าทำด้วยปอ นุ่งห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ (ความหมายในที่นี้ คือไม่ให้นุ่งห่มเลียนแบบเดียรถีย์).

ทรงห้ามใช้จีวรที่มีสีไม่ควร และห้ามใช้เสื้อ หมวก ผ้าโพก

              ทรงห้ามใช้จีวรมีสีไม่สมควรต่าง ๆ คือ เขียวล้วน, เหลืองล้วน, แดงล้วน, เลื่อมล้วน, ดำลัวน, แดงเข้ม, แดงกลาย ๆ (ชมพู). อนึ่ง ทรงห้ามจีวรที่ไม่ตัดชาย, จีวรมีชายยาว, จีวรมีชายเป็นดอกไม้, จีวรมีชายเป็นแผ่น และทรงห้ามใช้เสื้อ หมวก, ผ้าโพก ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ใช้.

ทรงวางหลักเกี่ยวกับจีวรอีก

              เมื่อภิกษุจำพรรษาแล้ว จีวรยังไม่ทันเกิดขึ้น ไปเสีย ภายหลังมีจีวรเกิดขึ้น ถ้ามีผู้รับแทนเธอที่สมควรก็ให้ให้ไป แต่ถ้าเธอสึกเสีย เป็นต้น สงฆ์ย่อมเป็นใหญ่ ถ้าสงฆ์แตกกัน ให้แจกผ้าตามความประสงค์ของผู้ถวายว่าจะถวายแก่ฝ่ายไหน ถ้าเขาไม่เจาะจง ให้แบ่งฝ่ายละเท่ากัน

              อนึ่ง ทรงวางหลักการถือเอาจีวรของภิกษุอื่นด้วยถือวิสสาสะ คือคุ้นเคยกันว่าต้องมีเหตุผลสมควร.

              แล้วทรงแสดงกติกา (ข้อกำหนดหรือแม่บท) ๘ ประการที่จีวรจะเกิดขึ้น คือ ๑. เขาถวายกำหนดเขตภิกษุที่อยู่ในสีมา ๒. เขาถวายกำหนดกติกา ๓. เขาถวายกำหนดเฉพาะเจตหรือวัดที่เขาทำบุญประจำ ๔. เขาถวายแก่สงฆ์ ๕. เขาถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือภิกษุ ภิกษุณี) ๖. เขาถวายแก่สงฆ์ที่จำพรรษาแล้ว ๗. เขาถวายโดยเจาะจง (ให้เกี่ยวเนื่องกับการถวายข้าวยาคู หรืออาหารอื่น ๆ เป็นต้น) ๘. เขาถวายจำเพาะบุคคล (คือแก่ภิกษุรูปนั้นรูปนี้).


๑. อธิษฐาน คือตั้งใจเอาไว้ใช้ วิกัป คือทำให้เป็นสองเจ้าของ เมื่อจะใช้ก็ของอนุญาตก่อน
๒. สีเลื่อมนั้น อรรถกถาอธิบายว่า คล้ายฝาง หนึ่ง เนื่องจากทรงห้ามสีเหลืองล้วน พระภิกษุบางรูปจึงนิยมย้อมกรัก คือสีจากแก่นขนุนทับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นสีน้ำฝาดผสม

๕. จัมเปยยขันธกะ (หมวดว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงจัมปา)
การทำกรรมที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม

              ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นผู้เอื้อเฟื้อดีต่อภิกษุที่เป็นอาคันตุกะ เมื่อมีภิกษุอาคันตุกะมาก็ต้อนรับถวายความสะดวกด้วยประการต่าง ๆ ภิกษุที่มาติดใจพักอยู่ด้วย แต่เมื่อพักอยู่นานไป ภิกษุชื่อกัสสปโคตรก็ไม่ขวนขวายอาหารให้ เพราะถือว่ารู้ทำเลบิณฑบาตแล้ว ถ้าขืนขวนขวายมาก ก็จะต้องรบกวนชาวบ้านเป็นการประจำ. ภิกษุอาคันตุกะไม่พอใจ สวดประกาศยกเธอเสียจากหมู่ (ลงอุปเขปนียกรรมอย่างผิด ๆ). เธอจึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถาม. พระองค์ตรัสสั่งให้เธอกลับไปอยู่ที่เดิม ทรงชี้แจงว่า ภิกษุที่ลงโทษเธอนั้น ทำไปโดยไม่เป็นธรรม เธอไม่มีอาบัติอะไร. ฝ่ายภิกษุพวกที่ลงโทษ ร้อนตัว จึงมาขอขมาต่อสมเด็จพระบรมศาสดา พระองค์ประทานอภัยแล้ว จึงทรงแสดงการทำสังฆกรรมที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรมหลายอย่างหลายประการ พร้อมทั้งทรงกำหนดจำนวนสงฆ์ที่ทำกรรมดังนี้

              ๑. สงฆ์ ๔ รูป ทำกรรมทั้งปวงได้ เว้นแต่การอุปสมบท, การปวารณา, และสวดถอนจากอาบัติ สังฆาทิเสส. (แสดงว่ากฐินก็ใช้สงฆ์ ๔ รูปได้ แต่อรรถกถาแก้ว่า กฐินต้อง ๕ รูป ซึ่งปรากฏในอรรถกถา เล่ม ๓ เมื่ออรรถกถาแย้งกับบาลี จึงต้องฟังทางบาลี)

              ๒. สงฆ์ ๕ รูป ทำกรรมทั้งปวงได้ เว้นไว้แต่การอุปสมบทกุลบุตรในมัธยมประเทศ และการสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส

              ๓. สงฆ์ ๑๐ รูป ทำกรรมทั้งปวงได้ เว้นแต่การสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส

              ๔. สงฆ์ ๒๐ รูป ทำกรรมทั้งปวงได้

              ๕. สงฆ์เกิน ๒๐ รูปขึ้นไป ทำกรรมทั้งปวงได้

              แต่ทุกข้อนี้ ต้องประชุมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ถูกต้องตามพระวินัย. ครั้นแล้วทรงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสงฆ์ ๔ รูป ๕ รูป ๑๐ รูป ๒๐ รูป ซึ่งทำกรรมต่าง ๆ กันโดยพิสดาร.

อุกเขปนียกรรม (ยกจากหมู่)

              ครั้นแล้วทรงแสดงหลักการลงอุปเขปนียกรรม คือการสวดประกาศยกเสียจากหมู่ ไม่ให้ใครร่วมกินร่วมนอน หรือคบหาด้วย ว่าจะทำได้ในกรณีที่ไม่เห็นอาบัติ, ไม่ทำคืนอาบัติ, ไม่สละความเห็นที่ชั่ว. ต่อจากนั้นทรงอธิบายการทำกรรมที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรมแก่พระอุบาลี.

ตัชชนียกรรม (ข่มขู่)

              ทรงแสดงหลักการลงตัชชนียกรรม คือการสวดประกาศลงโทษเป็นการตำหนิภิกษุผู้ชอบหาเรื่อก่อการทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์.

นิยสกรรม (ถอดยศหรือตัดสิทธิ)

              ทรงแสดงหลักการลงนิยสกรรม คือการถอดยศ หรือตัดสิทธิแก่ภิกษุผู้มากด้วยอาบัติ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ในลักษณะที่ไม่สมควร.

ปัพพาชนียกรรม (ขับไล่)

              ทรงแสดงหลักการลงปัพพาชนียกรรม คือการไล่เสียจากวัดแก่ภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ (ยอมตัวให้เขาใช้) มีความประพฤติชั่ว

ปฏิสารณียกรรม (ขอโทษคฤหัสถ์)

              ทรงแสดงหลักการลงปฏิสารณียกรรม คือการให้ไปขอโทษคฤหัสถ์แก่ภิกษุผู้ด่า บริภาษคฤหัสถ์

              ครั้นแล้วทรงแสดงวิธีระงับการลงโทษทั้งห้าประการนั้น (รายการพิสดารเรื่องนี้ ยังจะมีในพระไตรปิฎก เล่ม ๖ ตอนกัมขันธกะ ว่าด้วยสังฆกรรม เกี่ยวด้วยการลงโทษ).

๖. โกสัมพิขันธกะ (หมวดว่าด้วยเหตุการณ์ในกรุงโกสัมพี)

              เริ่มต้นด้วยเล่าเรื่องภิกษุ ๒ รูป ทะเลาะกัน คือรูปหนึ่งหาว่าอีกรูปหนึ่งต้องอาบัติ แล้วไม่เห็นอาบัติ จีงพาพวกมาประชุมสวดประกาศลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ต่างก็มีเพื่อนฝูงมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต่างหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ถูก ถึงกับสงฆ์แตกกันเป็นสองฝ่าย และแยกทำอุโบสถ แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงแนะนำตักเตือนให้ประนีประนอมกันก็ไม่ฟัง ในที่สุดถึงกับทะเลาะวิวาทและแสดงอาการกายวาจาที่ไม่สมควรต่อกัน.

              พระผู้มีพระภาคทรงตักเตือนอีก ภิกษุเหล่านั้นก็กลับพูดขอให้พระภาคอย่าทรงเกี่ยวข้อง ขอให้ทรงหาความสุขส่วนพระองค์ไป ตนจะดำเนินการกันเองต่อไป. พระผู้มีพระภาคจึงทรงสั่งสอนให้ดูตัวอย่างทีฆาวุกุมารแห่งแคว้นโกศล ผู้คิดแก้แค้นพระเจ้าพรหมทัตแห่งแคว้นกาสี ในการที่จับพระราชบิดาของพระองค์ คือพระเจ้าทีฆีติ ไปทรมานประจานและประหารชีวิต เมื่อมีโอกาสจะแก้แค้นได้ ก็ยังระลึกถึงโอวาทของบิดา ที่ไม่ให้เห็นแก่ยาว (คือไม่ให้ผูกเวร จองเวรไว้นาน) ไม่ให้เห็นแก่สั้น (คือไม่ให้ตัดไมตรี) และให้สำนึกว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จึงไว้ชีวิตแก่พระเจ้าพรหมทัต แล้วกลับได้ราชสมบัติที่เสียไปคืน พร้อมทั้งได้พระราชธิดาของพระเจ้าพรหมทัตด้วย. ทรงสรุปว่า พระราชาที่จับสัตราอาวุธยังทรงมีขันติ (ความอดทน) และโสรัจจะ (ความสงบเสงี่ยม) ได้ จึงควรที่ภิกษุทั้งหลายผู้บวชในพระธรรมวินัยนี้จะมีความอดทนและความสงบเสงี่ยม. แต่ภิกษุเหล่านั้นก็มิได้เชื่อฟัง จึงเสด็จไปจากที่นั้น สู่พาลกโลณการกคาม, สู่ป่าชื่อปาจีนวังสะโดยลำดับ ได้ทรงพบปะกับพระเถระต่าง ๆ ในที่ที่ เสด็จไปนั้น ในที่สุดได้เสด็จไปพำนักอยู่ ณ โคนไม้สาละอันร่มรื่น ณ ป่าชื่อปาริเลยยกะ. ในตอนนี้ได้เล่าเรื่องแทรกว่า มีพญาช้างชื่อปาริเลยยกะ มาอุปฐากดูแลพระผู้มีพระภาค. ต่อจากนั้นจึงได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี.

              อุบาสกอุบาสิกาชาวโกสัมพี ไม่พอใจภิกษุแตกกันเหล่านั้น จึงนัดกัน ไม่แสดงความเคารพ ไม่ถวายอาหารบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นได้รับความลำบากก็รู้สึกผิดชอบ จึงพากันเดินทางไปกรุงสาวัตถี และยอมตกลงระงับข้อวิวาทแตกแยกกัน โดยภิกษุรูปที่เป็นต้นเหตุยอมแสดงอาบัติ ภิกษุฝ่ายที่สวดประกาศลงโทษยอมถอนประกาศ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ประชุมสงฆ์สวดประกาศระงับเรื่องนั้น เป็นสังฆสามัคคี เสร็จแล้วให้สวดปาฏิโมกข์.

              อนึ่ง ทรงแสดงเรื่องสังฆสามัคคีย คือความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม โดยแสดงว่า การสามัคคียกันภายหลังที่แตกกันแล้วจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ วินิจฉัยเรื่องราว เข้าหาเรื่องเดิมให้เสร็จสิ้นไป ไม่ใช่ปล่อยคลุม ๆ ไว้แล้วสามัคคีกันอย่างคลุม ๆ.

              (เห็นได้ว่าตอนนี้แสดงเป็นประวัติไว้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนข้อวินัยเกี่ยวกับสงฆ์แตกกันในตอนนี้ มีซ้ำกับที่จะกล่าวข้างหน้า ในเล่ม ๗ สังฆเภทขันธกะ คือหมวดว่าด้วยสงฆ์แตกกัน).


๑. กรุงจัมปา เป็นนครหลวงของแคว้นอังคะ
๒. กรุงโกสัมพีเป็นนครหลวงของแคว้นวังสะ

เล่มที่ ๖ ชื่อจุลลวัคค์ (วรรคเล็ก) เป็นวินัยปิฎก

              ได้กล่าวแล้วว่า มหาวัคค์ (วรรคใหญ่) ซึ่งเป็นวินัยปิฎกนั้น ได้แก่พระไตรปิฎก เล่ม ๔ และ เล่ม ๕ ซึ่งได้ย่อความมาแล้ว. ในเล่ม ๔ มี ๔ ข้นธกะ หรือ ๔ หมวด ในเล่ม ๕ มี ๖ ขันธกะ หรือ ๖ หมวด รวมมหาวัคค์มี ๑๐ ขันธกะ. บัดนี้มาถึงย่อความแห่งจุลลวัคค์ (วรรคเล็ก) จึงควรทราบว่า จุลลวัคค์ ได้แก่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ และเล่มที่ ๗ ซึ่งยังเป็นวินัยปิฎก. เล่มที่ ๖ มี ๔ ขันธกะ เล่มที่ ๗ มี ๘ ขันธกะ ทั้งสองเล่มจึงมี ๑๒ ขันธกะ (รวมทั้งมหาวัคค์และจุลลวัคค์มี ๒๒ ขันธกะ หรือ ๒๒ หมวด).

              เฉพาะเล่มที่ ๖ นี้ ที่ว่ามี ๔ ขันธกะ นั้น ดังนี้

              ๑. กัมมขันธกะ (หมวดว่าด้วยสังฆกรรม) ในหมวดนี้ได้นำเรื่องวิธีลงโทษ ซึ่งเคยกล่าวไว้แล้วในเล่ม ๕ มาขยายความเป็นข้อ ๆ คือ ดัชชนียกรรม (ข่มขู่) นิยสกรรม (ถอดยศหรือตัดสิทธิ) ปัพพาชนียกรรม (ขับไล่) ปฏิสารณียกรรม (ขอขมาคฤหัสถ์) และอุกเขปนียกรรม (ยกจากหมู่) พร้อมด้วยวิธีระงับการลงโทษนั้น ๆ

              ๒. ปาริวาสิกขันธกะ (หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส) กล่าวถึง วัตรหรือข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ปริวาส รวม ๙๔ ข้อ และกระบวนการอันเกี่ยวกับการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ข้อกำหนดในการอยู่ปริวาส การชักเข้าหาอาบัติเดิม การประพฤติมานัตต์ และการสวดถอนจากอาบัติ

              ๓. สมุจจยขันธกะ (หมวดว่าด้วยการรวบรวม คือประมวลเรื่องที่เกี่ยวกับการออกาจากอาบัติสังฆาทิเสส ที่เหลือจากปริวาสิกขันธกะ) มีเรื่องการขอมานัตต์ การให้มานัตต์ การขออัพภาน (สวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส) เป็นต้น

              ๔. สมถขันธกะ (หมวดว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์) วิธีระงับอธิกรณ์ ๗ อย่างมีอะไรบ้าง ได้กล่าวไว้แล้วในท้ายพระไตรปิฎก เล่ม ๒ ตอนนี้เป็นการอธิบายโดยละเอียดทั้งเจ็ดข้อ คือ ๑. สัมมุขาวินัย การระงับแบบพร้อมหน้า ๒. สติวินัย การระงับด้วยยกให้พระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีสติ ๓. อมูฬหวินัย การระงับด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า ๔. ปฏิญญาตกรณะ การระงับด้วยถือตามคำรับของจำเลย ๕. เยภุยยสิกา การระงับด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ๖. ตัสสปาปิยสิกา การะงับด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด ๗. ติณวัตถารกะ การระงับด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป.

ขยายความ

๑. กัมมขันธกะ (หมวดว่าด้วยสังฆกรรม)

              ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑุกะ กับ โลหิตกะ ชอบก่อการทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ สนับสนุนภิกษุผู้ชอบก่อทะเลาะวิวาท มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงโปรดให้สงฆ์ลงดัชชนียกรรม (การข่มขู่) แก่เธอทั้งสองโดยให้โจทอาบัติ ให้ระลึกว่าได้ทำผิดจริงหรือไม่ แล้วให้ยกอาบัติขึ้นเป็นเหตุ สวดประกาศขอมติสงฆ์ลงดัชชนียกรรมแก่เธอ. (สวดเสนอญัตติ ๑ ครั้ง สวดประกาศย้ำขอมติ ๓ ครั้ง).

              ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะการทำดัชชียกรรม ว่าอย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม. การทำที่ไม่เป็นธรรม เช่น ไม่ทำต่อหน้า, ไม่ซักถาม (คือลงโทษโดยไม่ฟังคำให้การ), ไม่ฟังปฏิญญา (คือการับผิดของจำเลย) ส่วนที่เป็นธรรม คือทำในที่ต่อหน้า มีการซักถาม มีการฟังปฏิญญาของจำเลย เป็นต้น.

ลักษณะของผู้ที่ควรลงตัชชนียกรรม

              ภิกษุที่สงฆ์ปรารถนาจะลงตัชชนียกรรม (ข่มขู่) ก็ลงได้ คือ ๑. เป็นผู้ชอบก่อการทะเลาะวิวาทก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๒. เป็นผู้มากด้วยอาบัติ มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ๓. เป็นผู้คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร

              หรือเป็นผู้ ๑. มีศีลวิบัติ คือเสียหายทางศีล ๒. มีอาจารวิบัติ คือเสียหายทางความประพฤติ หรือมารยาท ๓. มีความเห็นวิบัติ

              หรือเป็นผู้ ๑. ติเตียนพระพุทธ ๒. ติเตียนพระธรรม ๓. ติเตียนพระสงฆ์

              หรือภิกษุ ๓ รูป แต่ละรูปทำการที่ผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวมาข้างต้น (การลงโทษไม่นิยมให้ทำแก่ภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป เพราะจะกลายเป็นสงฆ์ลงโทษสงฆ์ ถ้ามีเรื่องเกิดขึ้น จะต้องหาทางออกให้สงฆ์ลงโทษแก่บุคคลไม่เกิน ๓ รูป).

การถูกลงโทษเป็นเหตุให้เสียสิทธิต่าง ๆ

              ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม จะต้องประพฤติวัตต์หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถูกตัดสิทธิต่าง ๆ รวม ๑๘ อย่าง คือ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท (ห้ามเป็นอุปัชฌายะ) ๒. ไม่พึงให้นิสสัย (ห้ามรับบุคคลไว้ในปกครอง) ๓. ไม่พึงมีสามเณรไว้รับใช้ ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งให้สั่งสอนนางภิกษุณี ๕. ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนนางภิกษุณี ๖. ถูกสงฆ์ลงโทษด้วยอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้นซ้ำอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติประเภทเดียวกันนั้น ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรมนั้น ๑๐. ไม่พึงตำหนิสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ภิกษุปกติ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ภิกษุปกติ ๑๓. ไม่พึงไต่สวนภิกษุอื่น ๑๔. ไม่พึงเริ่มตั้งอนุวาทาธิกรณ์ (การโจทอาบัติ). ๑๕. ไม่พึงขอให้ภิกษุอื่นทำโอกาส (เพื่อจะโจทอาบัติ) ๑๖. ไม่พึงโจทอาบัติภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงทำภิกษุอื่นให้ระลึก (ว่าทำความผิดข้อนั้นข้อนี้หรือไม่) ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุทั้งหลายให้สู้กันในอธิกรณ์.

การไม่ระงับและระงับโทษ

              ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงดัชชนียกรรม เสียสิทธิต่าง ๆ แล้วฝืนทำในข้อที่ถูกตัดสิทธินั้น ไม่ควรระงับการลงโทษ ต่อเมื่อปฏิบัติตามในการยอมเสียสิทธิต่าง ๆ จึงควรสวดประกาศระงับโทษ.

พระเสยยสกะกับนิยสกรรม (การถอดยศ)

              ภิกษุชื่อเสยยสกะ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ มีมารยาทไม่เรียบร้อย คลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร. ภิกษุปกติทั้งหลายก็ยังให้ปริวาส เป็นต้น คือช่วยทำพิธีออกจากบัติสังฆาทิเสสให้เธอ. มีผู้ติเตียนพระผู้มีพระภาคจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงโปรดให้สงฆ์ลงนิยสกรรม (คือการถอดยศหรือตัดสิทธิ) แก่เธอโดยวิธีเดียวกับที่ลงดัชชนียกรรม.

              นอกจากนั้น ทรงแสดงลักษณะการทำนิยสกรรมว่าอย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม ซึ่งมีข้อกำหนดเหมือนตัชชนียกรรม.

              แล้วทรงแสดงลักษณะของภิกษุผู้ควรลงนิยสกรรม เหมือนกับลักษณะของผู้ถูกลงตัชชนียกรรมทุกประการ.

              การเสียสิทธิ การระงับการลงโทษ การไม่ระงับการลงโทษ ก็เป็นแบบเดียวกับดัชชนียกรรม (แต่พึงสังเกตว่า ตัชชนียกรรมเน้นในเรื่องก่อวิวาท แต่นิยสกรรมเน้นในเรื่องต้องอาบัติมาก มีมารยาทไม่ดี และคลุกคลีกับคฤหัสถ์).

การลงโทษขับไล่ (ปัพพาชนียกรรม)

              ภิกษุที่เป็นพวกของพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะซึ่งอยู่ ณ ชนบท ชื่อกิฏาคิรี เป็นพระอลัชชีประพฤติสิ่งที่ไม่สมควร เช่น ปลูกต้นไม้เอง ใช้ให้ปลูกต้นไม้ให้คฤหัสถ์ ร้อยดอกไม้ให้คฤหัสถ์ บริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล ดื่มน้ำเมา ทัดทรงดอกไม้ ฟ้อนรำขับร้อง และเล่นซนอื่น ๆ

              พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงส่งพระสาริบุตร พระโมคคัลลานะให้ไปจัดการลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทรงแนะวิธีทำ วิธีสวดประกาศ มิให้ภิกษุพวกของพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ อยู่ในชนบทชื่อกิฏาคิรีต่อไป.

              ทรงแสดงลักษณะการทำปัพพาชนียกรรมว่าอย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม ซึ่งมีข้อกำหนดเหมือนตัชชนียกรรมซึ่งกล่าวมาแล้ว.

              แล้วทรงแสดงลักษณะของภิกษุผู้ควรลงปัพพาชนียกรรม (ขับไล่) หลายประการ มีทั้งความไม่ดี ไม่งาม แบบที่กล่าวไว้ในตัชชนียกรรม และนิยสกรรม มีทั้งความไม่ดีไม่งาม อันเนื่องด้วยความประพฤติ ไม่สมควรทางกายวาจา และการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เป็นต้น.

              การเสียสิทธิของภิกษุผู้ถูกลงปัพพาชนียกรรม คงมี ๑๘ อย่างเช่นเดียวกับตัชชนียกรรม (แต่ที่พิเศษออกไปก็คือ การถูกขับไล่ไม่ให้อยู่ในที่อยู่ของตน).

              แล้วทรงแสดงลักษณะที่ไม่ควรระงับการลงโทษ และควรระงับการลงโทษเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว.

