ได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนั้น แบ่งออกเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก โดยลำดับ พระโบราณาจารย์ฝ่ายไทยได้ใช้วิธีย่อหัวข้อสำคัญในแต่ละปิฎก เพื่อจำง่ายเป็นอักษรย่อ ในการใช้อักษรย่อนั้น วินัยปิฎกมี ๕ คำ สุตตันตปิฎก ๕ คำ อภิธัมมปิฎก ๗ ดังต่อไปนี้....
วินัยปิฎก
อักษรย่อในปิฎกอื่น ๆ ไม่มีปัญหา คงมีปัญหาเฉพาะวินัยปิฎก คือ อา, ปา, ม, จุ, ป อา = อาทิกัมม์ ( การกระทำที่เป็นต้นบัญญัติ ) หมายเฉพาะรายการพระวินัย ตั้งแต่อาบัติปาราชิกลงมาถึงสังฆาทิเสส, ปา = ปาจิตตีย์ เป็นชื่อของอาบัติในปาฏิโมกข์ เฉพาะตั้งแต่ถัดสังฆาทิเสสลงมา ทั้งสองหัวข้อนี้เป็นการย่ออย่างจับความมากกว่าย่อตามชื่อหมวดหมู่ จึงไม่ตรงกับชื่อที่ใช้เป็นทางการในวินัยปิฎก ส่วนอีก ๓ ข้อท้ายตรงตามชื่อหมวดหมู่ ฉะนั้น ถ้าจะจัดตามชื่อ จึงควรเป็นดังนี้:-
๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยศีลของภิกษุที่มาในปาฏิโมกข์ ( คำว่า ปาฏิโมกข์ คือศีลที่เป็นใหญ่เป็นสำคัญอันจะต้องสวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน)
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีลของภิกษุณี
๓. ม = มหาวัคค์ แปลว่า วรรคใหญ่ แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๐ หมวด
๔. จุ = จุลลวัคค์ แปล วรรคเล็ก แบ่งออกเป็นขันธกะ คือหมวดต่าง ๆ ๑๒ หมวด
๕. ป = ปริวาร หมายถึงหัวข้อเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญญาใน ๔ เรื่องข้างต้น
แต่ความเข้าใจของชาวอังกฤษที่ตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศอังกฤษเขาแบ่งวินัยปิฎกออกเป็น ๓ ส่วน คือ :-
๑ . สุตตวิภังค์ หมายรวมทั้งศีลของภิกษุและภิกษุณี
๒. ขันธกะ หมายรวมทั้งมหาวัคค์และจุลลวัคค์
๓. ปริวาร คือหัวข้อเบ็ดเตล็ด
ปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เกิดการผิดพลาดหรือบกพร่องในวินัยปิฎกแต่ละประการใด ต้นฉบับก็ตรงกัน เป็นแต่การเรียกชื่อหัวข้อ หรือวิธีแบ่งหัวข้อต่างกันออกไปเท่านั้น
ในหนังสืออรรถกถาวินัย ( สมันตัปปาสาทิกาภาค ๑ หน้า ๑๗ ) พระอรรถกถาจารย์จัดหัวข้อย่อวินัยปิฎกไว้ว่า ชื่อวินัยปิฎก คือ “ ปาฏิโมกข์ ๒ ( ภิกขุปาฏิโมกข์ ภิกขุนีปาฏิโมกข์ ) วิภังค์ ๒ ( มหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์กับภิกขุนีวิภังค์) ขันธกะ ๒๒ ( รวมทั้งในมหาวัคค์และจุลลวัคค์ ) และบริวาร ๑๖ ” เรื่องเหล่านี้คงเป็นปัญหาในการเรียกชื่อหมวดหมู่ตามเคย ถ้ารู้ความหมายแล้วจะท่องจำหัวข้อย่อ ๆ แบบไทยว่า อา, ปา, ม, จุ, ป ก็คงได้ประโยชน์เท่ากัน อนึ่ง ท่านผู้อ่านจะเข้าใจยิ่งขึ้นเมื่ออ่านถึงภาค ๓ อันว่าด้วยความย่อแห่งพระไตรปิฎก เพราะจะได้เห็นหัวข้อที่แบ่งออกไปเป็นหมวดหมู่รอง ๆ ลงไปหมวดใหญ่อย่างชัดเจน
เล่มที่ ๑ ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
ได้กล่าวไว้แล้วในภาค ๑ ว่าด้วยความรู้เรื่องพระไตรปิฎก ว่าวินัยปิฎกนั้น ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุและภิกษุณี. เมื่อจะกล่าวโดยเรียงลำดับเล่ม วินัยปิฎก ๘ เล่มนั้น เล่ม ๑ เล่ม ๒ มีชื่อว่ามหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เล่ม ๓ มีชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี เล่ม ๔ เล่ม ๕ มีชื่อว่ามหาวัคค์ แปลว่า วรรคใหญ่ หรือพวกใหญ่ คือว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสงฆ์ ที่เป็นเรื่องสำคัญ ๆ และต้องทำเสมอ เช่น เรื่องจีวร, เรื่องอุโบสถ, ปวารณา, การจำพรรษา. เล่ม ๖ เล่ม ๗ มีชื่อว่า จุลลวัคค์ แปลว่า วรรคเล็ก หรือพวกเล็ก คือว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสงฆ์ที่มีความสำคัญรองลงมา จนถึงเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น เรื่องข้อวัตรต่าง ๆ เรื่องที่อยู่อาศัย เป็นต้น ส่วนเล่มสุดท้าย คือเล่มที่ ๘ มีชื่อว่าปริวาร เป็นการรวบรวมความรู้ในวินัยปิฎกทั้งเจ็ดเล่มข้างต้น จัดเป็นหมวดหมู่ให้เข้าใจง่าย. สมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษ เรียกมหาวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์ รวมกันว่า สุตตวิภังค์.
เฉพาะเล่ม ๑ มีการแบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ ให้ชื่อว่ากัณฑ์ รวมทั้งสิ้น ๗ กัณฑ์ คือ
๑. เวรัญชกัณฑ์ เล่าเรื่องพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา จนถึงเรื่องพระสาริบุตรของให้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา จนถึงเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา ไปยังกรุงพาราณสี (ราชธานีแห่งแคว้นกาสี) และเสด็จถึงกรุงเวสาลี (ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี) ในที่สุด.
๒. ปฐมปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ คือสิกขาบทที่ห้ามภิกษุเสพเมถุน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ตั้งแต่ราคา ๕ มาสกขึ้นไป พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และติดสินเป็นราย ๆ ไป.
๔. ตติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ คือสิกขาบทที่ห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์ พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๕. จตุตถปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ห้ามมิให้ภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน พร้อมทั้งเรื่องราวที่ทรงวินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๖. เตรสกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นอาบัติหนักรองลงมาจากอาบัติปาราชิก เมื่อต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิดไว้ แล้วอยู่มานัตต์อีก ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงประชุมสงฆ์ ไม่น้อยกว่า ๒๐ รูป ทำพิธีสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส. ทั้งสิบสามข้อนี้ ได้มีการบรรยายความเป็นมา ที่เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแก้ไขเพิ่มเติม วินิจฉัย ไต่สวน และตัดสินเป็นราย ๆ ไป.
๗. อนิยตกัณฑ์ แปลว่า กัณฑ์อันว่าด้วยอาบัติซึ่งไม่แน่ว่าจะต้องอาบัติอะไรใน ๒-๓ ประการ สุดแต่กรณีแวดล้อมจะให้ตัดสินว่าต้องอาบัติอะไร อนิยตหรือสิกขาบทที่ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่นี้ มี ๒ สิกขาบท.
รวมความว่า ใน มหาวิภังค์ หรือวินัยปิฎก เล่ม ๑ นี้ แสดงความเป็นมาแห่งการบัญญัติสิกขาบท ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ รวมเป็น ๑๙ ข้อ.
ขยายความ
๑. เวรัญชกัณฑ์
เริ่มต้นด้วยเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร. พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง. เวรัญชพราหมณ์จึงเกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย. ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด. เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.
ในสมัยนั้น เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย หาอาหารได้ยาก ถึงขนาดต้องใช้สลากปันส่วนอาหาร. ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ได้อาศัยข้าวแดงจากพ่อค้าที่พักแรมฤดูฝน ณ เมืองนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นผู้ชนะ (ที่สามารถต่อสู้กับความยากลำบากได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีแสวงหาในทางที่ผิด เช่น อวดตนเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น).
พระโมคคัลลานะเสนอวิธีแก้ไขความอดอยากหลายประการ รวมทั้งการไปเที่ยวบิณฑบาตในที่อื่น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต.
ส่วนพระสาริบุตรคำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์ จึงกราบทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นและไม่ตั้งมั่น พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่การบัญญัติสิกขาบท การสวดปาฏิโมกข์ (สวดทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน) ว่าเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ตั้งมั่น การไม่ทำเช่นนั้นเป็นเหตุให้พรหมจรรย์อันตรธาน. พระสาริบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลา คือพระสงฆ์ยังไม่มาก ลาภสักการะยังไม่มาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ก็ยังไม่ต้องบัญญัติสิกขาบท. ถ้าพระสงฆ์มาก ลาภสักการะมาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏในสงฆ์ จึงควรบัญญัติสิกขาบท. ทั้งขณะนั้นภิกษุสงฆ์ที่ติดตามพระพุทธเจ้า ก็ล้วนเป็นพระอริยบุคคล คืออย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน.
เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงชวนพระอานนท์ไปบอกลาเวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้ว แสดงธรรมโปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคา ที่ท่าชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสี สู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน.
๒. ปฐมปาราชิกกัณฑ์
(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑)
สมัยนั้นมีหมู่บ้านนามว่ากลันทะ ตั้งอยู่ไม่ไกลเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีผู้เป็นบุตรชาวกลันทะ นามว่าสุทินนะ, สุทินนะ (ผู้มีคำต่อท้ายชื่อว่าบุตรชาวกลันทะ) พร้อมด้วยสหายไปสู่กรุงเวสาลี เห็นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม จึงแวะเข้าไปสดับธรรมะ มีความเลื่อมใสใคร่จะออกบวช จึงกราบทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระศาสดายังไม่ประทานอนุญาตให้บวช เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต. สุทินนะจึงกลับไปขออนุญาตท่านมารดาบิดา แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดิม สุทินนะจึงนอนลงกับพื้น อดอาหารถึง ๗ วัน มารดาบิดาอ้อนวอนให้ล้มความตั้งใจ ก็ไม่ยอม พวกเพื่อน ๆ มาอ้อนวอน ก็ไม่ยอม ในที่สุด พวกเพื่อน ๆ อ้อนวอนให้มารดาบิดาของสุทินนะอนุญาต ก็ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ออกบวช ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ทางวัชชีคาม.
ครั้งนั้น แคว้นวัชชี (ซึ่งมีกรุงเวสาลีเป็นราชธานี) เกิดทุพภิกขภัย พระสุทินนะมีญาติเป็นคนมั่งคั่งมาก เมื่อเดินทางไปถึงกรุงเวสาลี ญาติ ๆ ทราบข่าวก็นำอาหารมาถวายเหลือเฟือ พระสุทินนะก็ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอีกต่อหนึ่งแล้วเดินทางไปกลันทคาม (ตำบลบ้านเดิมของตน). ความทราบถึงมารดา บิดา, บิดาจึงนิมนต์ไปฉัน มารดาก็นำทรัพย์สมบัติมาล่อเพื่อให้สึก พระสุทินนะไม่ยอมจึงไม่สำเร็จ. ต่อมามารดาพระสุทินนะรอจนภริยาของพระสุทินนะ (ตั้งแต่ในสมัยยังไม่ได้บวช) มีระดู ได้กำหนดจะมีบุตรได้ จึงพานางไปหาพระสุทินนะที่ป่ามหาวัน ชวนให้สึกอีก พระสุทินนะไม่ยอม จึงกล่าวว่า ถ้าไม่สึกก็ขอพืชพันธุ์ไว้สืบสกุล. ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอทำได้ เพื่อให้มีบุตรสืบสกุล จึงเสพเมถุนด้วยภริยาของตน ซึ่งต่อมานางตั้งครรภ์และคลอดบุตร. บุตรของพระสุทินนะจึงได้นามว่าเจ้าพืช. ภริยาของพระสุทินนะ ก็ได้นามว่ามารดาของเจ้าพืช. ต่อมาทั้งมารดาและบุตรออกบวชได้สำเร็จอรหัตตผลทั้งสองคน.
กล่าวถึงพระสุทินนะเกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกษุทั้งหลายถามทราบความ จึงพากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนเรื่องนั้น ทรงติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.๑
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
ต่อมามีภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงเสพเมถุนด้วยนางลิง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติเพื่อเติมให้ชัดขึ้นว่า ห้ามแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน.
ภิกษุเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีก พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติมิให้อุปสมบทแก่ผู้เช่นนั้น.
ต่อจากนั้น มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่างละเอียดทุก ๆ คำ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างประกอบ.
ภิกษุ ๕ ประเภท ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว (หรือถูกบังคับแต่ไม่ยินดี) ๒. ภิกษุผู้เป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน (หมายถึงเป็นบ้าไปชั่วขณะด้วยเหตุอื่น ไม่ใช่บ้าโดยปกติ อรรถกถาแก้ว่า ผีเข้า ในสมัยนี้เทียบด้วยเป็นบ้าเพราะฤทธิ์ยาบางชนิด) ๔. ภิกษุผู้มีเวทนากล้า ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง ๕. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน และพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัย ไต่สวน และชี้ขาดว่า ต้องอาบัติบ้าง ไม่ต้องอาบัติบ้าง ตามเงื่อนไขทางพระวินัยทั้งหมดมีประมาณ ๗๒ เรื่อง.
๑. พระสุทินนะไม่ต้องอาบัติ เพราะเป็นต้นบัญญัติ ไม่มีการปรับอาบัติย้อนหลัง
๒. ๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์
๓. (ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)
๔. เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง.๑ กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.
๕. ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.
๖. เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ๒ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.
๗. มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง๓ หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
๙. สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).
๑๐. ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น
๑๑. ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
๑๒. วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
๑๓. ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.
๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์
(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง.๑ กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.
เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ๒ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.
มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง๓ หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น
ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.
๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘๓. ทุติยปาราชิกกัณฑ์
(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๒)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปที่เป็นมิตรสหายกัน ได้ทำกุฏีหญ้า จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย. ภิกษุอื่น ๆ เมื่ออกพรรษาก็รื้อกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปสู่ชนบท. ส่วนพระธนิยะคงอยู่ในที่นั้นไม่ไปไหนตลอด ๓ ฤดู ขณะที่เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเก็บหญ้า เก็บไม้ มารื้อกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกนั้นก็มารือ ขโมยหญ้าและไม้ไปอีกถึง ๓ ครั้ง ท่านพระธนิยะจึงคิดสร้างกุฎีดิน เพราะเป็นผู้ชำนาญในการผสมดินปั้นหม้อมาก่อน เมื่อตกลงใจดั่งนั้น จึงเอาดินเหลวมาขยำ แล้วทำเป็นกุฎีดินล้วน เอาหญ้าไม้และมูลโคมาสุมกุฎีที่ทำไว้แล้ว ให้เป็นกีฎีดินเผา สวยงามมีสีแดงดังตัวแมลงเต่าทอง.๑ กิตติศัพท์ของกุฎีนี้ที่ว่าสวยงาม แพร่ไป พระพุทธเจ้าทรงทราบ ตรัสสั่งให้ทุบทำลายเสีย เพื่อมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่าง เพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฎี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำกุฎีดินล้วน ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ท่านพระธนิยะไม่ยุติเพียงเท่านั้น เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง เล่าความให้ฟังถึงเรื่องที่คนรื้อกุฎีหญ้า ขโมยหญ้า และไม้ไปถึง ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฎีดินเผา ก็ถูกสั่งให้ทำลายเสีย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง. คนเฝ้าปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระนคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย. ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำไปได้. พระธนิยะตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว. คนเฝ้าโรงไม้เชื่อว่าเป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป. ท่านพระธนิยะก็นำไม้มาตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยใส่เกวียนขนไปทำกุฎีไม้.
เมื่อวัสสการพราหมณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่าไม้หายไป จึงไต่สวน แล้วนำความกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร มีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป. ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย. พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะ แล้วตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่า พระองค์ถวายไม้นั้น. ท่านพระธนิยะตอบว่า เป็นความจริง. พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมาก ถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ชี้แจงมา. ท่านพระธนิยะทูลถามว่า ทรงระลึกได้หรือไม่ ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด. ตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ แต่ที่ตรัสอย่างนั้น ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ๒ ใคร่ต่อการศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า. ท่านถือเอาไม้ที่มิได้ให้ด้วยเลสนี้ คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร ท่านจงไปเถิด ท่านพ้นเพราะเพศ (บรรพชิต) ต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีก.
มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่าง ๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน เมื่อท่านพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำหรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า บาทหนึ่ง๓ หรือมีราคาเท่ากับบาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาทหนึ่ง. ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่งเท่ากับ ๕ มาสก. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้น ได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก.
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ คือเป็นพวกร่วมใจกัน ๖ รูป) ไปที่ลาน (ตากผ้า) ของช่างย้อมขโมยห่อผ้าของช่างย้อมนำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอแก้ตัวว่า นี่เธอไปลักในป่า ไม่ได้ลักในบ้าน สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจริงในตัวสิกขาบท มิได้ระบุสถานที่) แต่เพื่อที่จะปิดมิให้ข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม (ในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทรงตัดสินว่า ต้องอาบัติปาราชิก).
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายสิกขาบททุกคำโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น คำว่า ของตั้งอยู่บนพื้น บนบก บนอากาศ (เช่น นก) บนเวหาส (เช่น ของแขวนไว้) ในน้ำ บนเรือ บนยาน บนเครื่องแบก (เช่น ศีรษะ, สะเอว) ในอาราม ในวิหาร ในนา ในสวน ในบ้าน ในป่า เป็นต้น
ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด) ๒. ถือเอาด้วยเข้าใจว่าคุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน (ไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ) ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน (เช่น เสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วน เพื่อเป็นอาหาร) ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของเขาทิ้งแล้ว ๗. ภิกษุเป็นบ้า ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน ประมาณ ๑๔๙ เรื่อง พระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยไต่สวนแล้ว ทรงชี้ขาดว่าต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ตามควรแก่กรณี.
๑. อินทโคปกะ อาจแปลได้ว่า หิ่งห้อย แมลงทับ แต่ทั้งสองชนิดนี้ไม่มีสีแดง การแปลคำนี้ในที่นี้ เป็นปัญหาที่ค้นคว้ากันมากในผู้ศึกษาภาษาบาลีหลายประเทศ ส่วนใหญ่เห็นว่า ได้แก่แมลงเต่าทอง (Lady birds) แมลงชนิดนี้ โดยปกติตัวสีแดง มีจุดดำ แต่ที่ตัวสีเหลือง ก็มีบ้าง
๒. หมายถึงเป็นผู้มีศีลอันดี ย่อมละอายใจ รังเกียจในความชั่ว แม้มีธุระจะใช้หญ้าใช้ไม้เล็กน้อยในป่า ก็ไม่กล้าใช้ จึงประทานอนุญาตไว้ ไม่ได้หมายอนุญาตของในเมือง
๓. ราคาบาทหนึ่ง หรือ ๕ มาสกของนครนั้น มีราคาสูงพอใช้ เพราะในเรื่องตัวอย่างบางเรื่อง ผ้าโพกที่ขโมยมาจากตลาด ราคายังไม่ถึงบาทหนึ่งด้วยซ้ำ ดูวินัยปิฎก เล่ม ๑๒๖ แต่ผ้าโพกที่ราคาถึง ปรับอาบัติปาราชิกก็มีในหน้า ๑๐๘
๑. ๔. ตติยปาราชิกกัณฑ์
๒. (ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๓)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เรือนยอด ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี พระองค์ได้ทรงแสดงอสุภกถา คือถ้อยคำปรารภสิ่งที่ไม่สวยงาม สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ และคุณแห่งการเจริญอสุภะ คือ การพิจารณาเห็นร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม กับทั้งคุณแห่งอสุภสมาบัติ (การเข้าฌานมีอสุภะเป็นอารมณ์) โดยปริยายเป็นอันมาก. ครั้นแล้วตรัสว่า ทรงพระประสงค์จะหลีกเร้นอยู่ตามลำพังพระองค์ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำอาหารเข้าไปเพียงรูปเดียว.
ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติอสุภภาวนา (การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน คือการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นของไม่งาม) ก็เกิดเบื่อหน่าย รังเกียจด้วยกายของตน เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการประดับตกแต่ง อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว รังเกียจซากศพงู ซากศพสุนัข ซากศพมนุษย์ อันคล้องอยู่ที่คอฉะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายรังเกียจด้วยกายของตนอย่างนี้ ก็ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันแลกันบ้าง เข้าไปหานายมิคลัณฑิกะ ผู้แต่งตัวเหมือนสมณะ จ้างด้วยบาตรจีวรให้ฆ่าบ้าง โดยนัยนี้ นายมิคลัณฑิกะก็รับจ้างฆ่าภิกษุทั้งหลายวันละหนึ่งรูปบ้าง สองรูป สามรูป สี่รูป ห้ารูป จนถึงหกสิบรูปบ้าง.๑
เมื่อครบถึงเดือนแล้ว เสด็จกลับจากที่เร้น ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงสั่งสอน อานาปานสติสมาธิ (คือการทำใจให้ตั้งมั่นโดยกำหนดกำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยปริยายต่าง ๆ แล้วทรงปรารภเรื่องภิกษุฆ่าตัวตาย ฆ่ากันและกัน รวมทั้งจ้างผู้อื่นให้ฆ่าตน ทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุฆ่ามนุษย์หรือใช้ให้คนอื่นฆ่า ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ผู้ล่วงละเมิด.
๓. อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งไม่สบาย ภิกษุฉัพพัคคียื (มีพวก ๖) เกิดพอใจในภริยาของอุบาสกนั้น จึงพูดพรรณนาคุณแห่งความตาย อุบาสกนั้นเชื่อ ก็ตั้งหน้ารับประทานแต่ของแสลง เป็นเหตุให้โรคกำเริบและตายด้วยโรคนั้น. ภริยาของอุบาสกจึงติเตียน ยกโทษภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวน ได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติเพิ่มเติม ห้ามการพรรณนาคุณของความตาย หรือชักชวนเพื่อให้ตาย ว่าผู้ใดละเมิด ต้องอาบัติปาราชิกด้วย.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายในคำบัญญัติสิกขาบทโดยละเอียด และมีข้อความแสดงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ว่ามี ๖ ประเภท คือ ๑. ภิกษุไม่รู้ (เช่น ทำของตกทับคนตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า) ๒. ไม่ประสงค์จะให้ตาย ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วขณะ) ๕. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า (ไม่รู้สึกตัว) ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
๔. วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
มีเรื่องต่าง ๆ เกิดขึ้น ประมาณ ๑๐๐ เรื่อง เกี่ยวกับการกระทำของภิกษุที่มีปัญหาว่าจะต้องอาบัติปาราชิกเพราะสิกขาบทนี้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคได้ทรงไต่สวน และทรงชี้ขาดว่า ต้องอาบัติบ้าง ไม่ต้องอาบัติบ้าง ตามควรแก่กรณี. เฉพาะเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับการกระทำของนางภิกษุณี.
๑. อรรถกถาตั้งคำถามว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบหรือว่า พระเหล่านั้นจะฆ่าตัวตาย หรือจ้างเขาฆ่าแล้วเฉลยว่า ทรงทราบ เพราะภิกษุนั้นในชาติก่อนเคยเป็นพรานล่าเนื้อ ฆ่าเนื้อมาตลอดชีวิต เป็นเรื่องของการใช้กรรมที่ไม่มีใครจะแก้ไขได้ พระองค์จึงทรงหลีกเร้นเสียตลอดกึ่งเดือน เรื่องของการใช้กรรม ถ้าไม่ตายอย่างนี้ ก็ต้องตายอย่างอื่น
๕. จตุตถปาราชิกกัณฑ์
(ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๔)
เริ่มเรื่องว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นมีภิกษุหลายรูป ที่ชอบพอเป็นมิตรสหายกัน จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา. สมัยนั้น เกิดทุพภิกขภัย๑ ในแคว้นวัชชี (ราชธานี ชื่อกรุงเวสาลี) ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยเรื่องอาหารบิณฑบาต จึงปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรดี.๒
บางรูปเห็นว่า ควรช่วยแนะนำกิจการงานของคฤหัสถ์ บางรูปเห็นว่า ควรทำหน้าที่ทูต (คือนำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ (คล้ายบุรุษไปรษณีย์) บางรูปเห็นว่า ควรใช้วิธีสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังว่า ภิกษุรูปนั้นรูปนี้ มีคุณวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ได้ฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ เป็นต้น จนถึงว่าได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖. เมื่อเห็นว่าวิธีหลังนี้ดี จึงเที่ยวสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟัง จึงได้รับเลี้ยงดูจากคฤหัสถ์ชาวริมน้ำวัคคุมุทาเป็นอย่างดี มีผิวพรรณผ่องใส เอิบอิ่ม. เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเก็บเสนาสนะ เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ กรุงเวสาลี.
ปรากฏว่าภิกษุที่มาแต่ทิศทางอื่นล้วนซูบผอม ผิวพรรณทราม มีเส้นเอ็นขึ้นเห็นได้ชัด ส่วนภิกษุที่มาจากฝั่งน้ำวัคคุมุทา กลับอิ่มเอิบ อ้วนพี พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสติเตียนและตรัสเรียกประชุมภิกษุทั้งหลาย ตรัสเรื่องมหาโจร ๕ ประเภท เปรียบเทียบกับภิกษุ คือ
๕. มหาโจร ๕ ประเภท
๑. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่า, ปล้น, เอาไฟเผาในคามนิคมราชธานี. ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันเข้าไปฆ่าปล้น เอาไฟเผาในคามนิคม ราชธานี เทียบด้วยภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะจาริกไปในคามนิคม ราชธานี ให้คฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันจากริกไปในคามนิคม ราชธานี มีคฤหัสถ์บรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๑ (ซึ่งมีความปรารถนาลาภสักการะ แล้วก็ทำอุบายต่าง ๆ จนได้สมประสงค์).
๒. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็โกงเป็นของตนเอง (แสดงว่าตนคิดได้เอง ไม่ได้เรียนหรือศึกษาจากใคร). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๒.
๓. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่า ประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมล. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๓.
๔. ภิกษุชั่วบางรูปเอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (ที่ห้ามแจกห้ามแบ่ง) เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียง ตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ ประจบคฤหัสถ์ (พราะเห็นแก่ลาภ). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๔.
๕. ภิกษุผู้อวดคุณพิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นยอดมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย.
ครั้นแล้วทรงติเตียนภิกษุชาวริมฝั่งน้ำวัดคุมุทาด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก.
๖. อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปสำคัญผิดว่าตนได้บรรลุคุณพิเศษ จึงประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ (พยากรณ์อรหัตตผล) สมัยต่อมา จิตของเธอน้อมไปเพื่อราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดความรังเกียจ สงสัยว่า การประกาศตนว่าได้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยความสำคัญผิด จะทำให้ต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม ยกเว้นให้สำหรับภิกษุผู้สำคัญผิดว่าได้บรรลุ.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียดแล้วแสดงอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ ๑. เพราะสำคัญผิดว่าได้บรรลุ ๒. ภิกษุมิได้มีความประสงค์โอ้อวด (เช่น บอกเล่าแก่เพื่อพรหมจารี) โดยมิได้มีความปราถนาจะได้ลาภ) ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวเพราะเหตุใด ๆ) ๕. ภิกษุมีเวทนากล้า (ไม่รู้สึกตัว) และ ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
๗. วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๕ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ต้องอาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฏบ้าง ตามควรแก่กรณี.
(สรุปความว่า อาบัติปาราชิกมี ๔ สิกขาบท ต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ แม้สึกไปแล้ว จะมาบวชใหม่อีก ก็ไม่ได้).
๑. เป็นสมัยเดียวกับที่กล่าวถึงในข้อ ๒ ปฐมปาราชิกกัณฑ์ อันว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ตอนที่ เล่าเรื่องพระสุทินนะ
๒. เป็นสมัยที่ภิกษุไม่ดีมีขึ้นหลายรูปแล้ว
เตรสกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑
(ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน)
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ภิกษุเสยยสกะถูกพระอุทายี๑ แนะนำในทางที่ผิด ให้ใช้มือเปลื้องความใคร่ ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ความทราบถึงพระผุ้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน พระเสยยสกะรับเป็นสัตย์ ทรงติเตียนพระเสยยสกะเป็นอันมาก แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนโดยเจตนา ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติสังฆาทิเทสส (อาบัติที่ต้องให้สงฆ์เกี่ยวข้องในกรรมเบื้องต้นและกรรมอันเหลือ คือสงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติ).
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคลื่อนด้วยความฝัน เกิดความสงสัยว่า จะต้องสังฆาทิเสส จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เจตนามีอยู่ แต่เป็นอัพโพหาริก (ไม่ควรกล่าวว่า มีเหมือนอย่างเทน้ำหมดแก้วแล้ว น้ำก็ยังคงมีติดอยู่เล็กน้อย แต่ไม่ควรกล่าวว่า มี) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม เพิ่มข้อยกเว้นสำหรับความฝัน.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยพิสดารแล้ว กล่าวถึงเรื่องอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) ๖ ประการ คือ ๑. เพราะฝัน ๒. ภิกษุไม่มีเจตนาจะทำให้เคลื่อน ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน (เป็นบ้าไปชั่วคราวด้วยเหตุใด ๆ) ๕. ภิกษุมีเวทนากล้า และ ๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
วินีตวัตถุ
(เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)
ต่อจากนั้น แสดงตัวอย่างต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวด้วยการกระทำของภิกษุที่เนื่องด้วยสิกขาบทนี้ ประมาณ ๗๑ ราย ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงไต่สวนเอง ทรงวินิจฉัยชี้ขาดว่า ต้องอาบัติปาราชิกบ้าง ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสบ้าง ไม่ต้องบ้าง ตามควรแก่กรณี.
สิกขาบทที่ ๒
(ห้ามจับต้องกายหญิง)
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วกล่าวถึงวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายีว่างดงาม มีเตียงตั่งฟูกหมอน น้ำดื่มใช้ตั้งไว้ดี มีบริเวณอันกวาดสะอาด. มนุษย์ทั้งหลายพากันไปชมวิหารมากด้วยกัน. พราหมณ์ผู้หนึ่งพาภริยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้พราหมณ์เดินหน้า ภริยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภริยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหนึ่ง เลยถือโอกาสจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธ ติเตียนเป็นอันมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือลูบคลำอวัยวะใด ๆ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ครั้นแล้ว ได้มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่างละเอียด และมีข้อแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ คล้ายคลึงกับสิกขาบทที่แล้ว ๆ มา ลงท้ายด้วยแสดงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งพระศาสดาทรงวินิจฉัย ไต่สวนชี้ขาดด้วยพระองค์เอง อันเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ประมาณ ๒๐ เรื่อง.
สิกขาบทที่ ๓
(ห้ามพูดเกี้ยวหญิง)
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องสตรีหลายคนพากันไปชมวิหาร (ที่อยู่) ของพระอุทายี ซึ่งเลื่องลือกันว่างดงาม พระอุทายีก็ถือโอกาสนั้นพูดจาพาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น. หญิงบางคนที่เป็นคนคะนองไม่มีความอาย ก็ยิ้มแย้ม ซี้ซิก คิกคัก พูดล้อกับพระอุทายี. ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ก็ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน ทำนองชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ๒ ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด แล้วแสดงถึงอนาบัติ (การไม่ต้องอาบัติ) สำหรับภิกษุผู้พูด มุ่งอรรถ มุ่งธรรม มุ่งสั่งสอน ผู้เป็นบ้า และผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงวินีตวัตถุ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงไต่สวนวินิจฉัยชี้ขาด รวม ๑๒ เรื่อง.
สิกขาบทที่ ๔
(ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม)
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าถึงหญิงหม้ายคนหนึ่งผู้มีรูปร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปสู่สกุลนั้น สั่งสอนจนเกิดความเลื่อมใสแล้ว เธอปวารณาที่จะถวายผ้านุ่งห่ม อาหารที่นอนที่นั่งและยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรือชักชวนหญิงนั้น ให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่า เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นางหลงเชื่อ แสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลาย แสดงอาการรังเกียจ. นางจึงติเตียนพระอุทายี. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวน ติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายข้อความในสิกขาบทอย่างละเอียด พร้อมทั้งแสดงถึงการไม่ต้องอาบัติ โดยลักษณะ ๓ คือ ๑. พูดให้บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ. แล้วแสดงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น รวม ๗ เรื่อง ซึ่งพระผู้มีพระภาคไต่สวนชี้ขาดว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือไม่.
สิกขาบทที่ ๕
(ห้ามชักสื่อ)
เริ่มเรื่องว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย. สมัยนั้น พระอุทายีเมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภริยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เที่ยวพูดสรรเสริญเด็กหญิงในสำนักมารดาบิดาของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิง. พระอุทายีไปเที่ยวพูดสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดาบิดาของเด็กหญิง เขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน. โดยนัยนี้ พระอุทายีก็ทำให้เกิดการอาวาหะ วิวาหะ และการสู่ขอหลายราย.
สมัยนั้น ธิดาของหญิงผู้เคยเป็นโสเภณีคนหนึ่ง มีรูปงาม น่าดู น่าชม, สาวกของอาชีวกซึ่งอยู่ต่างตำบล จึงมาขอธิดานั้น แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จัก ทั้งก็มีลูกคนเดียว ลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอื่น จึงไม่ยอมยกให้. สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายี ขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้ พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จักจึงยอมยกให้. สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงนั้นไปเลี้ยงดูอย่างลูกสะใภ้ได้เดือนเดียว ต่อมาก็เลี้ยงดูแบบทาสี.
เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดามารับกลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่ก็กลับถูกรุกราน อ้างว่าการนำมานำไปเกี่ยวกับนาง แต่เกี่ยวกับพระอุทายี จึงไม่รับรู้เรื่องนี้. นางจึงต้องกลับสู่กรุงสาวัตถี.
เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวแก่มารดาเป็นครั้งที่ ๒ เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการที่มีความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ. มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้. พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอ้างว่าพระอุทายีไม่เกี่ยว การนำมานำไป เป็นเรื่องระหว่างตนกับมารดาของเด็กหญิง เป็นสมณะควรขวนขวายน้อย ควรเป็นสมณะที่ดี พระอุทายีจึงต้องกลับ.
เด็กหญิงนั้น ส่งทูตไปแจ้งข่าวเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้นำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้ว และถูกรุกรานไม่ยอมไปอีก. มารดาของเด็กหญิงนั้น และหญิงอื่น ๆ ที่ไม่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็พากันติเตียน สาปแช่งพระอุทายี. ส่วนหญิงที่พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็สรรเสริญให้พรพระอุทายี.
ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ จึงทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อมาพระอุทายีก่อเรื่องขึ้นอีก โดยพวกนักเลงขอร้องให้ไปตามหญิงแพศยามา เพื่อสำเร็จความใคร่ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า การชักสื่อเช่นนั้น แม้โดยที่สุด เพื่อสำเร็จความประสงค์ชั่วขณะหนึ่ง ก็ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. ไปด้วยกิจของสงฆ์ ของเจดีย์ หรือของภิกษุไข้ ๒. ภิกษุเป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ ไม่ต้องอาบัติ แล้วได้แสดงตัวอย่างที่เกิดเรื่องขึ้น ๗ เรื่องเกี่ยวกับสิกขาบท่นี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัยชี้ขาด.
สิกขาบทที่ ๖
(ห้ามสร้างกุฎีด้วยการขอ)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวแคว้นอาฬวีให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ (ในที่ซึ่งไม่มีใครจับจอง) เป็นของจำเพาะตน (เพื่อประโยชน์ของตนเอง) เป็นกุฎีไม่มีประมาณ (ไม่กำหนดเขตแน่นอน) ด้วยการขอเอาเอง (คือขอของใช้รวมทั้งขอแรง) กุฎียังไม่เสร็จ พวกเธอก็มากไปด้วยการขอ เช่น ขอคน ขอแรงงาน ขอโค ขอเกวียน ขอพร้า ขอขวาน เป็นต้น ก่อความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอันมาก ถึงกับเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า ก็พากันหวาดบ้าง สะดุ้งกลัวบ้าง หนีบ้าง ไปทางอื่นบ้าง หันหน้าหนีไปทางอื่นบ้าง ปิดประตูบ้าง เห็นโค สำคัญว่าเป็นภิกษุ ก็พากันหนีบ้าง.๓
ท่านพระมหากัสสปจาริกไปสู่แคว้นอาฬวี พักที่อัคคาฬวเจดีย์ ไปบิณฑบาตก็พบมนุษย์ทั้งหลายพากันหวาดสะดุ้ง หลบหนี เมื่อกลับมาถามภิกษุทั้งหลาย ทราบความแล้ว พอพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปสู่เมืองอาฬวี ก็กราบทูลให้ทรงทราบ จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ตรัสเทศนาสั่งสอนไม่ให้เป็นผู้มักขอ ทรงเล่านิทานประกอบถึง ๓ เรื่อง แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ก่อกุฎี ที่ไม่มีเจ้าของ เป็นที่อยู่จำเพาะตนด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง พึงทำให้ได้ประมาณ คือยาวไม่เกิน ๑๒ คืบ กว้างไม่เกิน ๗ คืบ ทั้งต้องให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อน. ภิกษุทั้งหลายพึงแสดงที่ ซึ่งไม่มีใครจองไว้ ที่มีชานรอบ ถ้าภิกษุให้ก่อกุฎีด้วยการขอ (สิ่งต่าง ๆ) เอาเอง ในที่ซึ่งมีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายแสดงที่ให้ก่อนก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และอธิบายถึงลักษณะการไม่ต้องอาบัติไว้ ที่มีลักษณะอันไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน และภิกษุผู้ทำเป็นบ้าหรือเป็นต้นบัญญัติ.
๑. ภิกษุที่ชื่ออุทายี มี ๒ รูป รูปหนึ่งผิวดำ จึงมีผู้เรียกว่า กาฬุทายี (อุทายีดำ) เคยเป็นอำมาตย์กรุงกบิลพัสดุ์ ออกบวชเมื่อคราวพระพุทธบิดาใช้ให้ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ส่วนพระอุทายีที่กล่าวถึงในที่นี้ชอบก่อเรื่องเลอะเทอะเสมอ จึงมีฉายาว่า โลลุทายี (อุทายีเลอะเทอะ)
๒. การพูดเกี้ยวของอินเดีย ในสมัยนั้น อาจจะเป็นอย่างอื่น ลักษณะการใช้ถ้อยคำ คงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ พึงเข้าใจว่า การใช้ถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการเกี้ยวหญิง ย่อมนับเข้าในข้อนี้
๓. เรื่องนี้ควรเป็นเครื่องเตือนใจให้สังวรในการเรี่ยไร รบกวนชาวบ้านจนไม่เป็นอันทำอะไร และแสดงไปในตัวว่า พระพุทธเจ้าทรงปราบปรามเรื่องเช่นนี้อย่างหนักเพียงไร
สิกขาบทที่ ๗
(ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ครั้งนั้น คฤหบดีผู้เป็นอุปฐาก (บำรุง) พระฉันนะ ขอให้พระฉันนะแสดงที่ให้ ตนจะสร้างวิหารถวาย. พระฉันนะให้ปราบพื้นที่ ให้ตัดต้นไม้ที่ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นการก่อความสะเทือนใจ มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติ และทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่. ภิกษุเหล่านั้น พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่มีผู้จองไว้ หาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปแสดงที่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท๑ โดยละเอียด ส่วนลักษณะการไม่ต้องอาบัติ คงเป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๖.
สิกขาบทที่ ๘
(ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตร (ผู้เป็นบุตรแห่งมัลลกษัตริย์) ได้บรรลุพระอรหัตตผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำอีก. ต่อมาท่านปรารถนาจะทำประโยชน์แก่คณะสงฆ์ โดยเป็นผู้จัดเสนาสนะ (เสนาสนคาหาปกะ มีหน้าที่จัดที่พักให้พระที่เดินทางมา) และเป็นผู้แจกภัตต์ (ภัตตุทเทสกะ มีหน้าที่จัดภิกษุไปฉันในที่นิมนต์ ในเมื่อทายกมาขอพระต่อสงฆ์) จึงกราบทูลความดำริของท่านแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการ และทรงแสดงความเห็นชอบด้วยที่จะให้ท่านทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่ทั้งสองนั้น.
จึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ ให้สงฆ์เชิญพระทัพพะก่อนแล้ว ให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศขอความเห็นชอบในการสมมติ พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้แจกเสนาสนะ และแจกภัตต์ เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงเป็นอันสงฆ์ได้สมมติ (หรือแต่งตั้ง) แล้ว.
พระทัพพมัลลบุตรทำหน้าที่มาด้วยดี ครั้งหนึ่งถูกภิกษุพวกพระเมตติยะ และภุมมชกะ (สองรูปนี้เป็นหัวหน้าของกลุ่มภิกษุผู้มักก่อเรื่องเสียหาย) เข้าใจผิดหาว่าท่านไปแนะนำคฤหบดีผู้หนึ่ง มิให้ถวายอาหารดี ๆ แก่พวกตน ซึ่งความจริงคฤหบดีผู้นั้น ไม่เลื่อมใส และรังเกียจด้วยตนเอง. จึงใช้นางเมตติยาภิกษุณีให้เป็นโจทก์ฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ในข้อหาต้องอาบัติปาราชิกเพราะข่มขืนนาง.
พระพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์ ไต่สวน ได้ความว่าเป็นการแกล้งใส่ความ จึงให้สึกนางเมตติยาภิกษุณี. พวกภิกษุผู้ใช้ออกรับสารภาพแทน ก็ไม่ทรงผ่อนผัน กลับทรงเรียกประชุมสงฆ์ ติเตียนหมู่ภิกษุผู้คิดร้าย ใส่ความฟ้องพระทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะการไม่ต้องอาบัติว่า ๑. โจทด้วยเข้าใจผิดในภิกษุผู้บริสุทธิ์ ว่าไม่บริสุทธิ์ ๒. โจทภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์จริง ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
สิกขาบทที่ ๙
(ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติ)
เล่าเรื่องภิกษุ พวกพระเมตติยะ และภุมมชกะชุดเดิม แกล้งหาเลส โจทพระทัพพมัลลบุรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล คือเห็นแพะตัวผู้เป็นสัดด้วยแพะตัวเมีย ก็นัดกันตั้งชื่อแพะตัวผู้ว่า พระทัพพมัลลบุตร ตั้งชื่อแพะตัวเมียว่า เมตติยาภิกษุณี แล้วเที่ยวพูดว่า ตนได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรได้เสียกับนางเมตติยาภิกษุณีด้วยตาตนเอง.
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระทัพพมัลลบุตร ได้ความว่าเป็นการอ้างเลส ใส่ความ จึงมอบให้สงฆ์จัดการไต่สวนภิกษุพวกที่อ้างเลสใส่ความ เมื่อพวกเธอรับเป็นสัตย์จึงทรงติเตียน แล้วบัญญัติสิกขาบท ห้ามอ้างเลสใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ทรงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ล่วงละเมิด.
ต่อไปเป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และคำอธิบายลักษณะไม่ต้องอาบัติ เป็นอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๘. (ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๑ ถึงที่ ๙ เรียกว่าปฐมาปัตติกะ คือต้องอาบัติตั้งแต่ลงมือทำครั้งแรก ส่วนสิกขาบทที่ ๑๐ ถึง ๑๓ เรียกยาวตติยกะ สงฆ์ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ขืนดื้อดึงจึงต้องอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๑๐
(ห้ามทำสงฆ์ให้แตกกัน)
เริ่มเรื่อง เล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเรื่องพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ, พระกฏโมรกดิสสกะ, พระที่เป็นบุตรของนางปัณฑเทวี และพระสมุทรทัตชักชวนให้ทำสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอไปในทางเคร่งครัดยิ่งขึ้น ๕ ข้อ ซึ่งเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคคงไม่ทรงอนุญาต และตนจะได้นำข้อเสนอนั้นประกาศแก่มหาชน. ข้อเสนอ ๕ ข้อ คือ
๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้าน ต้องมีโทษ
๒. ภิกษุพึงถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ผู้ใดรับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องมีโทษ
๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือผ้าหรือเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามที่ต่าง ๆ บ้าง นำมาซักและปะติดปะต่อเป็นจีวร) จนตลอดชีวิต ผู้ใดรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ต้องมีโทษ
๔. ภิกษุพึงอยู่โคนไม้จนตลอดชีวิต ผู้ใดเข้าสู่ที่มุง (ที่มีหลังคา) ต้องมีโทษ
๕. ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสัตว์ ผู้ใดฉัน ต้องมีโทษ
ภิกษุเหล่านั้นเห็นมีทางชนะก็ร่วมด้วย พระเทวทัตจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลข้อเสนอทั้งห้าข้อนั้น.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต๒ ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า, ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้าน ก็จงอยู่ในละแวกบ้าน. ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต, ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์, ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกกุล ก็จงใช้ผ้าบังสุกุล, ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) ก็จงรับคฤหบดีจีวร, เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน (ที่มิใช่ฤดูฝน), เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ (ว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงจะให้ภิกษุบริโภค).
พระเทวทัตดีใจ จึงเที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตข้อเสนอที่ดีของตน ทำให้คนที่มีปัญญาทรามบางคนเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก. แต่คนที่เข้าใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทัต ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนพระเทวทัต รับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุพากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน เมื่อภิกษุอื่นห้ามปราม ไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) เพื่อให้เธอเลิกเรื่องนั้นเสีย ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขากบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. สงฆ์ไม่สวดประกาศ ๒. เธอละเลิกเสียได้ ๓. ภิกษุเป็นบ้า ๔. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.
สิกขาบทที่ ๑๑
(ห้ามเป็นพรรคภวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน)
เนื่องมาจากสิกขาบทที่ ๑๐ คือภิกษุโกกาลิกะ เป็นต้น สนับสนุนพระเทวทัต ว่าไม่ควรติเตียนพระเทวทัต พูดเป็นธรรม เป็นวินัย ต้องด้วยความพอใจของตน. ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุพวกที่สนับสนุน ภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกันนั้น. ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้ความจริงแล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามสนับสนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน ถ้าห้ามไม่ฟัง ให้ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ ก็คล้ายกับสิกขาบทที่ ๑๐ มีเพิ่มภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน มีเวทนากล้า อีก ๒ ข้อ.
สิกขาบทที่ ๑๒
(ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้น พระฉันนะ๓ ประพฤติอนาจาร (ความประพฤติอันไม่สมควร) ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว กลับว่าติเตียน. ภิกษุทั้งหลายจึงพากันติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียนและทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำตนเป็นผู้ว่ายาก ถ้าไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
"ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด ส่วนลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติอย่างเดียวกับสิกขาบทที่ ๑๐.
สิกขาบทที่ ๑๓
(ห้ามประทุษร้ายสกุล คือประจบคฤหัสถ์)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ เป็นพระเจ้าถิ่นอยู่ในชนบท ชื่อว่ากิฏาคิริ เป็นพระอลัชชี.
มีภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาในแคว้นกาสี ผ่านมาพัก ณ ชนบทนั้น เพื่อจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยอาการสำรวม แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่ชอบ เพราะไม่แสดงอาการประจบประแจง เหมือนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ จึงไม่ถวายอาหาร. แต่อุบาสกผู้หนึ่ง (เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง) เห็นเข้า จึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันที่บ้านของตน สั่งความให้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่าง ๆ
ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์ ทอดตนลงให้เขาใช้) มีความประพฤติเลวทราม เป็นที่รู้เห็นทั่วไป ภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวและขับเสียจากที่นั้น ถ้าเธอกลับว่าติเตียน ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) ให้เธอละเลิก ถ้าสวดครบ ๓ ครั้ง ยังดื้อดึง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ต่อจากนั้น เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบทโดยละเอียด และแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติเหมือนสิกขาบทที่ ๑๑. (พึงสังเกตว่า ตั้งแต่สิกขาบที่ ๑๐ มา ถึงสิกขาบทที่ ๑๓ ที่เรียกว่ายาวตติยกะนั้น ต้องสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง จึงต้องอาบัติ).
๑. สิกขาบทนี้ ต่างจากสิกขาบที่ ๖ โดยสาระสำคัญ คือสิกขาบทที่ ๖ ภิกษุทำเอง ด้วยการขอสิ่งของและขอแรง ส่วนสิกขาบทนี้คนอื่นทำให้ จึงไม่มีการจำกัดขนาด แต่คงต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้เหมือนสิกขาบทก่อน เพื่อกันมิให้ปลูกตามใจชอบ โดยสงฆ์ไม่รับรู้อันอาจเกะกะไม่เป็นระเบียบ และอาจเป็นเหตุกระทบต่อความรู้สึกของคนอื่น. พึงสังเกตอย่างหนึ่งว่า ทั้งสองสิกขาบทนี้ ให้ปลูกสร้างที่อยู่โดยมีบริเวณโดยรอบ ขนาดเกวียนเดินรอบได้ ไม่นิยมให้ปลูกติด ๆ กัน
๒. พระดำรัสตอบของพระพุทธเจ้าเป็นไปในทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป อนุโลมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
๓. พระฉันนะรูปนี้ เคยตามเสด็จเมื่อคราวทรงผนวช จึงตัวว่าเป็นคนสำคัญ ไม่ยอมให้ใครว่ากล่าว กลายเป็นคนดื้อว่ายาก ใครปราบไม่ลง พระพุทธเจ้าทรงสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ คือ อย่าให้ใครว่ากล่าวตักเตือนหรือพูดจาด้วย จึงกลับตัวได้ในที่สุด
อนิยตกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติอันไม่แน่ว่า จะควรปรับในข้อไหน)
สิกขาบทที่ ๑
(วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง)
เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งเข้าไปนั่งในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลนั้น เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา๑ ผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถุน) ก็ตาม , อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะถูกต้องกายหญิง หรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตารับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๓ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).
สิกขาบทที่ ๒
(วิธีปรับอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง)
เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน. พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพรภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงนั้น (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง กล่าวธรรมบ้าง. นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายีก็ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คืออาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเกี้ยวหญิง หรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม) ก็ตาม, อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม. ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับหูรับสารภาพอย่างไร ในอาบัติ ๒ อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะเหมาะสม).
(หมายเหตุ : เรื่องของอนิยต หรือสิกขาบทอันไม่กำหนดแน่ว่าจะปรับอาบัติอย่างไร ใน ๒-๓ อย่าง ทั้งสองสิกขาบทนี้ หนักไปในทางแนะวิธีตัดสินอาบัติ แต่ก็บ่งอยู่ว่า ห้ามภิกษุนั่งในที่ลับตาก็ตาม ลับหู (แม้ไม่ลับตา) ก็ตาม กับหญิงสองต่อสอง เว้นแต่ในที่ลับตาจะมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย, แต่ในที่ลับหูหญิงหรือชายผู้รู้เดียงสานั่งเป็นเพื่อนอยู่ด้วย ก็พ้นจากความเป็นที่ลับหูไป).
๑. ที่เป็นอริยบุคคล เช่น นางวิสาขา แต่โดยใจความ หมายถึงผู้ที่พบเห็น เป็นผู้มีวาจาควรเชื่อได้เป็นหลักฐาน
เล่มที่ ๒ ชื่อมหาวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
พระไตรปิฎก เล่ม ๒ นี้ สืบเนื่องมาจาก เล่ม ๑ คือ ว่าด้วยอาบัติของภิกษุต่อจากที่กล่าวมาแล้ว ในเล่ม ๑ แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๔ หมวด และมีธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ต่อท้าย คือ
๑. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องสละสิ่งของเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์นี้ มี ๓๐ สิกขากบท แบ่ออกเป็น ๓ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท
๒. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัตปาจิตตีย์ล้วน ๆ ที่ไม่ต้องมีเงื่อนไข ให้สละสิ่งของก่อน อาบัติปาจิตตีย์นี้ มี ๙๒ สิกขาบท แบ่งออกเป็น ๙ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท เว้นแต่วรรคที่ ๘ (สหธัมมิกวัคค์) มี ๑๒ สิกขาบท. (คำว่า ปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลคือความดีให้ตก).
๓. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ (แปลว่า อาบัติอันพึงแสดงคืน เบากว่าอาบัติปาจจิตตีย์) มี ๔ สิกขาบท.
๔. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยข้อที่ภิกษุพึงศึกษา อันเกี่ยวด้วยวัตร, ธรรมเนียม หรือจรรยามารยาท ต่าง ๆ มีด้วยกันทั้งหมด ๗๕ สิกขาบท. แบ่งออกเป็น หมวดสารูป (ข้อปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ) ๒๖ สิกขาบท หมวดโภชนปฏิสังยุต (ข้อปฏิบัติเกี่ยวด้วยการฉันอาหาร) ๓๐ สิกขาบท หมวดธัมมเทสนาปฏิสังยุต (ข้อปฏิบัติเกี่ยวด้วยการแสดงธรรม) ๑๖ สิกขาบท นอกจากนั้นยังมี หมวดเบ็ดเตล็ด อีก ๓ สิกขาบท จึงรวมเป็น ๗๕.
๕. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ เป็นข้อความสั้น ๆ แถมเข้ามา แสดงถึงวิธีระงับอธิกรณ์ด้วยธรรม ๗ ประการ.
ขยายความ
๑. นิสสัคคิยกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทที่ต้องสละสิ่งของ)
๑. จีรวรรค วรรคว่าด้วยจีวร เป็นวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามเก็บจีวรที่เกินจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีจีวรได้เพียง ๓ ผืน (ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า สังฆาฏิ). ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุผู้รวมกันเป็นคณะ ๖ รูป) เข้าบ้าน อยู่ในวัด ลงสู่ที่อาบน้ำด้วยไตรจีวรต่างสำรับกัน ภิกษุทั้งหลายติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บอติเรกจีวร๑ (จีวรที่เกินจำเป็น คือเกินจำนวนที่กำหนด) ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์).
ต่อมามีเหตุเกิดขึ้น พระอานนท์ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสาริบุตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติม ให้เก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน.
สิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เอาผ้าสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนข้างนอก) ฝากภิกษุรูปอื่นไว้ จาริกไปสู่ชนบทด้วยสบง (ผ้านุ่ง) กับจีวร (ผ้าห่ม) รวม ๒ ผืนเท่านั้น. ผ้าที่ฝากไว้นานเปรอะเปื้อน ภิกษุผู้รับฝากจึงนำออกตาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงติเตียน และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอยู่ปราศจากไตรจึวรแม้คืนหนึ่ง ถ้าล่วงละเมิด ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น ภิกษุเป็นไข้ ไม่สามารถนำจึวรไปได้ทั้งสามผืน จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมมติแก่ภิกษุเช่นนั้นเป็นกรณีพิเศษ และไม่ปรับอาบัติ.
สิกขาบทที่ ๓ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้นอาลจีวร (ผ้าที่เกิดขึ้นนอกกาลที่อนุญาตให้เก็บไว้ได้เกิน ๑๐ วัน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ไมพอทำจีวร เธอคลี่ผ้าออก (เอามือ) รีดให้เรียบอยู่เรื่อย ๆ. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามทราบความแล้ว จึงทรงอนุญาตให้เก็บผ้านอกกาลไว้ได้ ถ้ามีหวังว่าจะได้ทำจีวร. ปรากฏว่าภิษุบางรูปเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บผ้านอกกาลไว้เกิน ๑ เดือน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๔ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามใช้นางภิกษุณีซักผ้า)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. อดีตภริยาของพระอุทายีเข้ามาบวชเป็นภิกษุณี รับอาสาซักผ้าของพระอุทายี ซึ่งมีน้ำอสุจิเปรอะใหม่ ๆ นางได้นำน้ำอสุจินั้นส่วนหนึ่งเข้าปาก ส่วนหนึ่งใส่ไปในองค์กำเนิด เกิดตั้งครรภ์ขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ๒ ซัก, ย้อม, หรือทุบ จีวรเก่า (คือที่นุ่งหรือห่มแล้วแม้คราวเดียว) ทรงปรับอาบัตนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๕ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามรับจีวรจากมือของนางภิกษุณี)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ พระอุทายีแค่นได้ขอจีวรนางอุบลวัณณา ซึ่งมีผ้าอยู่จำกัด นางจึงให้ผ้านุ่ง (อัตรวาสก) ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามรับจีวรจากมือนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมมีเงื่อนไข ไม่ปรับอาบัติในกรณีที่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน.
สิกขาบทที่ ๖ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ)
บุตรเศรษฐีเลื่อมใสพระอุปนนทะ ศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรก็ได้ แต่เธอขอผ้า (ห่ม) จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาที่บ้านมาให้ก็ไม่ยอม พระศาสดาทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิงที่มิใช่ญาติ ถ้าขอได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมีเงื่อนไข ให้ขอได้ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรือจีวรหาย.
สิกขาบทที่ ๗ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามรับจีวรเกินกำหนด เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ รูป) เที่ยวขอจีวรให้กลุ่มภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงไป หรือจีวรหาย ทั้ง ๆ ที่ภิกษุเหล่านั้นมีผู้ถวายจีวรแล้ว เป็นการขอหรือเรี่ยไรแบบไม่รู้จักประมาณ ได้ผ้ามากจนถูกหาว่าจะขายผ้าหรืออย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ในกรณีที่ผ้าถูกโจรชิงหรือหายนั้น ถ้าคฤหัสถ์ปวารณาให้รับจีวรมากผืน ก็รับได้เพียงผ้านุ่งกับผ้าห่มเท่านั้น รับเกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดี ๆ กว่าที่เขากำหนดไว้เดิมถวาย)
ชายผู้หนึ่งพูดกับภริยาว่า จะถวายผ้าแก่พระอุปนนทะ เธอทราบจึงไปพูดให้เขาถวายจีวรอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าถวายจีวรอย่างที่เธอไม่ใช้ เธอก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เขางติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกำหนดให้คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ให้ซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ถวายตน ด้วยหมายจะได้ของดี ๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๙ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดี ๆ ถวาย)
ชายสองคนพูดกันว่า ต่างคนต่างจะซื้อผ้าคนละผืนถวายพระอุปนนทะ เธอรู้จึงไปแนะนำให้เขารวมทุนกันซื้อผ้าชนิดนั้นชนิดนี้ (ที่ดี ๆ) เขาพากันติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าไปขอให้คฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ มิได้ปวารณาไว้ก่อน เขาตั้งใจ จะต่างคนต่างซื้อจีวรถวายเธอ แต่เธอกลับไปขอให้เขารวมกันซื้อจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ โดยมุ่งให้ได้ผ้าดี ๆ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๑๐ จีวรวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่น เพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง)
มหาอำมาตย์ผู้อุปฐากพระอุปนนทะ ศากยบุตร ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไปถวายพระอุปนนทะ ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรที่ควรโดยกาล เขาจึงถามหาไวยาวัจจกร (ผู้ทำการขวนขวายผู้รับใช้) ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหนึ่ง ว่าเป็นไวยาวัจจกรของภิกษุทั้งหลาย เขาจึงมอบเงินแก่ไวยาวัจจกรแล้วแจ้งให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร แม้จะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตย์ซึ่งส่งทูตมา ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจจกร จนกระทั่งได้รับคำเตือนเป็นครั้งที่ ๓ ขอให้ใช้ผ้านั้น จึงไปเร่งเร้าเอากับไวยาวัจจกรผู้กำลังมีธุระ จะต้องเข้าประชุมสภานิคม ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้องถูกปรับ ๕๐ (กหาปณะ) แม้เขาจะแจ้งให้ทราบกติกา ก็ไม่ฟัง คงเร่งเราเอาจนเขาต้องไปซื้อผ้ามาให้ และไปถูกปรับเพราะเข้าประชุมช้า. คนทั้งหลายจึงติเตียนว่าทำให้เขาต้องเสียค่าปรับ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ติเตียนแล้ว บัญญัติสิกขาบท ความว่า ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซื้อจีวร และเธอแสดงไวยาวัจจกรแล้ว เธอจะไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจจกรได้ไม่เกิน ๓ ครั้ง ไปยืนนิ่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่เกิน ๖ ครั้ง ถ้าทวงเกิน ๓ ครั้ง หรือไปยืนเกิน ๖ ครั้ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑. ถ้าจำพรรษาครบ ๓ เดือน เก็บได้ ๑ เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บไว้ได้ต่อไปอีก ๔ เดือน รวมเป็น ๕ เดือน
๒. คำว่า มิใช่ญาติ คือไม่เกี่ยวเนื่องทางสายโลหิต ทางสายมารดา หรือบิดา ส่วนเขย หรือสะใภ้ ตลอดจนผู้เคยเป็นสามี ภริยา ก็ไม่นับเป็นญาติ. เพราะในตัวอย่างนี้ ผู้ก่อเหตุ คือผู้เคยเป็นสามีภริยากัน
๒. โกสิยวรรค วรรคว่าด้วยไหม เป็นวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งเจือด้วยไหม)
ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาช่างทำไหม ขอให้เขาต้มตัวไหม, และขอใยไหมบ้าง เพื่อจะหล่อสันถัต (เครื่องลาด, เครื่องปูนั่ง) เจือด้วยไหม, เขาหาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุหล่อสันถัต เจือด้วยไหม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๒ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียมดำล้วน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียม (ขนแพะ ขนแกะ) ดำล้วน คนทั้งหลายติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามหล่อเองหรือใช้ให้หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๓ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน เมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง)
ภิกษุฉัพพัคคีย์หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วนเพียงแต่เอาขนจียมขาวหน่อยหนึ่ง ใส่ลงไปที่ชาย มีผู้ติเตียน จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงถือเอาขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน ถ้าไม่ทำตามส่วนนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๔ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อยังใช้ของเก่าไม่ถึง ๖ ปี)
ภิกษุทั้งหลายหล่อสันถัตทุกปี ต้องขอขนเจียมจากชาวบ้าน เป็นการรบกวนเขา มีผู้ติเตียนอ้างว่าของชาวบ้านเขาใช้ได้นานถึง ๕-๖ ปี จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ให้ถึง ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ภายหลังภิกษุเป็นไข้ เขานิมนต์ไปที่อื่น ไม่กล้าไป เพราะจะนำสันถัตไปด้วยไม่ไหว จึงทรงอนุญาตให้มีการสมมติเป็นพิเศษสำหรับภิกษุไข้.
สิกขาบทที่ ๕ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่)
ภิกษุทั้งหลายทิ้งสันถัตไว้ในที่นั้น ๆ พระผู้มีพรภาคทอดพระเนตรเห็น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตสำหรับนั่ง พึงถือเอาสันถัตเก่า ๑ คืบ โดยรอบ เขือลงไป เพื่อทำลายให้เสียสี. ถ้าไม่ทำอย่างนั้น หล่อสันถัตใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (สิกขาบทนี้ ทำให้เห็นความสำคัญของสันถัตเก่าที่จะต้องเก็บไว้ปนลงไปเมื่อหล่อใหม่ด้วย).
สิกขาบทที่ ๖ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์)
ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในโกศลชนบท. มีผู้ถวายขนเจียมในระหว่างทาง เธอเอาจีวรห่อนำไป มนุษย์ทั้งหลายพากันพูดล้อว่า ซื้อมาด้วยราคาเท่าไร จะได้กำไรเท่าไร. ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุเดินทางไกล มีผู้ถวายขนเจียม ถ้าปรารถนาก็พึงรับและนำไปเองได้ ไม่เกิน ๓ โยชน์ในเมื่อไม่มีผู้นำไปให้ ถ้านำไปเกิน ๓ โยชน์ แม้ไม่มีผู้นำไปให้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๗ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำความสะอาดขนเจียม)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) ใช้นางภิกษุณีให้ซัก ให้ย้อม ให้สางขนเจียม ทำให้เสียการเรียน การสอบถาม และเสียข้อปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ชั้นสูง. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติซัก, ย้อม, หรือสางขนเจียม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๘ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามรับทองเงิน)
เจ้าของบ้านที่พระอุปนนทะ ศากยบุตร เข้าไปฉันเป็นนิตย์ เตรียมเนื้อไว้ถวายเวลาเช้า แต่เด็กร้องไห้ขอกินในเวลากลางคืน จึงให้เด็กกินไป รุ่งเช้าจึงเอากหาปณะ (เงินตรามีราคา ๔ บาท) ถวาย พระอุปนนทะก็รับ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุรับเอง ใช้ให้รับทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน๑ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๙ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ (ทอง เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงิน ที่กำหนดให้ใช้ได้ทั่วไปในที่นั้น ๆ) มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าทำเหมือนเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๑๐ โกสิยวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก)
ปริพพาชกผู้หนึ่ง เห็นพระอุปนนทะ ศากยบุตร ห่มผ้าสังฆาฏิสีงาม จึงชวนแลกกับท่อนผ้าของตน ภายหลังทราบว่าผ้าของตนดีกว่า จึงขอแลกคืน พระอุปนนทะไม่ยอมให้แลกคืน จึงติเตียนพระอุปนนทะ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำการซื้อขายด้วยประการต่าง ๆ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (หมายถึงซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยใช้สิ่งของแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างนักบวชในพระพุทธศาสนาทำได้).
๑. ภายหลังทรงอนุญาตให้ยินดีปัจจัย ๔ ได้ คือทายกมอบเงินไว้แก่ไวยาวัจจกร เพื่อให้จัดหาปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่ง ยารักษาโรค ภิกษุต้องการอะไร ก็บอกให้เขาจัดหาให้ จึงมีประเพณีถวายใบปวารณาปัจจัย ๔
๓. ปัตตวรรค วรรคว่าด้วยบาตร เป็นวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่าเป็นพ่อค้าบาตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก (คือที่เกิน ๑ ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ) ไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง)
ช่างหม้อปวารณาให้ภิกษุทั้งหลายขอบาตรได้ แต่ภิกษุทั้งหลายขอเกินประมาณ จนเขาเดือดร้อน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงผ่อนผันให้ขอได้ ในเมื่อบาตรหาย หรือบาตรแตก หรือบาตรเป็นแผลเกิน ๕ แห่ง.
สิกขาบทที่ ๓ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน)
มีผู้ถวายเภสัช ๕ สำหรับคนไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่พระปิลินทวัจฉะ ท่านก็แบ่งให้บริษัทของท่าน (ซึ่งเป็นภิกษุ). ภิกษุเหล่านั้นเก็บไว้ในที่ต่าง ๆ เภสัชก็ไหลเยิ้มเลอะเทอะวิหารก็มากไปด้วยหนู. คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เก็บเภสัช ๕ ไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกิน ๗ วัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทที่ ๔ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาและทำนุ่ง ก่อนเวลา (จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน ๑ เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ภายใน ๑๕ วันก่อนฤดูฝน ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง)
พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปชนบท เธอว่าจีวรชำรุดมาก เธอไม่ไปพระอุปนนทะจึงให้จีวรใหม่ ภายหลังภิกษุนั้นปลี่ยนใจจะตามเสด็จพระผู้มีพระภาค พระอุปนนทะโกรธ จึงชิงจีวรคืนมา พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ชิงคืนเองหรือใช้ให้ชิงคืนมา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร)
ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ด้วยเหลือก็ไปขอเขาเพิ่ม ให้ช่างหูกทอเป็นจึวรอีก ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม ๓ ครั้ง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๗ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอให้ดีขึ้น)
พระอุปนนทะ ศากยบุตร ทราบว่า ชายผู้หนึ่งสั่งภริยาให้จ้างช่างหูกทอจีวรถวาย จึงไปหาช่างหูกสั่งให้เขาทอ ให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น เป็นต้น ด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิงนั้นไปเติมอีกเท่าตัว ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน ไปหาช่างหูให้ทออย่างนั้นอย่างนี้ ตนจะให้รางวัลบ้าง ครั้นพูดกับเขาแล้ว ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสักว่าบิณฑบาต ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษไว้เกินกำหนด)
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้รับผ้าจำนำพรรษา (ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา) แล้วเก็บไว้ได้. แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาล พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา ๑๐ วัน แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร๑ เก็บเกินกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน)
ภิกษุจำพรรษาแล้ว อยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรรู้ว่ามีจีวร ก็เข้าแย่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน จีวรหายบ้าง หนูกัดบ้าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. แต่จะอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ไม่เกิน ๖ คืน ถ้าเกินไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ (คือสงฆ์ประชุมกันสวดประกาศเป็นกรณีพิเศษ).
สิกขาบทที่ ๑๐ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซึ่งเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ เพื่อให้เขาถวายแก่ตน เขาถูกรบเร้าหนัก ก็เลยถวายไป ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑. ถ้าจำพรรษาครบ ๓ เดือน เก็บได้หลังจากออกพรรษา ๑ เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บต่อได้อีก ๔ เดือน จึงเป็น ๕ เดือน
ปาจิตติยกัณฑ์๑ (ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
กัณฑ์นี้ มี ๙๒ สิกขาบท แบ่งออกเป็น ๙ วรรค ๆ ละ ๑๐ สิกขาบท เว้นแต่วรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท.
๑. มุสาวาทวรรค วรรคว่าด้วยการพูดปด เป็นวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามพูดปด)
พระหัตถกะ ศากยุบุตร สนทนากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วกลับรับ รับแล้วกลับปฏิเสธ กล้าพูดปดทั้ง ๆ รู้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดปดทั้ง ๆ รู้.
สิกขาบทที่ ๒ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามด่า)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลอันเป็นที่รักอื่น ๆ แล้วด่า แช่ง ด้วยคำด่า ๑๐ ประการ คือถ้อยคำที่พากพิงถึงชาติ (กำเนิด), ชื่อ, โคตร, การงาน, ศิลปะ, อาพาธ, เพศ, กิเลส, อาบัติ, และคำด่าที่เลว พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ด่าภิกษุอื่น.
สิกขาบทที่ ๓ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามพูดส่อเสียด)
ภิกษุฉัพพีคคีย์พูดส่อเสียดภิกษุสองฝ่ายซึ่งทะเลาะกัน ฟังความข้างนี้ไปบอกข้างโน้น ฟังความข้างโน้นไปบอกข้างนี้เพื่อให้แตกร้าวกัน ทำให้ทะเลาะกันยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดส่อเสียดภิกษุอื่น.
สิกขาบทที่ ๔ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสกทั้งหลายให้กล่าวธรรม (พร้อมกัน) โดยบท ทำให้อุบาสกเหล่านั้น ขาดความเคารพในภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สอนธรรมแก่อนุปสัมบัน (คือผู้มิได้เป็นภิกษุหรือภิกษุณี) พร้อมกันโดยบท.
สิกขาบทที่ ๕ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน)
อุบาสกไปฟังธรรม นอนค้างที่วัด ในหอประชุม ภิกษุบวชใหม่ก็นอนร่วมกับเขาด้วย เป็นผู้ไม่มีสติสัมปัญญะ นอนเปลือยกาย ละเมอ กรน เป็นที่ติเตียนของอุบาสกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบัน๒ (ผู้มิใช่ภิกษุ). ต่อมาทรงผ่อนผันให้นอนร่วมกันได้ไม่เกิน ๓ คืน.