การลงโทษให้ขอขมาคฤหัสถ์ (ปฏิสารณียกรรม)

              พระสุธัมมะอาศัยอยู่ในวัดของจิตตะคฤหบดี ณ ราวป่าชื่อมัจฉิกา โกรธว่า คฤหบดีนิมนต์พระเถระรูปอื่นไปฉัน โดยไม่บอกเล่า หรือปรึกษาหารือตนก่อน จึงแกล้งพูดให้กระทบถึงการสืบสกุลของคฤหบดี ผู้นั้นในที่ซึ่งพระเถระอื่นอยู่ด้วยว่า ของเคี้ยวของฉันของท่านสมบูรณ์หมด ไม่มีอยู่ก็แต่ขนมคลุกงา (ติลสังคุลิกา) และได้แสดงอาหารอย่างอื่นในทางที่ไม่สมควร.

              พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงแนะให้สงฆ์สวดประกาศลงปฏิสารณียกรรม คือให้ไปขอโทษคฤหัสถ์ที่ตนรุกรานล่วงเกิน.

              แล้วทรงแสดงลักษณะของการทำปฏิสารณียกรรมที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม ในทำนองเดียวกับตัชชนียกรรมที่กล่าวมาแล้ว.

              ส่วนลักษณะของภิกษุผู้ควรลงโทษแบบนี้ ท่านแสดงไว้ ๔ หมวด หมวดละ ๕ ข้อ คือ

๑.

              ๑. ขวนขวายเพื่อเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์
             
๒. ขวนขวายเพื่อความเสียหาย (อนัตถะ) แก่คฤหัสถ์
             
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แก่คฤหัสถ์
             
๔. ด่าหรือบริภาษคฤหัสถ์ (บริภาษคือด่าโดยอ้อม)
             
๕. ทำคฤหัสถ์ให้แตกกับคฤหัสถ์.

๒.

              ๑. ติเตียนพระพุทธเจ้าให้คฤหัสถ์ฟัง
             
๒. ติเตียนพระธรรมให้คฤหัสถ์ฟัง
             
๓. ติเตียนพระสงฆ์ให้คฤหัสถ์ฟัง
             
๔. ด่าหรือพูดข่มคฤหัสถ์ด้วยถ้อยคำอันเลว
             
๕. รับปากอันเป็นธรรมแก่คฤหัสถ์ไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน คือไม่ทำตามนั้น.

๓.

              ภิกษุ ๕ รูป แต่ละรูปทำความไม่ดีดั่งที่กล่าวไว้ในหมวด ๑ รูปละอย่าง.

๔.

              ภิกษุ ๕ รูป แต่ละรูปทำความไม่ดีดั่งที่กล่าวไว้ในหมวด ๒ รูปละอย่าง.
             
ทั้งสี่หมวด หมวดละ ๕ ข้อนี้ เพียงหมวดใดหมวดหนึ่งที่ภิกษุได้กระทำลงไป ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะลงโทษ ให้ขอขมาคฤหัสถ์ (ปฏิสารณียกรรม) ก็ทำได้.
             
ต่อจากนั้นทรงแสดงการเสียสิทธิ หรือการประพฤติวัตร ๑๘ อย่างเหมือนที่กล่าวไว้ในตัชชนียกรรม.
             
แล้วทรงแสดงวิธีที่จะปฏิบัติในการขอขมาคฤหัสถ์ ซึ่งจะต้องมีการสวดประกาศสงฆ์ ส่งภิกษุเป็นพูตไปด้วยรูปหนึ่งร่วมกับภิกษุที่ถูกลงโทษ เพื่อช่วยเจรจาให้เขายกโทษให้ เมื่อทำได้ดังนี้ สงฆ์จึงสวดประกาศเพิกถอนการลงโทษนั้น.
             
ต่อจากนั้น จึงทรงแสดงลักษณะของภิกษุที่ไม่ควรและควรเพิกถอนการลงโทษแบนี้ ฝ่ายละ ๑๘ ข้อ เช่นเดียวกับตัชชนียกรรม.

พระฉันนะกับการยกเสียจากหมู่ (อุกเขปนียกรรม)

              พระฉันนะต้องอาบัติแล้ว ไม่เห็นอาบัติ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงแนะให้สงฆ์ลงโทษยกเสียจากหมู่ คือไม่คบค้าด้วย ทรงแสดงลักษณะการลงโทษที่ไม่ถูกธรรมและถูกธรรม เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในเรื่องตัชชนียกรรม แต่มีการเน้นว่า การลงโทษยกเสียจากหมู่นี้ เพราะภิกษุไม่เห็นอาบัติ, ไม่ทำคืนอาบัติ, ไม่เลิกละความเห็นที่ชั่ว. และยังมีความไม่ดีข้ออื่นอีกที่ซ้ำกับตัชชนียกรรม.
             
แล้วทรงแสดงการเสียสิทธิ เป็นต้น เหมือนกับที่กล่าวไว้ในตัชชนียกรรม. (อนึ่ง พึงสังเกตุว่า คำว่า การเสียสิทธินั้น เป็นการพูดให้เข้าใจง่าย ในภาษาบาลีใช้คำว่า วัตร หรือข้อปฏิบัติ ๑๘ ข้อ).


๑. พระอัสสชิรูปนี้ มิใช่รูปเดียวกับทีเป็นอาจารย์พระสาริบุตร
๒. ต้นสกุลของคฤหบดีผู้นี้ มีอาชีพทำขนมคลุกงาขาย. อนึ่ง คฤหบดีผู้นี้เป็นพระอนาคามี

๒. ปริวาสิกขันธกะ (หมวดว่าด้วยผู้อยู่ปริวาส)

              (เมื่อมาถึงวินัยกรรมเกี่ยวกับการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งกล่าวไว้ในหมวดนี้ ควรจะได้ทราบความหมายเกี่ยวกับศัพท์ และลำดับการปฏิบัติซึ่งกล่าวถึงในหมวดนี้ก่อน ซึ่งมีดังนี้

              ๑.การอยู่ปริวาส คือการลงโทษให้ต้องอบรมตัวเอง เท่ากำหนดเวลาที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้วปิดไว้ ถ้าปิดไว้กี่วันกี่เดือน ก็จะต้องอยู่ปริวาสเท่านั้นวันเท่านั้นเดือน.

              ๒. การชักเข้าหาอาบัติเดิมหรือมูลายปฏิกัสสนา คือในขณะที่อยู่ปริวาสก็ตาม ประพฤติมานัตต์ (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ก็ตาม เธอไปต้องอาบัติสังฆาทิเสสซ้ำกับที่ต้องไว้เดิมเข้าอีก ก็จะต้องเริ่มตั้งต้นถูกลงโทษไปใหม่ คือต้องขอกลับเริ่มต้นถูกลงโทษในลำดับแรกอีก.

              ๓. การประพฤติมานัตต์ เมื่ออยู่ปริวาสครบกำหนดที่ปิดไว้แล้ว หรือถ้าไม่ได้ปิดไว้เลย ก็ไม่ต้องอยู่ปริวาส คงประพฤติมานัตต์ทีเดียว การประพฤติมานัตต์ คือการถูกลงโทษให้ต้องประจานความผิดของตนแบบปริวาส แต่มีกำหนด ๖ ราตรี ไม่ว่าจะปิดไว้หรือไม่ปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรี เหมือนกันหมด.

              ๔. การสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสสหรืออัพภาน เมื่อภิกษุถูกลงโทษให้อยู่ปริวาส (ถ้าปิดอาบัติไว้) และให้ประพฤติมานัตต์ถูกต้องแล้ว ก็เป็นผู้ควรแก่การสวดถอนจากอาบัตินั้น การสวดถอนจากอาบัตินี้ เรียกว่าอัพภาน ต้องใช้ภิกษุประชุมกันไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป.

              ในระหว่างที่ถูกลงโทษเหล่านี้ ภิกษุถูกตัดสิทธิมากหลาย ทั้งยังต้องคอยบอกความผิดของตนแก่ภิกษุผู้ผ่านไปมาและบอกในที่ประชุมสงฆ์ เมื่อทำอุโบสถสังฆกรรมด้วย รวมความว่า เป็นการลงโทษที่ทำให้ผู้ถูกลงโทษรู้สึกว่าหนักมาก ต้องเกี่ยวข้องกับสงฆ์ส่วนมาก โดยการประจานตัวและการสวดประกาศหลายขั้นหลายตอน).

ตัดสิทธิภิกษุผู้อยู่ปริวาส

              สมัยนั้น ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ เป็นต้น ของภิกษุปกติ (คือผู้ไม่ต้องอาบัติ) พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงวางข้อกำหนด มิให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสยินดีการกราบไหว้, การนำที่นอนมาให้, การล้างเท้า, การตั้งตั่งรองเท้า, การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า, การรับบาตรจีวร, การถูหลังในเวลาอาบน้ำ. ถ้าขืนยินดีให้ผู้อื่นทำให้แก่ตนเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกันปฏิบัติแสดงความเคารพเอื้อเฟื้อต่อกันดังกล่าวข้างต้นได้ตามลำดับพรรษา และทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกันทำอุโบสถ, ปวารณา, รับแจกผ้าอาบน้ำฝน, รับโอนอาหาร, รับแจกอาหารได้ตามลำดับพรรษา.

วัตร ๙๔ ข้อของผู้อยู่ปริวาส

              ทรงแสดงวัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตัดสิทธิต่าง ๆ ห้ามทำอย่างนั้นอย่างนี้ รวมทั้งสิ้น ๙๔ ข้อ (แต่ในที่นี้ จะเก็บใจความมากล่าวพอให้เห็นเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้)

              ๑. ไม่ให้ทำการในหน้าที่พระเถระ แม้เป็นเถระมีหน้าที่อย่างนั้นอยู่ก็เป็นอันระงับชั่วคราว เช่น ห้ามบวชให้ผู้อื่น, ห้ามให้นิสสัย (รับผู้อื่นไว้ในปกครอง) เป็นต้น.

              ๒. กำลังถูกลงโทษเพราะอาบัติใด ห้ามต้องอาบัตินั้นซ้ำ หรือต้องอาบัติอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน หรือที่เลวทรามกว่านั้น.

              ๓. ห้ามถือสิทธิแห่งภิกษุปกติ เช่น ไม่ให้มีสิทธิ ห้ามอุโบสถ หรือปวารณาแก่ภิกษุปกติ ห้ามโจทท้วงภิกษุอื่น ๆ เป็นต้น.

              ๔. ห้ามถือสิทธิอันจะพึงได้ตามลำดับพรรษา เช่น ไม่ให้เดินนำหน้า ไม่ให้นั่งข้างหน้าภิกษุปกติ เมื่อมีการแจกของ พึงยินดีของเลวที่แจกทีหลัง ทั้งนี้หมายรวมทั้งที่นั่ง ที่นอน และที่อยู่อาศัย

              ๕. ห้ามทำอาการของผู้มีเกียรติหรือเด่น เช่น มีภิกษุปกติเดินนำหน้า หรือเดินตามหลัง หรือให้เขาเอาอาหารมาส่ง ด้วยไม่ต้องการจะให้ใครรู้ว่ากำลังถูกลงโทษ.

              ๖. ให้ประจานตัว เช่น ไปสู่วัดอื่น ก็ต้องบอกอาบัติของตนแก่ภิกษุในวัดนั้น เมื่อภิกษุอื่นมาก็ต้องบอกอาบัติของตนนั้นแก่ภิกษุผู้มา จะต้องบอกอาบัติของตนในเวลาทำอุโบสถ เวลาทำปวารณา ถ้าป่วยไข้ต้องส่งทูตไปบอก.

              ๗. ห้ามอยู่ในวัดที่ไม่มีสงฆ์อยู่ (เพื่อป้องกันการเลี่ยงไปอยู่วัดร้าง ซึ่งไม่มีพระ จะได้ไม่ต้องประจานตัวแก่ใคร ๆ).

              ๘. ห้ามอยู่ร่วมในที่มุงอันเดียวกับภิกษุปกตินี้ เพื่อเป็นการตัดสิทธิทางการอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นชั่วคราว.

              ๙. เห็นภิกษุปกติ ต้องลุกขึ้นจากอาสนะ ให้เชิญนั่งบนอาสนะ ไม่ให้นั่ง หรือยืนเดินในที่ หรือในอาการที่สูงกว่าภิกษุปกติ.

              ๑๐. แม้ในภิกษุผู้ถูกลงโทษด้วยกันเอง ก็ไม่ให้อยู่ร่วมในที่มุงเดียวกัน รวมทั้งไม่ให้ตีเสมอกันและกัน (ทางที่ดีไม่ให้มารวมกัน ให้ต่างคนต่างอยู่).

              ตั้งแต่ข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๐ ถ้าภิกษุฝ่าฝ้น การประพฤติตัวของเธอเพื่อออกจากอาบัติ ย่อมเป็นโมฆะ มีศัพท์เรียกว่าวัตตเภท (เสียวัตร) และรัตติเฉท (เสียราตรี) วันที่ล่วงละเมิดนั้น มิให้นับเป็นวันสมบูรณ์ในการเปลื้องโทษ จะต้องทำใหม่และนับวันใหม่ในการรับโทษแก้ไขตัวเอง.

              ๑๑. ในการทำสังฆกรรมเกี่ยวกับการให้ปริวาส, การชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งต้องการสงฆ์ ๔ รูป ห้ามภิกษุที่ถูกลงโทษเข้าร่วมกรรมเป็นองค์ที่ ๔ ถ้ามีภิกษุปกติ ๔ รูป แล้วภิกษุที่ถูกลงโทษเข้าร่วมได้ ไม่เสียกรรม และในการสวดถอนอาบัติสังฆาทิเสสของภิกษุอื่น ซึ่งต้องการสงฆ์ ๒๐ รูป ภิกษุที่ถูกลงโทษจะเข้าร่วมเป็นองค์ที่ ๒๐ ไม่ได้ ต้องมีภิกษุปกติครบ ๒๐ รูป จึงใช้ได้.

              ต่อจากนี้ไป ได้แสดงถึง ภิกษุที่ถูกลงโทษในลำดับต่าง ๆ กันว่า จะต้องประพฤติวัตรเหมือนภิกษุผู้อยู่ปริวาส คือ

              ๑. ภิกษุที่ควรชักเข้าอาบัติเดิม (เพราะต้องอาบัติทำนองเดียวกันเข้าอีก ในระหว่างประพฤติตนเพื่ออกจากอาบัตินั้น).

              ๒. ภิกษุผู้ควรแก่มานัตต์ (พราะอยู่ปริวาสเสร็จแล้วหรือเพราะไม่ได้ปิดอาบัติไว้).

              ๓. ภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ (คือกำลังประพฤติมานัตต์อยู่).

              ๔. ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน คือควรจะสวดถอนจากอาบัติได้แล้ว (เพราะอยู่ปริวาส และประพฤติมานัตต์เสร็จแล้ว).

การเสียราตรี (รัตติเฉท)

              พระอุบาลีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องการเสียราตรี (รัตติเฉท) ของภิกษุผู้อยู่ปริวาส หรือประพฤติมานัตต์แล้วล่วงละเมิดข้อห้ามว่าจะมีต่างกันอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า การเสียราตรีของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มีเพราะเหตุอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. อยู่รวมในชายคาเดียวกับภิกษุอื่น ๒. อยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุ ๓. ไม่บอกหรือประจานตัวเองเกี่ยวกับอาบัตินั้นแก่ภิกษุ หรือแก่สงฆ์ แล้วแต่กรณี. ส่วนการเสียราตรีของภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์มี ๔ อย่าง คือ ๓ ข้อแรกเหมือนกับของภิกษุผู้อยู่ปริวาส เฉพาะในข้อ๔ คือประพฤติมานัตต์ในสงฆ์ที่ไม่เต็มคณะ (คือระหว่างประพฤติมานัตต์ สงฆ์ในวัดนั้นลดจำนวนลงน้อยกว่า ๔ ไม่ได้).

การเก็บปริวาสและเก็บมานัตต์

              ในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น อันทำให้ไม่สามารถอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์ได้สะดวก เช่น สงฆ์มาประชุมกันมากมาย จะเที่ยวบอกประจานตัวเองให้หมดสิ้นทั่วถึงไม่ไหว ก็ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส หรือมานัตต์ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว จึงสมาทาน คือถือการอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์ต่อไปใหม่.

. สมุจจยขันธกะ
(
หมวดว่าด้วยการรวบรวมเรื่องการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส)

              ในหมวดนี้แสดงวิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส โดยเล่าเรื่องพระอุทายีปรึกษาสงฆ์ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจะควรปฏิบัติอย่างไร (คล้ายเป็นการตั้งตุ๊กตาให้เห็นวิธีปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนจบ) มีการแสดงรายละเอียด ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสแนะดังต่อไปนี้

              ๑. ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียว ไม่ได้ปกปิด ให้ขอมานัตต์ ให้สวดประกาศให้มานัตต์ เมื่อประพฤติมานัตต์เสร็จแล้ว ให้ขออัพภาน (ขอให้สงฆ์สวดถอนจากอาบัติ) ให้สวดประกาศถอนจากอาบัติให้.

              ๒. ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียว ปิดไว้วันเดียว ให้ขอปริวาส ๑ วัน เสร็จแล้วจึงขอมานัตต์ แล้วดำเนินการต่อไปตามลำดับเหมือนข้อ ๑.

              ๓. ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียว แต่ปิดไว้ ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ให้ขอปริวาส ๒ วัน ๓ วัน ๔ วัน ๕ วัน ตามควรแก่เหตุ แล้วขอมานัตต์ และดำเนินการต่อไปตามลำดับเหมือนข้อ ๑.

              ๔. ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ ๕ วัน ขอปริวาส ๕ วัน ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องอาบัติข้อนั้นอีก ให้ชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยขอต่อสงฆ์ ให้ชักเข้าหาอาบัตเดิมแล้วขอปริวาสใหม่ อยู่ปริวาสอีก๕ วัน แล้วจึงทำต่อไปตามลำดับเหมือนข้อ ๑.

              ๕. ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ ๑ ปักษ์ (๑๕ วัน) ให้ขอปริวาส ๑ ปักษ์ ระหว่างที่อยู่ปริวาสต้องอาบัติเดิมอีก ปิดไว้ ๕ วัน ให้ขอต่อสงฆ์ เพื่อชักเข้าหาอาบัติเดิม เริ่มต้นขอปริวาสใหม่ โดยรวมกับอาบัติที่ปิดไว้เดิม (เมื่อรวมกันก็นับข้างมากเพียงฝ่ายเดียว คือ ๑๕ วัน). ต่อมาเมื่อเธออยู่ปริวาสเสร็จแล้วขอประพฤติมานัตต์ ระหว่างที่ประพฤติมานัตต์ ต้องอาบัติข้อเดิมซ้ำอีก ให้สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม คือต้องเริ่มต้นอยู่ปริวาสใหม่ (อีก ๑๕ วัน) แล้วจึงขอมานัตต์ ประพฤติมานัตต์ใหม่ จนสวดถอนในที่สุด.

              นอกจากนี้ได้แสดงตัวอย่างอื่นอีกหลายข้อที่เกิดปัญหาสลับซับซ้อนในระหว่างประพฤติมานัตต์บ้าง ในกรณีอื่น ๆ บ้าง. (ถ้าภิกษุรูปใดประพฤติยุ่งยากแบบนี้ คือขณะออกจากอาบัติก็ออกไม่ได้สักที กลับทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในทางปฏิบัติ ก็อาจขับไล่ คือลงปัพพาชนียกรรมได้ เพราะศีลวิบัติ แต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคทรงแนะให้แก้ปัญหาเฉพาะในทางวิธีการออกจากอาบัติ คล้ายเป็นการเฉลยข้อกฎหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะมิได้ยกเอาข้ออื่นมาตัดบท. อย่างไรก็ตาม เรื่องราวในสมุจจยขันธกะนี้เท่ากับ เป็นประมวลแบบปฏิบัติในเรื่องออกจากอาบัติสังฆาทิเสสที่มีปัญหาสลับซับซ้อน แสดงคำบาลีสำหรับสวดประกาศไว้อย่างพิสดาร).

๔. สมถขันธกะ (หมวดว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) ทำกรรมประเภทลงโทษแก่ภิกษุทั้งหลายที่ไม่ได้อยู่ต่อหน้า (เป็นการทำลับหลัง) คือตัชชนียกรรม (ข่มขู่) บ้าง, นิยสกรรม (ถอดยศหรือตัดสิทธิ) บ้าง, ปัพพาชนียกรรม (ขับไล่) บ้าง, ปฏิสารณียกรรม (ให้ขอขมาคฤหัสถ์) บ้าง, อุกเขปนียกรรม (ยกเสียจากหมู่ไม่ให้ใครคบ) บ้าง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามทำการลับหลังผู้ถูกลงโทษ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น.

๑. สัมมุขาวินัย (การระงับต่อหน้า)

              ทรงแสดงภิกษุที่เป็นบุคคลฝ่ายไม่ดี ๓ ประเภท คือ ๑. บุคคล (คนเดียว) ๒. บุคคลหลายคน ๓. สงฆ์ (๔ รูปขึ้นไป) ที่พูดไม่เป็นธรรม ฝ่ายหนึ่ง กับทรงแสดงภิกษุที่เป็นบุคคลฝ่ายดี ๓ ประเภท คือ ๑. บุคคล (คนเดียว) ๒. บุคคลหลายคน ๓. สงฆ์ (๔ รูปขึ้นไป) ที่พูดเป็นธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง.

              ฝ่ายที่พูดไม่เป็นธรรม แม้จะระงับเรื่องที่เกิดขึ้นในที่พร้อมหน้า ก็เรียกว่าสัมมุขาวินัยเทียมและระงับอย่างไม่เป็นธรรม. ฝ่ายที่พูดเป็นธรรม ระงับเรื่องที่เกิดขึ้น เรียกว่าสัมมุขาวินัย และระงับอย่างเป็นธรรม.

พระทัพพมัลลบุตรทำงานให้สงฆ์

              พระทัพพมัลลบุตรได้บรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุยังน้อย ท่านปรารถนาจะทำประโยชน์แก่สงฆ์ จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขอรับทำหน้าที่เป็นผู้จัดเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และแสดงภัตต์ (จัดภิกษุไปฉันในที่นิมนต์). พระผู้มีพระภาคทรงเห็นชอบด้วย จึงตรัสให้เรียกประชุมสงฆ์ ขอมติสวดประกาศแต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้จัดเสนาสนะ (เสนาสนคาหาปกะ) และผู้แสดงภัตต์ (ภัตตุทเทสกะ) เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงเป็นอันประกาศแต่งตั้ง. เมื่อได้รับแต่งตั้งแล้วปรากฏว่าได้จัดเสนาสนะได้ดีและเรียบร้อย ถึงกับมีภิกษุมาแกล้งให้จัดในที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งอยู่ห่างไกลกันทีละหลาย ๆ รูป เพื่อจะดูความสามารถ แต่ท่านก็จัดได้เรียบร้อยอย่างน่าอัศจรรย์.

              ส่วนการจัดแบ่งภิกษุไปรับอาหารก็ทำได้เรียบร้อย แต่มีภิกษุพวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกภิกษุเมตติยะ และภุมมชกะไม่พอใจว่าตนไม่ค่อยได้รับอาหารดี ๆ (ความจริง เพราะเป็นผู้บวชใหม่ คนจึงไม่สนใจถวายอาหารดี ๆ เหมือนภิกษุอื่น). ภิกษุพวกนั้นเข้าใจผิดว่า พระทัพพมัลลบุตรกลั่นแกล้งจึงหาเรื่องให้นางเมตติยาภิกษุณีแกล้งใส่ความหาว่าข่มขืนนาง. เมื่อไต่สวนได้ความสัตย์แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงจัดการให้สึกนางเมตติยาภิกษุณี แม้ภิกษุที่ก่อเรื่องจะขอรับผิดแทนว่าตนเป็นผู้ต้นคิด ก็ไม่มีการผ่อนผัน.

๒. สติวินัย (การระงับด้วยยกให้ว่าเป็นผู้มีสติ)

              พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะวิธีระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ ให้สงฆ์สวดประกาศ ให้สติวินัยแก่พระทัพพมัลลบุตร แล้วทรงแสดงเงื่อนไข ๕ ประการ ในการให้สติวินัย คือ ๑. ภิกษุผู้ถูกโจทฟ้อง เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ๒. มีผู้กล่าวฟ้องเธอ ๓. เธอขอสติวินัย ๔. สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้โดยธรรม อย่างนี้ จึงเรียกว่าการให้สติวินัยอันเป็นธรรม.

๓. อมูฬหวินัย

              ภิกษุชื่อคุคคะ เป็นบ้า ได้ทำความผิดหลายประการ มีผู้โจทฟ้อง พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะให้ระงับด้วยอมูฬวินัย โดยให้ผู้ถูกฟ้อง (ซึ่งหายแล้ว) ขออมูฬหวินัย และให้สงฆ์สวดประกาศให้อมูฬหวินัย เป็นอันระงับด้วยยกให้เป็นบ้าในขณะทำความผิด. แต่ก็ทรงวางเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าทำความผิดขณะที่รู้สึกตนและไม่เป็นบ้า แต่แก้ตัวว่าไม่รู้สึกตน หรือรู้สึกเหมือนฝัน หรือแก้ตัวอ้างความเป็นบ้าสงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่เธอ ดังนี้ เรียกว่าไม่เป็นธรรม ถ้าตรงกันข้าม คือทำไปในขณะเป็นบ้าไม่รู้สึกตัวจริง ๆ การให้อมูฬหวินัยจึงเป็นธรรม.

๔. ปฏิญญาตกรณะ (การระงับด้วยคำสารภาพของผู้ถูกฟ้อง)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ลงกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยไม่ฟังคำสารภาพของภิกษุเหล่านั้น มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามทำเช่นนั้น ถ้าฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.

              จึงทรงแสดงวิธีระงับอธิกรณ์ด้วยการรับสารภาพของจำเลยที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม. ที่ไม่เป็นธรรม คือสารภาพผิดจากที่ทำลงไปจริง เช่น ต้องอาบัติหนัก สารภาพว่าต้องอาบัติรองลงมา หรือต้องอาบัติเบา สารภาพว่าต้องอาบัติหนัก. ส่วนที่เป็นธรรม คือต้องอาบัติอะไร ก็สารภาพถูกตรงตามนั้น.

๕. เยภุยยสิกา (การระงับด้วยถือเสียงข้างมาก)

              ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ด้วยถือเอาเสียงข้ามาก ให้สมมติภิกษุผู้ให้จับสลาก (คำว่า สลาก แปลว่า ซี่ไม้สำหรับใช้ลงคะแนน) ภิกษุผู้ให้จับสลาก จะต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก, เพราะเกลียด, เพราะหลง, เพราะกลัว และรู้ว่าอย่างไรเป็นอันจับ อย่างไม่เป็นอันจับ (คุมการลงคะแนนได้ดี). แล้วให้สวดประกาศแต่งตั้ง ภิกษุผู้ให้จับสลากเป็นการสงฆ์.

              แล้วทรงแสดงการจับสลาก (ลงคะแนน) ที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม อย่างละ ๑๐ ประการ คือ ๑. เป็นเรื่องเล็กน้อย ๒. ไม่ลุกลามไปสู่วัดอื่น ๓. ไม่ต้องคิดแล้วคิดเล่า ๔. รู้ว่าผู้กล่าวไม่เป็นธรรมมีมากกว่า ๕. รู้ว่าผู้กล่าวไม่เป็นธรรมอาจมีมากกว่า ๖. รู้ว่าสงฆ์จะแตกกัน (ถ้าขืนลงมติ) ๗. รู้ว่าสงฆ์อาจแตกกัน ๘. จับสลากโดยไม่เป็นธรรม ๙. จับสลากเป็นพวก ๆ (ไม่เรียงทีละคน) ๑๐. มิได้จับสลากตามความเห็นของตน อย่างนี้เรียกว่าไม่เป็นธรรม. ส่วนที่เป็นธรรมคือที่ตรงกันข้าม.

๖. ตัสสปาปิยสิกา (การระงับด้วยการลงโทษ)

              ภิกษุชื่ออุปวาฬะ ถูกฟ้องด้วยเรื่องต้องอาบัติในที่ประชุมสงฆ์ ปฏิเสธแล้วกลับรับ รับแล้วกลับปฏิเสธ ให้การกลับกลอก กล่าวเท็จทั้ง ๆ รู้. พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงทรงแนะให้สงฆ์ใช้วิธีตัสสปาปิยสิกา คือให้สวดประกาศเป็นการสงฆ์ลงโทษจำเลย (ตามควรแก่อาบัติ).

              ทรงแสดงการทำตัสสปาปิยสิกากรรม ที่เป็นธรรมว่า ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๒. เป็นผู้ไม่มียางอาย ๓. มีผู้โจทฟ้อง ๔. สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม (ลงโทษ) แก่เธอ ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงโท ษโดยธรรม.

              อนึ่ง ทรงแสดงลักษณะการทำกรรมชนิดนี้ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม ตามแบบที่ทรงแสดงไว้ ในเรื่องดัชชนียกรรม, ทรงแสดงลักษณะที่สงฆ์ควรลงโทษชนิดนี้ และการเสียสิทธิของภิกษุผู้ต้องโทษชนิดนี้ เช่นเดียวกับดัชชนียกรรม.

๗. ติณวัตถารกะ (การระงับด้วยให้เลิกแล้วกันไป)

              ภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน และเห็นว่าถ้าขืนทะเลาะวิวาทกันต่อไป เรื่องก็จะลุกลามเลวร้าย ถึงกับแตกแยกกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์ชนิดนี้ ด้วยให้เลิกแล้วกันไป (ติณวัตถารกะ).

              ทรงแสดงวิธีสวดประกาศขอมติในที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นอันพ้นอาบัติด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยมีภิกษุรูปหนึ่งแต่ละฝ่ายที่เสนอญัตตินั้นเป็นผู้แสดงแทน เว้นอาบัติหนัก, เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์, เว้นผู้แสดงความเห็นแย้ง, เว้นผู้ไม่ได้ประชุมอยู่ในที่นั้น (คือมีผู้ขาดประชุม).

อธิกรณ์ ๔

              อธิกรณ์มี ๔ คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ เป็นต้น ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ และ ๔. กิจจาธิกรณ์ เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม.

              ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะของอธิกรณ์แต่ละอย่าง พร้อมทั้งมูลเหตุโดยพิสดาร ในที่สุดตรัสสรุปว่า อธิกรณ์แต่ละอย่างจะระงับได้ด้วยสมถะ (วิธีระงับ) อะไรบ้าง ดังนี้

              ๑. วิวาทาธิกรณ์ การวิวาทกันในเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ย่อมระงับด้วยวิธีระงับ ๒ ประการ คือ ๑. ระงับในที่พร้อมหน้า (สัมมุขาวินัย) ๒. ระงับโดยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ (เยภุยยสิกา).

              ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับศีล) อาจารวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ) ทิฏฐิวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับความเห็น) และอาชีววิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ) ระงับด้วยวิธีระงับ ๔ ประการ คือ ๑. ระงับในที่พร้อมหน้า (สัมมุขาวินัย) ๒. ระงับด้วยยกให้ว่ามีสติ (สติวินัย) ๓. ระงับด้วยยกให้ว่าเป็นบ้า (อมูฬหวินัย) ๔. ระงับด้วยการลงโทษ (ตัสสปาปิยสิกา).

              ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติต่าง ๆ ระงับด้วยวิธีระงับ ๓ ประการ คือ ๑. ระงับในที่พร้อมหน้า (สัมมุขาวินัย) ๒. ระงับด้วยถือคำสารภาพ (ปฏิญญาตกรณะ) ๓. ระงับด้วยให้เลิกแล้วกัน (ติณวัตถารกะ).

              ๔. กิจาธิกรณ์ เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำที่เป็นสังฆกรรม ระงับด้วยวิธีระงับประการเดียว คือระงับในที่พร้อมหน้า (สัมมุขาวินัย).

              ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเสร็จไปแล้ว และปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุ ผู้ให้ฉันทะแล้วบ่นว่าในภายหลัง (เว้นแต่อธิกรณ์นั้นชำระไม่เป็นธรรม).


๑. อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องจัดต้องทำ แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง ดังจะกล่าวในหมวดนี้ ซึ่งมีพระพุทธภาษิตอธิบายไว้ด้วย
๒. ดูหน้า ๑๗๔ สิกขาบทที่ ๓ และหน้า ๑๗๗ สิกขาบทที่ ๙

 

 

 

เล่มที่ ๗ ชื่อจุลลวัคค์ ( เป็นพระวินัยปิฏก )

หน้า ๑

    ได้กล่าวแล้วว่า จุลวัคค์มี ๒ เล่ม คือเล่ม ๖ กับเล่ม ๗ เล่ม ๖ ที่ย่อมาแล้วมี ๔ หมวด หรือ ๔ ขันธกะ ในเล่ม ๗ มี ๘ หมวด หรือ ๘ ขันธกะ ดังต่อไปนี้ -

    ๑. ขุททกวัตถุขันธกะ (หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ) เรื่องที่กล่าวในหมวดนี้เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ข้อปฏิบัติในเวลาอาบน้ำ , การดูมหรสพ, ข้อห้ามและอนุญาตที่เกี่ยวกับบาตร เป็นต้น จนถึงเรื่องเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ, ทำด้วยไม้และทำด้วยดินเหนียว,

    ๒. เสนาสนขันธกะ ( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย ) ในหมวดนี้กล่าวถึงเรื่องสถานที่อยู่อาศัย, เครื่องใช้ เช่น เตียงตั่ง , ผ้าปูนั่งปูนอน, เครื่องใช้ประจำในที่อยู่ ตลอดจนการก่อสร้าง เป็นต้น.

    ๓. สังฑเภทขันธกะ (หมวดว่าด้วยสงฆ์แตกกัน) เล่าเรื่องพระเทวทัตคิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้าแต่ไม่สำเร็จ จนถึงเหตุการณ์ที่ทำให้พระเทวทัตอาเจียนเป็นโลหิต และเรื่องการสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่สงฆ์แตกกัน.

    ๔. วัตตขันธกะ (หมวดว่าด้วยวัตรหรือข้อปฏิบัติ) ว่าด้วยวัตรหรือข้อปฏิบัติต่าง ๆ ๑๓ เรื่องข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ, ข้อปฏิบัตของภิกษุผู้เป็นเจ้าของถิ่น, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะเดินทางจากไป, ข้อปฏิบัติในโรงอาหาร, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้บิณฑบาต, ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า, ข้อปฏิบัติเนื่องด้วยที่อยู่อาศัย, ข้อปฏิบัติในเรือนไฟ, ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ (ส้วม), ข้อปฏิบัติต่ออุปชฌายะ, ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, ข้อปฏิบัติต่ออาจาย์ , ข้อปฏิบัติต่ออันเตวาสิก,

    ๕. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ (หมวดว่าด้วยการงดหรือหยุดสวดปาฏิโมกข์) กล่าวถึงการหยุดสวดปาฏิโมกข์ เพราะมีภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์ปนอยู่ด้วย พร้อมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นอันมาก.

    ๖ ภิกขุณีขันธกะ (หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี) กล่าวถึงความเป็นมาของนางภิกษุณี และข้อปฏิบัติ ข้อห้าม ข้ออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับนางภิกษุณี

    ๗ ปัญจสติขันธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ ๑) พรรณนาเหตุการณ์ภายหลังพุทธปรินิพพานถึงการทำสังคายนาครั้งที่ ๑

    ๘ สัตตสติกขัธกะ (หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๗๐๐ ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ ๒) พรรณามูลเหตุและการดำเนินในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒

   

ขยายความ

 

๑ ขุททกวัตถุขันธกะ

(หมวดว่าด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ)

 

เรื่องเกี่ยวกับการอาบน้ำ

    ทรงปรารภการกระทำของภิกษุฉัพพัคคีย์ ซึ่งมีผู้ติเตียน จึงตรัสห้ามมิให้ภิกษุเอากายสีกับต้นไม้, สีกับเสา , สีกับข้างฝา ในขณะอาบน้ำ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด (เพราะชาวบ้านติว่าทำเหมือนนักมวยปล้ำ)

    ทรงห้ามอาบน้ำเอากายสีที่แผ่นกระดาน ( ที่เขาทำเป็นตาหมากรุก แล้วเอาจุณโรยไว้ใช้สีกาย). อนึ่ง ทรงห้ามใช้เครื่องสีกายด้วยของไม่ควร เช่น ไม้ทำเป็นรูปมือ หรือจักเป็นฟันมังกร และกลียวเชือกที่คมเอาหลังต่อหลังสีกันก็ห้าม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด (เพราะมีผู้ติเตียนว่าทำเหมือนอย่างคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม). ทรงอนุญาตไม้ไม่จักเป็นซี่และให้ใช้เกลียวผ้า หรือฝ่ามือถูตัวได้.

   

ห้ามใช้เครื่องประดับแบบคฤหัสถ์

    ทรงห้ามประดับกายด้วยตุ้มหู, สายสร้อย, สร้อยคอ, สร้อยเอว, เข็มขัด, บานพับ (สำหรับรัดแขน) , กำไลมือและแหวน. ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น.

   

ข้อห้ามเกี่ยวกับผม

    ทรงห้ามไว้ผมเกิน ๒ เดือน หรือไว้ผมเกิน ๒ นิ้ว. อนึ่ง ทรงห้ามใช้แปรง, ใช้หวี, ใช้มือต่างหวี, ใช้น้ำมันเจือน้ำใส่ผม ซึ่งเป็นอย่างคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น.

   

ข้อห้ามเกี่ยวกับการส่องกระจกหรือแว่น

    ทรงห้ามมองดูเงาหน้าในแว่น (โลหะขัดเงา) หรือในภาชนะน้ำ ( เพราะชาวบ้านติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้ปริโภคกาม) มีเหตุสมควร เช่น เป็นแผลที่หน้า ทรงอนุญาตให้ดูได้.

   

ข้อห้ามทาหน้าทาตัว

    ทรงห้ามผัดหน้า, ไล้หน้า ( ใช้ฝุ่นละลายน้ำ ทาแห้งแล้วลูบให้เสมอ), ทาหน้า ( เช่น ทาแป้ง), เจิมหน้า, ย้อมตัว, ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า, ทรงปรับอาบัติแก่กฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น. ใช้ฝุ่นผัดหน้า เพื่อรักษาโรคได้. ( ในเรื่องกล่าวว่า รักษาโรคตา ฝุ่นนั้นคงผสมยาบางอย่าง).

   

ห้ามดูฟ้อนรำและห้ามขับด้วยเสียงอันยาว

    ทรงห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง ทรงห้ามขับธรรมด้วยเสียงขับอันยาว ทรงแสดงโทษ ๕ ประการ ( ดูหน้า ๖๙ หมายเลข ๖๕ ) แต่ทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ (สวดใช้เสียงที่ไม่เสียสมณสารูป).

   

ห้ามใช้ผ้าขนเเกะ

    ทรงห้ามใช้ผ้าขนแกะที่มีขนอยู่ภายนอก ซึ่งคฤหัสถ์ใช้กัน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

   

ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับผลไม้

    ทรงห้ามฉันมะม่วง เพราะภิกษุฉัพพัคคีย์ให้คนสอยมะม่วงในพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งอนุญาตให้ฉันผลไม้ได้ จนพระเจ้าพิมพิสารจะเสวยเองก็ไม่ได้เสวย. ฝานเปลือกมะม่วงใส่แกง อนุญาตให้ฉันได้. ในที่สุดทรงอนุญาตให้ฉันผลไม้ได้ทุกชนิด ถ้าเป็นของควรแก่สมณะ ๕ อย่าง คือเอาไฟจี้, เอามีดกรีด, เอาเล็บจิก (หมายถึงคนที่คนอื่นทำให้) , ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด, ผลไม้ที่ปล้อนเปลือกออกแล้ว ( การฉันผลไม้ในครั้งพุทธกาล คงใช้ขบเคี้ยว เพื่อรักษาประเพณีที่ว่า นักบวชไม่ควรทำลายพืชตามความนิยมของคนในครั้งนั้น จึงต้องมีข้อกำหนดให้ทำให้ควรก่อน).

   

ตรัสสอนให้แผ่เมตตา

    ภิกษุถูกงูกัด ถึงแก่มรณภาพ จึงตรัสสอนให้แผ่เมตตาในสกุลพญางูทั้งสี่ รวมทั้งหมู่สัตว์ทั้งหลายไม่เลือกว่า ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามากหรือไม่มีเท้า ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงพบเห็นแต่สิ่งที่ดีงาม.

   

ห้ามตัดองคชาต

    ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความกำหนัด จึงตัดองคชาตทิ้ง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน และทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามตัดองคชาต ถ้าตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

   

ข้อห้ามและอนุญาตเกี่ยวกับบาตร

    ทรงปรารภพระปิณโฑล ภารัทวาชะ ผู้ได้บาตรไม้จันทน์มา เพราะแสดงอำนาจจิต เหนือเจ้าลัทธิทั้งหก พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามแสดงอิทธิปฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ ถ้าแสดงต้องอาบัติทุกกฏ. อนึ่ง ทรงสั่งให้ทำลายบาตรไม้จันทน์นั้น เพื่อใช้การอย่างอื่น เช่น บดเป็นยาหยอดตา แล้วตรัสห้ามใช้บาตรไม้ และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ใช้.

    อนึ่ง ทรงห้ามใช้บาตรที่ทำด้วยทอง, เงิน, แก้วมณี, แก้วไพฑูรย์, แก้วผลึก, สำริด, แก้วหุง, ดีบุก, สังกะสี, ทองแดง, รวมเป็น ๑๑ ทั้งบาตรไม้) ทรงอนุญาตบาตรสองชนิด คือบาตรเหล็กและบาตรดิน.

    ทรงอนุญาตให้ใช้เชิงบาตร (เพื่อกันก้นบาตรเสียดสี) แต่ไม่อนุญาตเชิงบาตร ที่ทำด้วยทอง เงิน หรือวิจิตรงดงาม ทรงอนุญาตที่ทำด้วยดีบุกหรือสังกะสี.

    ทรงห้ามเก็บบาตรทั้งที่ยังเปียกน้ำ ทรงอนุญาตให้ตากแดดหรือเช็ดให้หมดน้ำ ตากแล้วจึงเก็บบาตร ทรงห้ามเก็บบาตรไว้กลางแดด ทรงอนุญาตให้ตากไว้กลางแดดครู่หนึ่งแล้วจึงเก็บ.

    ทรงอนุญาตที่รองบาตร เพื่อกันบาตรถูกลมพัดกลิ้งไปแตก, ทรงห้ามเก็บบาตรบนพนัก บนพรึง ( ชานนอกพนัก) . ทรงอนุญาตเครื่องรองบาตรเวลาคว่ำบาตร (ไม่ให้ปากบาตรครูดกับพื้น) เป็นเครื่องรองหญ้าหรือผ้าก็ได้.

    ทรงอนุญาตชั้นเก็บบาตร (เพื่อกันปลวกขึ้นผ้าหรือเสื่อที่รองบาตร) , ทรงอนุญาตภาชนะปากกว้าง สำหรับวางบาตร ( เพื่อกันบาตรกลิ้งลงมาจากชั้น) , ทรงอนุญาตถุงบาตร ( เพื่อกันมิให้ก้นบาตรครูดกับภาชนะสำหรับเก็บ), ทรงห้ามแขวนบาตร ( ไว้กับสิ่งที่ยื่นออกมาจากข้างผา เช่น ลูกประสัก), ทรงห้ามเก็บบาตรไว้บนเตียง, บนตั่ง, บนตัก, บนร่ม ( เพื่อกันแตก), อนึ่ง ทรงห้ามผลักบานประตูเมื่อยังถือบาตรอยู่ และห้ามใช้กะทะดิน, กะโหลกน้ำเต้า, กะโหลกหัวผีต่างบาตร นอกจากนั้นยังทรงห้ามทิ้งเศษอาหาร, ก้างปลา, กระดูกเนื้อ และน้ำเป็นเดน เช่น น้ำบ้วนปากลงในบาตร.

   

ทรงอนุญาตมีดและเข็ม

    ต่อจากนั้น เล่าเรื่องทรงอนุญาตมีดสำหรับตัดผ้า พร้อมทั้งอนุญาตปลอกมีด และทรงอนุญาตด้ามมีดแต่ไม่อนุญาตด้ามที่ทำด้วยทอง เงิน วิจิตรงดงาม ทรงอนุญาตด้ามมีดที่ทำด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์, ไม้อ้อ, ไม้ไผ่, ไม้, ยางไม้, ผลไม้, โลหะและขนดสังข์.

    ภิกษุสมัยนั้นใช้ขนไก่บ้าง ซี่ไม้ไผ่บ้างเย็บจีวร ปรากฏว่าไม่เรียบร้อย จึงทรงอนุญาตเข็ม และเพื่อป้องกันเข็มเป็นสนิม ทรงอนุญาตกล่องเข็ม และผงที่ใส่ลงไปกับสนิม รวมทั้งอนุญาตให้สอดเข็มไว้ในขี้ผึ้ง.

   

ทรงอนุญาตและห้ามเกี่ยวกับไม้แบบหรือสดึง

    ทรงอนุญาตไม้แบบหรือไม้สดึง และเชือกขึงรัดจีวรเข้ากับไม้สะดึงแล้วเย็บ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ เพื่อเย็บให้การเย็บผ้าเป็นไปโดยเรียบร้อย.

    ทรงห้ามเหยียบไม้แบบ ทั้งที่ยังมิได้ล้างเท้า แม้เท้ายังเปียกอยู่ก็ห้ามเหยียบ รวมทั้งห้ามเหยียบไม้แบบทั้งที่ใส่รองเท้า.

    ทรงอนุญาตสนับนิ้ว (เพื่อกันเข็มตำนิ้วในขณะเย็บผ้า) แต่ไม่อนุญาตสนับนิ้วที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตเช่นเดียวกับด้ามมีด คือที่ทำด้วยกระดูก เป็นต้น . ทรงอนุญาตที่ใส่เข็มขัด มีด และสนับนิ้ว และถุงใส่สนับนิ้ว ด้ายสำหรับคล้องบ่า ( เวลานำเครื่องใช้เหล่านั้นติดตัวไป).

    ทรงอนุญาตโรงไม้แบบ (กฐินศาลา) และมณฑปไม้แบบ และทรงอนุญาตให้ยกพื้นกันน้ำท้วม ทรงอนุญาตให้ก่อยกพื้นด้วยอิฐ, ศิลา หรือไม้ ทรงอนุญาตให้มีบันไดและราวบันได ( เพื่อขึ้นสู่ยกพื้น).

    ผงหญ้าในโรงไม้แบบตกลงมา (จากหลังคา) จึงทรงอนุญาตให้ใช้ไม้ระแนงถี่ และฉาบปูน และทาสีเป็นต้น ตลอดจนทรงอนุญาตให้มีห่วงแขวนจีวรและราวจีวร. อนึ่ง เมื่อเสร็จกฐินแล้ว ทรงอนุญาตให้เก็บไม้แบบให้ดี เช่น ให้มีไผ่หรือด้ามไม้ประกบข้างในเพื่อป้องกันไม้แบบแตก, ให้มีเชือกรัด , ให้แขวนไม้แบบไว้กับประสักหรือขอ ( เพื่อกันตก หรือดีกว่าพิงไว้ซึ่งอาจจะล้มลงมาแตก ).

   

ทรงอนุญาตถุงใส่ของ สายคล้องบ่า ผ้ากรองน้ำ และมุ้ง

    ทรงอุนญาตถุงใส่ยา ถุงใส่รองเท้า และสายสำหรับคล้องบ่า, ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้ากรองน้ำ, ผ้ากรองมีด้ามและกระบอกกรองน้ำ เมื่อภิกษุอื่นขอใช้ผ้ากรองน้ำ ภิกษุที่ถูกขอไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ, ภิกษุเดินทางไกล ไม่มีผ้ากรองน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน้ำหรือกระบอกกรองน้ำ ให้อธิษฐานชายผ้าสังฆาฏิเป็นผ้ากรอง . ในการก่อสร้างทรงอนุญาตเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ ๒ ชนิด, และทรงอนุญาตมุ้งสำหรับกันยุง.