สิกขาบทที่ ๖ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง)
พระอนุรุทธ์เดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ขออาศัยในอาคารพักแรมของหญิงคนหนึ่ง ต่อมามีคนเดินทางมาขออาศัยในโรงพักนั้นอีก หญิงเจ้าของบ้านพอใจในรูปโฉมของพระอนุรุทธ์ จึงจัดให้พักใหม่ห้องเดียวกับนาง แล้วยั่วยวนท่านต่าง ๆ ท่านกลับเฉย และแสดงธรรมให้ฟัง จนหญิงนั้นปฏิญญา ตนถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับมาตุคาม (คือผู้หญิง).
สิกขาบทที่ ๗ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง)
พระอุทายีแสดงธรรมกระซิบที่หูของสตรี ทำให้ผู้อื่นสงสัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามแสดงธรรมแก่สตรี ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม (สตรี) เกิน ๖ คำ ต้องปาจิตตีย์ เว้นแต่มีชายผู้รู้เดียงสาอยู่.
สิกขาบทที่ ๘ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช)
พระพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่องเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในปาราชิก สิกขาบทที่ ๔ คืออวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน แต่คราวนี้ ทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช (มิได้เป็นภิกษุ หรือภิกษุณี).
สิกขาบทที่ ๙ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพระอุปนนทะ ศากยบุตร เลยแกล้งประจานพระอุปนนทะ กับพวกอุบาสก ที่กำลังเลี้ยงพระว่า พระอุปนนทะต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน (ผู้มิได้เป็นภิกษุ หรือภิกษุณี) ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้รับสมมติ.
สิกขาบทที่ ๑๐ มุสาวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์
(ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด)
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงขุดดินเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นขุดบ้าง มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าผิดประเพณีนิยมของสมณะ พระผู้มีพระภาค (ทรงอนุโลมตามประเพณีที่ถือว่าแผ่นดินเป็นของมีชีวิต คือมีอินทรีย์หนึ่ง) จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขุด๓ดินเองหรือใช้ให้ผู้อื่นขุด ต้องปาจิตตีย์.
๑. อรรถกถาเรียกว่า ขุททกกัณฑ์ แปลว่า หมวดเล็กน้อย และเรียกนิสสัคคิยกัณฑ์วา ติงสกกัณฑ์ แปลว่า หมวด ๓๐ สิกขาบท
๒. ในที่นี้ หมายถึงผู้ชาย แต่ในสิกขาบทที่ ๔ หมายรวมทั้งหญิงและชาย
๓. หมายถึงดินที่ฝนตกรดแล้วเกิน ๔ เดือน สิกขาบทนี้น่าจะเห็นว่าเป็นการป้องกันการทำให้สัตว์ในดิน เช่น ไส้เดือนตายด้วย
๒. ภูตคามวรรค วรรคว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้ เป็นวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำลายต้นไม้)
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงตัดต้นไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นตัดบ้าง มนุษย์ทั้งหลายพากันติดเตียน ด้วยถือว่าต้นไม้มีชีวิต มีอินทรีย์หนึ่ง พระผู้มีพระภาค (ทรงอนุโลมตามสมมติของชาวโลก) จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำให้ต้นไม้ตาย๑(ต้นไม้มี ๕ อย่าง คือที่มีหัวเป็นพืช เช่น ขิง, มีลำต้นเป็นพืช เช่น ไทร, มีปล้องเป็นพืช เช่น อ้อย, ไม้ไผ่, มียอดเป็นพืช เช่น ผักชีล้อม, มีเมล็ดเป็นพืช เช่น ข้าว, ถั่ว).
สิกขาบทที่ ๒ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน)
พระฉันนะประพฤติอนาจาร ถูกโจทอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับพูดเฉไฉไปต่าง ๆ บ้าง นิ่งเสียบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดไปอย่างอื่น ผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก (ด้วยการนิ่งในเมื่อถูกไต่สวนในท่ามกลางสงฆ์).
สิกขาบทที่ ๓ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ)
ภิกษุทั้งหลายซึ่งมีพระเมตติยะและพระภุมมชกะเป็นหัวหน้า ติเตียน บ่นว่าพระทัพพมัลลบุตร ผู้แจกเสนาสนะ แจกภัตต์ พระผู้มีพระภาคทรงสอบสวนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ติเตียน บ่นว่า (ภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ).
สิกขาบทที่ ๔ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง)
ภิกษุทั้งหลายนำเสนาสนะ (ที่นอนที่นั่ง) มาไว้กลางแจ้งในฤดูหนาว ผิงแดดแล้วหลีกไป ไม่เก็บไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ ไม่บอกให้ใครรับรู้ เสนาสนะถูกหิมะตกใส่ (เปียกชุ่ม) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุตั้งไว้เอง หรือใช้ผู้อื่นให้ตั้งไว้ซึ่งเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ของสงฆ์ในกลางแจ้ง เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือไปโดยไม่บอกกล่าวให้ใครรับรู้ ต้องปาจิตตีย์ ต่อมาทรงอนุญาตพิเศษให้เก็บเสนาสนะ ในมณฑปหรือที่โคนไม้ ซึ่งสังเกตว่า ฝนจะไม่ตกรั่วรด กาเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด ๘ เดือน (แห่งฤดูหนาวและฤดูร้อน ฤดูละ ๔ เดือน).
สิกขาบทที่ ๕ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ)
ภิกษุพวก ๑๗ รูป ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วหลีกไป ไม่เก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือบอกให้ใครรับรู้ ปลวกกินเสนาสนะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุปู หรือให้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไป ไม่เก็บเอง หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือไม่บอกกล่าวให้ใครรับรู้ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์หาวิธีแย่งที่อยู่ภิกษุอื่น โดยเข้าไปนอนเบียดภิกษุเถระ ด้วยคิดว่า เธออึดอัดเข้าก็จะหลีกไปเอง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ เข้าไปนอนเบียดผู้เข้าไปอยู่ก่อนในวิหารของสงฆ์ ด้วยคิดว่า เธออึดอัดก็จะหลีกไปเอง เธอมุ่งอย่างนี้เท่านั้น ไม่ใช่อย่างอื่น ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๗ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์)
ภิกษุฉัพพัคคีย์(พวก ๖) แย่งที่ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) เมื่อเห็นขัดขืนก็โกรธ จึงจับคอฉุดคร่าออกไป พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุ จากวิหารของสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน)
ภิกษุ ๒ รูปอยู่ในกุฎีเดียวกัน เตียงหนึ่งอยู่ข้างล่าง เตียงหนึ่งอยู่ข้างบน ภิกษุอยู่ข้างบนนั่งบนเตียงโดยแรง เท้าเตียงหลุด ตกลงถูกศีรษะของภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุนั่งนอนบนเตียงหรือตั่งอันมีเท้าเสียบ (ในตัวเตียง) ในวิหารของสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์๒
สิกขาบทที่ ๙ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น)
มหาอำมาตย์ผู้อุปฐากของพระฉันนะให้สร้างวิหารถวายพระ เมื่อเสร็จแล้ว พระฉันนะอำนวยการพอกหลังคาพอกปูนบ่อย ๆ วิหารก็เลยพังลงมา พระฉันนะเก็บหญ้า เก็บไม้ ได้ทำข้าวของพราหมณ์ผู้หนึ่งให้เสียหาย พราหมณ์ยกโทษติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ถ้าภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่ พึงยืนในที่ไม่มีของเขียว (พืชพันธุ์ไม้) อำนวยการพอกหลังคาไม่เกิน ๓ ชั้น จนจดกรอบประตูเพื่อตั้งบานประตูได้ เพื่อทาสีหน้าต่างได้ ถ้าทำให้เกินกว่านั้น แม้ยืนในที่ปราศจากของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๐ ภูตคามวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน)
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์ เอาน้ำนั้นรดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดบ้าง เป็นที่ติเตียนของภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ เอาน้ำมีสัตว์รดหญ้า หรือดิน หรือใช้ให้ผู้อื่นรด ต้องปาจิตตีย์.
๑. คำว่า ต้นไม้ ในตัวสิกขาบทนี้ แปลจากคำว่า ภูตคาม
๒. จากสิกขาบทนี้เป็นอันให้เลิกใช้ที่อยู่ชนิดนั้น เว้นแต่จะทำให้แน่นหนา
๕. อเจลกวรรค วรรคว่าด้วยชีเปลือย เป็นวรรคที่ ๕ มี ๑๐ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๑ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามยื่นอาหารด้วยให้ชีเปลือยและนักบวชอื่น ๆ๑) ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจกเป็นทานแก่คนอดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาที่เป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอิญให้เกินไป ๑ ก้อน แก่นักบวชหญิงนั้น ด้วยเข้าใจผิด พวกเขาเองจึงล้อกันว่า พระอานนท์เป็นชู้ของหญิงนั้น. และภิกษุรูปหนึ่งฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง. มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะการยื่นให้ด้วยมือ แสดงคล้ายเป็นศิษย์ หรือคฤหัสถ์ประเคนของพระ จะกลายเป็นเหยียดตัวเองลงเป็นคฤหัสถ์). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพพาชก แก่ปริพพาชิกา ด้วยมือของตน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. สิกขาบทที่ ๒ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ) พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไล่เธอกลับ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. สิกขาบทที่ ๓ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน๒) พระอุปนนทะ ศากยบุตร เข้าไปในสกุลที่มีสามีภริยาเขานั่งอยู่ด้วยกัน ได้ภิกษาแล้ว สามีไล่ให้กลับ แต่ภริยานิมนต์ให้นั่งอยู่ก่อน จึงนั่งอยู่ เขาไล่ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่กลับ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุเข้าสู่สกุลที่มีสามีภริยาอยู่ด้วยกัน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. สิกขาบทที่ ๔ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำลังกับมาตุคาม) พระอุปนนทะ ศากยบุตร ไปสู่เรือนสหาย นั่งในที่ลับมีที่กำบังกับภริยาของสหายนั้น เขาติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำลังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. สิกขาบทที่ ๕ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม) พระอุปนนทะ ศากยบุตร ไปสู่เรือนสหาย นั่งในที่ลับ (หู) กับภริยาของสหายนั้นสองต่อสอง เขาติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. สิกขาบทที่ ๖ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา) พระอุปนนทะ ศากยบุตร รับนิมนต์ไปฉันในที่แห่งหนึ่งแล้ว ไปสู่สกุลอื่นเสียก่อน ทำให้ภิกษุอื่น และเจ้าของบ้านที่นิมนต์ไว้ต้องคอย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมหลายครั้ง รวมความในสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุรับนิมนต์แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ (ในวัด) เที่ยวไปในสกุลทั้งหลายก่อนฉันก็ดี ภายหลังฉันก็ดี เว้นแต่สมัย คือคราวถวายจีวร และคราวทำจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สิกขาบทที่ ๗ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้) มหานาม ศากยะ ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ให้ขอเภสัชได้ตลอด ๔ เดือน แล้วปวารณาต่ออีก ๔ เดือน แล้วปวารณาต่อจนตลอดชีวิต ภิกษุฉัพพัคคีย์ขอเนยใส ในขณะที่คนใช้ของมหานาม ศากยะ ไปทำงาน แม้จะถูกขอร้องให้คอยก็ไม่ยอม กลับพูดว่า ปวารณาแล้วไม่ให้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงขอปัจจัยสำหรับภิกษุไข้ที่เขาปวารณา ๔ เดือนได้ ถ้าขอเกินกำหนดนั้น เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก และปวารณาตลอดชีวิต ต้องปาจิตตีย์. (ไม่เป็นไข้ขอไม่ได้ แสร้งขอในเมื่อไม่มีความจำเป็นก็ไม่ได้). สิกขาบทที่ ๘ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป) ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปดูกองทัพที่ยกไป พระเจ้าปเสนทิทอดพระเนตรเห็นก็ทรงทักท้วง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไปดูกองทัพที่เขายกไป ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุสมควร. สิกขาบทที่ ๙ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน) ภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นไปในกองทัพ และพักอยู่เกิน ๓ คืน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นจะต้องไปในกองทัพ ภิกษุจะพักอยู่ในกองทัพได้ไม่เกิน ๓ ราตรี ถ้าอยู่เกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์. สิกขาบทที่ ๑๐ อเจลกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (ห้ามดูเขารบกัน เป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ) ภิกษุฉัพพัคคีย์มีเหตุจำเป็นต้องไปพักในกองทัพ ๒-๓ ราตรี เธอได้ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และดูทัพที่จัดเป็นกระบวนเสร็จแล้ว. ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๖ รูป ถูกลูกเกาทัณฑ์ (เพราะไปดูเขารบกัน) เป็นที่เยาะเย้ยติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุที่พักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ ราตรี ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และทัพที่จัดเป็นขบวนเสร็จแล้ว ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ๑. วางให้ไม่เป็นอาบัติ |
๒.
๖. สุราปานวรรค วรรคว่าด้วยการดื่มสุรา เป็นวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามดื่มสุราเมรัย)
พระสาคตะปราบนาค (งูใหญ่) ของพวกชฏิลได้ ชาวบ้านดีใจ ปรึกษากันว่าจะถวายอะไรดีที่หาได้ยาก ภิกษุฉัพพัคคีย์แนะให้ถวายเหล้าใส สีแดงดั่งเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้าแดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม พระสาคตะเมานอนอยู่ที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุดื่มสุรา (น้ำเมาที่กลั่น) และเมรัย (น้ำเมาที่หมักหรือดอง) ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๒ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามจี้ภิกษุ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์เอานิ้วมือจี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) รูปหนึ่ง เธอสะดุ้ง เลยขาดใจตาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจี้ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๓ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามว่ายน้ำเล่น )
ภิกษุ (พวก ๑๗) เล่นน้ำในแม่น้ำอจิรวดี พระเจ้าปเสนทิออกอุบายฝากขนมไปถวายพระพุทธเจ้า เพื่อให้ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านี้ไปเล่นน้ำ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุว่ายน้ำเล่น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๔ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย)
พระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน กลับไม่เอื้อเฟื้อ ขืนทำต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖) หลอกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) ให้กลัวผีจนร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำภิกษุให้กลัว๑ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามติดไฟเพื่อผิง)
ภิกษุทั้งหลายก่อไฟผิงในฤดูหนาว งูร้อนออกจากโพรงไล่กัดภิกษุแตกหนีกระจายไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุก่อไฟเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อไฟก็ดี เพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงอนุญาตให้ทำได้เมื่อเป็นไข้ (ผิงไฟที่คนอื่นเขาก่อไว้แล้ว ไม่ผิด).
สิกขาบทที่ ๗ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามอาบน้ำบ่อย ๆ เว้นแต่มีเหตุ)
ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในแม่น้ำตโปทา พระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จไปจะสนานพระเกศา ทรงรออยู่ภิกษุเหล่านั้นอาบอยู่ พระองค์จึงได้สนานพระเกศาและกลับไปไม่ทัน ประตูเมืองปิด ต้องทรงพักค้างแรมอยู่นอกเมือง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุอาบน้ำก่อนกำหนดกึ่งเดือน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงอนุญาตให้อาบน้ำได้ก่อนกำหนดระยะกึ่งเดือน ในเมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น ร้อนจัด เจ็บไข้ (ในปัจจันตประเทศ เช่น ประเทศเรา ไม่เกี่ยวกับสิกขาบทนี้ เพราะทรงบัญญัติสำหรับประเทศภาคกลางของอินเดีย).
สิกขาบทที่ ๘ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม)
ภิกษุและปริพพาชกเดินทางจากเมืองสาเกตมาสู่เมืองสาวัตถี โจรปล้นระหว่างทาง เจ้าหน้าที่จับโจรได้พร้อมทั้งของกลาง จึงขอให้ภิกษุไปเลือกจีวรของตนที่ถูกชิงไป ภิกษุเหล่านั้นจำไม่ได้ เป็นที่ติเตียนจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุได้จีวรใหม่มา พึงถือเอาเครื่องทำให้เสียสี สีใดสีหนึ่งใน ๓ สี คือสีคราม สีโคลน สีดำคล้ำ (มาทำเครื่องหมาย). ถ้าไม่ทำอย่างนั้น ใช้จีวรใหม่ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(วิกัปจีวรไว้แล้ว จะใช้ ต้องถอนก่อน)
พระอุปนนทะ ศากยบุตร วิกัปจีวรกับภิกษุอื่นแล้วยังไม่ได้ถอน ใช้จีวรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุวิกัปจีวรกับภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร หรือสามเณรี แล้วใช้สอยจีวรนั้นที่ยังมิได้ถอน ต้องปาจิตตีย์.๒
สิกขาบทที่ ๑๐ สุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น)
ภิกษุพวก ๖ ซ่อนบาตรบ้าง จีวรบ้าง ของภิกษุพวก ๑๗ ซึ่งไม่ค่อยเก็บงำบริขาร (เครื่องใช้) ของตนให้เรียบร้อย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุซ่อนบาตร จีวร กล่องเข็ม ประคดเอวของภิกษุ แม้เพื่อจะหัวเราะเล่น ต้องปาจิตตีย์.
๑. แกล้งพูดให้กลัวโจร กลัวสัตว์ร้าย กลัวผี เข้าในข้อนี้ทั้งสิ้น
๒. วิกัป คือทำให้เป็นสองเจ้าของ ถ้าผ้าเกิดขึ้นเกินจำเป็นที่อนุญาตให้มีได้ ภิกษุจะต้องทำให้เป็นสองเจ้าของกับภิกษุ ภิกษุณี เป็นต้น เวลาจะใช้ก็ต้องขออนุญาตต่อผู้ที่ตนมอบให้ร่วมเป็นเจ้าของก่อน
๗. สัปปาณกวรรค วรรคว่าด้วยสัตว์มีชีวิต เป็นวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฆ่าสัตว์)
พระอุทายีเกลียดกา จึงยิงกา ตัดศีรษะเสียบไว้ในหลาว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจงใจฆ่าสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์)
ภิกษุพวก ๖๑ รู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๓ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว)
ภิกษุพวก ๖ รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๔ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น)
พระอุปนนทะ ศากยบุตร ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วบอกกับภิกษุอื่นขอให้ช่วยปกปิดด้วย ภิกษุนั้นก็ช่วยปกปิด พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐)
ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก ๆ บรรพชาอุปสมบท เด็ก ๆ เหล่านั้น ลุกขึ้นร้องไห้ขออาหารกินในเวลากลางคืน เพราะทนหิวไม่ไหว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ให้บุคคลมีอายุต่ำกว่า ๒๐ อุปสมบท ผู้นั้นไม่เป็นอันอุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย (ที่นั่งเป็นพยาน) ต้องถูกติเตียน และในข้อนั้น ภิกษุ (ผู้เป็นอุปัชฌายะให้บวช) ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน)
ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษี ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์
สิกขาบทที่ ๗ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน)
ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีคนหนึ่งทะเลาะกับสามีขอเดินทางร่วมไปกับภิกษุนั้นด้วย สามีติดตามทำร้ายภิกษุ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย)
ภิกษุอริฏฐะผู้เคยฆ่าแร้งมาก่อน มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า เมื่อมีภิกษุกล่าวตู่พระธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลายพึงห้ามปราม ถ้าไม่เชื่อฟังสงฆ์พึงสวดประกาศ เพื่อให้เธอละเลิกเสีย สวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่เชื่อฟัง ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ยังคบหาพระอริฏฐะผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย ผู้ยังไม่ยอมละทิ้งความเห็นผิดนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามคบ ห้ามอยู่ร่วม ห้ามนอนร่วมกับภิกษุเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจีตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๑๐ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)
สามเณรชื่อกัณฑกะ มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย สงฆ์จึงขับเสียจากหมู่ ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับคบหา พูดจา ร่วมกินร่วมนอนกับสามเณรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามพูดด้วย ห้ามใช้สอย ห้ามใช้ของร่วม๒ หรือนอนร่วมกับสามเณรเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
๑. คำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ กับคำว่า ภิกษุพวก ๖ ใช้หมายความอย่างเดียวกันในหนังสือนี้
๒. ศัพท์บาลีว่า สมฺภุญฺเชยฺย มีคำอธิบายในท้ายสิกขาบทว่า การร่วมใช้อามิส เช่น ให้อามิส หรือรับของกับอีกอย่างหนึ่ง การใช้ธรรมร่วม เช่น แสดงธรรมหรือให้แสดงธรรมร่วมกันโดยบท โดยอักขระ
๘. สหธัมมิกวรรค วรรคว่าด้วยการว่ากล่าวถูกต้องตามธรรม เป็นวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว)
พระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน กลับพูดว่า จะขอถามภิกษุผู้รู้วินัยดูก่อน พระผูมีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ภิกษุว่ากล่าวถูกต้องตามธรรมกลับพูดว่า จักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาด ผู้รู้วินัยก่อน ต้องปาจิตตีย์ อันภิกษุผู้ศึกษา จะต้องรู้จะต้องสอบสวน จะต้องไต่ถาม.
สิกขาบทที่ ๒ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท)
ภิกษุฉัพพัคคีย์แกล้งกล่าวติเตียนพระวินัยว่า สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ชวนให้น่ารำคาญ รบกวนเปล่า ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า เมื่อสวดปาฏิโมกข์ ภิกษุแกล้งกล่าวติเตียนสิกขาบท ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๓ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร เมื่อฟังสวดปาฏิโมกข์ว่า ภิกษุไม่รู้ก็ต้องอาบัติ จึงกล่าวว่า เพิ่งรู้ว่าข้อความนี้มีในปาฏิโมกข์ (ทั้ง ๆ ที่ฟังมาแล้วไม่รู้ว่ากี่ครั้ง เป็นการแก้ตัว) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวแก้ตัวเช่นนั้น เป็นการปรับอาบัติในภิกษุ (ผู้แก้ตัวว่า) หลงลืม.
สิกขาบทที่ ๔ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ทำร้ายร่างกายภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก ๑๗) เธอร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธเคือง ทำร้ายภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ เงื้อมือจะทำร้ายภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโกรธเคือง เงื้อมือ (จะทำร้าย) ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล)
ภิกษุฉัพพัคคีย์แกล้งโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมีมูล พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์
สิกขาบทที่ ๗ สหธัมมิกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น)
ภิกษุพวก ๖ แกล้งพูดให้ภิกษุพวก ๑๗ กังวลสงสัยว่า เมื่อบวชอายุจะไม่ครบ ๒๐ จริง ถ้าเช่นนั้นก็คงไม่เป็นพระ ภิกษุพวก ๑๗ ร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุ ด้วยคิดว่า ความไม่สบายจักมีภิกษุนั้น แม้เพียงครู่หนึ่ง มุ่งเพียงเท่านั้น มิได้มุ่งเหตุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุทั้งหลายแล้วไปแอบฟังความว่า ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตนอย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ภิกษุแอบฟังความด้วยประสงค์จะทราบว่าภิกษุเหล่านั้นพูดว่าอย่างไร มุ่งเพียงเท่านั้น มิได้มุ่งเหตุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะในการประชุมทำกรรมของสงฆ์ แล้วกลับว่าติเตียนในภายหลัง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ฉันทะ (คือความพอใจหรือการมอบอำนาจให้สงฆ์ทำกรรมได้) เพื่อกรรมอันเป็นธรรม แล้วบ่นว่าในภายหลัง ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๐ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ)
สงฆ์กำลังประชุมกันทำกรรมอยู่ ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะแก่ภิกษุพวกตนรูปหนึ่งให้เข้าไปประชุมแทน ภายหลังภิกษุรูปนั้นไม่พอใจจึงลุกออกจากที่ประชุมทั้งที่มิได้ให้ฉันทะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะหลีกไปในเมื่อถ้อยคำวินิจฉัยยังค้างอยู่ในสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๑ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง)
จีวรเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์ประชุมกันให้แก่พระทัพพมัลลบุตร ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับว่าสงฆ์ให้จีวรเพราะชอบกัน ภิกษุทั้งหลายจึงติเตียนว่า ร่วมประชุมกับสงฆ์แล้ว ทำไมจึงมาพูดติเตียนในภายหลัง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๑๒ สหธัมมิกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล)
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้ว่าเขาเตรียมจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ ไปพูดให้เขาถวายแก่ภิกษุ (ที่เป็นพรรคพวกของตน) เขาไม่ยอม เธอก็พูดแค่นได้จนเขารำคาญ ต้องถวายไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุน้อมลาภที่เขากะว่าจะถวายแก่สงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์.