   

ทรงอนุญาตการจงกรมและเรือนไฟ เป็นต้น

    ทรงปรารภคำแนะนำของหมอชีวก โกมารภัจจ์ จึงทรงอนุญาตการจงกรม (เดินไปมาอบรมจิตใจเป็นการออกกำลัง) และเรือนไฟสำหรับอบกาย ( ให้เหงื่อออกแบบอาบน้ำด้วยไอน้ำ) ต่อจากนั้นทรงอนุญาตให้ปรับปรุงที่จงกรมให้ดีขึ้น มีโรงจงกรมยกพื้นกันน้ำท้วม , บันได, รวมบันได. ส่วนเรื่อนไฟ ทรงอนุญาตส่วนประกอบและเครื่องปรับปรุงต่าง ๆ เช่น ปล่องไฟ , รางระบายน้ำเพื่อกันน้ำเฉอะแฉะ . ทรงห้ามภิกษุเปลือยกายไหว้กัน หรือถูหลังให้กัน ตลอดจนห้ามเปลือยกายให้ของ , รับของ, เคี้ยวอาหาร, ฉันอาหาร, ลิ้มรส, ดื่มน้ำ, ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น.

    ทรงปรารภน้ำดื่ม จึงอนุญาตให้มีน้ำดื่ม และทรงเครืองประกอบต่าง ๆ ในการนั้น เช่น ขันน้ำทำด้วยโลหะ ทำด้วยไม้ หรือหนังสัตว์ รวมทั้งโรงเก็บน้ำดื่ม ฝาปิดที่เก็บน้ำ รางน้ำ ตุ่มน้ำ.

    ทรงอนุญาตที่อาบน้ำที่มีรางระบายน้ำ มีฝากั้น และทรงอนุญาตผ้าเช็ดตัว .    อนึ่ง ทรงอนุญาตสระน้ำและก่อขอบสระได้ด้วยอิฐ, ศิลา หรือไม้, ทรงอนุญาตให้มีบันได ราวบันได และทรงอนุญาตให้มี เหมืองน้ำท่อน้ำ (เพื่อระบายน้ำในสระ) ในที่สุด ทรงอนุญาตเรือนไฟมุงหลังคาเป็นรูปวงกลม.

   

เรื่องที่นั่ง ที่นอน และที่ใส่อาหาร

    ทรงห้ามอยู่ปราศจากผ้าปูนั่งตลอด ๔ เดือน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุล่วงละเมิด .    ทรงห้ามนอนบนที่นอนที่เกลี่ยด้วยดอกไม้ ทรงอนุญาตให้รับของหอมได้ โดยให้เจิม ๕ นิ้วไว้ที่บานประตู ทรงอนุญาตให้รับดอกไม้ได้ แต่ให้เก็บไว้ข้างในวิหาร. ทรงอนุญาตผ้าปูนั่งที่ทอด้วยขนสัตว์ และไม่ต้องอธิษฐาน (คือตั้งใจเอาไว้ใช้) หรือวิกัป ( ทำให้เป็นสองเจ้าของ).

    ทรงห้ามฉันอาหารในลุ้ง (ภาชนะใส่อาหาร ที่ทำด้วยทองแดง หรือเงิน ฝรั่งสันนิษฐานว่าเป็นเก้าอี้นวมที่ประดับงดงาม ซึ่งไกลไปจากคำอธิบายของอรรถกถา). ภิกษุเป็นไข้ ไม่สามารถถือบาตรไว้ในมือขณะฉันได้ จึงทรงอนุญาตที่รองที่ทำด้วยไม้.

   

ห้ามฉันอาหาร ดื่มน้ำในภาชนะเดียวกัน เป็นต้น

    ทรงห้ามฉันอาหารในภาชนะเดียวกัน, ห้ามดื่มน้ำในถ้วยเดียวกัน , ห้ามนอนร่วมกันบนเตียงเดียวกัน, บนผ้าปูนอนเดียวกัน. ในโปงเดียวกัน ( ใช้ผ้าห่มร่วมกัน ) เหมือนอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

   

การลงโทษคว่ำบาตรแก่วัฑฒะลิจฉวี

    วัฑฒะลิจฉวี เป็นพวกของพระเมตติยะและภุมมชกะ รู้ว่าพระพวกนั้นไม่ชอบพระทัพพมัลลบุตร ( ผู้เป็นพระอรหันต์ ) จึงวางอุบายกำจัดพระทัพพมัลลบุตร โดยไปฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระทัพพลมัลลบุตรทำชู้ด้วยภริยาตน. พระผู้มีพระภาคทรงประชุมมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ว่า เป็นการแกล้งใส่ความกัน จึงทรงแนะสงฆ์ให้ลงโทษคว่ำบาตรแก่วัฑฒะลิจฉวี.

    ทรงกำหนดองค์    ๘. สำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตร คือ    ๑. ขวนขวายเพื่อเลื่อมลาภแก่ภิกษุ ๒. ขวนขวายเพื่อความเสียหายแก่ภิกษุ    ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แก่ภิกษุ    ๔. ด่า หรือบริภาษภิกษุ    ๕. ทำภิกษุให้แตกกับภิกษุด้วยกัน    ๖. ติเตียนพระพุทธ    ๗ . ติเตียนพระธรรม และ    ๘. ติเตียนพระสงฆ์.

    ต่อจากนั้น ทรงแสดงวิธีสวดประกาศคว่ำบาตรโดยละเอียด . เมื่อพระอานนท์ไปแจ้งให้วัฑฒะลิจฉวีทราบว่า บัดนี้สงฆ์ได้คว่ำบาตร ไม่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว วัฑฒะลัจฉวีเสียใจถึงสลบ .   มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึงแนะนำให้ไปกราบทูล ขอขมาพระผู้มีพระภาค ซึ่งวิฑฒะลิจฉวีได้ปฏิบัติตาม . เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเห็นว่าวัฑฒะลิจฉวีสำนึกตนยอมรับผิด จึงตรัสแนะให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร โดยให้วัฑฒะลิจฉวีเข้าไปกราบสงฆ์ขอให้หงายบาตร แล้วให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร.


    ๑. อรรถกถาหมายถึงเมื่อขึ้นจากน้ำควรมีมี่รองเหยียบกันน้ำเลอะเทอะ ต่อไม่มีจึงให้ใช้ผ้า

    ๒.   นลฺลเลขํ   ชนฺตาฆรํ   ในโบราณแปลกันว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุง

   ๓. จากข้อนี้แสดงว่าผ้าปูนั่งเป็นบริขารจำเป็นสำหรับพระ เวลานั่งบนพื้นจีวรจะได้ไม่สกปรก ยิ่งอยู่ป่ายิ่งจำเป็นมาก

    ๑. การคว่ำบาตร คือไม่ยอมรับอาหารจากผู้นั้น ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องด้วย ดูไม่น่ากระทบกระเทือนอะไร แต่เหตุไฉนจึงเสียใจสลบ? เห็นได้ว่า เป็นการเสื่อมเสียทางสังคมอย่างร้ายแรง วัฑฒะลิจฉวีจึงรีบแก้ไขอย่างไม่มีทิฏธิมานะต่อไปอีก


เรื่องผ้าขาวที่ไม่ให้เหยียบและเหยียบได้

    โพธิราชกุมารฉลองปราสาท นิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉัน ทรงให้ปูผ้าขาวไว้ตลอดจนถึงชานบันได พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบ ( มีเกล็ดเล่าว่า โพธิราชกุมารอธิษฐานว่า ถ้าจะได้บุตรขอให้ทรงเหยียบ ) ต่อมาทรงปรารภเรื่องนั้น จึงตรัสห้ามมิให้เหยียบผ้าขาว ถ้าเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ .

    ถ้าเจ้าของงานขอให้เหยียบเพื่อเป็นมงคล ทรงอนุญาตให้เหยียบได้ แม้ผ้าเช็ดเท้า ก็ทรงอนุญาตให้เหยียบได้ .

นางวิสาขาถวายของใช้

    นางวิสาขานำหม้อน้ำ , ที่เช็ดเท้าทำเป็นรูปฝักบัว , ไม้กวาดไปถวาย พระผู้มีพระภาคทรงรับหม้อน้ำและไม้กวาด และตรัสสอนให้ภิกษุใช้ได้ ตรัสห้ามใช้ที่เช็ดเท้าที่ทำเป็นรูปฝักบัว . ส่วนเครื่องเช็ดเท้าที่ทำด้วยหินกระเบื้อง และหินฟองน้ำ ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ .

    นางวิสาขานำพัด และพัดใบตาลไปถวาย ทรงรับและทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้ได้. ทรงอนุญาตให้ใช้พัดสำหรับไล่ตัวแมลง, แต่ไม่ทรงอนุญาตพัดที่ทำด้วยขนจามรี , ทรงอนุญาตพัด ๓ อย่าง คือที่ทำด้วยเปลือกไม้ , ทำด้วยใบเป้ง และที่ทำด้วยขนปีกนกยูง .

ทรงอนุญาตและห้ามใช้ร่ม

    ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ใช้ร่ม ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์กางร่มเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างมหาอำมาตย์ จึงทรงห้ามใช้ร่ม แต่ทรงผ่อนผันให้ใช้ร่มได้เมื่อไม่สบาย เมื่อใช้ภายในวัด หรือบริเวณวัด ( ถือเอาความว่า ถ้าใช้ร่มเพื่อป้องกันแดดฝนธรรมดา ก็อนุญาตให้ใช้ได้ ในข้อว่า ถ้าไม่ใช้ไม่สบาย . แต่ถ้าใช้ร่มเพื่อแสดงเกียรติ เช่น มหาอำมาตย์ หรือพระราชา ทรงห้าม ).

ทรงห้ามและอนุญาตไม้คาน สาแหรก

    ครั้งแรกทรงห้ามภิกษุมิให้ใช้ไม้คาน สาแหรก นำของไปในที่ต่าง ๆ ต่อมามีภิกษุป่วยไข้ ต้องการใช้ไม้คานคอนของไป ก็ทรงอนุญาต โดยให้สงฆ์สวดประกาศสมมติให้เป็นพิเศษ ต่อมามีความจำเป็นที่ภิกษุป่วยไข้จะใช้ทั้งไม้คานทั้งสาแหรก ก็ทรงอนุญาต และให้สงฆ์สวดสมมติเช่นเคย.

เรื่องอาเจียนและเมล็ดข้าว

    ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคอาเจียน อาเจียนออกมาแล้วก็กลืนเข้าไป ถูกกล่าวหาว่าฉันอาหารในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตพิเศษสำหรับภิกษุผู้เป็นโรคนี้ แต่ห้ามว่า ถ้าอาเจียนออกจากปากไปแล้วไม่ให้กลืนกินข้าวไปอีก.

    ในโรงฉันมีเมล็ดข้าวเกลื่อนกล่น มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตว่า ของที่เขาถวายที่ตก ให้เก็บขึ้นฉันเองได้ เพราะทายกบริจากสิ่งของนั้นแล้ว ( ในข้อนี้เพ่งเล็งเฉพาะไม่เป็นอาบัติ เมื่อฉันของไม่ได้รับประเคน แต่ถ้าเพ่งว่าของนั้นจะสกปรกก็จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ในเรื่องนี้ไม่บังคับให้ฉันของตก แต่อนุญาตว่า ของตกเมื่อเขาถวายแล้ว ให้หยิบขึ้นมาฉันเองได้ จึงจะน่าเลือกดูว่า ในกรณีที่ของนั้นไม่สกปรก ก็ควรฉันได้. เรื่องนี้ผู้เขียนได้เคยแปลกใจมาแล้ว เมื่อเคยรับประทานร่วมกับชาวยุโรปบ่อย ๆ เศษขนมปัง เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตกอยู่ข้างจาน เห็นเขาเอานิ้วจิ้มให้ติด แล้วเอาเข้าปาก).

ทรงอนุญาตมีดตัดเล็บ เป็นต้น

    ทรงห้ามไว้เล็บยาว ภิกษุผู้ไว้เล็บยาว ต้องอาบัติทุกกฏ และทรงอนุญาตมีดตัดเล็บ ให้ตัดพอเสมอเนื้อ ทรงห้ามขัดเล็บให้เกลี้ยงเกลาทั้ง ๒๐ นิ้ว ( เพื่อสวยงาม) ทรงปรับอาบัติทุกกฏ . การนำมูลเล็บออกทรงอนุญาต.

เรื่องผมและหนวดเครา

    ทรงถามว่า จะสามารถโกนศีรษะกันเองได้หรือไม่ เมื่อภิกษุทั้งหลายรับว่าได้ จึงทรงอนุญาตมีดโกน , หินลับมีด , ฝักมีดโกน, เครื่องสำบัดมีดโกน และเครื่องใช้เกี่ยวกับมีดทุกชนิด. ( เฉพาะภิกษุผู้เคยเป็นช่างตัดผม มีห้ามไว้ในที่อื่น มิให้มีเครื่องมีดโกนไว้ใช้ ด้วยเกรงจะอยากไปประกอบอาชีพนั้นอีก).

    ภิกษุฉัพพัคคีย์แต่งหนวดด้วยการไตร และไว้หนวดไว้เคราเป็นรูปร่างต่าง ๆ รวมทั้งให้นำขนในที่แคบออก ทรงห้ามและปรับอาบัติทุกกฏ. ในกรณีที่ป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้นำขนในที่แคบออกได้ เช่นเมื่อเป็นเเผลหรือต้องการทายา.

    ทรงห้ามตัดผมด้วยกรรไตร ทรงอนุญาตให้ใช้มีดโกน แต่ถ้าป่วยไข้ ทรงอนุญาตให้ตัดผมด้วยกรรไตรได้.

    ทรงห้ามไว้ขนจมูกยาว เพราะมีผู้ติเตียน ทรงอนุญาตให้ถอนด้วยแหนบ ทรงห้ามถอนผมหงอกและปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด.

เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด

    ทรงอนุญาตเครื่องแคะหู แต่ไม่อนุญาตที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตเครื่องแคะหูที่ทำด้วยกระดูกงา เขาสัตว์ เป็นต้น.

    ทรงห้ามสะสมเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะและสำริด และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด ทรงอนุญาตปลอกหรือฝักยาตา, ไม้ป้ายยาตา, ไม้แคะหู.

เครื่องใช้ที่เป็นผ้า

    ทรงห้ามรัดเข่าด้วยใช้ผ้าสังฆาฏิรัด และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด แต่ภิกษุบางรูปป่วยไข้ไม่มีเครืองรัดเข่าก็ไม่สบาย จึงทรงอนุญาตเครื่องรัดเข่า ทรงอนุญาตเครื่องมือของช่างหูกทุกชนิด เพื่อให้ทำเชือกรัดเข่า ( การรัดเข่าของคนในครั้งนั้น มี ๓ ชนิด คือรัดด้วยเครื่องวัด ( อาโยคปัลลัตถิกา), รัดด้วยมือ ( หัตถปัลลัตถิกา) และรัดด้วยผ้า ( ทุสสปัลลัตถิกา) เป็นความเคยชินที่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่สบาย โดยปกติเครื่องรัดนั้น ก็รัดโอบหลัง ตะโพกและเข่า เมื่อคล้องลงไปแล้วก็นั่งอย่างสบาย อนึ่ง ในเรื่องนี้ถึงกับทรงอนุญาตให้พระทอเครื่องรัดเข่าเองได้ แสดงว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ต้องเสียเวลามากเหมือนทอผ้า เพราะไม่เช่นนั้นพระจะกังวลด้วยการงานชนิดนี้ จนไม่เป็นอันศึกษา หรืออบรมจิตใจ).

    ทรงห้ามเข้าบ้านโดยไม่มีประคดเอว ( เพราะปรากฏว่าภิกษุรูปหนึ่งผ้านุ่งหลุดในบ้าน ) ทรงห้ามประคดเอวที่ถักสวยงาม มีทีทรวดทรงต่าง ๆ ซึ่งคฤหัสถ์สมัยนั้นนิยมใช้กัน . ทรงอนุญาตประคดเอวที่ทอตามปกติ ที่เรียกว่าประคดแผ่น และชนิดไส้สุกร ทรงอนุมัติวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประคดมั่นคง เช่น การทอและเย็บชายให้มั่นคง ในที่สุดทรงอนุญาต ลูกถวิน คือห่วงสำหรับร้อยประคดเอว ทรงห้ามใช้ ลูกถวินที่ทำด้วยทอง เงิน ทรงอนุญาตลูกถวินที่ทำด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์, ไม้อ้อ, ไม้ไผ่, ไม้แก่น, ยางไม้, ผลไม้ ( เช่น ) กะลามะพร้าว ), โลหะ , ขนดสังข์และด้ายถัก.

    ทรงอนุญาตลูกดุมและรังดุมสำหรับสังฆาฏิ ( เวลาห่มเข้าบ้านลมจะได้ไม่พัดให้สังฆาฏิเปิด) และทรงอนุญาตและทรงห้ามลูกดุมอย่างเดียวกับลูกถวิน.

    ทรงอนุญาตให้ติดแผ่นผ้าสำหรับติดลูกดุม และรังดุม ( เพื่อกันจีวรชำรุด) เมื่อติดแล้ว มุมจีวรยังเปิด ก็ทรงอนุญาตให้ติดลูกดุมที่ชายจีวร ส่วนรังดุมให้ติดลึกเข้าไป ๗ หรือ ๘ นิ้ว.

    ทรงห้ามนุ่งห่มแบบคฤหัสถ์ เช่น นุ่งแบบงวงช้าง , นุ่งแบบหางปลา , นุ่งแบบปล่อย ๔ ชาย , นุ่งแบบก้านตาล และนุ่งยกกลีบ. อนึ่ง ทรงห้ามห่มผ้าแบบคฤหัสถ์ และห้ามนุ่งผ้าหยักรั้ง แบบนักมวยปล่ำและกรรมกร.

เรื่องหาบหาม

    ทรงห้ามหาบของโดยมีของอยู่ ๒ ด้าน ( คนหาบอยู่กลาง) เพราะมีผู้กล่าวว่าทำเหมือนคนหาบของพระราชา. ทรงอนุญาตการคอน ( มีของด้านเดียว), การหาม ( ของอยู่กลาง คนอยู่ ๒ ข้าง), การแบกบนศีรษะ, การแบกบ่า, การแบกบนบ่า, การกระเดียด ( ที่สะเอว) และการสะพาย ( ห้อย หรือแขวน ).

การเคี้ยวไม้สีฟัน

    ทรงแสดงโทษในการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ และแสดงอานิสงส์ ( ผลดี ) ในการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ มีแปลไว้ในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก .. หมายเลข ๖๓ , ๖๔     ทรงห้ามเคี้ยวไม้สีฟัน ยาวเกิน ๘ นิ้ว และห้ามเอาไม้สีฟันตีสามเณร ทรงห้ามเคี้ยวไม้สีฟันสั้นเกิน ๔ นิ้ว และปรับอาบัติทุกกฏเมื่อล่วงละเมิด.

ห้ามจุดป่าและขึ้นไม้

    ทรงห้ามเผาป่าและปรับอาบัติทุกกฏ. เมื่อไฟไหม้ป่าลามมา ทรงอนุญาตให้จุดไฟรับได้. ทรงห้ามขึ้นต้นไม้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอนุญาตให้ขึ้นได้แค่ตัวคน แต่ถ้ามีอันตราย ทรงอนุญาตให้ขึ้นสูงได้ตามต้องการ.

ห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์

    ทรงห้ามยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์ ทรงอนุญาตให้เรียนพุทธวจนะด้วยภาษาของตนได้ ( อรรถกถาแก้ว่า ห้ามยกพุทธวจนะขึ้นสู่ภาษาสันสกฤต ทำนองพระเวทของพราหมณ์ แต่มีสันนิษฐานว่า ห้ามแต่งถ้อยคำของพระพุทธเจ้าเป็นคำฉันท์ เพราะอาจทำให้ความหมายเดิมผิดเพี้ยน หรือบิดผันไปตามบังคับหนักเบาของคำฉันท์ ยิ่งถ้าผู้แต่งไม่แตกภาษาเพียงพอ ก็จะเป็นการทำร้ายพุทธวจนะ มำให้เนื้อความแปรปรวนไป แต่การแต่งห้ามทั้งนี้น่าจะหมายความว่า การแต่งเพื่อใช้เป็นตำรับตำรา ซึ่งจะต้องท่องจำเล่าเรียนศึกษาส่วนการแต่งสดุดีตามปกติอันเป็นของส่วนบุคคลไม่อยู่ในข้อนี้. ในเรื่องเดิมเล่าถึง ภิกษุผู้เกิดในสกุลพราหมณ์ ๒ รูป ไปขออาสาต่อพระผู้มีพระภาค เพื่อจะยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันท์ แต่ทรงปฏเสธและบัญญัติข้อห้ามไว้ด้วย. )

ห้องเรียนห้ามสอนโลกายตะและติรัจฉานวิชชา

    ทรงห้ามเรียนห้ามสอนโลกายตะ ( ได้แก่คติที่ถือว่า ควรความสูขไปวัน ๆ หนึ่งดีกว่า จะไปคำนึงถึงบุญปาบทำไม ควรร่าเริงกินเหล้า เป็นหนี้เป็นสินตามชอบใจ ซึ่งหนักไปทางวัตถุนิยม แต่ในอรรถกถาแก้ว่า เป็นคัมภีร์ หรือตำราของพวกนอกศาสนา เช่น ว่าด้วยกาเผือก นกยางดำ ในที่บางแห่งแก้ว่า เป็น วิตัณฑาศาสตร์ ซึ่งเป็นเเขนงหนึ่งในการศึกษาของพราหมณ์) รวมทั้งห้ามเรียน ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา ( วิชาภายนอกที่ไม่มีประโยชน์ ) ทรงปรับอาบัติแก่ผู้ล่วงละเมิด.

ห้ามถือโชคลาง แต่ไม่ขัดใจคนอื่น

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคกำลังแสดงธรรม ทรงจามขึ้น. ภิกษุทั้งหลายก็ส่งเสียงร้องดังขึ้นว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงเจริญพระชนม์ จนเป็นอุปสัคแก่การแสดงธรรม . พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เมื่อพูดเช่นนั้น จะทำให้มีชีวิตหรือให้ตายไปได้จริง ๆ หรือ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เป็นไปได้ จึงตรัสห้ามพูดแก้ลางแบบนั้นเมื่อมีการจาม และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

    แต่เป็นธรรมเนียมของคนในครั้งนั้น ถ้าพระภิกษุจามและชาวบ้านพูดว่า ขอให้ท่านมีชีวิตอยู่ พระจะต้องกล่าวตอบ ( โดยอาศัยไมตรี) ว่า ขอให้ท่านมีชีวิตอยู่เช่นกัน. ภิกษุทั้งหลายไม่กล้ากล่าวตอบเกรงจะผิดพระพุทธบัญญัติ พระผู้มีพระภาคจึงทรงผ่อนผันให้กล่าวตอบเขาได้. ( แต่ไม่ให้ใช้กันเองในหมู่ภิกษุ ).

ห้ามฉันกระเทียม

    ภิกษุรูปหนึ่งฉันกระเทียม เกรงภิกษุอื่นจะเหม็นเวลานั่งฟังธรรม เลยนั่งห่างจากภิกษุอื่น ๆ ไม่เข้าใกล้ใคร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงห้ามฉันกระเทียม และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันได้. ( คงหมายถึงฉันกระเทียมเปล่า ๆ ถ้าฉันปนกับของอื่น หรือเขาปรุงเสร็จแล้ว ไม่น่าจะอยู่ในข้อห้ามนี้. ถ้าจะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการห้าม ก็จะเห็นได้ว่าเพื่อไม่ให้เข้าหมู่ไม่ได้ หรือทำความรำคราญแก่หมู่ หรือเป็นเหตุให้เสียการฟังธรรม เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องกลิ่นแรงของกระเทียม จึงเป็นประเด็นสำคัญในที่นี้ ).

ทรงอนุญาตที่ถ่ายปัสสาวะอุจจระ

    ในเรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ ที่รองเหยียบเวลานั่งถ่าย ฝาหรือกำแพงสำหรับกั้นที่ทำด้วยอิฐ, ศิลาหรือไม้ รวมทั้งฝาปิดหม้อปัสสาวะ ( เพื่อกันกลิ่นเหม็น)

    ในเรื่องอุจจาระทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ และให้ก่อยกพื้นให้สูง เพื่อกันน้ำท้วม ให้มีบันไดและราวบันได    ให้ลาดพื้น     เจาะช่องตรงกลาง ให้มีเขียงรองเหยียบ ให้มีรางปัสสาวะให้ใช้ไม้ชำระ ที่ใส่ไม้ชำระ และฝาปิดหลุ่มอุจจาระ และให้มีโรงถ่ายโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าวัจจกุฏิ มีฝาหรือกำแพง พร้อมทั้งเครื่องประกอบ เช่น     ดาล    กลอน    เชือกชัก     ราวพาดจีวร     เป็นต้น. อนึ่ง ได้ทรงอนุญาตให้มีซุ้มสำหรับชำระ เมื่อเสร็จจากอุจจาระแล้ว ให้มีรางระบายน้ำ ให้มีหม้อน้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ และเขียงรองขณะชำระ ตลอดจนฝาหรือกำแพง.