๙. รตนวรรค วรรคว่าด้วยนางแก้ว (พระราชเทวี) เป็นวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท คือ
สิกขาบทที่ ๑ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา)
พระเจ้าปเสนทิโกศลขอให้พระพุทธเจ้าส่งภิกษุไปสอนธรรมแก่พระองค์ พระผู้มีพระภาคจึงส่งพระอานนท์ไปสอนเป็นประจำ เช้าวันหนึ่งพระอานนท์เข้าไปยังตำหนักของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนางมัลลิกาต้องรีบออกจากตำหนักนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า ภิกษุมิได้รับนัดหมายก้าวล่วงธรณีเข้าไป (ในห้อง) ของพระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษก ในเมื่อพระราชายังไม่เสด็จออก พระมเหสียังไม่ออก ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่)
ภิกษุรูปหนึ่งเก็บถุงเงินของพราหมณ์ผู้หนึ่งด้วยปรารถนาดี เมื่อพราหมณ์มาถามก็คืนให้ไป พราหมณ์แกล้งกล่าวว่าเงินในถุงของตนมีมากกว่านั้น (เพื่อไม่ต้องให้รางวัล) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเก็บเองหรือใช้ผู้อื่นให้เก็บซึ่งรตนะ (แก้วแหวนเงินทอง) หรือสิ่งของสมมติว่าเป็นรตนะ ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ของตกในวัดหรือในที่อยู่ ควรเก็บเพื่อจะคืนเจ้าของไป ถือว่าเป็นการปฏิบัติชอบ.
สิกขาบทที่ ๓ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(จะเข้าบ้านในเวลาวิการ ต้องบอกลาภิกษุก่อน)
ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าสู่บ้านในเวลาวิกาล (เที่ยงแล้วไป) ชวนชาวบ้านพูดเรื่องไร้สาระ เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าสู่บ้านในเวลาวิกาล ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด ภายหลังทรงผ่อนผันให้เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาลได้ เมื่อบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดหรือในเมื่อมีกิจรีบด่วน.
สิกขาบทที่ ๔ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก, งา, เขาสัตว์)
ช่างกลึงงาช้างปวารณาให้ภิกษุของกล่องเข็มได้ ภิกษุทั้งหลายก็ขอกันเรื่อย มีกล่องเล็กขอกล่องใหญ่ มีกล่องใหญ่ขอกล่องเล็ก จนช่างไม่เป็นอันทำขาย. เขาติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ทำกล่องเข็มที่ทำด้วยกระดูก, งาช้าง, เขาสัตว์ ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ต่อยทิ้ง (ก่อนจึงแสดงอาบัติตก).
สิกขาบทที่ ๕ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำเตียงตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ)
พระอุปนนทะ ศากยบุตร นอนบนเตียงสูง พระผู้มีพระภาคเสด็จตรวจวิหารพบเข้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั่งใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องล่าง ถ้าทำให้มีเท้าเกินกำหนด ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดทิ้ง (จึงแสดงอาบัติตก).
สิกขาบทที่ ๖ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้ทำเตียงตั่งหุ้มด้วยนุ่น)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง หุ้มด้วยนุ่น เป็นที่ติเตียนของคนทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น๑ ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).
สิกขาบทที่ ๗ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปูนั่งไม่มีประมาณ ผ้าย้อยไปข้างหน้าข้างหลังของเตียงแลตั่ง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าปูนั่ง พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้นไป ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก) ภายหลังทรงอนุญาตชายผ้าปูนั่งอีก ๑ คืบ
สิกขาบทที่ ๘ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปิดฝีไม่มีประมาณ ลากผ้าไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะทำให้ผ้าปิดฝี พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้น ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).
สิกขาบทที่ ๙ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ)
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ลากผ้าไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต ถ้าทำให้เกินประมาณนั้น ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย (จึงแสดงอาบัติตก).
สิกขาบทที่ ๑๐ รตนวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ)
พระนนทะ พุทธอนุชา ใช้จีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านเดินมาแต่ไกล ก็ลุกขึ้นต้อนรับ ด้วยนึกว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมา เมื่อเข้าใกล้เห็นว่ามิใช่ จึงติเตียนว่าใช้จีวรขนาดเท่าของพระสุคตพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำจีวรให้มีขนาดเท่าจีวรสุคตหรือยิ่งกว่า ต้องปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย. ประมาณแห่งจีวรสุคต คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ.
๑. คำว่า นุ่น หมายถึงนุ่นหรือสำลีจากไม้ยืนต้น, ไม้เลื้อยและหญ้า. ในวินัยอนุญาตให้ใช้ทำหมอนได้
ปาฏิเทสนียกัณฑ์ (ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ คือที่พึงแสดงคืน มี ๔ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑ แห่งปาฏิเทสนียะ
(ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณีมาฉัน)
นางภิกษุณีรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาต ได้แล้ว ขากลับเห็นภิกษุรูปหนึ่ง จึงบอกถวายอาหารที่ได้มา ภิกษุนั้นก็รับจนหมด นางจึงอดอาหารเพราะหมดเวลาที่จะเข้าไปบิณฑบาตอีกแล้ว รุ่งขึ้นนางไปบิณฑบาตได้พบภิกษุรูปนั้นอีก ก็บอกถวาย ภิกษุรูปนั้นก็รับจนหมด นางจึงอดอาหารอีก ในวันที่ ๓ ก็เป็นเช่นนี้ จนเวลาหลีกรถเศรษฐี นางถึงกับหมดแรงล้มลง เศรษฐีขอขมา ทราบความก็ติเตียนภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน รับของเคี้ยวของฉันจากมือของภิกษุณีมาเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
สิกขาบทที่ ๒ แห่งปาฏิเทสนียะ
(ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร)
ภิกษุทั้งหลายได้รับนิมนต์ให้ไปฉันในสกุล นางภิกษุณีพวก ๖ ซึ่งชอบพอกับภิกษุพวก ๖ ได้ยืนอยู่ด้วย บอกกับเขาว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุพวก ๖ ฉันได้ตามต้องการ แต่ภิกษุอื่น ๆ ฉันอย่างไม่สะดวกใจ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทั้งหลายได้รับนิมนต์ให้ไปฉันในสกุล. ถ้านางภิกษุณีผู้คุ้นเคยมายืนอยู่ในที่นั้น บอกกับเขาว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายพึงไล่นางภิกษุณีนั้นไป จนกว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งมิได้ไล่นางภิกษุณีนั้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
สิกขาบทที่ ๓ แห่งปาฏิเทสนียะ
(ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ)
ในสมัยนั้นสกุลบางสกุลเลื่อมใสทั้งฝ่ายสามีและภริยา เป็นสกุลเจริญด้วยศรัทธา แต่เสื่อมทรัพย์ (เป็นสกุลพระอริยบุคคล) บุคคลเหล่านี้ย่อมสละของเคี้ยวของกินที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่ภิกษุทั้งหลาย บางครั้งตัวเองถึงอด. คนทั้งหลายพากันติเตียนพวกภิกษุว่ารับไม่รู้จักประมาณ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดประกาศสมมติสกุลนั้นว่าเป็นสกุลของพระเสขะ แล้วทรงบัญญัติห้ามเข้าไปรับของเคี้ยวของฉันในสกุลที่สงสมมติว่าเป็นเสขะ ด้วยมือของตนมาเคี้ยวแลฉัน ทรงปรับอาบัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด. ภายหลังทรงอนุญาตว่า ถ้าเขานิมนต์ไว้ก่อนหรือเป็นไข้ เข้าไปรับอาหารมาฉันได้.
สิกขาบทที่ ๔ แห่งปาฏิเทสนียะ
(ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า)
เจ้าศากยะที่เป็นหญิงนำอาหารไปเพื่อรับประทานในเสนาสนะป่า ถูกพวกทาสชิงของและข่มขืน เจ้าศากยะที่เป็นชายออกจับพวกนั้นได้ ติเตียนภิกษุทั้งหลายว่าไม่บอกเรื่องโจรอาศัยอยู่ในวัด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเปลี่ยวน่ากลัว รับของเคี้ยวของฉัน ซึ่งเขามิได้จัดไว้ก่อนด้วยมือของตน ภายในอาราม มาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภายหลังทรงผ่อนผันให้แก่ภิกษุไข้.
๔. เสขิยกัณฑ์ (ว่าด้วยวัตรและจรรยามารยาทที่ภิกษุจะต้องศึกษา)
ต้นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบททุกข้อทั้งเจ็ดสิบห้าข้อในเสขิยกัณฑ์นี้ เนื่องมาแต่ภิกษุฉัพพัคคีย์ (ภิกษุพวก ๖) ทำความไม่ดีไม่งามไว้ทั้งสิ้น ในตัวสิกขาบทมิได้ปรับอาบัติไว้ เพียงแต่กล่าวว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบทระบุว่า ถ้าทำเข้าต้องอาบัติทุกกฏ (ซึ่งแปลว่าทำชั่ว) พร้อมทั้งแสดงลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติไว้ด้วย ในที่นี้จะรวบรัดกล่าวเฉพาะตัวสิกขาบท ส่วนวัตถุประสงค์ที่บัญญัติสิกขาบทนั้น ตลอดจนคำอธิบายท้ายสิกขาบท ข้อใดควรกล่าวไว้ก็จะกล่าวไว้ในวงเล็บ อนึ่ง เมื่อจัดหมวดใหญ่ ๆ ไว้แล้ว ยังจัดวรรคไว้คาบเกี่ยวระหว่างหมวดใหญ่ ๆ อีกด้วย ในที่นี้จึงเลือกแสดงไว้แต่หมวดใหญ่เพื่อกันความฟั่นเฝือ การจัดวรรคอาจสะดวกในการสวดก็ได้ แต่ในปัจจุบันการสวดปาฏิโมกข์ของพระมิได้ระบุวรรคไว้ด้วย คงออกชื่อแต่หมวดใหญ่ ๆ.
(๑) สารูป
(หมวดว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศ)
มี ๒๖ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล (เบื้องล่างปิดเข่า เบื้องบนปิดสะดือ ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง).
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง.
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่เปิดกาย).
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายด้วยดี นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี ไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้า).
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมด้วยดี นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน (คือไม่มองไปทางโน้นทางนี้ เหมือนจะค้นหาอะไร).
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน (คือไม่ยกผ้าขึ้นด้านเดียวหรือ ๒ ด้าน).
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน.
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน.
จบหมวดสารูป ๒๖ สิกขาบท
(๒) โภชนปฏิสังยุต
(หมวดว่าด้วยการฉันอาหาร)
มี ๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร รับบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป).
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตพอสมเสมอขอบปากบาตร.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่ฉันแกงมากเกินไป).
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป.
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน.
สิกขาบทที่ ๑๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว.
สิกขาบทที่ ๑๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก.
สิกขาบทที่ ๑๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
สิกขาบทที่ ๒๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.
สิกขาบทที่ ๒๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.
สิกขาบทที่ ๒๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว.
สิกขาบทที่ ๒๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
สิกขาบทที่ ๒๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.
สิกขาบทที่ ๒๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.
สิกขาบทที่ ๒๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
สิกขาบทที่ ๒๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร๑.
สิกขาบทที่ ๒๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
สิกขาบทที่ ๒๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.
สิกขาบทที่ ๓๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.
๑. บาตรสมัยนั้นไม่ลึกมากอย่างปัจจุบัน แม้ภาชนะใส่ของคล้ายชาม ก็เรียกว่าบาตร จึงเลียได้
(๓) ธัมมเทสนาปฏิสังยุต
(หมวดว่าด้วยการแสดงธรรม)
มี ๑๖ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีศัสตรา (ของมีคม) ในมือ.
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธ (ของซัดไปหรือยิงไปได้) ในมือ.
สิกขาบทที่ ๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้า (รองเท้าไม้).
สิกขาบทที่ ๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า.
สิกขาบทที่ ๗ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน.
สิกขาบทที่ ๘ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน.
สิกขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า.
สิกขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ.
สิกขาบทที่ ๑๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ.
สิกขาบทที่ ๑๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่บนอาสนะ (ผ้าหรือเครื่องปูนั่ง).
สิกขาบทที่ ๑๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูง.
สิกขาบทที่ ๑๔ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่
สิกขาบทที่ ๑๕ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า.
สิกขาบทที่ ๑๖ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง.
(๔) ปกิณณกะ
(หมวดเบ็ดเตล็ด)
มี ๓ สิกขาบท
สิกขาบทที่ ๑ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พืชพันธุ์ไม้).
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ.
๕. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง
๑. สัมมุขาวินัย การระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า (บุคคล, วัตถุ, ธรรม).
๒. สติวินัย การระงับอธิกรณ์ ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ.
๓. อมูฬหวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยการยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า.
๔. ปฏิญญาตกรณะ การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย.
๕. เยภุยยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ.
๖. ตัสสปาปิยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด.
๗. ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป.
เล่มที่ ๓ ชื่อภิกขุนีวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)
ในเล่ม ๑ และ ๒ แห่งบาลีวินัยปิฎก๑ ซึ่งย่อมาแล้ว ว่าด้วยศีลของภิกษุ ซึ่งมีอยู่ ๒๒๗ ข้อ อันจะต้องสวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน บัดนี้จึงมาถึงบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ซึ่งชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล ๓๑๑ ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์.
ในศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ เพียง ๑๓๐ ข้อ ส่วนอีก ๑๘๑ ข้อ นำมาจากศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ ข้อ ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ ก็ไม่นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณี.
บาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ที่ชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์นี้ แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๗ หัวข้อ คือ
๑. ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาราชิก คืออาบัติที่ต้องเข้าแล้ว ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุณี อาบัติปราชิกของนางภิกษุณีมี ๘ แต่แสดงไว้ในที่นี้เพียง ๔ ส่วน อีก ๔ ข้อ อนุโลมตามของภิกษุ.
๒. สัตตรสกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗ ข้อ (สัตตรส แปลว่า ๑๗) อาบัติสังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว ต้องประพฤติมานัตต์ ๑๕ วัน (คือ ๑ ปักษ์) ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องประจานตัวเองแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย และตลอดเวลา ๑๕ วันนั้น ต้องเสียสิทธิหลายอย่าง อาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุมี ๑๓ ข้อ ใช้ได้แก่นางภิกษุณีเพียง ๗ ข้อ เป็นของนางภิษุณีแท้ ๆ ที่แสดงไว้ในบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ นี้เพียง ๑๐ ข้อ.
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์๒ ที่ต้องสละสิ่งของ เรียกเต็มว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ เท่ากับของภิกษุ แต่ของภิกษุมาใช้เพียง ๑๘ ข้อ อีก ๑๒ ข้อที่แสดงไว้ในที่นี้ เป็นของนางภิกษุณีโดยตรง.
๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ตามปกติ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ รวม ๑๖๖ ข้อ ในจำนวนนี้ ที่แสดงไว้ในที่นี้อันเป็นของนางภิกษุณีโดยตรงมี ๙๖ ข้อ นำของภิกษุมาใช้ ๗๐ ข้อ (๙๖+๗๐ = ๑๖๖) อาบัติปาจิตตีย์ของภิกษุมี ๙๒ ข้อ.
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัตปกฏิเทสนียะ คืออาบัติที่ควรแสดงคืน รวม ๘ ข้อ ซึ่งไม่ซ้ำกับของภิกษุเลย อาบัติปกฏิเทสนียะของภิกษุมี ๔ ข้อ มีที่น่าสังเกตก็คือ อาบัตินี้ของนางภิกษุณี เนื่องด้วยการขอของบริโภคทั้งแปดข้อ.
๖. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยระเบียบมารยาทที่ต้องศึกษา รวม ๗๕ ข้อ เป็นการนำของภิกษุมาใช้ทั้ง ๗๕ เป็นแต่ว่าในที่นี้ได้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในเรื่องนุ่งห่มไม่เรียบร้อย กับเรื่องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนเขฬะ (น้ำลาย) ลงในน้ำ ซึ่งก็มีที่ห้ามอยู่แล้วในเสขิยวัตร ๗๕ ของภิกษุ.
๗. อธิกรณสมถะ วิธีระงับอธิกรณ์ คงมี ๗ ข้ออย่างเดียวกับของภิกษุ.
๑. คำว่า บาลีวินัยปิฎก หมายถึงวินัยปิฎก ฉบับภาษาบาลี. อนึ่ง คำว่า ภิกขุนี เป็นภาษาบาลี ภิกษุณีเป็นภาษาสันสกฤต
๒. อาบัติปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลคือความดีให้ตก
ขยายความ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๘ สิกขาบท)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
(ห้ามกำหนัดยินดีการจับต้องของบุรุษ)
มีเรื่องเล่าว่า นางภิกษุณีชื่อสุนทรีนันทา มีความกำหนัดยินดีการจับต้องการแห่งหลานชายของนางวิสาขา ผู้มีนามว่าสาฬหะ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญ๑ลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา ต้องอาบัติปาราชิก.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
(ห้ามปกปิดอาบัติปาราชิกของนางภิกษุณีอื่น)
นางถุลลนันทาภิกษุณีรู้ว่านางสุนทรีนันทาภิกษุณีมีครรภ์กับสาฬหะมาณพ ก็ไม่โจทท้วงบอกกล่าว. นางสุนทรีนันนทาปกปิดการมีครรภ์ของตน จนครรภ์แก่จึงสึกไปคลอด พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษีณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
(ห้ามเข้าพวกภิกษุที่สงฆ์ขับจากหมู่)
นางถุลลนันทาภิกษุณีประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้ประพฤติไม่๒ดี สงฆ์จึงสวดประกาศยกเสียจากหมู่ (ไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน). พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
(ห้ามเกี่ยวข้องนัดหมาย เป็นต้น กับบุรุษ)
นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.
(หมายเหตุ : ปาราชิกอีก ๔ ข้อ คือตั้งแต่ข้อ ๕ ถึงข้อ ๘ อนุโลมตามของภิกษุ
๑. รากขวัญ คือไหปลาร้าหรือหลุมคอ
๒. ภิกษุหรือภิกษุณีที่ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ จะต้องถูกลงโทษ ที่เรียกว่าอุขเขปนียกรรม คือการประกาศไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน ไม่ให้เข้าหมู่ เมื่อประพฤติดีแล้ว จึงถอนประกาศนั้น
๒. สัตตรสกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท)
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
(ห้ามก่อคดีในโรงศาลกับคฤหัสถ์และนักบวช)
นางถุลลนันทาภิกาณี เป็นความกับชายคนหนึ่งด้วยเรื่องโรงเก็บของที่บิดาของชายคนนั้นถวายเป็นของภิกษุณีสงฆ์ แต่เมื่อบิดาตาย ชายคนนั้นจะเอาคืน ศาลตัดสินให้นางภิกษุณีชนะ. ชายนั้นหาว่านางโกง. นางแจ้งความ. ศาลลงโทษชายนั้น. ชายนั้นสร้างที่อยู่ให้อาชีวก และให้อาชีวกมาด่า. นางแจ้งความ. ศาลตัดสินจำคุกชายนั้น. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีฟ้องความกับคฤหบดี๑ บุตรคฤหบดี ทาส กรรมกร หรือแม้โดยที่สุดกับสมณะนักบวช ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่เป็นโจร)
ชายาของเจ้าลิจฉวีคนหนึ่งนอกใจสามี สามีจะฆ่า จึงหนีไป พร้อมทั้งขโมยของมีค่าไปด้วย นางไปขอบวชในลัทธิอื่น ก็ไม่มีใครบวชให้ แต่นางถุลลนันทาภิกษุณีเห็นแก่ของกำนัล ยอมบวชให้ สามีตามมาถึงเมืองสาวัตถี ฟ้องต่อพระเจ้าปเสนทิขอให้สึกให้ พระเจ้าปเสนทิไม่ทรงยินยอม ทรงถือว่าบวชแล้วก็แล้วไป. สามีจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณี. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีรู้อยู่ รับสตรีซึ่งเป็นโจร อันคนทั้งหลายรู้ว่ามีโทษประหาร๒ให้อยู่ (ให้บวช๓) โดยไม่บอกเล่า พระราชา, สงฆ์, คณะ, หมู่, พวก เว้นแต่ผู้ที่สมควร (คือบวชในลัทธิอื่นแล้ว หรือบวชในสำนักนางภิกษุณีอื่นอยู่แล้ว) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
(ห้ามเข้าบ้าน, ข้ามน้ำ, ค้างคืนแต่ผู้เดียว)
มีเรื่องหลายเรื่องที่นางภิกษุณีข้ามน้ำ, นอนตามลำพัง, เดินทางแตกหมู่แล้วถูกข่มขืน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีแต่ลำพังผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ตาม, ข้ามแม่น้ำก็ตาม, ค้างคืนก็ตาม, ล้าหลังแยกจากหมู่ (ในการเดินทาง) ก็ตาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.๔
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
(ห้ามสวดเปลื้องโทษโดยไม่บอกสงฆ์ที่สวดลงโทษ)
ภิกษุสงฆ์สวดประกาศลงโทษนางภิกษุณีรูปหนึ่งผู้ไม่เห็นอาบัติ นางถุลลนันทาภิกษุณีหาพวกสวดประกาศเปลื้องโทษ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า
นางภิกษุณีไม่บอกกล่าวสงฆ์ผู้ทำการ ไม่รู้ฉันทะ (ไม่ได้รับความยินยอม) ของคณะ เปลื้องโทษ นางภิกษุณีที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสนา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
(ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษ)
นางภิกษุณีรูปหนึ่ง รูปร่างงดงาม คนก็รุมถวายอาหารดี ๆ เกิดมีเสียงครหาขึ้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า
นางภิษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษผู้มีความกำหนัด ด้วยมือของตนมาเคี้ยว มาฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
(ห้ามพูดจูงใจให้นางภิกษุณีประพฤติย่อหย่อน)
นางสุนทรีนันทาภิกษุณีผู้มีรูปงาม เห็นคนถวายอาหารดี ๆ มาก และรู้ว่าคนเหล่านั้นมีความกำหนัดจึงไม่รับ. นางอนันตริกาภิกษุณี กลับพูดจูงใจว่า เขากำหนัดหรือไม่กำหนัด จะเป็นไรไป ควรรับได้ ท่านไม่กำหนัดก็แล้วกัน. ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตสังฆาทิเสสแก่นางภิกษุณีผู้พูดจูงใจให้ย่อหย่อนแบบนั้น.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
(ห้ามพูดดูหมิ่นภิกษุณีสงฆ์เมื่อโกรธเคือง)
นางจัณฑกาลีภิกษุณีทะเลาะกับนางภิกษุณีอื่น มีความโกรธเคือง พูดว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สมณสตรีพวกศากยบุตรนี้จะอะไรนักเทียว สมณสตรีดี ๆ พวกอื่นก็มี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณสตรีเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกล่าวาจาเช่นนั้น เมื่อโกรธเคือง และเมื่อกล่าวไปแล้ว ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
(ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม)
นางจัณฑกาลีภิกษุณีถูกลงโทษในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธเคือง จึงกล่าวหาว่า นางภิกษุณีทั้งหลาย ลุแก่อคติ ๔ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามติเตียนเช่นนั้น และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
(ห้ามรวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย)
นางภิกษุณีที่เป็นศิษย์ของนางถุลลนันทาภิกษุณี รวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดความชั่วของกันและกัน. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามประพฤติเช่นนั้น และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
(ห้ามพูดยุยงนางภิกษุณีผู้ประพฤติผิด)
นางถุลลนันทาภิกษุณีพูดกับนางภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือน (ตามสิกขาบทที่ ๙) ว่า "แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรวมกลุ่มกัน อย่าแยกกัน. แม้นางภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ เบียดเบียนภิกษุสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกันก็มีอยู่ในสงฆ์ แต่สงฆ์ก็มิได้กล่าวอะไรซึ่งนางอภิกษุณีเหล่านั้น. สงฆ์ว่ากล่าวพวกท่าน เพราะดูหมิ่น เพราะข่มเหง เพราะไม่ชอบใจ เพราะเสียงซุบซิบ เพราะ(พวกท่าน) มีกำลังน้อย. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามนางภิกษุณี กล่าวกะนางภิกษุณีที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือนเช่นนั้น. ถ้ามีใครขืนทำ ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน ถ้าไม่ฟัง ให้สวดประกาศเตือน ครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
(หมายเหตุ : อีก ๗ สิกขาบทไม่ได้กล่าวไว้ แต่ให้ใช้สิกขาบทของภิกษุ คือสิกขาบที่ ๕, ๘, ๙, และ ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓ รวม ๗ สิกขาบท)
๑. คฤหบดี แปลว่า ผู้ครองเรือน
๒. สมัยนั้น ใครลักทรัพย์ ๑ บาท คือ ๕ มาสกขึ้นไป ต้องประหารชีวิต
๓. คือเป็นอุปัชฌายะให้บวช
๔. ตามสิกขาบทนี้ แสดงว่านางภิกษุณีจะต้องอยู่ในหมู่ในคณะ จะปลีกตัวไปไหน หรือแม้นอนคนเดียว ไม่มีเพื่อนภิกษุณีด้วย ย่อมต้องอาบัติ
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท)
ปัตตวรรค (วรรคว่าด้วยบาตร)
(มี ๑๐ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามสะสมบาตร)
นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป สะสมบาตรไว้มาก เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีสะสมบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. (บาตรที่นับว่าสะสม คือนอกจากที่ใช้ประจำ ๑ ลูก และนอกจากที่ทำวิกัป หรือทำให้เป็นสองเจ้าของ คืออนุญาตให้ผู้อื่นมีสิทธิด้วย).