ทรงห้ามประพฤติอนาจาร

    ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารมีประการต่าง ๆ เช่น ประจบคฤหัสถ์ เกี่ยวข้องกับสตรีมากไป เล่นฟ้อนรำขับร้อง เล่นกีฬาสนุกต่าง ๆ ทรงห้ามทำเช่นนั้น และให้ปรับอาบัติตามควรแก่ความผิด.

ทรงอนุญาตเครื่องใช้

    พระอรุเวลกัสสปบวชแล้ว ก็มีผู้ถวายเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ , ทำด้วยไม้, ทำด้วยดินเหนียว, ท่านสงสัยว่าทรงอนุญาตไว้หรือเปล่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้ใช้ได้.

   

. เสนาสนขันธกะ

( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย) ทรงอนุญาตที่อยู่    ๕ ชนิด

    เศรษฐีกรุงราชคฤห์เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวนาราม ใคร่จะสร้างวิหารถวาย จึงขอให้ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ทรงอนุญาตที่อยู่     ๕ ชนิด คือ     ๑. วิหาร ( กุฏิปกติ)     ๒. เพิง ( อัฑฒโยคะ)     ๓. เรื่อนเป็นชั้น ๆ ( ปราสาท)     ๔ . เรือนโล้น หรือหลังคาตัด ( หัมมิยะ) และ    ๕ ถ้ำ ( คูหา).

    ภายหลังเมื่อมีคนทราบว่าทรงอนุญาตวิหาร หรือที่อยู่แก่สงฆ์ จึงสร้างที่อยู่ถวายเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติม ให้ที่อยู่นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น     ประตู ,     กลอน,     ลิ่มสลัก,    หน้าต่าง, หน้าต่างมีลูกกรง เป็นต้น.

ทรงอนุญาตที่ถ่ายปัสสาวะอุจจระ

ในเรื่องปัสสาวะ ทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่จัดไว้ ทรงอนุญาตหม้อปัสสาวะ ที่รองเหยียบเวลานั่งถ่าย ฝาหรือกำแพงสำหรับกั้นที่ทำด้วยอิฐ, ศิลาหรือไม้ รวมทั้งฝาปิดหม้อปัสสาวะ ( เพื่อกันกลิ่นเหม็น)

    ในเรื่องอุจจาระทรงอนุญาตให้ถ่ายในที่ที่จัดไว้ ให้มีหลุมอุจจาระ และให้ก่อยกพื้นให้สูง เพื่อกันน้ำท้วม ให้มีบันไดและราวบันได ให้ลาดพื้น เจาะช่องตรงกลาง ให้มีเขียงรองเหยียบ ให้มีรางปัสสาวะให้ใช้ไม้ชำระ ที่ใส่ไม้ชำระ และฝาปิดหลุ่มอุจจาระ และให้มีโรงถ่ายโดยเฉพาะ ที่เรียกว่าวัจจกุฏิ มีฝาหรือกำแพง พร้อมทั้งเครื่องประกอบ เช่น ดาล กลอน เชือกชัก ราวพาดจีวร เป็นต้น. อนึ่ง ได้ทรงอนุญาตให้มีซุ้มสำหรับชำระ เมื่อเสร็จจากอุจจาระแล้ว ให้มีรางระบายน้ำ ให้มีหม้อน้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ และเขียงรองขณะชำระ ตลอดจนฝาหรือกำแพง.

ทรงห้ามประพฤติอนาจาร

    ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารมีประการต่าง ๆ เช่น ประจบคฤหัสถ์ เกี่ยวข้องกับสตรีมากไป เล่นฟ้อนรำขับร้อง เล่นกีฬาสนุกต่าง ๆ ทรงห้ามทำเช่นนั้น และให้ปรับอาบัติตามควรแก่ความผิด.

ทรงอนุญาตเครื่องใช้

    พระอรุเวลกัสสปบวชแล้ว ก็มีผู้ถวายเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ , ทำด้วยไม้, ทำด้วยดินเหนียว, ท่านสงสัยว่าทรงอนุญาตไว้หรือเปล่า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้ใช้ได้.

    ๒ . เสนาสนขันธกะ ( หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย) ทรงอนุญาตที่อยู่ ๕ ชนิด

    เศรษฐีกรุงราชคฤห์เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวนาราม ใคร่จะสร้างวิหารถวาย จึงขอให้ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ทรงอนุญาตที่อยู่ ๕ ชนิด คือ ๑. วิหาร ( กุฏิปกติ) ๒. เพิง ( อัฑฒโยคะ) ๓. เรื่อนเป็นชั้น ๆ ( ปราสาท) ๔ . เรือนโล้น หรือหลังคาตัด ( หัมมิยะ) และ ๕ ถ้ำ ( คูหา).

    ภายหลังเมื่อมีคนทราบว่าทรงอนุญาตวิหาร หรือที่อยู่แก่สงฆ์ จึงสร้างที่อยู่ถวายเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติม ให้ที่อยู่นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ประตู , กลอน, ลิ่มสลัก, หน้าต่าง, หน้าต่างมีลูกกรง เป็นต้น.

เครื่องนั่งเครื่องนอน

    ทรงอนุญาตเตียงนอน ( เพื่อไม่ต้องนอนบนพื้นดิน) และตั่งสำหรับนั่งหลายชนิด ทรงอนุญาตอาสันทิกะ ( ม้าสี่เหลี่ยม) ทั่งชนิดที่สูง และชนิดที่มีส่วน ๗ (ที่เท้าแขน ๒ ที่พิง ๑ และที่เท้า ๔ มีลักษณะตรงกับเก้าอี้เท้าแขนหรืออาร์มแชร์) และเตียงตั่งอีกหลายชนิด ทรงห้ามใช้เตียงสูง แต่ให้มีที่รองเตียงได้ ที่รองเตียงมิให้สูงเกิน ๘ นิ้ว และทรงอนุญาตส่วนประกอบอื่น ๆ . ทรงอนุญาตหมอนยัดนุ่น ๓ ชนิด คือนุ่นต้นไม้, ไม้เลื้อยและหญ้า ( โปฏกี). ทรงห้ามใช้หมอนยาวครึ่งตัว โดยใช้หมอนขนาดพอกันกับศีรษะ. ทรงอนุญาตฟูกยัดด้วยของ ๕ ชนิด คือ ขนสัตว์, เศษผ้า , เปลือกไม้, หญ้าและใบไม้.

    ต่อจากนั้นเป็นการอนุญาตการห้ามเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเบ็ดเตล็ดอีกเป็นอันมาก เช่น ห้ามเขียนรูปผู้หญิง ชายในวิหาร ลงท้ายด้วยทรงอนุญาตหลังคา ๕ ชนิด คือที่ทำด้วยอิฐ, ศิลา, ปูนขาว, หญ้าใบไม้.


อนาถปิณฑิกคฤหบดีนับถือพระพุทธศาสนา

    อนาถปิณฑิกคฤหบดี (เศรษฐีชาวกรุงสาวัตถี) ผู้เป็นสามีของน้องสาวแห่งเศรษฐีกรุงราชคฤห์ เดินทางไปกรุงราชคฤห์ ทราบว่าพระพุทธเจ้าเกินขึ้นในโลกแล้ว และเศรษฐีกรุงราชคฤห์กำลังเตรียมถวายอาหารบิณฑบาต จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้สดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรม ( เป็นพระโสดาบัน) เมื่อได้ถวายภัตตาหารในวันต่อมาแล้ว จึงอาราธนาพระผู้มีพระภาคไปจะพรรษา ณ กรุงสาวัตถี และได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อน เมื่อไปถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ก็ได้ซื้อสวนนอกเมืองแปลงหนึ่งจากราชกุมาร ชื่อเชตะ สร้างเชตวนารามขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา.

ตั้งภิกษุผู้ควบคุมการก่อสร้าง

    พระผู้มีพระภาคเสด็จจากกรุงราชคฤห์ มาทางกรุงไพศาลี ประทับ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวันตรัสอนุญาตให้สงฆ์ให้สงฆ์สวดประกาศแต่งตั้งภิกษุผู้ควบคุมการก่อสร้างวิหาร ซึ่งคฤหบดีผู้หนึ่งสละทรัพย์สร้าง.

ลำดับอาวุโส

    ในการเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ( จากกรุงไพศาลี) ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของภิกษุฉัพพัคคีย์ มักจะเดินทางล่วงหน้าเที่ยวจองที่พักไว้มากมาย เพื่ออุปัชฌายะ เพื่ออาจารย์และเพื่อตัวเอง เป็นเหตุให้พระอื่น ๆ เช่น พระสารีบุตรหาที่พักไม่ได้ ต้องไปพักที่โคนไม้. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสให้เรียกประชุมสงฆ์กำหนดให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติชอบต่อกัน และให้สิทธิต่าง ๆ เช่น ได้รับการกราบไหว้ ลุกขึ้นต้อนรับการทำอัญชลี การแสดงความเคารพ การได้อาสนะที่ดี ได้น้ำที่ดี ได้อาหารที่ดี ตามลำดับอาวุโส ( แก่พรรษากว่า) ผู้ใดปฏิเสธการถือเอาตามลำดับอาวุโสเกี่ยวกับสงฆ์ ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ.

บุคคลผู้ไม่ควรไหว้ ๑๐ ประเภท.

    ทรงแสดงถึงบุคคลที่ ( ภิกษุ) ไม่ควรไหว้ ๑๐ ประเภท คือ ๑ . ผู้บวชภายหลัง ไม่ควรที่ผู้บวชก่อนจะไหว้ ๒. ผู้ไม่ได้บวช ไม่ควรที่ผู้บวชจะไหว้ ๓. ภิกษุที่เป็นนานาสังวาส ( ต่างนิกายกัน) แก่กว่า ถ้าพูดไม่เป็นธรรมก็ไม่ควรไหว้ ๔. มาตุคาม ( ผู้หญิง ) อันภิกษุไม่ควรไว้ ๕. กะเทย ๖. ภิกษุที่อยู่ปริวาส ๗. ภิกษุผู้ควรสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเทส ทั้งหมดนี้ ไม่ควรที่ภิกษุจะพึงไหว้.

บุคคลผู้ควรไหว้ ๓ ประเภท

    ๑. ผู้บวชก่อน ควรที่ผู้บวชทีหลังจะไหว้ ๒. ภิกษุที่เป็นนานาสังวาส ( ต่างนิกายกัน ) แก่กว่าถ้าพูดเป็นธรรมก็ไหว้ ๓. พระตถาคตหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ควรไหว้.

มณฑปที่สร้างอุทิศสงฆ์

    ศิษย์ของภิกษุฉัพพัคคีย์ถือโอกาสเลี้ยงข้อบัญญัติที่ให้ถือเอาตามลำดับอาวุโสเกี่ยวกับสงฆ์ เมื่อมีผู้สร้างมณฑปอุทิศแก่สงฆ์ ก็เที่ยวจับจองแย่งที่ให้อุปัชฌายะ ให้อาจารย์ และเพื่อตนเอง โดยอ้างว่า ที่ห้ามนั้น ห้ามเฉพาะของสงฆ์ ไม่ได้ห้ามเกี่ยวกับที่อยู่ที่มีผู้สร้างขึ้นอุทิศสงฆ์ ( เป็นการอ้างเกี่ยวถ้อยคำที่ห้าม) พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ก็ทรงห้ามเช่นนั้นอีก และปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.

ที่นั่งต่างชนิดของคฤหัสถ์

    เมื่อคนทั้งหลายนิมนต์พระไปฉันในโรงฉันในละเเวกบ้าน ก็จัดที่นั่งต่างชนิดหลายอย่าง ( ดี ๆ ตามคฤหัสถ์ใช้) ครั้งแรกทรงห้ามกำหนดอาสันทิ บัลลังก์ และของยัดนุ่น ภายหลังทรงอนุญาตให้นั่งทับเครื่องนั่งของคฤหัสถ์ (ทุกชนิด) แต่ไม่ให้นอนทับ.

การถวายเชตวนาราม

    เมื่อเสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว อนาถฑิกคฤหบดีนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น. เมื่อถวายภัตตาหารเสร็จกราบทูลถามว่า จะปฏิบัติอย่างไรเกี่ยวกับเชตวนาราม. ตรัสให้ถวายแก่สงฆ์ ๔ ทิศ ทั้งที่มาแล้ว และยังไม่มาสู่เชตวนาราม.

ปัญหาลำดับอาวุโสเพิ่มเติม

    ทรงห้ามภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ไล่ภิกษุอ่อนกว่าที่กำลังฉันค้างอยู่ เพื่อเข้านั่งแทน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น ( พระอุปนนทะมาช้า ไล่ภิกษุอื่น เกิดโกลาหลในขณะฉัน). แต่ก็ทรงยืนยันสิทธิในที่นั่งตามลำดับอาวุโส ซึ่งภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าจะปฏิเสธไม่ได้.

    ตรัสห้ามไล่ที่ภิกษุไข้ เพื่อถือเอาที่อยู่ตามลำดับอาวุโส ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไล่ . ภิกษุฉัพพัคคีย์ถือโอกาสที่ตนเป็นไข้ เลือกเสนาสนะดี ๆ ด้วยคิดว่า ใครไล่ตนไม่ได้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้จัดที่นอนตามสมควรแก่ภิกษุไข้ ( ไม่ใช้เลือกเองตามชอบใจ).

    ภิกษุฉัพพัคคีย์อ้างเลศ กีดกันเสนาสนะ และถือสิทธิฉุดคร่าภิกษุพวก ๑๗ รูปออกจากที่อยู่ ทรงห้ามทำเช่นนั้น และปรับอาบัติทุกกฏในกรณีกีดกันเสนาสนะโดยอ้างเลศ และปรับอาบัติปาจิตตีย์ ในกรณีฉุดคร่า ..มีในพระวินัย เล่ม ๒ สิกขาบทที่ ๗. เพราะปรารภเหตุเหล่านี้ จึงตรัสให้จัดสรรภิกษุถือเสนาสนะ คือเข้าอยู่อาศัย โดยแต่งตั้งภิกษุผู้จัดสรร.

การจัดสรรที่อยู่อาศัย

    ทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุผู้จัดสรรที่อยู่อาศัย ( เสนาสนคาหาปกะ) ๕ ประการ คือ ๑ . ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว และ ๕. รู้จักเสนาสนะ ที่จัดสรรแล้วยังมิได้จัดสรร.

    ทรงแนะวิธีสวดประกาศแต่งตั้งภิกษุผู้จัดสรรที่อยู่อาศัยเป็นการสงฆ์ แล้วตรัสแนะวิธีจัดสรร โดยให้นับภิกษุก่อนแล้วให้นับที่นอน นับแล้วให้จัดสรรที่อยู่ตามที่นอน. เมื่อจัดสรรแล้ว ยังมีที่นอนเหลือ ให้จัดสรรตามจะนวนวิหาร ( กุฏิ) ถ้ากุฏิยังเหลือก็ให้จัดตามจำนวนบริเวณ ถ้าบริเวณยังเหลือก็ให้แบ่งส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้อีก. เมื่อได้รับส่วนรับส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว ถ้ามีภิกษุอื่นมา แม้ไม่อยากให้ก็ต้องให้. ทรงห้ามจัดสรรที่อยู่อาศัยแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา และทรงห้ามยึดครองที่อยู่อาศัยตลอดกาล, อนุญาตเพียง ๓ เดือน ต่อจากนั้นจะหวงห้ามไม่ได้.

    ทรงแสดงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ( เสนาสนคาหะ) ว่ามี ๓ อย่าง คือ ๑. การจัดสรร ตอนต้น คือ ในวันใกล้เข้าพรรษาแรก ๒ . การจัดสรร ตอนหลัง คือในวันใกล้เข้าพรรษาหลัง และ ๓. การจัดสรร ที่นอกจากระหว่างพรรษา คือเมื่อใกล้จะถึงวันปวารณา จัดเพื่อให้จำพรรษาคราวต่อไป.

    ทรงห้ามภิกษุรูปเดียวหวงห้ามที่อยู่อาศัยไว้ถึง ๒ แห่ง ถ้าทำเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

การนั่งต่ำนั่งสูง

    ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้สอนที่บวชใหม่นั่งอาสนะเสมอหรือสูงกว่าได้ และให้ภิกษุผู้เป็นเถระ ( แก่กว่า) ที่เรียนนั่งอาสนะเสมอหรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพในธรรม ( ในปัจจุบันนี้ ภิกษุที่แสดงธรรมแม้พรรษาน้อยก็ขึ้นนั่งบนธรรมมาสน์สูงกว่าภิกษุทั้งปวง).

    ทรงอนุญาตให้ภิกษุที่มีสิทธิในการนั่งเสมอกัน นั่งรวมกันได้ คือภิกษุที่มีพรรษาไล่เลี่ยกันภายใน ๓ ปี . ภิกษุที่มีสิทธิในการนั่งเสมอกัน นั่งเตียงตั่งเดียวกัน เตียงตั่งพังลงมา จึงทรงจำกัดจำนวนให้นั่งไม่เกิน ๓ รูป เตียงตั่งก็ยังพังอีก จึงให้นั่งได้เพียง ๒ รูป. ส่วนที่นั่งยาว แม้ภิกษุจะมีสิทธิในการนั่งไม่เสมอกันก็ให้นั่งรวมกันได้ เว้นแต่กระเทย , ผู้หญิง, ผู้มีอวัยวะเพศทั้งสองเพศ . มีปัญหาว่า อย่างไรจึงจัดว่าเป็นที่นั่งยาวจึงกำหนดว่า ถ้านั่งได้ถึง ๓ คน ก็จัดเป็นที่นั่งยาวอย่างต่ำที่สุด ( มากกว่านั่นไม่มีปัญหา).

ปราสาทและเครื่องนั่งนอนต่าง ๆ

    ทรงอนุญาตให้ใช้ปราสาทได้ทุกชนิด ( ปราสาท คือเรือนเป็นชั้น ๆ ) ส่วนเครื่องนั่งนอน เป็นต้น ของคฤหัสถ์รวมหลายอย่าง ซึ่งถวายแก่สงฆ์ เมื่อคราวพระอัยยิกา ( ยาย) ของพระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นพระชนม์นั้น ทรงอนุญาตให้ตัดเท้าอาสันทิ ( ตั่งสี่เหลี่ยม) แล้วใช้ได้ ส่วนบัลลังก์ ( เก้าอี้นวม) ให้รื้อขนสัตว์ออกใช้ได้, เครื่องใช้ยัดนุ่น ให้รื้อนุ่นมายัดหมอน ส่วนเครื่องใช้ที่เหลือ ให้ใช้เป็นเครื่องปูพื้น.

ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นอีก

    ภิกษุที่อยู่ประจำในวัดใกล้หมู่บ้าน มีภิกษุอื่นผ่านไปมาเสมอ ลำบากด้วยการจัดที่อยู่อาศัย เพื่อแก้ข้อขัดข้องนี้ สงฆ์จึงประชุมกันมอบหน้าที่อยู่อาศัยให้ภิกษุรูปหนึ่งเสีย ทุกรูปจึงได้อยู่อาศัยด้วยการให้ของภิกษุรูปนั้น เมื่อมีภิกษุผ่านไปมาจะขอพักอาศัย ก็อ้างว่า ได้ยกให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว ไม่มีที่จะให้พัก พระผู้มีพระภาคจึงทรงวางหลักเกณฑ์เพิ่มเติม คือ  :-

สิ่งที่จะสละ ( ให้ใคร ๆ ) ไม่ได้ ๕ หมวด

    ของ ๕ อย่าง ที่สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล จะสละให้ใคร ๆ ไม่ได้ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ ผู้สละ ( หรือยกให้) ต้องอาบัติถุลลัจจัย คือ ๑. วัดและที่ตั้งวัด ๒. วิหารและที่ตั้งวิหาร (หมายถึงกฏิที่อยู่ทั่วไป) ๓. เตียง, ตั่ง , ฟูก, หมอน, ๔ . เครื่องใช้โลหะ, คือหม้อโลหะ , อ่างโลหะ, กระถางโลหะ, กะทะโลหะ, มีดใหญ่ หรือพร้าโต้, ขวาน, ผึ่งสำหรับถากไม้, จอบ หรือเสียม , สว่านสำหรับเจาะไม้ ( สิ่วก็อยู่ในข้อนี้) ๕ . เถาวัลย์ เช่น หวาย, ไม้ไฝ่ , หญ้ามุงกระต่าย, หญ้าปล้อง, หญ้าสามัญ,

    ดินเหนียว, ของทำด้วยไม้, ของทำด้วยดินเผา ( ที่ห้ามนี้ คือไม่ให้เอาของสงฆ์ไปเป็นของบุคคล).

    ภายหลังทรงเพื่มข้อความให้มากขึ้น จากคำว่า ไม่ให้สละ เป็นไม่ให้แบ่ง ไม่ให้แจก ของ ๕ หมวดดังที่กล่าวแล้ว ผู้ใดแบ่ง หรือแจก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

การควบคุมการก่อสร้าง

    ห้ามมอบหมายการควบคุมการก่อสร้างในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ติดประตู , ทาสี , มุงหลังคา และห้ามมอบหมายการควบคุมการก่อสร้างนานเกินไป เช่น ๒๐- ๓๐ ปี หรือตลอดชีวิต หรือจนถึงเวลาเผาศพผู้รับมอบหมาย.

    ห้ามมอบหมายการก่อสร้างวิหารหมดทุกอย่าง, ห้ามมอบการก่อสร้าง ๒ อย่างแก่ภิกษุรูปเดียว. ภิกษุผู้รับมอบการก่อสร้าง จะถือสิทธิหวงห้ามที่อยู่ของสงฆ์ไม่ได้. ภิกษุอยู่นอกสีมา ห้ามมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง. ภิกษุผู้ควบคุมการก่อสร้าง จะครอบครองที่อยู่อาศัยได้เพียง ๓ เดือน ห้ามครอบครองตลอดไป เมื่อพ้น ๓ เดือน ต้องยินยอมให้จัดสรรใหม่.

    ภิกษุผู้ควบคุมการก่อสร้างพอรับมอบหรือทำค้างไว้ สึกไปหรือเดินทางไปที่อื่น เป็นต้น ให้มอบให้ผู้อื่นทำการแทน . ต่อจากนั้นเป็นการแสดงสิทธิในสิ่งก่อสร้างว่าในกรณีเช่นไรเป็นของสงฆ์ เป็นของบุคคล.

การขนย้ายของใช้และรักษาที่อยู่อาศัย

    ห้ามย้ายของใช้ประจำที่อยู่อาศัยแห่งหนึ่งไปที่อื่น ( ผิดความประสงค์ของผู้ถวาย), ขอยืมไปชั่วคราวได้, นำไปเพื่อรักษาไม่ให้เสียหายได้, แลกเปลี่ยน ( ผาติกรรม) ได้ ในกรณีที่ของนั้นราคาแพงเกินไป ( ไม่เหมาะแก่สงฆ์จะใช้สอยเอง). ต่อจากนั้นเป็นการอนุญาตเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องเช็ดเท้า และให้รักษาที่อยู่อาศัย ไม่ให้เหยียบทั้งที่เท้าเปื้อนเท้าเปียก หรือเหยียบทั้งรองเท้า. ทรงอนุญาตกระโถนเพื่อไม่ให้บ้วนน้ำลายลงบนพื้น ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บ้วนน้ำลายลงบนพื้น. ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าพันเท้าเตียงตั่ง เพื่อไม่ให้พื้นที่อยู่เสียหาย. ทรงห้ามพิงผนังที่ทาสี และอนุญาตให้มีแผ่นกระดานสำหรับพิง และให้เอาผ้าพันแผ่นกระดานนั้นเพื่อกันครูดผนัง รวมทั้งอนุญาตให้นอนโดยปูผ้าก่อน.

เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์อื่น ๆ

    ทรงแนะนำให้มีการแต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์อื่น ๆ โดยการสวดประกาศ คือภิกษุผู้ปูลาดเสนาสนะ, ผู้ดูแลเรือนคลัง, ผู้รับจีวร, ผู้แจกจีวร, ผู้แจกข้าวยาคู, ผู้แจกผลไม้, ผู้แจกของเคี้ยว , ผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ( เช่น เข็ม, มีด, รองเท้า) , ผู้แจกผ้า ( อาบน้ำฝน ? ) ผู้แจกบาตร, ผู้ใช้คนทำงานวัด, ผู้ใช้สามเณร.

๓ สังฆเภทขันธกะ )

( หมวดว่าด้วยสงฆ์แตกกัน)

    เล่าเรื่องราชกุมารในศากยสกุล คือ ภัททิยาราชา, อนุรุทธ์ , อานนท์, ภัคคุ, กิมพิละ และราชกุมารในโกลิยสกุล คือเทวทัต รวมเป็น ๗ ทั้งอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกออกบวช ต่างเห็นพร้อมกันว่า ควรให้อุบาลีบวชก่อน ตนจะได้กราบไหว้ คลายทิฏฐิมานะ.

    เมื่อบวชแล้ว พระภัททิยะได้วิชชา ๓ , พระอนุรุทธ์ได้ทิพจักษุ, พระอานนท์ได้เป็นโสดาบัน ส่วนพระเทวทัตได้ฤทธิ์ของปุถุชน.

พระเทวทัตคิดการใหญ่

    พระเทวทัตคิดหวังลาภสักการะ จึงแปลงการเป็นเด็กน้อยไปนั่งอยู่บนตักของราชกุมารชื่ออชาติศัตรู ( ผู้เป็นโอรสพระเจ้าพิมพิสารแคว้นมคธ) เพื่อทำให้ราชกุมารเลื่อมใส ทีลาภสักการะเกิดขึ้นแล้ว ก็คิดการจะปกครองคณะสงฆ์เสียเองแทนพระพุทธเจ้า.

    ความทราบถึงพระโมคคัลลานเถระ จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลพระผู้มีพระภาค ตรัสแสดงศาสดา ๕ ประเภทที่ต้องอาศัยหรือหวังความคุ้มครองจากสาวก คือศาสดาผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์, มีการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์, มีการแสดงธรรมไม่บริสุทธิ์, มีการตอบคำถามไม่บริสุทธิ์, มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่แสดงตนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ใน ๕ ทางนั้น. ส่วนพระองค์มิต้องหวังความคุ้มครองของสาวก เพราะมิได้เป็นดังนั้น.

พระเทวทัตขอปกครองคณะสงฆ์

    เมื่อได้โอกาส พระเทวทัตจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค อ้างว่า พระองค์มีอายุมากแล้ว ขอให้ทรงขวนขวายน้อย และให้สละภิกษุสงฆ์ให้แก่ตน ตนจะบริหารเอง พระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง และในครั้งที่ ๓ ทรงกล่าวว่า แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระองค์ยังมิได้มอบภิกษุสงฆ์ให้ไฉนจะทรงมอบแก่พระเทวทัต ซึ่งได้ยังความอาฆาตให้เกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเป็นครั้งแรก.

ตรัสให้ขออนุมัติสงฆ์ประกาศเรื่องพระเทวทัต

    ตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพื่อขออนุมัติให้ประกาศไม่รับรองการกระทำใด ๆ ทางกายวาจาของพระเทวทัต ถือไม่เกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และให้สงฆ์สวดประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นผู้ชี้แจงแก่ชาวกรุงราชคฤห์.

พระเทวทัตยุให้ขบท

    พระเทวทัตจึงยุราชกุมารชื่ออชาตศัตรู ให้คิดฆ่าพระราชบิดา เพื่อชิงราชสมบัติ ส่วนตนเองจะฆ่าพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง. แต่ราชกุมารทำการหละหลวมถูกจับได้ ขณะพวกอาวุธเข้าวังมหาอำมาตย์จึงถวายความเห็นให้ฆ่าเสียทั้งพระเทวทัตและราชกุมาร รวมทั้งภิกษุทั้งหลาย ( ที่เป็นพวก) ด้วย. บางพวกก็ให้ฆ่าแต่พระเทวทัตกับราชกุมาร, บางพวกเห็นว่าไม่ควรฆ่าทั้งหมด.

การประทุษร้ายพระพุทธเจ้าครั้งแรก

    พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบว่าราชกุมารอยากได้ราชสมบัติ ก็ทรงมอบราชสมบัติให้ พระเทวทัตก็มีอำนาจยิ่งขึ้น จึงขอกำลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูส่งคนไปคอยฆ่าพระพุทธเจ้า แล้วสั่งว่า ถ้าฆ่าแล้วให้ไปทางนั้น ๆ แล้วส่งคน ๒ คนไปคอยดักฆ่าคนที่ฆ่าพระพุทธเจ้า ส่งคน ๔ คนไปคอยดักฆ่าพวก ๒ คนนั้น ส่งคน ๘ คนไปคอยดักฆ่าพวก ๔ คนนั้น และส่งคน ๑๖ คนไปคอยดักฆ่าพวก ๘ คนนั้น ( เพื่อปิดปาก) แต่คนเหล่านั้นกลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกหมดสิ้น พระผู้มีพระภาคทรงส่งคนเหล่านั้นกลับไปให้สับทางกับที่พระเทวทัตสั่ง จึงไม่มีการฆ่ากันเกิดขึ้น และเมื่อพวกที่คอยอยู่เห็นนานไป นึงสงสัยมาถามพระพุทธเจ้า ก็ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ต่างแสดงตนเป็นอุบาสกหมดทุกชุด.

การประทุษร้ายครั้งที่ ๒

    เมื่อใช้คนไปฆ่าไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงเตรียมลงมือเอง คือขึ้นไปอยู่บนเขาคิชฌกูฏ คอยกลิ้งก้อนหินใหญ่ให้ลงมาทับพระพุทธเจ้า แต่ไม่สมประสงค์ เพียงสะเก็ดหินที่แตกมากระทบพระบาทห้อพระโลหิตเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายพากันเป็นห่วง จึงมาอยู่ยามเฝ้าแหนพระพุทธเจ้า ท่องบ่นด้วยเสียงอันดัง ( ด้วยเกรงว่าพระเทวทัตจะส่งคนมาทำร้ายพระพุทธเจ้า เพราะได้กำลังจากพระเจ้าอชาตศัตรู) แต่พระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นกลับไป ไม่ต้องมีใครมาคอยคุ้มครองให้ แล้วตรัสว่า เป็นธรรมดาที่พระตถาคตจะไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น แล้วตรัสเรื่องศาสดา ๕ ประเภทที่ต้องหวังอารักขาจากสาวก ดั่งที่ตรัสกับพระโมคคัลลานะ.

การประทุษร้ายครั้งที่ ๓

    พระเทวทัตไปหาคนเลี้ยงช้างของพระราชา อ้างตนเป็นญาติของพระราชา แล้วอ้างว่า สามารถเลื่อนตำแหน่ง เพิ่มค่าจ้างได้ แล้วสั่งให้ปล่อยช้างนาฬาคิรีซึ่งดุร้ายฆ่ามนุษย์ไปทำร้ายพระพุทธเจ้า ถ้าเห็นพระองค์เสด็จมาทางตรอกนั้น. คนเลี้ยงช้างยอมทำตาม เมื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาก็ปล่อยช้างไป ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็กราบทูลให้เสด็จหนี แต่ทรงปฏิเสธ และตรัสว่า ตถาคตจะไม่ปรินิพพานด้วยความยายามของผู้อื่น . ในการนี้มีผู้เห็นเหตุการณ์คอยดูบนที่สูง พระผู้มีพระภาคแผ่เมตตาจิต ช้างก็เอางวงจับฝุ่นที่พระบาทขึ้นโรยบนกระพองและกลับสู่โรงช้างตามเดิม.

พระเทวทัตเสนอข้อปฏิบัติ ๕ ข้อ

    พระเทวทัตคิดฆ่าพระพระพุทธเจ้าไม่สมประสงค์ จึงชวนพรรคพวกมีพระโกกาลิกะ เป็นต้น คิดเสนอข้อปฏิบัติ ๕ ประการ เพื่อให้เห็นว่าตนเคร่งครัด คือ ๑. ให้ภิกษุทั้งหลายอยุ่ป่าตลอดชีวิต เข้าสู่บ้านมีโทษ ๒. ให้ถือบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ ๓. ให้ถือผ้าบังสกุลตลอดชีวิต รับคฤหบดีจีวร ( ผ้าที่เขาถวาย) มีโทษ. ๔. ให้อยู่โคนต้นไม้ตลอดชีวิต เข้าสู่ที่มุงบังมีโทษ ๕. ห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ฉันเข้ามีโทษ เมื่อได้โอกาสจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเสนอข้อทั้งห้านั้น. พระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธ คือใน ๔ ข้อข้างต้น ให้ภิกษุปฏิบัติตามความสมัครใจ ไม่บังคับ โดยเฉพาะข้อที่ ๔ ทรงอนุญาตให้อยู่โคนไม้เพียง ๘ เดือน ( ฤดูฝนไม่ให้อยู่โคนไม้) และข้อ ๕ การฉันเนื้อสัตว์ ทรงอนุญาตเนื้อที่บริสุทธ์โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง ไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่าเพื่อตน.

    พระเทวทัตก็ดีใจที่จะได้ประกาศว่า ตนเคร่งกว่าพระพุทธเจ้า จึงเที่ยวประกาศทั่วกรุงราชคฤห์ถึงเรื่องข้อเสนอนั้น.

ทำสงฆ์ให้แตกกัน

    ครั้นถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตก็ชวนภิกษุเป็นพวกได้มาก ( เป็นพระบวชใหม่โดยมาก) แล้วพาภิกษุเหล่านั้นแยกไปทำอุโบสถ ณ ตำบลคยาสีสะ.

พระเทวทัตอาเจียนเป็นโลหิต

    พระผู้มีพระภาคจึงส่งพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะไปชี้แจงให้ภิกษุที่เข้าเป็นพวกพระเทวทัตหายเข้าใจผิด. พระเทวทัตเข้าใจว่าพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะมาเข้าพวกด้วย ก็มอบให้พระสารีบุตรสั่งสอนพระเหล่านั้นตนเองนอนพักผ่อน พระสารีบุตรแสดงธรรมให้พระเหล่านั้นฟัง ได้ดวงตาเห็นธรรม ( เป็นพระโสดาบัน) แล้วก็กลับ มีภิกษุเหล่านั้นประมาณ ๕๐๐ รูปตามมา พระโกกาลิกะรีบปลุกพระเทวทัต แจ้งข้อความให้ฟัง. พระเทวทัตถึงกับอาเจียนเป็นโลหิต.

    พระผู้มีพระภาคจึงให้พระภิกษุเหล่านั้นแสดงอาบัติถุลลัจจัย เพราะประพฤติตามภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน และตรัสสรรเสริญพระสารีบุตรว่ามีลักษณะสมเป็นทูต เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ฟังคนอื่น ๒ . ทำให้คนอื่นฟังตน ๓. คงแก่เรียน ๔. ทรงจำดี ๕. รู้คำพูดของคนอื่น ๖. ทำให้คนอื่นรู้คำพูดของตน ๗. ฉลาดในประโยชน์และมิใช้ประโยชน์ และ ๘. ไม่ชวนทะเลาะ ครั้นแล้วได้ทรงแสดงธรรมอีกหลายเรื่อง.

ความร้าวและความแตกกันของสงฆ์

    ทรงแสดงเรื่อง สังฆราชิความร้าวรานแห่งสงฆ์ว่า ถ้าภิกษุสองฝ่าย ยังไม่ครบฝ่ายละ ๔ รูป ก็ยังเป็นเพียงความร้าวรานแห่งสงฆ์เท่านั้น ยังไม่เป็น สังฑเภทความแตกแห่งสงฆ์ ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายมีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป มีรูปที่ ๙ สวดประกาศ จึงเป็นทั้งความร้าวรานและความแตกแยกกันแห่งสงฆ์.

ใครทำให้สงฆ์แตกกันได้และได้

    ๑ . ภิกษุณี ๒. นางสิกขมานา ๓. สามเณร ๔. สามเณรี ๕. อุบาสก ๖. อุบาสิกา บุคคล ๖ ประเภทนี้ ทำให้สงฆ์แตกกันไม่ได้ ทำได้แต่เพียงพยายามให้สงฆ์แตกกัน.

    ภิกษุปกติ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้.

เหตุเป็นเครื่องทำให้สงฆ์แตกกันและสามัคคีกัน

    มี ๑๘ ข้อ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒ . แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๕. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ว่าตรัสไว้ ๖. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามิได้ตรัสไว้ ๗. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้ประพฤติว่าได้ประพฤติ ๘. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าประพฤติว่ามิได้ประพฤติ ๙. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้ามิได้บัญญัติว่าบัญญัติ ๑๐. แสดงข้อที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติว่ามิได้บัญญัติ ๑๑. แสดงสิ่งมิใช่อาบัติว่าเป็นอาบัติ ๑๒. แสดงอาบัติว่ามิใช้อาบัติ ๑๓. แสดงว่าอาบัติเบาว่าหนัก ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่าเบา ๑๕ . แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่ามีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าไม่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าไม่ชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าชั่วหยาบ แล้วทำอุโบสถทำปวารณา และทำสังฆกรรมแยกกัน ส่วนเหตุเป็นเครื่องทำให้สงฆ์สามัคคีกันก็มี ๑๘ อย่าง แต่ที่ตรงกันข้าม คือแสดงถูกตรงตามความจริงแล้ว ไม่ทำอุโบสถแยกกัน ไม่ทำปวารณาแยกกัน และไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน.

การทำสงฆ์ให้แตกกันที่ทำให้ไปอบายและไม่ไปอบาย

    ทรงแสดงหลังการทำสงฆ์ให้แตกกันที่มีโทษเป็นเหตุให้ไปอบาย และไม่เป็นเหตุให้ไปอบาย โดยชี้ไปที่ความบริสุทธิ์ใจ และเจตนา คือฝ่ายที่จะไปอบายนั้น รู้ว่าผิดธรรมวินัย แต่ยังเเกล้งแสดงว่าถูกธรรมวินัย ส่วนฝ่ายที่ไม่ไปอบายนั้น คือทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยเข้าใจว่าเรื่องที่โต้เถียงกันนั้น เหตุผลของตนถูกต้องตามธรรมวินัย.


    ๑. ควรดูที่แปลไว้แล้ว ..ในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก.. เทียบเคียงด้วย

 

. วัตตขันธกะ

( หมวดว่าวัตรหรือข้อปฎิบัติ)

() อาคันตุกวัตร ( ข้อปฎิบัติของผู้มา)

    ภิกษุอาคันตุกะ ( ผู้เป็นแขกมาสู่วัดอื่น) ปฏิบัติไม่ชอบด้วยมารยาทของอาคันตุกะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวัตรหรือข้อปฏิบัติไว้ ดัง ( จะย่อกล่าว ) ต่อไปนี้ -

    ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ เมื่อจะเข้าวัด ( ที่ตนขอพักอาศัย) พึงถอดรองเท้า เคาะ ( ฝุ่น) ในที่ต่ำลดร่ม เปิดศีรษะเอาจีวรที่คลุมศีรษะลดลงมาบนบ่า ค่อย ๆ เดินเข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในวัด วางบาตรจีวร นั่งในที่สมควร แล้วถามถึงน้ำดื่ม น้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำดื่มก็พึงดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็พึงใช้ล้างเท้า วิธีล้างเท้าพึงเอามือข้างหนึ่งรดน้ำ เอามืออีกข้างหนึ่งล้าง แล้วพึงถามถึงผ้าเช็ดรองเท้า วิธีเช็ดรองเท้า คือเอาผ้าแห้งเช็ดก่อน แล้วเอาผ้าเช็ดเท้าทีหลัง แล้วซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดให้แห้งแล้วตากไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าภิกษุผู้อยู่ในวัดแก่กว่า พึงกราบไหว้ ถ้าอ่อนกว่า ก็เปิดโอกาสให้เธอกราบไหว้ แล้วพึงถามถึงเสนาสนะ ( ที่อยู่อาศัย) ถามถึงที่ควรไปและไม่ควรไป ถามถึงสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ, ปัสสวะ, น้ำดื่ม, น้ำบริโภค, ไม้เท้า, กติกาของสงฆ์, กาลที่ควรเข้าควรออกจากจากวัด. เมื่อที่อยู่ไม่มีผู้ครอบครอง พึงเคาะประตู รอครู่หนึ่งแล้วยกลิ้มสลักผลักขึ้นผลักบานประตู ยืนดูอยู่ภายนอก ถ้าสามารถก็พึงทำความสอาดที่อยู่ ( วิธีความสะอาดที่อยู่ แปลไว้แล้ว .ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๗๐)

() อาวาสิกวัตร ( ข้อปฏิบัติของภิกษุเจ้าถิ่น )

    ภิกษุเจ้าถิ่น ( ผู้อยู่ประจำในวัด) ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อในภิกษุอาคันตุกะ พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติวัตรไว้ ดัง ( จะย่อกล่าว) ต่อไปนี้-

    เมื่อเห็นภิกษุผู้พรรษากว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร ถามถึง ( ความต้องการ ) น้ำดื่ม น้ำใช้ ถ้าสามารถก็พึงเช็ดเท้ารองเท้าให้ แล้วกราบไหว้ และบอกให้ทราบเรื่องต่าง ๆ ที่ควรทราบ เช่น ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ กติกาของสงฆ์ เป็นต้น.

    ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอก ชี้ที่วางบาตรจีวร ชี้ที่นั่ง บอกน้ำดื่ม, น้ำใช้, บอกผ้าเช็ดรองเท้า เปิดโอกาสให้กราบไหว้ และบอกเรื่องต่าง ๆ ที่ควรทราบ.

() คมิกวัตร ( ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะเดินทางจากไป)

( เรื่องนี้แปลไว้ละเอียดแล้ว ..ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๖๙

() ภัตตัคควัตร ( วัตรในโรงฉัน)

    ก่อนจะทรงบัญญัติเรื่องข้อปฏิบัติในโรงฉัน ได้ทรงอนุญาตให้กล่าวอนุโมทนาในโรงฉัน, และให้มีภิกษุผู้เป็นเถระ และพระผู้น้อย ( เถระนุเถระ) ๔- ๕ รูป อยู่เป็นเพื่อนพระเถระในการกล่าวอนุโมทนา ( สมัยก่อนพูดรูปเดียวเฉพาะหัวหน้า ), เมื่อมีธุระจำเป็น ให้พระเถระกลับก่อน ได้แล้วให้รูปรองลงมากล่าว อนุโมทนาแทน แล้วทรงปรารถภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ปฏิบัติไม่เรียบร้อย จึงทรงบัญญัติวัตรในโรงฉัน คือ-

    เมื่อมีผู้บอกเวลาอาหารในวัดแล้ว ให้นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ถือบาตรเข้าบ้านด้วยดีไม่รีบด่วน ไม่พึงเดินออกหน้าพระเถระ และปฏิบัติตามเสขิยวัตร อันว่าด้วยการเข้าไป และการนั่งในบ้านทุกข้อ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่ถึงนั่งกันที่นั่งของพระที่อ่อนพรรษากว่า ไม่พึงนั่งทับสังฑฏิในบ้าน เมื่อเขาถวายน้ำ พึงจับทั้งสองรับน้ำ แล้วล้างบาตร ถ้ามีที่รับน้ำสำหรับเท พึงเทที่ต่ำไมให้น้ำกระเซ็นเปียกภิกษุอื่นหรือเปียกสังฆฏิ. เมื่อเขาถวายข้าวก็จับบาตรด้วยมือทั้งสองรับข้าว. ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม ให้พระเถระสั่งให้เขาใส่ให้สมส่วนกัน พึงปฏิบัติตามเสขิวัตร ว่าด้วยการรับบิณฑบาตและการฉันอาหารทุกข้อ. ถ้าพระเถระไม่พึงรับน้ำจนกว่าภิกษุทั้งปวงจะฉันเสร็จ เมื่อเข้าถวายน้ำ พึงเอามือทั้งสองจับบาตรรับน้ำ ถ้ามีที่รับน้ำสำหรับเท พึงเทต่ำ ๆ ไม่ให้น้ำกระเซ็นเปียกภิกษุอื่นหรือเปียกสังฆาฏิ ฯลฯ เมื่อกลับให้ภิกษุอ่อนพรรษากว่ากลับบ้านก่อน ด้วยอาการอันดีงามตามเสขิยวัตรที่เกี่ยวกันการเข้าบ้าน.

() ปิณฑจาริกวัตร ( วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต)

    ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เมื่อจะเข้าบ้าน พึงนุ่งห่มให้เรียบร้อย และปฏิบัติขณะเข้าบ้าน ( เหมือนภิกษุผู้เข้าไปฉันในบ้าน) ตามเสขิยวัตร เมื่อจะเข้าสู่ที่อยู่ พึงสังเกตทางเข้าออก ไม่พึงเข้าออกโดยรีบด่วน ไม่พึงยืนไกลเกินไปหรือใกล้เกินไป ไม่พึงยืนนานเกินไปหรือเร็วเกินไป พึงสังเกตว่า เขาใคร่จะถวายอาหารหรือไม่ ถ้าเขาแสดงอาการจะถวาย พึงยืนอยู่ เมื่อเขาถวายอาหาร ( ใสบาตร) พึงยกสังฆาฏิด้วยมือข้างซ้าย ส่งบาตรออกด้วยมือขวา จับบาตรด้วยมือทั้งสองรับอาหาร. ไม่พึงมองหน้าของผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตดูว่า เขาทำอาการจะถวายแกงหรือไม่ ถ้าเขาแสดงอาการ พึงยืน ( รอ) อยู่ เมื่อเขาถวายเสร็จแล้วพึงปิดบาตรด้วยสังฆาฏิ กลับไปด้วยดี ไม่รีบด่วน . ( ต่อจากนั้นทรงแสดงเสขิยวัตรเนื่องในการเข้าบ้านทุกข้อที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตจะพึงปฏิบัติ) เมื่อเสร็จการบิณฑบาตแล้ว รูปใดกลับก่อน พึงปูอาสนะ (ที่นั่ง) ตั้งน้ำ ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงล้างภาชนะใส่เศษอาหารตั้งไว้ พึงตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ ผู้ใดกลับจากบิณฑบาตในภายหลัง ถ้ามีของฉันเหลือ ถเาปรารถนาก็พึงฉัน ถ้าไม่ปรารถนาก็พึงเททิ้งเสียในที่ไม่มีของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่มีตัวสัตว์ พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะใส่เศษอาหารเก็บไว้ เก็บน้ำดื่ม น้ำใช้ กราดโรงฉัน ผู้ใดเห็นหม้อน้ำดื่ม น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงตักน้ำใส ถ้าไม่สามารถ ก็พึงเรียกภิกษุรูปที่ ๒ มา ด้วยใช้มือแสดงให้ทราบว่าควรตักน้ำใส่ ไม่พึงเปล่งวาจาในเรื่องนั้น.

() อรัญญกวัตร ( วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่า)

    ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้า เอาบาตรใส่ถุงแล้วคล้องบ่า เอาจีวรพาดที่คอ ใส่รองเท้า เก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้และดินเผา ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจากที่อยู่อาศัย ( สนาสนะ) เมื่อจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าเคาะในที่ต่ำ

ใส่ไว้ในถุงแล้วคล้องบ่า นุ่งให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ซ้อนผ้า ( จีวรกับสังฆาฏิ) แล้วห่มผ้าซ้อนนั้น ติดลูกดุม ล้างบาตรแล้วถือเข้าไปด้วยดี ไม่รีบด้วน ( ต่อจากนั้นพึงปฏิบัติตามเสขิยวัตรเนื้องในการเข้าบ้านทุกข้อ)        เมื่อเสร็จจากการรับบิณฑบาตออกจากบ้านแล้ว ใส่บาตรไว้ในถุงคล้องบ่า ม้วนจีวรวางไว้บนศีรษะ ใส่รองเท้าเดินไป. ภิกษุอยู่ป่าพึงตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ และจุดไฟไว้ วางไม้สีไฟไว้ ตั้งไม้เท้าไว้ เรียนนักษัตรบท ( ทางเดินของดาวฤกษ์) ทั้งหมด หรือบางส่วน และเป็นผู้ฉลาดในทิศ.

() เสนาสนวัตร ( วัตรเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย)

( แปลไว้แล้ว .ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๗๐)

() ชั้นตาฆรวัตร ( วัตรในเรือนไฟ)

    ภิกษุเข้าไปในเรือนไฟก่อน ถ้ามูลเถ้ามีมาก ก็พึงน้ำไปทิ้งเสีย. ถ้าเรือนไฟรกก็พึงกวาด. ถ้าชานภายนอกรก หรือบริเวณรก หรือซุ้มรก หรือโรงแห่งเรือนไฟ ( โรงโถงที่มีเรือนไฟตั้งอยู่) รก ก็พึงกวาดพึงนำผง ( สำหรับถูตัว) ไปไว้ให้พร้อม ทำดินเหนียวให้เปียก รดน้ำลงในรางน้ำเมื่อเข้าสู่เรือนไฟ พึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดด้านหน้าปิดด้านหลัง ( คงหมายถึงปิดเรือนไฟ) แล้วพึงเข้าไป. ไม่พึงนั่งเบียดเสียดภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่พึงนั่งกันที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า ถ้าสามารถก็พึงถูหลังให้ภิกษุผู้เป็นเถระ. เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงนำตั่งประจำเรือนไฟออกด้วย พึงปิดด้านหน้าด้านหลังแล้วออกจากเรือนไฟ. ถ้าสามารถก็พึงถูหลังให้ภิกษุผู้เป็นเถระ แม้ในน้ำ ไม่พึงอาบน้ำเบื้องหน้าภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่พึงอาบน้ำในกระแสน้ำด้านเหนือพระเถระ

เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วจะขึ้น ก็พึงให้ทางแก่ภิกษุทั้งหลายผู้กำลังจะขึ้น ( จากน้ำ) . ส่วนภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟทีหลัง ถ้าเรือนไฟลื่น พึงล้างเสีย พึงล้างรางใส่ดินเหนียวแล้วเก็บตั่งประจำเรือนไฟเสีย ดับไฟปิดประตูแล้วออกไป. ( แสดงว่าเมื่อเข้าไปอบในเรือนไฟให้เหงื่อออกแล้วก็อาบน้ำในที่ใกล้ ๆ กันนั้นเอง).

() วัจจกุฏิวัตร ( วัตรเกี่ยวกับส้วม)

    ก่อนที่จะทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ทรงบัญญัติให้ภิกษุผู้ถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วใช้น้ำชำระ ถ้าไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ และทรงอนุญาตให้เข้าสู่วัจจกุฏิตามลำดับที่ไปก่อนหลัง ( ไม่ต้องคอยตามลำดับ พรรษา ซึ่งภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนกว่าเดือดร้อน) และทรงปรารภความไม่เรียบร้อยในการเข้า การใช้วัจจกุฏิของภิกษุเบญจวัคคีย์ จึงทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวัจจกุฏิ ดังต่อไปนี้-

    ภิกษุผู้ไปสู่วัจจกุฏิ พึงยืนอยู่ข้างนอก ทำเสียงกระแอม ถ้ามีภิกษุอยู่ข้างใน พึงกระแอมรับ จึงพาดจีวรไว้ที่ห่วงสำหรับแขวนหรือราวสำหรับพาด พึงเข้าไปด้วยดี ไม่รีบด่วน ไม่พึงเลิกผ้าเข้าไป ต่อเมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้วจึงเลิกผ้า, ไม่พึงเบ่งถ่าย , ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันขณะถ่าย, ไม่พึงถ่ายนอกหลุมอุจจาระนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงใช้ไม้ชำระที่หยาบ ( คมแข็ง) ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในหลุมถ่าย เมื่อยืนบนเขียงรองเหยียบแล้ว พึงปกปิด ( ดึงผ้านุ่งลงไปปกปิด) ไม่ถึงออกโดยรีบร้อน ไม่พึงเลิกผ้าออกมา

( เมื่อจะชำระ) ยืนอยู่บนเขียงรองเหยียบสำหรับชำระแล้วจึงเลิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดัง

ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในขันชำระ เมื่อยืนบนเขียงสำหรับเหยียบแล้ว ถึงปกปิด.

( แสดงว่าที่ถ่ายกับที่ชำระอยู่แยกกันแต่ใกล้กัน). ถ้าวัจจกุฏิเปื้อน พึงล้างเสีย ถ้าไม่ทิ้งไม้ชำระเต็ม พึงนำไม้ชำระไปทิ้ง. ถ้าวัจจกุฏิรก พึงปัดกวาด ถ้าชานภายนอก, บริเวณ, ซุ้ม รก ก็พึงปัดกวาด ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี ก็พึงตักน้ำใส่.

(๑๐) อุปัชฌาวัตร ( วัตรเกี่ยวกับอุปัชฌายะ)

    สัทธิวิหาริก ( ผู้ที่อุปัชฌายะบวชให้ ) พึงลุกขึ้นแต่เช้า ถอดรองเท้า ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ถวายไม้สีฟันน้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ามีอาสนะ ถ้ามีข้าวยาคู พึงล้างภาชนะแล้วน้อมข้าวยาคูเข้าไปถวาย แล้วถวายน้ำ รับภาชนะมาล้างเก็บ เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นให้ลุกขึ้นยกอาสนะขึ้น ถ้าสถานที่รก พึงปัดกวาด ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะเข้าสู่หมู่บ้านพึงถวายผ้านุ่ง รับผ้าที่ท่านผลัด ถวายประคดเอว เอาผ้า ( จีวรกับสังฆาฏิ) ซ้อนกันแล้วถวาย ล้างบาตรแล้วถวายทั้งที่มีน้ำ ถ้าอุปัชฌายะต้องการพระไปด้วย พึงนุ่งให้เรียบร้อย ซ้อนผ้า ห่มผ้าซ้อนติดรังดุมตามท่านไป . ไม่พึงเดินไกลหรือใกล้เกินไป. พึงรับอาหารแต่พอเหมอะแก่บาตร. เมื่ออุปัชฌากำลังพูด ไม่พึงพูดซ้อน. นอกจากนั้นยังมีข้อปฏิบัติอีกมากมาย ซึ่งพอจะย่อกล่าวไว้คือ-

    หวังความศึกษาในท่าน , ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมี หรือได้มีแล้ว เช่น ระงับความกระสัน, ความเบื่อหน่าย ช่วยปลดเปลี้ยงความเห็นผิดของท่าน ขวนขวายเพื่อสงฆ์งดโทษที่จะลงแก่ท่าน หรือเพื่อผ่อนเบาลงมา, รักษาน้ำใจท่าน ไม่คบคนนอกให้เป็นเหตุแหนงใจ เช่น จะรับจะให้ เป็นต้น กับคนเช่นนั้น บอกท่านก่อน ไม่ทำตามลำพัง, ไม่เที่ยวแตร่ตามลำพัง จะไปข้างไหนลาท่านก่อน , เมื่อท่านอาพาธ เอาใจใส่พยาบาล ไม่ไปข้างไหนเสีย จนกว่าท่านจะหายเจ็บหรือมรณภาพ.

(๑๑) สัทธิวิหาริกวัตร ( ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก)

   ภิกษุผู้เป็นอุปัชฌายะ ( ผู้บวชให้) พึงปฏิบัติชอบในสัทธิวิหาริก ( ผู้ที่ตนบวชให้) ดังต่อไปนี้ -

   เอาธุระในการศึกษาของสัทธิวิหาริก, สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอย่างอื่น ถ้าตนไม่มีก็ต้องขวนขวายหาให้, ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสียอันจักมี หรือได้มีแล้วแก่สัทธิวิหาริก ( เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติต่ออุปัชฌายะ), เมื่อสัทธิวิหาริกอาพาธ เอาใจใส่พยาบาล.

(๑๒) อาจริยวัตร ( ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์)

(๑๓) อันเตวาสิกวัตร ( ข้อปฏิบัติต่ออันเตวาสิก)

   ทั้งสองอย่างนี้เหมือนกับข้อปฏิบัติ ระหว่าง อุปัชฌายะกับสัทธิวิหาริก.

. ปาฏิโมกขฐปนขันธกะ

( หมวดว่าด้วยการแสดงปาฏิโมกข์)

    ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทที่นางวิสาขาสร้างถวาย ในบุพพาราม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งดึกล่วงปฐมยามแห่งราตรี พระอานนท์จึงกราบทูลขอให้แสดงปาฏิโมกข์ แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงนั่งนิ่ง. เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไป พระอานนท์ก็กราบทูลเตือนเป็นครั้งที่ ๒ แต่ก็ทรงนั่งนิ่ง ครั้นปัจฉิมยามแห่งราตรีล่วงแล้ว อรุณกำลังจะขึ้น พระอานนท์ก็กราบทูลเตือนอีกเป็นครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า บริษัท ( ผู้ที่ประชุมกันอยู่) ไม่บริสุทธิ์. พระโมคคัลลานะพิจจารณาก็รู้ว่ามีภิกษุที่ขาดจากความเป็นภิกษุ แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุ นั่งปนอยู่ในบริษัทนั้น จึงพูดกับภิกษุนั้นให้ออกไป แม้พูดถึง ๓ ครั้ง ภิกษุนั้นก็ยังนั่งนิ่ง ท่านจึงจับแขนพาออกไปนอกซุ้มประตู แล้วลงกลอนข้างในเสีย.

   พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงความอัศจรรย์ ๘ ประการของมหาสมุทร เปรียบด้วยพระธรรมวินัยของพระองค์ และมีที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้อยู่ข้อหนึ่ง คือมหาสมุทรย่อมซัดซากศพให้ขึ้นสู่ฝั่งหมด เปรียบเหมือนการที่สงฆ์ไม่ยอมคบหากับผู้ประพฤติผิด และยกเสียจากหมู่.

ต่อจากนั้นไม่ทรงแสดงปาฏิโมกข์อีก

    เนื่องจากด้วยเหตุการณ์นั้น จึงตรัสว่า ต่อไปจะไม่ทรงแสดงปาฏิโมกข์อีก ทรงมอบให้สงฆ์ทำอุโบสถสวดปาฏิโมกข์ ทรงอ้างเหตุผลว่า พระตถาคตไม่แสดงปาฏิโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามภิกษุที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ฟังปาฏิโมกข์ ถ้าขืนฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ. ทรงอนุญาตให้งดสวดปาฏิโมกข์เพราะเหตุที่ภิกษุยังมีอาบัติฟังปาฏิโมกข์ได้. พร้อมทั้งทรงแสดงวิธีสวดประกาศระงับการสวดปาฏิโมกข์ด้วย. แต่ก็ทรงห้ามมิให้งดสวดปาฏิโมกข์แก่ภิกษุบริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ โดยไม่มีเหตุผล แล้วทรงแสดงการระงับการสวดปาฏิโมกข์ที่ไม่เป็นธรรม และที่เป็นธรรมหลายประการ รวมทั้งอันตรายหรือเหตุที่ทรงอนุญาตให้หยุดสวดปาฏิโมกข์ได้ ๑๐ ประการ คือ ๑. พระราชาเสด็จมา, ๒. โจรปล้น, ๓. ไฟไหม้, ๔. น้ำท้วม, ๕. คนมามาก ( เลิกสวดเพื่อทราบเรื่องหรือเพื่อต้อนรับ), ๖. อมนุษย์เบียดเบียน, ๗. สัตว์ร้าย เช่น เสือเข้ามา, ๘ งูร้ายเลื้อยเข้ามา , ๙. ภิกษุเกิดอาพาธอันจะถึงแก่ชีวิต, ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์.

การโจทฟ้อง

   ทรงตอบคำถามของพระอุบาลีเกี่ยวกันการโจทฟ้อง ( ภิกษุผู้ไม่สมควรจะฟังปาฏิโมกข์) เริ่มตั้งแต่การตัดสินใจนำตนเข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อธรรม เพื่อวินัย และการโจทฟ้องกันเป็นธรรมและไม่เป็นธรรมซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ หลายประการ.

   

. ภิกขุนีขันธกะ

( หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี)

   เรื่องต้นคือประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี ได้แปลไว้แล้ว (ความน่ารู้พระไตรปิฎก ) หมายเลข ๘๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ( ผู้เป็นพระน้านาง พระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า) ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา. ในชั้นแรกซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงปฏิเสธ แต่ในที่สุดทรงอนุญาต โดยทรงวางเงื่อนไขไว้ถึง ๘ ประการ ที่เรียกว่าครุธรรมซึ่งพระนางมหาปชาบดี โคตมี ก็ทรงยอมรับ พระอานนท์จึงนำความไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า การที่มีสตรีมาบวชในพระพุทธศาสนา จะทำให้พระธรรมวินัยตั้งอยู่ไม่ได้นานนักเท่าที่ควร. ( แต่การทรงวางเงื่อนไขมิให้สตรีบวชได้ง่าย ๆ ก็ได้ผล คือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วไม่นานนัก ก็หมดเชื้อสายของนางภิกษุณี).

   

ทรงอนุญาตการบวชภิกษุณี

    ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบวชให้ภิกษุณี ( และในภายหลังทรงอนุญาตให้ภิกษุณีบวชในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือบวชในภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงบวชในภิกษุสงฆ์ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น มีนักเลงคอยดักประทุษร้ายนางภิกษุณีที่บวชในภิกษุสงฆ์แล้ว จะเดินทางมาบวชในฝ่ายภิกษุสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้บวชโดยทูตได้ คือเมื่อบวชในภิกษุณีสงฆ์เสร็จ ให้นางภิกษุณีผู้ฉลาดรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุสงฆ์สวดขออนุมัติสงฆ์ เพื่อให้อุปสมบทแก่นางภิกษุณีที่มาไม่ได้ รวม ๓ ครั้ง แล้วให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถสวดประกาศการอุปสมบท ในที่ประชุมสงฆ์ด้วยญัตติจตุถกรรม คือเสนอญัตติ ๑ ครั้ง สวดประกาศ ๓ ครั้ง). อนึ่ง ทรงชี้แจงด้วยว่า พระนางมหาปชาบดี โคตมี เป็นอันบวชแล้วดี ด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ.

การศึกษาสิกขาบท

    ทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีศึกษาในสิกขาบทที่เป็นสาธารณะ คือใช้ได้ด้วยกันระหว่างภิกษุกับนางภิกษุณี. ส่วนสิกขาบทที่เป็นอสาธารณะ คือบัญญัติไว้เฉพาะแก่นางภิกษุณี ก็ทรงอนุญาตให่ศึกษา.

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ

    ทรงแสดงลักษณะตัดสินธรรมวินัย คือ ๑. ถ้าเป็นไปเพื่อความกำหนัดยินดี มิใช่เพื่อปราศจากความกำหนัดยินดี ๒. เป็นไปเพื่อผูกมัดไว้ในภพ มิใช่คลายการผูกมัด ๓. เป็นไปเพื่อสะสมกิเลสมิใช่เพื่อรื้อถอนกิเลส ๔. เป็นไปเพื่อความปรารถนาใหญ่ มิใช่เพื่อความปรารถนาน้อย ๕. เป็นไปเพื่อไม่ยินดีด้วยของตน มิใช่เพื่อยินดีด้วยของของตน ( สันโดษ) ๖. เป็นไปเพื่อคลุกคลีด้วยหมู่ มิใช่เพื่อสงัดจากหมู่ ๗. เป็นไปเพื่อความรังเกียจคร้าน มิใช่เพื่อปรารถนาความเพียร ๘. เป็นไปเพื่อเลี้ยงยาก มิใช่เพื่อเลี้ยงง่าย พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้นมิใช่ธรรมมิใช่วินัย มิใช่สัตถุศาสนา ถ้าตรงกันข้ามจึงเป็นธรรมวินัย เป็นสัตถุศาสนา.

เรื่องเกี่ยวกับปาฏิโมกข์และสังฆกรรม

    ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายสวดปาฏิโมกข์ให้นางภิกษุณีฟัง ต่อมาทรงห้ามและให้นางภิกษุณีสวดเอง โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนให้ ครั้งแรกทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับการแสดงอาบัติของนางภิกษุณีได้ ภายหลังทรงห้าม และให้นางภิกษุณีรับการแสดงอาบัติของนางภิกษุณีด้วยกัน โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนวิธีการให้ ครั้งแรกอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายทำกรรมแก่นางภิกษุณีได้ ( สวดประกาศลงโทษ) ภายหลังทรงห้าม และให้นางภิกษุณีทำกรรมแก่นางภิกษุณีด้วยกัน โดยให้ภิกษุทั้งหลายสอนวิธีการให้. ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์ของนางภิกษุณีได้ แต่เกี่ยวกับการทำกรรม ทรงอนุญาตให้ภิกษุยกกรรมยกอาบัติของภิกษุณีได้ แล้วให้มอบให้นางภิกษุณีด้วยกันทำกรรมและรับการแสดงอาบัติต่อไป. และทรงอนุญาตให้ภิกษุสอนวินัยแก่นางภิกษุณีได้.

การลงโทษภิกษุด้วยการไม่ไหว้

    ภิกษุฉัพพัคคีย์เอาน้ำโคลนรดนางภิกษุณีบ้าง แสดงอาการต่าง ๆ ที่ไม่ดีไม่งาม เพื่อจะให้นางภิกษุณีกำหนัดในตน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น และให้ลงโทษ ( ทัญฑกรรม) แก่ภิกษุนั้น โดยให้ภิกษุณีสงฆ์นัดกันไม่ไหว้ภิกษุนั้น.

การลงโทษนางภิกษุณี

   นางภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ( พวก ๖ ) พระพฤติไม่ดีไม่งามเพื่อให้ภิกษุกำหนัดในตน ทรงปรับอาบัติทุกกฏและอนุญาตให้ลงโทษนางภิกษุณีนั้นโดยให้กักบริเวณ และถ้ายังไม่ละเลิกก็ให้งดให้โอวาท . นางภิกษุณีที่ถูกงดโอวาทจะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุอื่น ๆ ไม่ได้ จนกว่าอธิกรณ์จะสงบ.

การให้โอวาทนางภิกษุณี

    ภิกษุณีให้โอวาทนางภิกษุณี จะงดเสียแล้วเที่ยวจาริกไปก็ตาม งดโอวาทเพราะเขลาก็ตาม งดโอวาทโดยไม่มีเหตุผลสมควรก็ตาม งดโอวาทแล้วไม่วินิจฉัย ( คือเมื่อลงโทษงดโอวาท ก็จะต้องมีการตัดสินให้เห็นผิด) ก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ . ครั้งแรกทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีไปฟังโอวาทของภิกษุ ภายหลังอนุญาตให้สมมติ คือแต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ไปสอนนางภิกษุณี เป็นต้น รวมทั้งระเบียบเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการให้โอวาท.

ข้อห้ามเบ็ดเตล็ด

    ต่อจากนั้นทรงบัญญัติพระวินัยเบ็ดเตล็ดเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี เช่น ห้ามใช้ประคดเอวยาวเกินไป ให้รัดประคดรอบเดียว ห้ามใช้ผ้ารัดดัดซี่โครง ( เพื่อรัดรูป ดั่งสตรีผู้เป็นคฤหัสถ์) นอกจากนั้นยังห้ามทำการแบบสตรีผู้ครองเรือนอีกหลายอย่าง เช่น ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมหน้า ตลอดจนห้ามมีทาส ทาสี กรรมกร หญิงชาย เป็นต้น ไว้รับใช้ และห้ามใช้จีวรย้อมสีไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับที่ห้ามสำหรับภิกษุ และห้ามใช้เสื้อใช้หมวก เป็นต้น. นางภิกษุณีถึงมรณภาพ ทรงบัญญัติให้เครื่องใช้ของเธอเป็นของภิกษุณีสงฆ์ ต่อจากนั้นมีข้อห้ามเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการอุปสมบท การทำอุโบสถ และปวารณา.

   

. ปัญจสติกขัรธกะ

( หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป

ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑) 

    เล่าเรื่องพระผู้มีพระภาคนิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายเศร้าโศก แต่มีภิกษุผู้บวชเมื่อแก่รูปหนึ่งชื่อ สุภัททะ กล่าวห้ามไม่ให้เศร้าโศก ควรจะดีใจว่า ต่อไปจะได้ไม่มีใครคอยห้ามทำนั้นทำนี่ อยากทำอะไรก็ทำก็จะทำได้ พระมหากัสสปปรารภถ้อยคำนั้น จึงเสนอให้ทำสังคายนา คือร้อยกรองหรือจัดระเบียบพระธรรมวินัยและเลือกพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป ( เว้นไว้ ๑ รูป สำหรับพระอานนท์ ซึ่งยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ) แล้วเดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ สวดประกาศมิให้สงฆ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสังคายนาอยู่ในกรุงราชคฤห์ และใช้เวลา ๑ เดือนแรกในการปฏิสังขรณ์สิ่งปรักหักพัง. รุ่งขึ้นจะมีการประชุม พระอานนท์ก้ได้บรรลุอรหัตตผล.

การสังคายนาครั้งที่ ๑

พระมหากัสสปสวดขอให้สงฆ์สมมติ คือแต่งตั้งตัวแทนเองเป็นผู้ถามวินัย พระอุบาลีเป็นผู้ตอบวินัย เมื่อถามตอบเสร็จแล้ว จึงขอสมมติตัวท่านเองเป็นผู้ถามธรรมะ พระอานนท์เป็นผู้ตอบธรรมะ แล้วได้ถามตอบนิกาย ๕.

    ( หมายเหตุ หลักฐานสั้น ๆ นี้แสดงว่า คำว่า ธรรม นั้น รวมทั้งพระสูตรและอภิธรรม ตามที่อรรถกถาอธิบายว่า อภิธรรมนั้นรวมอยู่ในขุททกนิกาย อันเป็นนิกายที่ ๕. ฝ่ายที่ค้านไม่เชื่อว่าอภิธรรมมีมาในสมัยพระพุทธเจ้า แต่มาแต่งขึ้นภายหลัง ก็อ้างเหตุผลตอนนี้ บอกว่าเป็นหลักฐานที่แสดงว่าไม่มีการสังคายนาอภิธรรมเลย เพราะนิกาย ๕ เป็นเรื่องของพระสูตรล้วน ๆ ).

การถอนสิกขาบทเล็กน้อย

    ต่อจากนั้นพระอานนท์ได้เสนอให้ที่ประชุมทราบถึงพระพุทธานุญาตที่ให้สงฆ์ ถ้าปรารถนา ก็ถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียได้ ที่ประชุมไม่ตกลงกันได้ว่า แค่ไหนเป็นสิกขาบทเล็กน้อย พระมหากัสสปจึงสวดเสนอญัตติให้สงฆ์งดถอนสิกขาบทเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้มีผู้กล่าวได้ว่า สิกขาบทที่พระสมณโคดมทรงบัญญัตินั้น อยู่ได้ตราบเท่าที่ยังมีศาสดาเท่านั้น จึงมีระยะกาลเหมือนควันไฟ ( ซึ่งจางหายไปง่าย). ในที่สุดเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็เป็นอันใช้อำนาจสงฆ์ห้ามถอนสิกขาบทเล็กน้อย.

พระอานนท์ถูกปรับอาบัติ

    พระเถระทั้งหลายได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์หลายข้อ คือ ๑. ไม่ถามให้ทรงแสดงว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไรบ้าง ๒. เมื่อเย็บผ้าอาบน้ำฝนถวายพระผู้มีพระภาคได้เหยียบผ้านั้น ๓. ตอนที่นำสตรีเข้าถวายบังคมพระศพ คนเหล่านั้นร้องไห้ น้ำตาเปื้อนพระสรีระของพระผู้มีพระภาค ๔. ไม่อาราธราให้พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ทั้งที่ทรงทำนิมิตโอภาสให้ปรากฏ ๕. ขวนขวายให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา. พระอานนท์มีข้อชี้แจงทุกข้อ แต่ยอมแสดงอาบัติด้วยศรัทธาในพระเถระเหล่านั้น.