สิกขาบทที่ ๒ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามอธิษฐานจีวรนอกกาลและแจกจ่าย)
ชาวบ้านเห็นนางภิกษุณีกลุ่มหนึ่งมีจีวรเก่า แต่ประพฤติตนสำรวมดี จึงเลื่อมใสถวายจีวรนอกกาลแก่ภิกษุณีสงฆ์. นางถุลลนันทาภิกษุณีอ้างว่าตนกราลกฐินแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรในกาล ให้แจกจ่าย (เมื่อทำวิธีนี้ จีวรก็ตกเป็นของนางถุลลนันทาภิกษุณี ในฐานะเป็นผู้มีพรรษามาก). เจ้าของจีวรถามนางภิกษุณีที่ตนประสงค์จะให้ได้รับ ทราบว่าไม่ได้รับ เพราะนางถุลลนันทาภิกษุณีทำไปอย่างนั้น จึงติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอธิษฐานจีวรนอกาล เป็นจีวรในกาล แล้วแจกจ่าย ทรงปรับอาบัตนิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ล่วงละเมิด.
สิกขาบทที่ ๓ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามชิงจีวรคืนเมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว)
นางถุลลนันทาภิกษุณีแลกจีวรกับภิกษุณีรูปอื่นแล้ว ภายหลังชวนแลกคืนตามเดิม พร้อมทั้งชิงเอาทั้ง ๆ ที่อีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ทันตกลงประการไร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ชิงคืนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นชิง.
สิกขาบทที่ ๔ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอของอย่างหนึ่งแล้วขออย่างอื่นอีก)
อุบาสกคนหนึ่งถามนางถุลลนันทาภิกษุณีว่า ต้องการอะไร นางตอบว่า ต้องการเนยใส เขาจึงซื้อเนยใสมาถวาย นางกลับบอกว่า ไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน. เขาจึงเอาเนยใสไปคืน จะขอน้ำมันมาแทน แต่พ่อค้าไม่ยอมให้คืน. เขาจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณี. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามขอของอย่างหนึ่ง แล้วขอของอย่างอื่นอีก ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๕ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามสั่งซื้อของกลับกลอก)
อุบาสกผู้หนึ่งเอาเงิน ๑ กหาปณะฝากไว้ที่พ่อค้าในตลาด แล้วบอกกับนางถุลลนันทาภิกษุณีว่า ต้องการอะไรในราคานั้นให้ไปนำมา. นางใช้นางสิกขมานา (สามเณรีผู้กำลังศึกษา คือสามเณรีที่เตรียมตัวจะเป็นนางภิกษุณีตามระยะกาลกำหนด) ผู้หนึ่ง ให้ไปนำน้ำมันมาราคา ๑ กหาปณะ ครั้นนำมาแล้ว สั่งเปลี่ยนใหม่ว่า ไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส. นางสิกขมานานำน้ำมันไปคืน จะขอเนยใสมา พ่อค้าไม่ยอมรับคืน. นางสิกขมานาก็ยืนร้องไห้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สั่งซื้อของกลับกลอกเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๖ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามจ่ายของผิดวัตถุประสงค์เดิม)
พวกอุบาสกเรี่ยไรกันเพื่อทำจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์ แล้วเก็บของไว้ ณ บ้านของพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการจีวรให้ไปรับมาจัดแบ่งกัน. นางภิกษุณีทั้งหลายเอาผ้านั้นไปจ่ายแลกเภสัชมาบริโภคเสียเอง. เขารู้เข้าก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายแก่สงฆ์ไว้ไปจ่ายแลกของอื่น.
สิกขาบทที่ ๗ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอของมาจ่ายแลกของอื่น)
พวกอุบาสกเรี่ยไรกันเพื่อทำจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์ แล้วเก็บของไว้ที่บ้านของพ่อค้าผ้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการจีวร ก็ให้ไปรับมาจัดแบ่งกัน. นางภิกษุณีขอผ้านั้นด้วยตนแล้ว เอาบริขารนั้นไปจ่ายแลกเภสัชมาบริโภค. เขารู้เข้าก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายแก่พระสงฆ์ซึ่งตนขอมาเองไปจ่ายแลกของอื่น.
สิกขาบทที่ ๘ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม)
ชนกลุ่มหนึ่งเรี่ยไรกันเพื่อทำข้าวยาคูถวายนางภิกษุณีทั้งหลาย (ในที่นี้ไม่ใช้คำว่า สงฆ์ ด้วยมุ่งหมายหมู่นางภิกษุณีที่ลำบากด้วยข้าวยาคู) แล้วฝากของไว้ที่บ้านพ่อค้าคนหนึ่ง เข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย สั่งว่า ถ้าต้องการข้าวยาคู ให้ไปเอาข้าวสารมาต้มเป็นข้าวยาคูบริโภค. นางภิกษุณีทั้งหลายเอาของนั้นจ่ายแลกเภสัชมาบริโภค. เขาทราบเข้าพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ที่เอาของที่เขาประสงค์เจาะจงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง ถวายไว้แก่คณะนางภิกษุณี มาจ่ายแลกของอย่างอื่น. (ความต่างกันของสิกขาบทนี้ กับสิกขาบที่ ๖ ที่ ๗ อยู่ที่คณะกับสงฆ์ คณะหมายเอา ๒-๓ รูป สงฆ์หมายเอา ๔ รูปขึ้นไป).
สิกขาบทที่ ๙ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอของของคณะมาจ่ายแลกของอื่น)
เรื่องเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๘ เป็นแต่นางภิกษุณีขอก่อนแล้วจึงจ่ายแลกของ ทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๗ เป็นแต่สิกขาบทนี้เขาถวายแก่คณะ.
สิกขาบทที่ ๑๐ ปัตตวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอของบุคคลมาจ่ายแลกของอื่น)
เรื่องทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๙ เป็นแต่เขาถวายของเป็นส่วนบุคคลสำหรับค่าทำความสะอาดบริเวณ แต่ผู้รับเอามาจ่ายแลกเภสัช.
จีวรวรรค (วรรคว่าด้วยจีวร)
สิกขาบทที่ ๑ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอผ้าห่มหนาวเกินราคา ๑๖ กหาปณะ)
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในธรรมเทศนาของนางถุลลนันทาภิกษุณี ออกปากให้ขอของได้ นางจึงขอผ้ากัมพลราคาแพง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ขอ (หรือให้เขาจ่าย) ผ้าห่มหนาว ราคาเกิน ๔ กังสะ (๑๖ กหาปณะ).
สิกขาบทที่ ๒ จีวรวรรค นิสสัคคิยกัณฑ์
(ห้ามขอผ้าห่มฤดูร้อน ราคาเกิน ๑๐ กหาปณะ)
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลื่อมใสในธรรมเทศนาของนางถุลลนันทาภิกษุณี ตรัสให้ขอสิ่งที่ต้องการได้ นางขอผ้าเปลือกไม้ ก็ถวายผ้าเปลือกไม้ตามประสงค์. มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่ามักมาก (เข้าใจว่าจะขอผ้าที่ทรงห่มอยู่ซึ่งมีราคาแพง). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี เมื่อขอผ้าห่มฤดูร้อน ขอผ้าเกินราคา ๒ กังสะครึ่ง (๑๐ กหาปณะ).๑
(หมายเหตุ นิสสัคคิยกัณฑ์ที่แสดงไว้นี้ มีเพียง ๑๒ สิกขาบท ทั้ง ๆ ที่กล่าวมา มี ๓๐ สิกขาบท เพราะนำของภิกษุมาใช้ ๑๘ สิกขาบท. กล่าวอีกอย่างหนึ่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์ของภิกษุ ๓๐ สิกขาบทนั้น เอาออกเสีย ๑๒ นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณีได้ ๑๘ สิกขาบท. ที่เอาออก ๑๒ คือสิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค. สิกขาบทที่ ๑ ถึง ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๘ และที่ ๙ แห่งปัตตวรรค).
๑. มีข้อน่าสังเกตอยู่ ๒ แห่ง คือผ้าห่มฤดูหนาว ใช้คำว่า ผ้าห่มหนัก (ครุปาปุรณํ) ผ้าห่มฤดูร้อน ใช้คำว่า ผ้าห่มเบา (ลหุปาปุรณํ) คำว่า ขอ แปลหักจากคำว่า "ทำให้เขาจ่าย" (เจตายเปยฺย)
ปาจิตติยกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
(ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ ๙๖ สิกขาบท ส่วนอีก ๗๐ สิกขาบทนำของภิกษุมาใช้ จึงรวมเป็น ๑๖๖ สิกขาบท ใน ๙๖ สิกขาบทนี้ แบ่งออกเป็น ๙ วรรค วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๗ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท วรรคที่ ๘ และที่ ๙ วรรคละ ๑๓ สิกขาบท).
ลสุณวรรคที่ ๑
(วรรคว่าด้วยกระเทียม)
สิกขาบทที่ ๑ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฉันกระเทียม)
อุบาสกผู้หนึ่งอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ขอกระเทียมได้ พร้อมทั้งสั่งคนเฝ้าไร่ให้จัดถวาย วันหนึ่งนางภิกษุณีหลายรูปไปขอกระเทียม เผอิญกระเทียมที่บ้านหมด เขาจึงให้ไปเก็บเอาเองที่ไร่. นางถุลลนันทาภิกษุณี ไม่รู้จักประมาณ ใช้คนเก็บไปเสียมากมาย. คนเฝ้าไร่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ฉันกระเทียม. (คงเพื่อป้อนกันไม่ให้ไปเที่ยวขอกระเทียมชาวบ้านอีก).
สิกขาบทที่ ๒ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนำขนในที่แคบออก)
นางภิำกษุณีไปอาบน้ำเปลือยกายในท่าน้ำอันเดียวกับหญิงแพศยา (โสเภณี) ถูกพวกหญิงแพศยายกโทษติเตียนว่า นำขนในที่แคบออกเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัิติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้นำขนในที่แคบออก.
สิกขาบทที่ ๓ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด)
นางภิกษุณี ๒ รูปเกิดความกำหนัด จึงเข้าห้องใช้ฝ่ามือตบ๒ (ตามเนื้อตัวของกันและกัน) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัิตปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๔ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้)
นางภิกษุณีมีความกำหนัดใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ใส่ในองค์กำเนิด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น. (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว-คำอธิบายท้ายสิกขาบท).
สิกขาบทที่ ๕ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว)
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีใช้น้ำชำระได้เมื่อปัสสาวะ ภิกษุณีบางรูปใช้น้ำชำระลึกเกินไปทำให้เป็นแผล. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว. (เพื่อป้องกันการกระทำด้วยความกำหนัด-คำอธิบายท้ายสิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๖ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน)
มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งออกบวช ภริยาก็ออกบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย เวลาฉัน นางภิกษุณีที่เคยเป็นภริยามายืนถือภาชนะน้ำดื่มและถือพัดปฏิบัติอยู่. ภิกษุที่เคยเป็นสามีเห็นไม่เหมาะจึงห้ามปราม นางโกรธจึงเอาภาชนะน้ำคว่ำลงไปบนศีรษะและเอาพัดตีภิกษุนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปยืนถือภาชนะน้ำและพัดเมื่อภิกษุกำลังฉัน.
สิกขาบทที่ ๗ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ)
นางภิกษุณีไปขอข้าวเปลือกดิบได้มา แต่ถูกแย่งชิงที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น. (คือฉันข้าวที่ตนทำ หรือใช้ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับข้าวเปลือกดิบนั้น ต้องอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๘ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง)
นางภิกษุณีถ่ายอุจจาระใส่ภาชนะ เทลงไปนอกฝา ตกใส่ศีรษะของพราหมณ์คนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, ขยะ, หรือของที่เป็นเดน นอกฝาหรือนอกกำแพง.
สิกขาบทที่ ๙ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด)
นางภิกษุณีทิ้งอุจจาระ เป็นต้น ลงในนาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, หรือของที่เป็นเดน ในของเขียวสด.
สิกขาบทที่ ๑๐ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามไปดูฟ้นอรำขับร้อง)
มีงานมหรสพบนยอดเขากรุงราชคฤห์ นางภิกษุณีไปดู มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การบรรเลง.
๑. คำว่า ที่แคบ หมายถึงรักแร้ทั้งสองและองค์กำเนิด
๒. มีคำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เมื่อกำหนัดยินดีสัมผัส แม้ใช้ใบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องปาจิตตีย์
ปาจิตติยกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
(ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ ๙๖ สิกขาบท ส่วนอีก ๗๐ สิกขาบทนำของภิกษุมาใช้ จึงรวมเป็น ๑๖๖ สิกขาบท ใน ๙๖ สิกขาบทนี้ แบ่งออกเป็น ๙ วรรค วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๗ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท วรรคที่ ๘ และที่ ๙ วรรคละ ๑๓ สิกขาบท).
ลสุณวรรคที่ ๑
(วรรคว่าด้วยกระเทียม)
สิกขาบทที่ ๑ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฉันกระเทียม)
อุบาสกผู้หนึ่งอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ขอกระเทียมได้ พร้อมทั้งสั่งคนเฝ้าไร่ให้จัดถวาย วันหนึ่งนางภิกษุณีหลายรูปไปขอกระเทียม เผอิญกระเทียมที่บ้านหมด เขาจึงให้ไปเก็บเอาเองที่ไร่. นางถุลลนันทาภิกษุณี ไม่รู้จักประมาณ ใช้คนเก็บไปเสียมากมาย. คนเฝ้าไร่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ฉันกระเทียม. (คงเพื่อป้อนกันไม่ให้ไปเที่ยวขอกระเทียมชาวบ้านอีก).
สิกขาบทที่ ๒ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนำขนในที่แคบออก)
นางภิำกษุณีไปอาบน้ำเปลือยกายในท่าน้ำอันเดียวกับหญิงแพศยา (โสเภณี) ถูกพวกหญิงแพศยายกโทษติเตียนว่า นำขนในที่แคบออกเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัิติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้นำขนในที่แคบออก.
สิกขาบทที่ ๓ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด)
นางภิกษุณี ๒ รูปเกิดความกำหนัด จึงเข้าห้องใช้ฝ่ามือตบ๒ (ตามเนื้อตัวของกันและกัน) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัิตปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๔ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้)
นางภิกษุณีมีความกำหนัดใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ใส่ในองค์กำเนิด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น. (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว-คำอธิบายท้ายสิกขาบท).
สิกขาบทที่ ๕ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว)
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีใช้น้ำชำระได้เมื่อปัสสาวะ ภิกษุณีบางรูปใช้น้ำชำระลึกเกินไปทำให้เป็นแผล. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว. (เพื่อป้องกันการกระทำด้วยความกำหนัด-คำอธิบายท้ายสิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๖ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน)
มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งออกบวช ภริยาก็ออกบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย เวลาฉัน นางภิกษุณีที่เคยเป็นภริยามายืนถือภาชนะน้ำดื่มและถือพัดปฏิบัติอยู่. ภิกษุที่เคยเป็นสามีเห็นไม่เหมาะจึงห้ามปราม นางโกรธจึงเอาภาชนะน้ำคว่ำลงไปบนศีรษะและเอาพัดตีภิกษุนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปยืนถือภาชนะน้ำและพัดเมื่อภิกษุกำลังฉัน.
สิกขาบทที่ ๗ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ)
นางภิกษุณีไปขอข้าวเปลือกดิบได้มา แต่ถูกแย่งชิงที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น. (คือฉันข้าวที่ตนทำ หรือใช้ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับข้าวเปลือกดิบนั้น ต้องอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๘ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง)
นางภิกษุณีถ่ายอุจจาระใส่ภาชนะ เทลงไปนอกฝา ตกใส่ศีรษะของพราหมณ์คนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, ขยะ, หรือของที่เป็นเดน นอกฝาหรือนอกกำแพง.
สิกขาบทที่ ๙ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด)
นางภิกษุณีทิ้งอุจจาระ เป็นต้น ลงในนาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, หรือของที่เป็นเดน ในของเขียวสด.
สิกขาบทที่ ๑๐ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามไปดูฟ้นอรำขับร้อง)
มีงานมหรสพบนยอดเขากรุงราชคฤห์ นางภิกษุณีไปดู มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การบรรเลง.
๑. คำว่า ที่แคบ หมายถึงรักแร้ทั้งสองและองค์กำเนิด
๒. มีคำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เมื่อกำหนัดยินดีสัมผัส แม้ใช้ใบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องปาจิตตีย์
อันธการวรรคที่ ๒
(วรรคว่าด้วยเวลากลางคืน)
สิกขาบทที่ ๑ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด)
นางภิกษุณีบางรูปยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในราตรีอันมืด มิได้ตามประทีป. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๒ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ)
นางภิำกษุณีบางรูปยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในที่ลับ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๓ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง)
นางภิกษุณีบางรูปเห็นว่า ห้ามทำ เช่น สิกขาบทที่ ๒ ในที่ลับ จึงยืนบ้าง สนทนาบ้าง กับบุรุษสองต่อสองในที่แจ้ง มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๔ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก)
นางถุลลนันทาภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท อาบัติแก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๕ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา)
นางภิกษุณีบางรูปไปฉันประจำในบ้านหนึ่ง. วันหนึ่งเมื่อฉันเสร็จแล้วก็หลีกไปโดยมิได้บอกลาเจ้าของบ้าน. นางทาสีกวาดบ้าน จึงเอาเครื่องลาดใส่ลงไปในภาชนะ. เจ้าของบ้านไม่เห็นเครื่องลาด จึงถามเอากับนางภิกษุณี นางภิกษุณีตอบว่าไม่ทราบ. เขาก็ทวงเอากับนางภิกษุณี บริภาษเอาแล้วตัดการถวายอาหารประจำ. ภายหลังคนทั้งหลายพบเครื่องลาดนั้นในภาชนะ จึงให้เจ้าของบ้านไปขอขมานางภิกษุณีนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปสู่สกุลก่อนเวลาอาหาร (ก่อนเที่ยง) นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนหลีกไป.
สิกขาบทที่ ๖ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน)
นางถุลลนันทาภิกษุณีเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร (เที่ยงไปแล้ว) ไม่บอกเจ้าของบ้าน นั่งบ้าง นอนบ้าง เหนืออาสนะ๑ มนุษย์ทั้งหลายละอายนาง ก็ไม่นั่งไม่นอนเหนืออาสนะ (เกรงจะเป็นการตีเสมอ) และพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่เข้าสู่สกุล ในเวลาหลังอาหาร ไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน นั่งหรือนอนบนอาสนะ.
สิกขาบทที่ ๗ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน)
นางภิกษุณีหลายรูปเดินทางไปสู่กรุงสาวัตถี ในระหว่างทางแวะขออาศัยพักกับสกุลพราหมณ์แห่งหนึ่ง. นางพราหมณีขอให้รอจนกว่าพราหมณ์ผู้สามีจะกลับมา. นางภิกษุณีก็ปูลาดที่นอน ด้วยคิดว่าจะรอแล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง. พราหมณ์นั้นมาในเวลากลางคืน ถาม ทราบความแล้ว สั่งให้ไล่ออกไป. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าสู่สกุลในเวลาวิกาล ไม่บอกเจ้าของบ้านก่อนปูลาด หรือใช้ให้ปูลาดที่นอนแล้วนั่งหรือนอน.
สิกขาบทที่ ๘ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา)
นางภัททากาปิลานีเห็นศิษย์ที่ตนเป็นอุปัชฌายะ๒ บวชให้ รับใช้ดี จึงกล่าวกะนางภิกษุณีทั้งหลายว่า "แม่เจ้าทั้งหลาย นางภิกษุณีนี้อุปฐากเราดี เราจักให้จีวรแก่เธอ." นางภิกษุณีนั้นก็เทียวพูดยกโทษกะผู้อื่นด้วยถ้อยคำ (ประชด) ที่ถือมาผิด จำมาผิดว่า "ได้ยินว่า ข้าพเจ้าอุปฐากแม่เจ้าไม่ดี แม่เจ้าจึงไม่ให้จีวรแก่ข้าพเจ้า." ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ผู้ยกโทษผู้อื่นด้วยถ้อยคำที่ถือมาผิด ทรงจำผิด.
สิกขาบทที่ ๙ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์)
ของของนางภิกษุณีหลายรูปหาย นางภิกษุณีจึงพากันถามนางจัณฑากาลีภิกษุณีว่า เห็นบ้างไหม ? นางจัณฑกาลีภิกษุณีก็สาปแช่งตัวเอง สาปแช่งผู้อื่นว่า ถ้าข้าพเจ้าเอาของไป ขอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ขอให้ตกนรก ถ้าใครหาความจริงไม่จริง ก็ขอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ให้ตกนรก. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สาปแช่งตัวเองหรือผู้อื่นด้วยนรกหรือพรหมจรรย์.
สิกขาบทที่ ๑๐ อันธการวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้)
นางจัณฑกาลีภิกษุณีทะเลาะกับนางภิกษุณีอื่น ๆ ก็ตีอกชกหัวแล้วร้องไห้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้.
๑. อาสนะ คือเครื่องลาดหรือปูลาด แต่ในท้ายสิกขาบทแก้ว่า ที่ว่างแห่งบัลลังก์ จึงหมายความว่า นั่งบนเก้าอี้ ก็ชื่อว่านั่งบนอาสนะ
๒. คำว่า อุปัชฌายะ สำหรับนางภิกษุณีใช้ว่า ปวัตตินี ก็ได้ อุปัชฌายา ก็ได้
นัคควรรคที่ ๓
(วรรคว่าด้วยเรื่องเปลือยกาย)
สิกขาบทที่ ๑ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ)
นางภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำร่วมกับหญิงแพศยา ในท่าน้ำอันเดียวกัน ถูกพูดเย้ยหยันต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เปลือยกายอาบน้ำ.
สิกขาบทที่ ๒ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ)
นางภิำกษุณีพวก ๖ ทำผ้าอาบน้ำเกินประมาณย้อยไปข้างหน้าข้างหลัง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้ทำผ้าอาบน้ำเกินประมาณ คือ ยาวเกิน ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบพระสุคต.
สิกขาบทที่ ๓ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามพูดแล้วไม่ทำ)
นางถุลลนันทาภิกษุณีพูดกับภิกษุณีรูปหนึ่งว่า ผ้าทำจีวรของท่านดี แต่จีวรทำไว้ไม่ดี เย็บไว้ไม่ดี. นางภิกษุณีนั้นจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะเลาะออก ท่านจะเย็บให้ไหม. นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากว่า จะเย็บให้. นางภิกษุณีนั้นเลาะจีวรนั้นแล้ว จึงให้แก่นางถุลลนันทาภิกษุณี. นางพูดว่า จะเย็บ ๆ แต่ก็ไม่เย็บ หรือขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เลาะหรือให้เลาะจีวรแล้ว ภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่เย็บเองหรือไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ เว้นไว้แต่พักไว้เพียง ๔-๕ วัน.
สิกขาบทที่ ๔ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน)
นางภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรกับนางภิกษุณีด้วยกันแล้วจาริกไปสู่ชนบท จีวรเหล่านั้นเก็บไว้นานก็เปรอะเปื้อน. นางภิกษุณี (ที่รับฝาก) จึงนำออกตาก. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน.
(หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ ๕ ผืน คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว) ๒. อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ๔. สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) ๕. อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ). พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน ๕ ผืน เกิน ๕ วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด).
สิกขาบทที่ ๕ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น)
นางภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต แล้วตากจีวรที่เปียกไว้ เข้าไปสู่วิหาร. ภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง จึงห่มจึวรนั้นเข้าไปสู่บ้าน. เจ้าของจีวรออกมาเที่ยวถามหา ทราบความก็ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ใช้จีวรสับกับของผู้อื่น. (ได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อนไม่เป็นอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๖ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์)
สกุลอุปฐากของ นางถุลลนันทาภิกษุณีกล่าวว่า ใคร่จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์. นางกลับตัดบทด้วยวาจาว่า ท่านทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก, ไฟไหม้เรือนของเขา. เขาจึงติเตียนที่ทำอันตรายไทยธรรม (ของถวาย) ของเขา และทำให้เขาเสื่อมจากทรัพย์และจากบุญ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์.
สิกขาบทที่ ๗ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม)
จีวรนอกกาลเกิดขึ้นแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์จึงประชุมกันเพื่อแบ่งจีวรนั้น. นางถุลลนันทาภิกษุณีถือเอาเหตุที่ศิษย์ของตนหลีกไปที่อื่น คัดค้านมิให้แบ่ง. ภิกษุณีทั้งหลายจึงแบ่งไม่ได้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่คัดค้านการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม.
สิกขาบทที่ ๘ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช)
นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สมณจีวร (ผ้าที่ทำสำเร็จรูปสำหรับภิกษุณี) แก่นักแสดงละครบ้าง, นักฟ้อนบ้าง นักกระโดดบ้าง, นักเล่นกลบ้าง, นักเล่นกลองบ้าง๑ โดยขอให้เขาสรรเสริญตนในที่ประชุมชน. พวกนั้นก็เที่ยวสรรเสริญต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ให้สมณจีวรแก่ผู้ครองเรือน แก่นักบวช (นอกศาสนา) ชายหรือหญิง.
สิกขาบทที่ ๙ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ)
สกุลอุปฐากของนางถุลลนันทาภิกษุณีกล่าวว่า ถ้าสามารถก็จะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์. เมื่อภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาเสร็จแล้ว ก็ประชุมกันจะแบ่งจีวร นางถุลลนันทาภิกษุณีคัดค้านให้รอไปก่อน อ้างว่าภิกษุณีสงฆ์ยังหวังจะได้จีวรอยู่. เมื่อ (รอไปพอสมควรแล้วป ภิกษุณีทั้งหลายก็เตือนเรื่องจีวรที่จะได้นั้น. นางถุลลนันทาภิกษุณีจึงไปเตือนสกุลที่เขาว่าจะให้ เขาตอบว่า เขาไม่สามารถให้เสียแล้ว. ภิกษุณีทั้งหลายจึงติเตียนนางถุลลนันทาภิกษุณีที่ทำให้คอยจนเกินสมัยสำหรับทำจีวร. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทำให้ล่วงเลยสมัยทำจีวรไปด้วย (อ้าง) ความหวังว่าจะได้จีวรที่เพียงเขาพูดไว้.
สิกขาบทที่ ๑๐ นัคควรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม)
อุบาสกผู้หนึ่งสร้างวิหารถวายสงฆ์ และใคร่จะถวายจีวรนอกกาลแก่ภิกษุสงฆ์และภิกษุสงฆ์ ในการฉลองวิหารนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อขอให้ทรงเพิกถอน (ภาษาพระว่า เดาะ) กฐิน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตโดยให้ประชุมสงฆ์สวดประกาศ ขอมติในการเพิกถอนกฐิน. แต่ในภิกษุณีสงฆ์ ไม่มีใครทำการนี้สำเร็จ เพราะนางถุลลนันทาภิกษุณีคัดค้านไว้ด้วยหวังจะได้ลาภจีวรเป็นส่วนตัว. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้คัดค้านการเพิกถอนกฐินอันเป็นธรรม.
๑. คำว่า นักเล่นกลอง แปลจากคำว่า กุมภถูนิกา
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔
(วรรคว่าด้วยการนอนร่วมกัน)
สิกขาบทที่ ๑ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป)
นางภิกษุณีสองรูปนอนร่วมกันบนเตียงเดียวกัน พวกมนุษย์พากันติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่นอนบนเตียงเดียวกันสองรูป.
สิกขาบทที่ ๒ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป)
นางภิำกษุณีสองรูปนอนร่วมกัน ใช้เครื่องปูลาดและห่มผืนเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๓ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี)
มนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญนางภัททากาปิลานีภิกษุณีด้วยประการต่าง ๆ. นางถุลลนันทาภิกษุณีริษยา จึงเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง สอนธรรมบ้าง ใช้ให้สอนบ้าง ทำการท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้า นางภัททากาปิลานี (เพื่อก่อความรำคาญให้). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้แกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี.
สิกขาบทที่ ๔ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย)
นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่พยาบาลเอง ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นพยาบาลสหชีวินี (คือนางภิกษุณีที่ตนเป็นอุปัชฌายะ บวชให้) ผู้เป็นไข้ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๕ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่)
นางถุลลนันทาภิกษุณี ให้ที่อยู่แก่นางภัททากาปิลานีภิกษุณีแล้ว ภายหลังมีจิตริษยา โกรธเคืองฉุดคร่านางภัททากาปิลานี จากที่อยู่ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ให้ที่อยู่แก่นางภิกษุณีแล้ว โกรธเคือง ฉุดคร่าเองหรือใช้ให้ฉุดคร่าออกไป.
สิกขาบทที่ ๖ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามคลุกคลีกัลคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี)
นางจัณฑกาลีภิกษุณีคลุกคลีกับคฤหบดีบ้าง บุตรคฤหบดีบ้าง เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่คลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เป็นผู้อันนางภิกษุณีทั้งหลายตักเตือนแล้ว ไม่ฟัง ภิกษุณีสงฆ์สวดประกาศให้ละเลิก ครบ ๓ ครั้ง แล้วก็ยังไม่ละเลิก.
สิกขาบทที่ ๗ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง)
นางภิกษุณีเดินทางเปลี่ยว มีภัยเฉพาะหน้า ภายในแว่นแคว้น โดยมิได้ไปกับหมู่เกวียน ถูกพวกนักเลงประทุษร้าย เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เดินทางเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๘ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น)
ความในสิกขาบทนี้เหมือนกับสิกขาบทที่ ๗ ต่างแต่ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น คือออกนอกรัฏฐะ (เช่น จากแคว้นกาสีไปสู่แคว้นมคธ).
สิกขาบทที่ ๙ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเดินทางภายในพรรษา)
นางภิกษุณีเดินทางภายในพรรษา เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๑๐ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว)
นางภิกษุณีอยู่จำพรรษในกรุงราชคฤห์. ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ก็คงอยู่ประจำในที่นั้นเป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้วไม่หลีกไปสู่ที่จาริก แม้สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์.
จิตตาคารวรรคที่ ๕
(วรรคว่าด้วยอาคารอันวิจิตร๑ )
สิกขาบทที่ ๑ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น)
มนุษย์ทั้งหลายพากันไปดูอาคารอันวิจิตร (ด้วยลวดลาย) ในอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล นางภิกษุณีพวก ๖ ก็พากันไปดูบ้าง. มีผู้ติเตียนว่าทำตนเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไปดูพระราชวังก็ตาม, อาคารอันวิจิตรก็ตาม, ป่าก็ตาม, สวนก็ตาม, สระน้ำก็ตาม.
สิกขาบทที่ ๒ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์)
นางภิำกษุณีใช้อาสันทิ (ม้ายาว) บ้าง บัลลังก์ (เก้าอี้นวมบุด้วยขนสัตว์) บ้าง มีผู้ติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้อาสันทิและบัลลังก์. (อาสันทิ ตัดเท้าออก, บัลลังก์ รื้อนวมขนสัตว์ออก ใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๓ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามกรอด้าย)
นางภิกษุณีพวก ๖ กรอด้าย มีผู้ติเตียนว่า ทำการเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้กรอด้าย.
สิกขาบทที่ ๔ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรับใช้คฤหัสถ์)
นางภิกษุณีทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ (รับใช้). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้รับใช้คฤหัสถ์ (เช่น หุงข้าว หรือซักผ้าให้เขา).
สิกขาบทที่ ๕ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์)
นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากว่าจะระงับอธิกรณ์แล้วไม่ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ระงับ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้นในเมื่อไม่มีเหตุขัดข้อง.
สิกขาบทที่ ๖ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ)
นางถุลลนันทาภิกษุณีให้ของเคี้ยวขอบริโภคด้วยมือของตนแก่นักแสดงละครบ้าง, นักฟ้อนบ้าง, นักกระโดดบ้าง, นักเล่นกลบ้าง, นักเล่นกลองบ้าง เพื่อให้เขาสรรเสริญตนในที่ชุมนุมชน. พวกนั้นก็พากันสรรเสริญต่าง ๆ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ผู้ให้ข้องเคี้ยวของบริโภคด้วยมือของตนแก่คฤหัสถ์ก็ตาม แก่นักบวชชายก็ตาม หญิงก็ตาม.
สิกขาบทที่ ๗ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน)
นางถุลลนันทาภิกษุณีใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนแล้วไม่สละ (คือไม่ซักแล้วเฉลี่ยให้ผู้อื่นใช้บ้าง)๒. นางภิกษุณีที่มีประจำเดือนก็ไม่ได้ใช้ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้สำหรับผู้มีประจำเดือนครบ ๓ วันแล้วไม่สละ (มีความจำเป็น เช่น ผ้าอื่นถูกโจรลักไปหรือหายเสีย หรือไม่มีภิกษุณีผู้มีประจำเดือน ไม่เป็นอาบัติ).
สิกขาบทที่ ๘ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ)
นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จาริก. ที่อยู่ถูกไฟไหม้. ไม่มีใครกล้าช่วยขนของออก ด้วยเกรงว่าจะถูกหาว่าทำให้ของหาย. นางถุลลนันทาภิกษุณีกลับมาถาม ทราบความ กลับยกโทษติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จากริก. (เมื่อจะเดินทางไปที่อื่น ต้องมอบที่อยู่ให้นางภิกษุณีหรือนางสิกขมานา หรือนางสามเณรี).
สิกขาบทที่ ๙ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา)
นางภิกษุณีพวก ๖ เรียนติรัจฉานวิชชา (วิชาภายนอกที่ไม่มีประโยชน์) มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เรียนติรัจแนวิชชา.
สิกขาบทที่ ๑๐ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา)
นางภิกษุณีพวก ๖ สอนติรัจฉานวิชชา มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สอนติรัจฉานวิชชา.
๑. คำว่า จิตตาคาร หรืออาคารอันวิจิตรนี้ ฝรั่งมีความเห็นว่า ควรแปลว่า อาคารที่แสดดงจิตรกรรม (Picture Gallery). คำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เป็นที่เล่นที่รื่นรมย์ของมนุษย์ทั้งหลาย
๒. ในสมัยนั้นผ้าหายาก จึงมีผู้ถวายไว้เป็นของกลาง สำหรับใช้เฉพาะผู้มีประจำเดือน เมื่อใช้แล้วต้องซักทำความสะอาด แล้วให้ผู้อื่นใช้บ้าง
อารามวรรคที่ ๖
(วรรคว่าด้วยอาราม)
สิกขาบทที่ ๑ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า)
ภิกษุหลายรูปนุ่งผ้าผืนเดียว (ไม่ได้ห่มจีวร) ทำจีวรอยู่ในวัดใกล้หมู่บ้าน. นางภิกษุณีไม่ได้บอกล่วงหน้า เข้าไปในวัด (คงทำให้น่าเกลียดที่เข้าไปเห็นพระนุ่งสบงโดยไม่ห่มจีวร). ภิกษุเหล่านั้นพากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท และบัญญัติเพิ่มเติมอีก ๒ ครั้ง รวมเป็นข้อความว่า นางภิกษุณีรู้อยู่ไม่บอก (ล่วงหน้า) เข้าไปสู่ที่วัดที่มีภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ)
นางภิำกษุณีพวก ๖ โกรธเคืองพระกัปปิตกะ ผู้เป็นอุปัชฌายะของพระอุบาลี คิดจะฆ่าเสีย. บางรูปเล่าให้พระอุบาลีฟัง. พระอุบาลีจึงบอกให้พระกัปปิตกะทราบ. พระกัปปิตกะจึงหลบซ่อน. นางภิกษุณีพวกนั้นฆ่าไม่สำเร็จ จึงโกรธเคืองพระอุบาลีว่าเป็นผู้ไปบอก จึงพากันด่าและบริภาษพระอุบาลี. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ด่า หรือบริภาษภิกษุ.๑
สิกขาบทที่ ๓ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์)
นางถุลลนันทาภิกษุณีโกรธเคืองภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งสวดประกาศลงอุกเขปนียกรรม (ยกจากหมู่) แก่นางจัณฑกาลีภิกษุณี เพราะเหตุที่ไม่เห็นอาบัติ จึงด่าบริภาษภิกษุณีสงฆ์ว่า "นางภิกษุณีเหล่านี้เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักธรรม, โทษของกรรม, กรรมวิบัติหรือกรรมสมบัติ"๒ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้บริภาษภิกษุณีสงฆ์.
สิกขาบทที่ ๔ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว)
พราหมณ์ผู้หนึ่งนิมนต์นางภิกษุณีหลายรูปไปฉัน. บางรูปฉันเสร็จแล้ว ไม่รับอาหารที่เขาจะเติมให้อีกแล้ว (ภาษาพระว่า ห้ามข้าวแล้ว) ก็ไปสู่สกุลญาติ บางรูปก็รับบิณฑบาตแล้วจากไป. พราหมณ์ผู้นิมนต์ทราบเรื่องก็ติเตียน ด้วยความน้อยใจว่า ตนไม่สามารถวายอาหารให้ได้ตามต้องการหรืออย่างไร ? พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีรับนิมนต์แล้ว หรือไม่รับอาหารที่เขาจะเติมให้อีกแล้ว เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม ซึ่งของเคี้ยว หรือของฉัน ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น)
นางภิกษุณีไปบิณฑบาตในตรอกแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี. เจ้าของบ้านนิมนต์ให้ฉันอาหาร แล้วสั่งให้บอกภิกษุณีอื่นให้มาบ้าง. เธอคิดจะกีดกัน จึงพูดกับนางภิกษุณีอื่น ๆ ว่า ที่นั่นมีสุนัขร้าย มีโคดุ เป็นที่เฉอะแฉะ อย่าไปเลย. ภายหลังความแตก เพราะนางภิกษุณีรูปอื่นไปทางตรอกนั้น ได้รับนิมนต์ให้ฉัน แล้วถูกต่อว่า ว่าเหตุไฉนนางภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่มา. เมื่อเขาทราบความก็พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ตระหนี่สกุล (คือพูดกีดกันมิให้ภิกษุณีรูปอื่นไปสู่สกุล หรือแกล้งพูดติเตียนนางภิกษุณีด้วยกันให้เขาฟังเพื่อจะได้นิมนต์ตนแต่ผู้เดียว).
สิกขาบทที่ ๖ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ)
นางภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.
(หมายเหตุ : ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท อ้างว่า ทำให้ไม่ได้ฟังโอวาทและไม่ได้อยู่ร่วม. คำว่าอยู่ร่วม หมายความว่า ทำกรรมร่วมกัน เรียนร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน. เหตุผลที่ให้นางภิกษุณีอยู่ในวัดที่มีภิกษุ อาจจะเพื่อป้องกันคนข่มเหงด้วยอีกส่วนหนึ่ง).
สิกขาบทที่ ๗ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย)
นางภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาแล้วมิได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์-ภิกษุณีสงฆ์) โดยฐานะ ๓ คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยนึกรังเกียจสงสัย ต้องปาจิตตีย์ (ปวารณา คือการอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนได้).
สิกขาบทที่ ๘ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม)
นางภิกษุณีพวก ๖ มีภิกษุพวก ๖ มาให้โอวาทอยู่แล้ว ก็ไม่ไปฟังโอวาทร่วมกับนางภิกษุณีทั้งหลาย มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่ไปเพื่อรับโอวาท เพื่อการอยู่ร่วม ต้องปาจิตตีย์. (การอยู่ร่วม คือร่วมสามัคคีทำกรรม หรือศึกษาเล่าเรียนร่วมกับนางภิกษุณีอื่น ๆ).
สิกขาบทที่ ๙ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท)
นางภิกษุณีไม่ถามวันอุโบสถ ไม่ขอรับโอวาท มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถ การเข้าไปหาเพื่อรับโอวาท. ถ้าให้ล่วงกำหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๐ อารามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น)
นางภิกษุณีรูปหนึ่ง สองต่อสองกับบุรุษ ให้บีบฝีซึ่งเกิดขึ้นที่ "ปสาขา" (ใต้สะดือลงไป เหนือเข่าขึ้นมา). บุรุษนั้นพยายามข่มขืนนางภิกษุณีนั้น. นางจึงร้องขึ้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะก่อน เป็นผู้สองต่อสองกับบุรุษ ให้บีบก็ตาม, ให้ผ่าก็ตาม, ให้ชะก็ตาม, ให้พันผ้าก็ตาม, ให้แก้ผ้าพันก็ตาม ซึ่งฝีหรือแผลอันเกิดขึ้นที "ปสาขา" ต้องปาจิตตีย์.
๑. อกฺโกเสยฺย-ด่า, ปริภาเสยฺย = บริภาษ. ตามศัพท์น่าจะเป็นว่า ด่า คือด่าตรง ๆ บริภาษ คือด่าโดยอ้อม แต่คำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า บริภาษ คือพูดให้กลัว
๒. คำบริภาษตรงนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการด่าโดยอ้อม. คำว่า กรรม หมายถึงสังฆกรรม คือกรรมที่ทำเป็นการสงฆ์ กรรมวิบัติ คือสังฆกรรมที่ไม่สมบูรณ์ กรรมสมบัติ คือสังฆกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์
คัพภินีวรรคที่ ๗
(วรรคว่าด้วยหญิงมีครรภ์)
สิกขาบทที่ ๑ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์)
นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีครรภ์ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๒ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม)
นางภิำกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีคนที่สอง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช ต้องปาจิตตีย์. (หญิงเช่นนี้ หมายรวมทั้งผู้เป็นมารดาและแม่นม).
สิกขาบทที่ ๓ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี)
นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง๑ ครบ ๒ ปี. นางก็เป็นผู้เขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอธิบายวิธีที่นางสิกขมานาจะขอสิกขาสมมติ (การสวดประกาศให้การศึกษา) จากภิกษุณีสงฆ์ และการสวดสมมติของภิกษุณีสงฆ์ ตลอดจนการเปล่งวาจาสมาทานและการไม่ประพฤติล่วงธรรม ๖ ข้อ. ครั้นแล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปี ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๔ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)
นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงวิธีที่นางสิกขมานาผู้ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว จะพึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์เพื่อขอวุฏฐานสมมติ (การสวดประกาศให้ความเห็นชอบที่จะอุปสมบทได้) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒)
นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ นางไม่อดทนต่อหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย, เหลือบ, ยุง, ลม, แดด, สัตว์เสือกคลาน, คำพูดล่วงเกินและเวทนากล้า. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี)
สิกขาบทที่ ๗ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)
สองสิกขาบทนี้ มีข้อความคล้ายสิกขาบทที่ ๓ และสิกขาบทที่ ๔ คือจะต้องขอสิกขาสมมติ และขอวุฏฐานสมมติจากนางภิกษุณีสงฆ์ จึงจะให้บวชได้ ถ้าให้บวชผู้ยังมีคุณสมบัติไม่สมบูรณ์ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว)
นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก คือผู้เป็นศิษย์ที่อุปัชฌายะ หรือปวัตตินี บวชให้) บวชแล้วมิได้สงเคราะห์เอง หรือให้ผู้อื่นสงเคราะห์ (ด้วยการสอนธรรม, การสอบถาม, การให้โอวาท, การพร่ำสอน) ตลอดเวลา ๒ ปี. นางจึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌายะ (ปวัตตินี) ผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๙ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี)
นางภิกษุณีทั้งหลายมิได้ติดตาม๒ ปวัตตินี (อุปัชฌายะ) ผู้บวชให้ตนตลอด ๒ ปี จึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่นางภิกษุณีผู้เป็นสหชีวินี (สัทธิวิหาริก) ผู้ทำเช่นนั้น.
สิกขาบทที่ ๑๐ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น)
นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก) บวชแล้ว มิได้พาไปที่อื่น มิได้ใช้ให้พาไปที่อื่น สามี (ของนางภิกษุณีนั้น) รับตัวไป (คือพาให้สึกไป). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้สหชีวินีบวชแล้ว ไม่พาไปที่อื่น โดยที่สุดแม้เพียง ๕-๖ โยชน์ ต้องปาจิตตีย์.
๑. ธรรม ๖ อย่าง คือศีล ๕ กับเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิการ. อนึ่ง เฉพาะศีลที่ ๓ เว้นจากการประพฤติล่วงพรหมจรรย์
๒. คำว่า ไม่ติดตามนี้ คำท้ายสิกขาบท หมายถึงไม่รับใช้. พึงสังเกตว่า นางภิกษุณีบวชแล้ว จะต้องติดตามรับใช้อุปัชฌายะ เพื่อได้ศึกษา เพื่ออยู่ในปกครอง ๒ ปี แต่ภิกษุต้องถือนิสสัย คืออยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรืออาจารย์ ๕ ปี
กุมารีภูตวรรคที่ ๘
(วรรคว่าด้วยหญิงสาวที่ยังไม่มีสามี)
สิกขาบทที่ ๑ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปี)
นางภิกษุณีทั้งหลายใหญิงสาวที่มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบวช. นางไม่อดทนต่อหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย เป็นต้น. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงสาวที่มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบวช ต้องปาจิตตีย์.
(หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ ๑๒ จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก ๒ ปี จนอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ ๒๐ จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรีและเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว).
สิกขาบทที่ ๒ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ ๒ ปี)
สิกขาบทที่ ๓ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ)
สองสิกขาบทนี้ มีเค้าความทำนองเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ และที่ ๔ และที่ ๖ ที่ ๗ แห่งคัพภินีวรรค ที่กล่าวมาแล้ว เป็นแต่นำมาใช้ในกรณีที่เป็นหญิงสาวมีอายุครบ ๒๐ ปี มีสิทธิจะบวชได้ ก็คงให้ศึกษาก่อน และศึกษาแล้วก็ต้องให้สงฆ์สวดสมมติอนุญาตให้อุปสมบทก่อน.