พระปุราณะไม่ค้าน แต่ถือตามที่ฟังมาเอง

    พระปราณะพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ ท่องเที่ยวไปในทักษิณาคิรี ( ภูเขาแถบภาคใต้ของอินเดีย ) พอสมควรแล้ว ก็เดินทางไปพัก ณ เวฬวนาราม กรุงราชคฤห์ เมื่อเข้าไปหาพระเถระได้รับบอกเล่าว่าพระเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว และแนะให้รับรองข้อที่สังคายนาแล้วนั้น. พระปุราณะตอบว่า ธรรมและวินัยเป็นอันพระเถระทั้งหลายสังคายนาดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอย่างไร ข้าพเจ้าจักทรงจำไว้อย่างนั้น. ( เรื่องนี้เป็นจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่แสดงว่าความคิดเห็นไม่ตรงกันเริ่มขึ้นบ้างแล้ว).

ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ

    พระอานนท์จึงแจ้งให้สงฆ์ทราบถึงพระพุทธดำรัสที่ให้ลงพรหมทัณฑ์ ( การลงโทษแบบผู้ใหญ่ หรือผู้ดี ) คือพระฉันนะอยากทำอะไรก็ปล่อยให้ทำตามชอบใจ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอน. สงฆ์จึงมอบให้พระอานนท์เป็นผู้จัดการลงพรหมทัณฑ์ โดยให้นำภิกษุไปด้วยเป็นอันมากเดินทางไปกรุงโกสัมพีโดยทางเรือ ได้พบพระเจ้าอุเทน พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสในคำชี้แจงเรื่องการใช้ผ้าให้เป็นประโยชน์ แม้เมื่อเก่าแล้วก็ยังเอามาทำผ้าเช็ดเท้า ผ้าถูพื้น และนำมาขยำกับดินเหลวโบกชานภายนอกกุฏิ. ต่องจากนั้นพระอานนท์ก็เดินทางไปยังโฆสิตารามลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ ทำให้พระฉันนะเสียใจถึงสลบ และพยายามบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุอรหัตตผล จึงมาขอให้ถอนพรหมทัณฑ์ แต่พระอานนท์ตอบว่า พรหมทัณฑ์เป็นอันระงับไปแล้ว ตั้งแต่พระฉันนะได้บรรลุอรหัตตผล.

   

. สัตตสิกขันธกะ

( หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป

ในการสังคายนาครั้งที่ ๒ )

วัตถุ ๑๐ ประการ

    เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๑๐๐ ปี ภิกษุพวกวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ( ซึ่งผิดธรรมวินัย) ว่า เป็นของควรหรือถูกต้องตามธรรมวินัย คือ ๑ . เก็บเกลือในเขาสัตว์ ( เขนง) เอาไว้ฉันกับอาหารได้ ( ความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเมื่อเก็บค้างคืนแล้วนำมาบนกับอาหาร อาหารนั้นก็เหมือนค้างคืนด้วย). ๒. ตะวันชายไปแล้ว ๒ นิ้ว ฉันอาหารได้ ( ความจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงไปแล้ว) ๓. ภิกษุฉันอาหารในนิมนต์จนบอกพอ ไม่รับอาหารที่เขาเพิ่มเติมแล้วคิดว่าจะเข้าบ้าน ฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดูหน้าพระวินัยปิฎก เล่ม ๒ ) ๔. ภิกษุอยู่ในสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถแยกกันได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ) ๕. สงฆ์ยังมาประชุมไม่พร้อมกันแต่ครบจำนวนพอจะทำกรรมได้ ก็ควรทำไปก่อนได้ แล้วขออนุมัติหรือความเห็นชอบจากภิกษุผู้มามาทีหลัง ( ความจริงไม่ควร) ๖. เรื่องที่อุปัชฌายะอาจารย์เคยประพฤติมาแล้วใช้ได้ ( ความจริงถ้าถูกก็ใช้ได้ ถ้าผิดก็ใช้ไม่ได้ ) ๗. นมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ภิกษุฉันในที่นิมนต์ จนบอกไม่รับอาหารที่เขาถวายเพิ่มให้แล้วคงดื่มนมนั้นได้ ( ความจริงไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะยังไม่เข้าลักษณะเภสัช ๕) ๘. น้ำเมาอย่างอ่อนที่มีรสเมาเจืออยู่น้อย ไม่ถึงกับจะทำให้เมา ควรดื่มได้ ( ความจริงไม่ควร) ๙. ผ้าปูนั่งที่ไม่มีชาย ควรใช้ได้ ( ความจริงไม่ควร) ๑๐. ทองเงิน ควรรับได้ ( ความจริงไม่ควร ถ้ารับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์).

พระยสะ กากัณฏกบุตร คัดค้าน

    ภิกษุพวกวัชชีบุตรเอาถาดใส่น้ำ เที่ยวเรี่ยไรเงินพวกอุบาสกที่มาในวันอุโบสถ เพื่อเป็นค่าบริขารของพระสงฆ์. พระยสะ กากัณฏกบุตร ( ซึ่งเป็นพระมาจากที่อื่น) กล่าวห้ามอุบาสกเหล่านั้นว่าไม่ควรให้แต่เพราะไม่รู้วินัย เขาจึงให้ไปตามที่เคยให้มา. ตกลางคืนภิกษุเหล่านั้นแบ่งเงินกันแล้วเฉลี่ยมาให้ พระยสะกากัณฏกบุตร ท่านปฏิเสธ ก็โกรธเคือง หาว่าท่านด่าอุบาสกเหล่านั้น จึงประชุมกันลงปฏิสารณียกรรม ( ให้ไปขอขมาชาวบ้าน). พระยสะ กากัณฏกบุตร จึงอ้างวินัยว่า จะต้องมีพระเป็นทูตไปด้วย ๑ รูป. เมื่อภิกษุวัชชีบุตรสวดประกาศแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งมอบหน้าให้ไปด้วยแล้ว พระยสะก็เข้าไปหาอุบาสกเหล่านั้น ชี้แจงข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายแห่ง ห้ามรับทองเงิน. อุบาสกเหล่านั้น ได้ทราบข้อวินัยก็เลื่อมใสพระยสะและกล่าวประณามภิกษุวัชชีบุตร. เมื่อกลับจากที่นั้น ภิกษุที่เป็นทูตร่วมไปด้วยก็ชี้แจงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบต่างพากันโกรธเคืองพระยสะ อ้างว่า การที่พระยสะไปพูดกับคนเหล่านั้นเป็นการไปแจ้งความแก่คฤหัสถ์โดยมิได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ จึงควรอุกเขปนียกรรม ( ยกเสียจากหมู่ ไม่ให้ใครคบด้วย).

   

การสังคายนาครั้งที่ ๒

    พระยสะ กากัณฏกบุตร จึงหนีไป ชวนพระเถระที่เห็นแก่ธรรมวินัยหลายรูป ซึ่งเป็นประมุขสงฆ์อยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น พระสัพพกามี , พระสาฬหะ , พระอุชชโสภิตะ ( บางแห่งว่า ขุชชโสภิตะ) พระวาสภะคามิกะ ๔ รูปนี้ เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ฝ่ายตะวันออก พระเรวต. พระสัมภูตะ สาณวสี, พระยสะ กากัณฏกบุตร, พระสุมนะ ๔ รูปนี้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ฝ่ายตะวันตก ( ชาวเมืองปาฐา) รวมทั้งพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถึง ๗๐๐ รูป ประชุมกัน ณ วาลิการาม โดยมีพระอชิตะผู้มีพรรษา ๑๐ เป็นผู้ปูอาสนะ วินิจฉัยวัตถุ ๑๐ ประการ แสดงที่มาที่ทรงห้ามไว้ ปรับอาบัติไว้อย่างชัดเจน ชี้ขาดด้วยมติของสงฆ์ ให้วัตถุ ๑๐ นั้นผิดธรรมผิดวินัย มิใช่สัตถุศาสนา.

   ( ประวัติการทำสังคายนาทั้งสองคราว คือครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ นี้ มีมาในพระไตรปิฎกด้วยเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มไว้เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๓ เพื่อให้เป็นหลักฐานความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย).


    ๑. มีแปลไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑

เล่มที่ ๘ ชื่อปริวาร ( เป็นพระวินัยปิฏก)

    พระไตรปิฎกเล่มนี้ ๘ นี้ เป็นเล่มสุดท้ายของวินัยปิฎก และมีข้อความที่พึงนำมาย่อไว้เพียงเล็กน้อยเพราะข้อความในเล่มนี้เป็นการย้อนไปกล่าวถึงพระไตรปิฎก ตั้งแต่เล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๗ ที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง เป็นแต่การย้อนกล่าวในครั้งนี้ เท่ากับประมวลความสำคัญที่น่ารู้ต่าง ๆ มากล่าว ไว้ มีหัวข้อใหญ่ ๆ อยู่ ๒๑ ข้อด้วยกัน คือ  :-

    ๑. มหาวิภังค์โสฬสมหาวาร    เป็นการย้อนกล่าวถึงศีลของภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ทีละข้อ อันปรากฏในวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ และ ๒ ซึ่งมีชื่อว่ามหาวิภังค์ โดยตั้งประเด็นไว้ ๒ ส่วน ส่วนละ ๘ ประเด็น รวมเป็น ๑๖ ประเด็น ( โสฬสมหาวาร). ส่วนแรกกับส่วนหลัง ความจริงก็พ้องกันทั้งแปดประเด็น เป็นแต่ว่าส่วนแรกพิจารณาถึงการทำผิดโดยตรง ส่วนหลังพิจารณาถึงผลอันเนื่องมาจากเหตุ คือการทำความผิด หรือกล่าวตาม ศัพท์ที่ปรากฏก็คือ ส่วนหลังพิจารณาปัจจัย คือการทำความผิดนั้น ๆ เป็นปัจจัยหรือเป็นเหตุให้เกิดอะไรขึ้น. ประเด็น ๘ ประเด็นซึ่งมีอยู่ใน ๒ ส่วนนั้น คือ
   
๑. กัตถปัญญัติติวาร    ประเด็นที่ว่า บัญญัติไว้ ณ ที่ไหนหมายถึงสถานที่ ซึ่งทรงบัญญัติสิกขาบท รวมทั้งบุคคลผู้เป็นต้นเหตุให้บัญญัติสิกขาบท, เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นต้น
  
๒. กตาปัตติวาร    ประเด็นที่ว่า เมื่อทำความผิดนั้น ๆ ลงไปแล้ว จะต้องอาบัติอะไรบ้าง เช่น ภิกษุลักทรัพย์ในกรณีเช่นไร ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัยและอาบัติทุกกฏ
   
๓. วิปัตติวาร   ประเด็นที่ว่าการทำความผิดนั้น ๆ จะเป็นศีลวิบัติ ความบกพร่องทางศีล หรือาจารวิบัติ ความบกพร่องทางความประพฤติ เป็นต้น
   
๔. สังคหิตวาร    ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้น ๆ สงเคราะห์หรือจัดเข้ากับกองอาบัติอะไร
  
๕. สมุฏฐาน   ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้นเกิดขึ้น หรือมาสมุฏฐานทางกาย, วาจา, หรือใจ
  
๖. อธิกรณวาร    ประเด็นที่ว่า การทำความผิดนั้น ๆ เป็นอธิกรณ์ประเภทไหน ใน ๔ ประเภท
  
๗. สมถวาร    ประเด็นที่ว่า การทำความผิดที่เป็นอธิกรณ์นั้น ๆ จะระงับด้วยวิธีระงับ ๗ อย่าง ข้อไหนบ้าง
  
๘. สมุจจยวาร   คือกล่าวซ้ำ ๗ ข้อแรกอีกครั้งหนึ่ง. ในส่วนที่ ๒ อีก ๘ ประเด็น ก็ทำนองเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนหลักการเล็กน้อยว่า เพราะปัจจัยแห่งการทำความผิดนั้นจะมีผลเป็นอย่างไรบ้าง.

    ๒. ภิกขุนีวิภังค์โสฬสมหาวาร   เป็นการย้อนกล่าวถึงศีลของนางภิกษุณีแต่ละข้อ อันปรากฏในวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ซึ่งมีชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ โดยตั้งปนะเด็นไว้เป็น ๒ ส่วน ส่วนละ ๘ ประเด็น เช่นเดียวกับของภิกษุ.

    ๓. สมุฏฐานสีสสังเขป    เป็นการรวบรวมสิกขาบททั้งหมดมากล่าวเฉพาะเรื่องสมุฏฐาน คือทางกาย, ทางวาจา , หรือทางจิต โดยจัดเป็นหมวดหมู่ว่า พวกใดบ้างเกิดจากสมุฏฐาน ๑ หรือสมุฏฐาน ๒ หรือสมุฏฐาน ๓ หรือสมุฏฐานผสมอื่น ๆ ในข้อ ๓ ข้อนั้น.

    ๔. กติปุจฉาวาร    เป็นการตั้งคำถามว่า เรื่องนั้น ๆ ทีเท่าไร เช่น อาบัติมีเท่าไร แล้วตอบเป็นประเด็น ๆ ไป เป็นต้น.

    ๕. วีสติวาร   ( แปลตามศัพท์ว่า ๒๐ วาระ ถอดความว่า ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยไว้ ๑๐ ประเด็น) เป็นการตั้งคำถาม แล้วตอบในเรื่องเกี่ยวกับอาบัติ, ที่เกิดแห่งอาบัติ, อธิกรณ์ , วิธีระงับอธิกรณ์ เป็นต้น รวม ๒๐ ประเด็น.

    ๖. ขันธกปุจฉา   คำถาม คำตอบ เกี่ยวกับขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ ถึงเล่มที่ ๗ คือทั้งมหาวัคค์และจุลลวัคค์ รวมทั้งสิ้น ๒๒ หมวด หรือ ๒๒ ขันธกะ ว่าในแต่ละหมวดนั้น ๆ กล่าวถึงอาบัติไว้กี่ประเภท.

    ๗. เอกุตตริกะ   เป็นการชี้แจงเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยด้วยตัวเลข คือ หมวด ๑ มีอะไรบ้างที่เป็นข้อเดียว หมวด ๒ มีอะไรบ้างที่เป็น ๒ ข้อ หมวด ๓ มีอะไรบ้างที่เป็น ๓ ข้อ ดังนี้เรื่อยไปจนถึงหมวด ๑๑ มีอะไรบ้าง ที่เป็น ๑๑ ข้อ เช่น อุโบสถ ๒ คือ ๑๔ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ, ปวารณา ๒ คือ ๑๔ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ , เป็นต้น กรรม ๒ คือ อปโลกนกรรม ( การบอกกล่าว) ญัตติกรรม ( การเสนอญัตติ) เหล่านี้เป็นต้น ก็อยู่ในหมวด ๒ รองเท้า ๑๑ ชนิดที่เป็นของไม่ควรมีอะไรบ้าง บุคคล ๑๑ ประเภทไม่ควรไหว้มีอะไรบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ก็อยู่ในหมวด ๑๑.

    ๘. อุโปสถาทิ   ปุจฉาวิสัชชนา คำถาม คำตอบเรื่องอุโบสถ เป็นต้น เช่น ถามว่า อะไรเป็นเบื้องต้นเป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งการทำอุโบสถ แล้วตอบว่า ความสามัคคีเป็นเบื้องต้น การกระทำเป็นท่ามกลาง และการจบเป็นที่สุดแห่งการทำอุโบสถ. ถามว่า อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งการบวช ตอบว่า บุคคลเป็นเบื้องตน การเสนอญัตติ ( ขอทาบทามสงฆ์) เป็นท่ามกลาง กัมมวาจา ( การสวดประกาศข้อความตกลงใจ หรือขออนุมัติสงฆ์) เป็นที่สุด.

    ๙. อัตถวเสปกรณ์   กล่าวถึงการที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความดีงามแห่งสงฆ์ ๒ . เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มคนที่เก้อยาก ( หน้าด้าน) ๔. เพื่ออยู่สบายของภิกษุผุ้มีศีลเป็นที่รัก ๕. เพื่อป้องกันอาสวะ ( กิเลสที่หมักหมมในจิต) ปัจจุบัน ๖. เพื่อป้องกันอาสวะในอนาคต ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘ . เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑๐. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย.

    ๑๐. คาถาสังคณิกะ    หมวดหรือชุมนุมแห่งคาถาคือคำฉันท์ ที่แสดงคำถาม คำตอบของพระอาจารย์ ผู้สังคายนาพระวินัยว่า สิกขาบทเท่าไรที่ยกขึ้นสวด ( ปาฏิโมกข์) และพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ในกี่นคร มีนครอะไรบ้าง และในนครไหนบัญญัติไว้กี่สิกขาบท. ( คำประพันธ์นี้มีประโยชน์ช่วยความจำได้ดียิ่ง. ทั้งส่วนวินัยของภิกษุและภิกษุณี).

    ๑๑. อธิกรณเภท   ว่าด้วยประเภทแห่งอธิกรณ์ การรื้อฟื้นอธิกรณ์ มูลแห่งอธิกรณ์ อาบัติที่เนื่องในอธิกรณ์ทั้งสี่ประเภท วิธีระงับอธิกรณ์ ( ซึ่งเคยกล่าวมาแล้วทั้งสิ้น เป็นแต่นำจัดเป็นหมวดหมู่ขึ้นใหม่).

    ๑๒. อปคคาถาสังคณิกะ    หมวดหรือชุมนุมคาถาหรือบทประพันธ์อื่นอีก เป็นการประพันธ์คำอธิบายเป็นคำฉันท์ เพื่อช่วยความจำ เกี่ยวกับการโจทฟ้อง การถามให้ระลึก เป็นต้น รวมทั้งลักษณะที่จะนับว่าเป็นอลัชชี.

    ๑๓. โจทนากัณฑ์   ว่าด้วยวิธีโจทฟ้องว่าจะทำอย่างไร ภิกษุผู้โจท ผู้ถูกโจทและสงฆ์จะควรทำอย่างไร.

    ๑๔. จูฬสงความ   ว่าด้วยปฎิบัติของภิกษุผู้ถูกฟ้อง เท่ากับเป็นผู้สู่สงความ ความเจียมตนปฏิบัติอย่างไร ตลอดถึงการฟ้อง การวินิจฉัย.

    ๑๕. มหาสงความ    ว่าด้วยข้อปฏิบัติหรือหน้าที่ที่ควรรู้อื่นอีกของภิกษุฟ้อง ซึ่งเท่ากับเป็นผู้เข้าสู่สงคราม มีรายละเอียดมากขึ้นกว่าที่กล่าวมาแล้วในข้อ ๑๔.

    ๑๖. กฐินเภท   ประเภทแห่งกฐิน ใครกราลไม่ได้ ใครกราลได้ กฐินไม่เป็นอันกราลอย่างไร เป็นอันกราลอย่างไร รวมทั้งหัวข้อควรจำต่าง ๆ เกี่ยวกับกฐิน ( ความจริงกล่าวไว้แล้วในพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี เล่ม ๔ แต่นำมาตั้งเป็นหมวดเป็นหมู่ให้จำง่ายอีก).

    ๑๗. อุปาลิปัญจกะ    ว่าด้วยคำกราบทูลถามของพระอุบาลี พระดำรัสตอบของพระผู้มีพระภาคซึ้งเป็นข้อกำหนด ๕ ข้อตลอด รวมทั้งสิ้น ๑๔ หมวด หรือ ๑๔ วรรค คือหมวด ๑ ว่าด้วยภิกษุที่ไม่ควรให้นิสสัย คือไม่ควรรับไว้ในปกครอง หมวด ๒ ว่าด้วยภิกษุที่ถูกลงโทษแล้ว ไม่ควรระงับการลงโทษ หมวดที่ ๓ ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ควรว่าคดีในสงฆ์ หมวดที่ ๔ ว่าด้วยการแสดงความเห็นแย้ง ( ทิฏฐาวิกัมม์) อย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม หมวดที่ ๕ ว่าด้วยภิกษุผู้โจทฟ้องภิกษุอื่น หมวดที่ ๖ ว่าด้วยการประพฤติธุดงค์ ๑๓ ข้อ ( ขัดเกลากิเลส) มีการอยู่ป่า เป็นต้น หมวดที่ ๗ ว่าด้วยการพูดปด หมวดที่ ๘ ว่าด้วยการให้โอวาทแก่นางภิกษุณี หมวดที่ ๙ ว่าด้วยอุพพาหิกา คือการมอบหมายให้แยกออกไปทำการแทนสงฆ์ หรือการตั้งผู้แทนสงฆ์ไปวินิจฉัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในเมื่อที่ประชุมใหญ่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ เพราะมีเสียงอื้ออึง เป็นต้น ( เทียบด้วยการตั้งกรรมาธการหรืออนุกรรมการ ) ภิกษุผู้ควรได้รับมอบหมายงานนี้ ควรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างมีอะไรบ้าง. หมวดที่ ๑๐ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ หมวดที่ ๑๑ ว่าด้วยสงฆ์แตกกัน ตอนที่ ๑ หมวดที่ ๑๒    ว่าด้วยสงฆ์แตกกัน ตอนที่ ๒ หมวดที่ ๑๓ ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นหรือประจำอยู่ในวัด หมวดที่ ๑๔ ว่าด้วยการกราลกฐิน .

    ๑๘. สมุฏฐาน   ว่าด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติและการออกจากอาบัติ.

    ๑๙. ทุติคาถาสังคณิกะ    หมวดหรือชุมนุมคาถาหรือคำฉันท์ที่ ๒ เป็นการประพันธ์หัวข้อ และคำอธิบายเกี่ยวกับพระวินัย เพื่อจำง่ายอีกหลายอีกประเด็น ยากกว่าที่เคยมีมาแล้วในตอนต้น ( ความจริงน่าจะเรียกว่าตอน ๓ เพราะข้างต้นมี ๒ ตอนอยู่แล้ว ได้แก่หมายเลข ๑๐ กับเลข ๑๒ แต่อาจจะถือว่า ๒ ตอนแรกรวมเป็น ๑ ตอนก็ได้).

    ๒๐ . เสทโมจนคาถา    คาถาเหงื่อแตก คือคำประพันธ์ตั้งปัญหาวินัยให้คิดชนิดยาก ๆ ( แบบกลเถรอดเพล คือคิดไม่ออกจนอดข้าวกลางวัน ) รวม ๔๓ ข้อ และมิได้เฉลยไว้ (คำอธิบายมีอยู่ในอารรถกา).

    ๒๑. ปัญจวัคค์   ว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ รวม ๕ หมวด หรือ ๕ วรรค คือวรรคที่ ๑ ว่าด้วยกรรม คืการทำกรรมของสงฆ์ชนิดต่าง ๆ วรรคที่ ๒ ว่าด้วยความมุ่งหมายในการบัญญัติสิกขาบท วรรคที่ ๓ ว่าด้วยการบัญญัติให้ทำสิ่งนี้ในทางพระวินัย วรรคที่ ๔ ว่าด้วยสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร วรรคที่ ๕ ว่าด้วยการสงเคราะห์หรือการรวม ( SYNTHESIS )   เรื่องต่าง ๆ รวม ๙ ประเภท.

    ( ได้กล่าวไว้แล้วว่า พระไตรปิฎก เล่ม ๘ อันมีชื่อว่าปริวารนั้น ไม่มีอะไรใหม่ เป็นแต่นำเรื่องที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑ ถึงเล่ม ๗ นั้นเอง มากล่าวใหม่ โดยจัดหมวดหมู่ หรือตั้งประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งให้จำง่ายเข้าใจง่าย ในที่นี้จึงได้ขยายความให้พิสดารอย่างเล่มอื่น ๆ คงย่อรวบรัด พอให้เห็นหมวดหมู่และหน้าตาของพระไตรปิฎกเล่มนี้).

    วินัยปิฎกเริ่มแต่เล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๘ จบลงเพียงเท่านี้ ต่อไปเป็นสุตตันตปิฎก ตั้งแต่เล่มที่ ๙ ถึงเล่ม ๓๓ รวม ๒๕ เล่ม.

 

 

view

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ04/11/2008
อัพเดท18/05/2023
ผู้เข้าชม1,492,930
เปิดเพจ2,051,867

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

 หน้าแรก

 กรรมการบริหารวัด

 บทความ

 ภาพกิจกรรม

 ร่วมบริจาคทำบุญ

 เว็บบอร์ด

 การเดินทาง

 ติดต่อเรา

view