สิกขาบทที่ ๔ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ ๑๒)
นางภิกษุณี พรรษาไม่ครบ ๑๒ ให้ผู้อื่นบวช. ตนเองก็เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. แม้สัทธิวิหารินี (ผู้ที่ตนบวชให้แปลตามศัพท์ว่า ผู้อยู่ร่วม) ก็เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณี พรรษาหย่อนกว่า ๑๒ ให้ผู้อื่นบวช ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ)
นางภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ (แต่งตั้ง) ให้ผู้อื่นบวช. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีที่มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้ผู้อื่นบวช ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง)
นางจัณฑกาลีภิกษุณีเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอให้แต่งตั้งเป็นอุปัชฌายะ ภิกษุณีสงฆ์พิจารณาแล้วไม่อนุญาต (เพราะเห็นว่ายังไม่เหมาะสม). นางก็รับคำว่า "สาธุ" ภายหลังภิกษุณีสงฆ์แต่งตั้งนางภิกษุณีอื่นให้เป็นอุปัชฌายะ. นางจัณฑกาลีภิกษุณีจึงเที่ยวโพนทะนาว่ากล่าว. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีที่สงฆ์ยังไม่อนุญาตให้เป็นอุปัชฌายะ รับคำว่า สาธุ แล้ว ภายหลังกลับติเตียน ต้องปาจิตตีย์. (สิกขาบทนี้ให้อำนาจภิกษุณีสงฆ์ พิจารณาผู้ที่จะเป็นอุปัชฌายะด้วย แม้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว จะไม่แต่งตั้งสวดสมมติให้ก็ได้)
สิกขาบทที่ ๗ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้)
นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากกับนางสิกขมานารูปหนึ่งว่า ถ้าให้จีวรจะบวชให้ แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีกล่าวกะนางสิกขมานาว่า ถ้าท่านจักให้จีวรแก่ข้าพเจ้า๑ ข้าพเจ้าจักบวชให้ แล้วภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่บวชให้เองก็ดี ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น)
นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากกับนางสิกขมานารูปหนึ่งว่า ถ้าติดตามครบ ๒ ปี จะบวชให้ แล้วไม่บวช ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีกล่าวกะนางสิกขมานาว่า ถ้าติดตาม (รับใช้) ครบ ๒ ปี แล้วจะบวชให้ ภายหลังไม่มีเหตุขัดข้อง ไม่บวชให้เองก็ดี ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นบวชให้ก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๙ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี)
นางถุลลนันทาภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาผู้คลุกคลีด้วยบุรุษ คลุกคลีด้วยชายหนุ่ม เป็นคนดุร้าย ก่อความเศร้าใจแก่คนอื่น มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาผู้คลุกคลีด้วยบุรุษ คลุกคลีด้วยชายหนุ่ม เป็นคนดุร้าย ก่อความเศร้าใจแก่คนอื่น ต้องปาจิตตีย์ (บุรุษ คือคนมีอายุครบ ๒๐ แล้ว, กุมารกะหรือชายหนุ่ม คือที่อายุยังไม่ถึง ๒๐).
สิกขาบทที่ ๑๐ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต)
นางถุลลนันทาภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตบ้าง ที่สามียังไม่อนุญาตบ้าง. มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง พากันติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีบวชให้นางสิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามียังมิได้อนุญาต ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๑ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามทำกลับกลอกในการบวช)
นางถุลลนันทาภิกษุณีคิดจะบวชให้นางสิกขมานา จึงนิมนต์พระภิกษุที่เป็นเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ครั้นแล้วเห็นของเคี้ยวของฉันมีมาก จึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะยังไม่บวชให้นางสิกขมานาละ" แล้วส่งภิกษุเถระเหล่านั้นกลับ นิมนต์พระเทวทัต เป็นต้น (รวม ๕ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระที่ก่อเรื่องยุ่งยาก) มาประชุมกัน บวชให้นางสิกขมานา. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.๒
สิกขาบทที่ ๑๒ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชให้คนทุกปี)
สมัยนั้น นางภิกษุณีบวชให้คนทุก ๆ ปี ที่อยู่ไม่พอกัน มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้บวชให้ทุกปี (ต้องบวชปีเว้นปี).
สิกขาบทที่ ๑๓ กุมารีภูตวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามบวชให้ปีละ ๒ คน)
สมัยนั้น นางภิกษุณีบวชให้ปีละ ๒ คน. ที่อยู่ไม่พอกัน มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่บวชให้ปีละ ๒ คน.
๑. มีทางสันนิษฐานได้เป็น ๒ ประการ คือพูดเป็นเชิงเรียกสินบนหรือสิ่งตอบแทนอย่างอนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง หมายเพียงไปหาจีวรมาได้ก็จะบวชให้ คือมิใช่รับไว้เป็นของตน. เพราะเป็นประเพณีที่ผู้ขอบวชจะต้องมอบจีวรแก่อุปัชฌายะ แล้วอุปัชฌายะทำพิธีมอบให้ในเวลาบวช
๒. ฉบับฝรั่ง แปลคำว่า ปาริวาสิกฉนฺททาเนน ไปในทางว่าด้วยแสดงความพอใจภิกษุที่อยู่ปริวาส (ในการออกจากอาบัต) แต่คำอธิบายท้ายสิกขาบท และอรรถกถามุ่งไปในทางทำให้พระที่มาประชุมชุดก่อนต้องเก้อเลิกไป
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙
(วรรคว่าด้วยร่มและรองเท้า)
สิกขาบทที่ ๑ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย)
สมัยนั้น นางภิกษุณีพวก ๖ ใช้ร่มใช้รองเท้า. มนุษย์ทั้งหลายติเตียนว่าใช้ของเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีใช้ร่มใช้รองเท้า ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญัติเพิ่มเติม อนุญาตให้ใช้ได้ ถ้าเป็นไข้ หรือไม่ใช้แล้วจะไม่สบาย.
สิกขาบทที่ ๒ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย)
นางภิกษุณีพวก ๖ ไปด้วยยาน. มนุษย์ทั้งหลายติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไปด้วยยาน ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญญัติเพิ่มเติม อนุญาตให้ไปด้วยยานได้ ถ้าเป็นไข้.
(หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่าเลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น).
สิกขาบทที่ ๓ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง)
นางภิกษุณีถูกสกุลที่ตนเข้าไปฉันขอร้องให้นำผ้า "สังฆาณี"๑ (ผ้าแคบ แต่ยาวพอนุ่งปิดสะโพกได้ เมื่อนุ่งแล้วจะดูเป็นผ้าหยักรั้ง ผรั่งเรียกว่า Loin-cloth คือผ้าปกสะโพก แสดงรูปชาวอินเดียนุ่งผ้าแบบนี้ให้ดูด้วย) ไปมอบให้สตรีอีกคนหนึ่ง. นางภิกษุณีนั้นคิดว่าจะใส่บาตรนำไปก็เกรงน่าเกลียด จึงนุ่งไป ในขณะที่ไปในถนนถ้ายขาด ผ้าจึงหลุดลงมาเรี่ยราด ถูกติเตียนว่าใช้ผ้านุ่งเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้ผ้าสังฆาณี.
สิกขาบทที่ ๔ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง)
นางภิกษุณีพวก ๖ ใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง (คือเครื่องประดับศีรษะ, คอ, มือ, เท้า และสะเอว) มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๕ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี)
นางภิกษุณีพวก ๖ อาบน้ำด้วยน้ำหอมและน้ำมีสี (อาจใช้ย้อมกายได้) มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีอาบน้ำด้วยน้ำหอมและน้ำมีสี ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๖ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ)
นางภิกษุณีพวก ๖ อาบน้ำด้วยแป้งที่ทำด้วยงาอบกลิ่น มีผู้ติเตียนว่าทำอย่างคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีอาบน้ำด้วยแป้งงาอบกลิ่น ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๗ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด)
สมัยนั้น นางภิกษุณีให้นางภิกษุณด้วยกันทาน้ำมันบ้าง นวดบ้าง มีผู้ติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามให้ผู้อื่นทาน้ำมันหรือนวด)
สิกขาบททั้งสามนี้ ก็เหมือนกับสิกขาบที่ ๗ ต่างแต่ผู้ทาน้ำมันและนวดในสิกขาบทที่ ๘ เป็นนางสิกขมานา; สิกขาบทที่ ๙ เป็นสามเณรี; สิกขาบทที่ ๑๐ เป็นคิหินี (สตรีผู้เป็นคฤหัสถ์).
สิกขาบทที่ ๑๑ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน)
สมัยนั้น นางภิกษุณีทั้งหลายไม่อาปุจฉา๒ นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าของภิกษุ มีผู้ติเตียน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่อาปุจฉา นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
สิกขาบทที่ ๑๒ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส)
สมัยนั้น นางภิกษุณีถามปัญหาภิกษุผู้ที่ตนมิได้ขอโอกาส มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีถามปัญหาที่ตนมิได้ขอโอกาส ต้องปาจิตตีย์. (เป็นระเบียบเรื่องความเคารพ).
สิกขาบทที่ ๑๓ ฉัตตุปาหนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
(ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ)
นางภิกษุณีเข้าบ้าน ไม่มีผ้าสังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือโอบที่ใช้ปิดตั้งแต่หลุมคอลงไป และตั้งแต่สะดือขึ้นมา). มนุษย์พากันแกล้งชมโฉมต่าง ๆ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีไม่ใช้ผ้าสังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) เข้าบ้าน (กำหนดตั้งแต่เขตรั้วเข้าไป) ต้องปาจิตตีย์.
(หมายเหตุ : ปาจิตตีย์ของนางภิกษุณีทั้งหมดมี ๑๖๖ แต่แสดงไว้ในภิกขุนีวิภังค์นี้เพียง ๙๖ สิกขาบท แบ่งเป็น ๙ วรรค. ๗ วรรคแรก มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท. ๒ วรรคหลัง มีวรรคะ ๑๓ สิกขาบท. และได้นำปาจิตตีย์ของภิกษุมาใช้ ๗๐ สิกขาบท (๙๖+๗๐=๑๖๖) คือปาจิตตีย์ของภิกษุมี ๙๒ สิกขาบท นำออกเสีย ๒๒ สกขาบทเฉพาะที่ไม่จำเป็นสำหรับนางภิกษุณี. ๒๒ สิกขาบทที่ไม่ใช้แก่นางภิกษุณี คือ โอวาทวรรคที่ ๓ รวมหมดทั้งสิบสิกขาบท โภชนวรรคที่ ๕ เฉพาะสิกขาบทที่ ๓, ๕, ๖ และ ๙ รวม ๔ สิกขาบท : อเจลกวรรคที่ ๕ เฉพาะสิกขาบทที่ ๑; สัปปาณกวรรคที่ ๗ เฉพาะสิกขาบทที่ ๔, ๕ และ ๗ รวม ๓ สิกขาบท: รตนวรรคที่ ๙ เฉพาะสิกขาทที่ ๑, ๓, ๗ และ ๙ รวม ๔ สิกขาบท: รวมทั้งสิ้น ๒๒ สิกขาบท, ท่านผู้ประสงค์จะทราบว่าสิกขาบทที่ไม่นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณีตามที่ระบุไว้ ๒๒ สิกขาบทนี้ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง โปรดดูหน้า ๑๖๘ ถึง ๑๗๙).
๑. อรรถกถาแสดงว่ามีลักษณะเป็นตาข่ายร้อยดอกไม้ ด้ายหลุด ดอกไม้หล่นกระจาย จึงน่าจะเป็นเครื่องประดับสะเอว แต่ Miss I.B. Horner แปลคำนี้ว่า Peticoat หรือกระโปรงชั้นใน, เมื่อดูสิกขาบทต่อไปเทียบเคียงแล้ว ทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นเครื่องประดับสะเอว
๒. ตามศัพท์แปลว่า ถามโดยเอื้อเฟื้อ โดยความคือขอโอกาสหรือขออนุญาต
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
(ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท)
สิกขาบทที่ ๑ ถึงสิกขาบทที่ ๘
(ห้ามขอโภชนะประณีต ๘ อย่าง ตามลำดับสิกขาบท มาฉัน)
ความในสิกขาบททั้งแปดนี้อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ของที่ขอรวม ๘ อย่าง ตามลำดับสิกขาบท คือนางภิกษุณีไม่เป็นไข้ ของเหล่านี้ มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ คือ ๑. เนยใส ๒. น้ำมัน ๓. น้ำผึ้ง ๔. น้ำอ้อย ๕. ปลา ๖. เนื้อ ๗. นมสด ๘. นมสด (เรียลำดับสิกขาบทตามลำดับของ).
(หมายเหตุ : อาบัติปาฏิเทสนียะ แปลว่า อาบัติที่ต้องแสดงคืน ทั้งแปดสิกขาบทนี้ ไม่มีพ้องกับของภิกษุเลย. อนึ่ง ของภิกษุ ๘ อย่างที่ห้ามขอมาฉัน ในเมื่อไม่เป็นไข้นี้ เคยเรียกในสิกขาบทสำหรับภิกษุว่า โภชนะประณีตมี ๙ อย่าง โดยเพิ่มเนยข้น (นวนีตํ) เข้าในลำดับที่ ๒ แล้วเลื่อนข้ออื่น ๆ ไปไว้ถัดไป โดยนัยนี้ จึงขาดเนยข้นไปอย่างเดียว อาจเป็นเพราะไม่มีใครทำตัวอย่าง จึงไม่บัญญัติสิกขาบทก็ได้).
๖. เสขิยกัณฑ์
(ว่าด้วยวัตรและมารยาทที่ภิกษุณีจะต้องศึกษา)
ในพระไตรปิฎกเรียกชื่อว่าเสขิยธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาของนางภิกษุณี คงมี ๗๕ ข้อ เหมือนของภิกษุ เป็นแต่ได้แสดงต้นเรื่องไว้ ๒ ข้อ ที่นางภิกษุณีพวก ๖ นุ่งห่มไม่เป็นปริมณฑล และถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น ซึ่งมีฟ้องกันอยู่แล้วในข้อห้ามสำหรับภิกษุ.
๗. อธิกรณสมถะ
(ว่าด้วยธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง)
ทั้งเจ็ดข้อนี้ก็ตรงกับภิกษุ
สรุปศีลของนางภิกษุณี
ชื่อ ของนางภิกษุณี นำของภิกษุมาใช้ รวม
ปาราชิก ๔ ๔ ๘
สังฆาทิเสส ๑๐ ๗ ๑๗
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ ๑๘ ๓๐
ปาจิตตีย์ ๙๖ ๗๐ ๑๖๖
ปาฏิเทสนียะ ๘ - ๘
เสขิยะ - ๗๕ ๗๕
อธิกรณสมถะ - ๗ ๗
รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ ๑๘๑ ๓๑๑
เล่มที่ ๔ ชื่อมหาวรรค (เป็นวินัยปิฎก)
คำว่า มหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ บรรจุข้อความมากถึง ๒ เล่มพระไตรปิฎก คือเล่ม ๔ และ เล่ม ๕. เฉพาะในเล่ม ๔ นี้แบ่งเป็นหมวดหรือตอนที่สำคัญ ซึ่งเรียกว่า "ขันธกะ" รวม ๔ ขันธกะ หรือ ๔ ตอน คือ
๑. มหาขันธกะ (หมวดใหญ่หรือตอนใหญ่) ว่าด้วยเหตุการณ์ตั้งแต่ตรัสรู้ จนถึงแสดงปฐมเทศนา, แสดงอนัตตลักขณสูตร, แสดงธรรมโปรดสกุลบุตร พร้อมทั้งครอบครัวและมิตรสหาย, แสดงธรรมโปรดภัททวัคคียกุมาร ๓๐ คน, แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิลพันรูป, แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร, พระสาริบุตร พระโมคคัลลานะออกบวช อุปัชฌายวัตร (ข้อปฏิบัติต่อท่านผู้บวชให้), สัทธิวิหาริกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อศิษย์ที่ตนบวชให้), การประณาม (ขับไล่), กรขอขมา, การบวชด้วยญัตติจตุตถกรรม, การบอกนิสสัย ๔, อาจริยวัตร (ข้อปฏิบัติต่ออาจารย์), อันเตวาสิกวัตร (ข้อปฏิบัติต่อภิกษุที่เป็นศิษย์ผู้อยู่ในปกครอง), นิสสัยระงับ, ผู้ควรให้บวช, การอบรมผู้เคยเป็นเดียรถีย์ก่อนให้บวช, ภัณฑุกรรม, การขาดคุณสมบัติในการบวช, การบวชสามเณร, สิกขาบท และการลงโทษสามเณร, ผู้ที่ห้ามบวช, วิธีการในการอุปสมบท, และเรื่องของภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงโทษ เพราะไม่เห็นความผิด (อาบัติ).
๒. อุโบสถขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยอุโบสถ) กล่าวถึงการฟังธรรม, การสวดปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถ, การสมมติสีมา, การสมมติโรงทำอุโบสถ, ปัญหาเรื่องสีมา, การสวดปาฏิโมกข์ย่อ, การอนุญาตให้เรียนปักขณนา, ส่วนประกอบอื่น ๆ ในกรปฏิบัติก่อนสวดปาฏิโมกข์ การนับวันอุโบสถและบุคคลที่ไม่อนุญาตให้ทำอุโบสถ.
๓. วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยวันเข้าพรรษา) การจำพรรษา, วันเข้าพรรษา ๒ อย่าง, การเลื่อนวันเข้าพรรษาให้เร็วเข้า, การเดินทางกลับภายใน ๗ วัน, อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา, การจำพรรษาในที่ต่าง ๆ และอาบัติทุกกฏเพราะรับคำแล้วไม่ทำตามถ้อยคำเกี่ยวกับการจำพรรษา.
๔. ปวารณาขันธกะ (หมวดหรือตอนว่าด้วยการปวารณา คือการอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนได้) ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่พึงทราบและพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการปวารณา.
นี้เป็นใจความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค วินัยปิฎก.
ขยายความ
๑. มหาขันธกะ (หมวดใหญ่)
พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา. พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด ๗ วัน. ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ. ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย. ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และโดยปฏิโลม (ย้อนลำดับ) แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น.
ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ที่ชอบตวาดคน
เมื่อครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้โพธิ ไปยังไม้อชปาลนิโครธ (ต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้นั้นตลอด ๗ วัน. มีพราหมณ์ผู้ชอบตวาดคนมาเฝ้า. กราบทูลถามถึงธรรมะที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ทรงเปล่งอุทานเป็นใจความว่า ผู้ที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์ คือผู้ลอยบาป ไม่มักตวาดคน ไม่มีกิเลสเหมือนน้ำฝาด สำรวมตน มีความรู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีความพอง๑ (เย่อหยิ่ง).
ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธ ไปยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้จิกนั้นตลอด ๗ วัน. ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน. พญานาคชื่อมุจลินท์มาวงด้วยขนดรอบพระกายของพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง เป็นต้น. ทรงเปล่งอุทานปรารภสุข ๔ ประการ คือ สุขเพราะความสงัด, สุขเพราะไม่เบียดเบียน, สุขเพราะปราศจากราคะ ก้าวล่วงกามเสียได้ และประการสุดท้าย สุดอย่างยอด คือการนำความถือตัวออกเสียได้.
เหตุการณ์ที่ต้นเกตก์
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้จิก ไปยังไม้ราชายตนะ (ต้นเกตก์) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้เกตก์นั้นตลอด ๗ วัน. มีพ่อค้า ๒ คนชื่อ ตปุสสะ กับภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกกละชนบท ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง. ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจาตุมหาราชถวาย แล้วเสวยข้าวนั้น. พ่อค้า ๒ คนปฏิญญาตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกชุดแรกในโลก ที่เปล่งวาจาถึงรตนะ ๒ (คือพระพุทธ พระธรรม).
เสด็จกลับไปต้นไทรอีก
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้เกตก์ ไปยังต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก (อชปาลนิโครธ) และประทับ ณ โคนไม้ไทรนั้น ทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ลึกซึ้ง ยากที่คนอื่นจะตรัสรู้ได้ ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไปในที่จะไม่แสดงธรรม.
พระพรหมมาอาราธนา
ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำริ จึงมาเฝ้ากราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม อ้างเหตุผลว่า ผู้ที่มีกิเลสน้อย พอจะรู้พระธรรมได้มีอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาสัตว์เปรียบเทียบด้วยดอกบัว ๓ ชนิด คือที่อยู่ใต้น้ำ, เสมอน้ำ, โผล่พ้นน้ำ อันเทียบด้วยบุคคล ๓ ชนิด (ที่พอจะตรัสรู้ได้ ส่วนประเภท ๔ คือดอกบัวที่ไม่มีหวังจะโผล่ได้ เทียบด้วยบุคคลผู้ไม่มีหวังจะตรัสรู้). จึงทรงตกลงพระหฤทัยที่จะแสดงธรรม. ทรงปรารภอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสีย ๗ วันแล้ว ทรงปรารภอุททกดาบสรามบุตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสียเมื่อวานนี้เอง จึงตกลงพระหฤทัยเสด็จไปแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ (พวก ๕) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ระหว่างทางทรงพบอุปกาชีวก ได้รับสั่งโต้ตอบกับอาชีวกนั้น แต่อุปกะไม่เชื่อ.
๑. อรรถกถาแก้ว่า ความพองมีอยู่ ๕ อย่าง คือพองเพราะราคะ, โทสะ, โมหะ, มานะและทิฏฐิ
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เมื่อเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสีแล้ว ครั้งแรกภิกษุปัญจวัคคีย์แสดงอาการกระด้างกระเดื่อง แต่เมื่อทรงเตือนให้นึกถึงว่า เมื่อก่อนพระองค์ไม่เคยตรัสบอกเลยว่าตรัสรู้ บัดนี้ตรัสบอกแล้วจึงควรตั้งใจฟัง ก็พากันตั้งใจฟัง. พระผู้มีพระภาคจีงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีใจความสำคัญ คือ ๑. ทรงชี้ทางที่ผิด อันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติสายกลาง) ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว เป็นไปเพื่อพระนิพพาน. ๒. ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์, เหตุให้ทุกข์เกิด, ความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยละเอียด. ๓. ทรงแสดงว่าทรงรู้ตัวอริยสัจจ์ทั้งสี่, ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจจ์ทั้งสี่ และทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงทรงแน่พระหฤทัยว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว (อันแสดงว่าทรงปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว). เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม๑ และได้ขอบวชก่อน. ต่อมา พระวัปปะกับพระภัททิยะ สดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรมและได้ขอบวช. ต่อมา พระมหานามะกับพระอัสสชิสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวช เป็นอันได้บวชครบทั้งห้ารูป.
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น มีใจความสำคัญคือ ๑. รูป(ร่างกาย) เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิดหรือเจตนา) และวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น) ไม่ใช่ตน. ถ้าเป็นตนก็จะบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะไม่ใช่ตนจึงบังคับบัญชาไม่ได้. ๒. แล้วตรัสถามให้ตอบเป็นข้อ ๆ ไปว่า ขันธ์ ๕ (มีรูป เป็นต้นนั้น) เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ตอบว่า ไม่เที่ยง. สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือสุข ? ตอบว่า เป็นทุกข์. สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ? ตอบว่า ไม่ควร. ๓. ตรัสสรุปว่า เพราะเหตุนั้น ควรเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า รูป เป็นต้น นั้น ทุกชนิดไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ๔. ตรัสแสดงผลว่า อริยสาวกผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เป็นต้นนั้น เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. รู้ว่าสิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ไม่ต้องทำหน้าที่อะไรเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก. ภิกษุปัญจวัคคีย์มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ในโลก ๖ องค์ (ทั้งพระพุทธเจ้า).
แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรกับครอบครัวและมิตรสหาย
ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือน กลุ้มใจออกจากบ้านไปยังป่าอิสิปตนมิคทายวันในเวลาเช้ามืด ได้พบพระผู้มีพระภาค สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม. เศรษฐีผู้เป็นบิดาออกตาม พบพระผู้มีพระภาคได้สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย (พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์) เป็นสรณะตลอดชีวิต นับเป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัย. ในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนาที่แสดงแก่เศรษฐีผู้เป็นบิดา ยสกุลบุตรก็ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช. ครั้งนั้นมีพระอรหันต์ในโลก ๗ องค์. รุ่งเช้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปฉันที่เรือนเศรษฐีผู้บิดา ทรงแสดงธรรมโปรดมารดาและภริยาของพระยสะให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ประกาศตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต. นับเป็นอุบาสิกาชุดแรกในโลก. ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ ๔ คน กับอีก ๕๐ คนตามลำดับ ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖๑ องค์.
ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา
ผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายส่งไปประกาศพระศาสนา โดยให้ไปทิศทางละ ๑ รูป อย่าไปรวมกัน ๒ รูป ส่วนพระองค์ตรัสว่า จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม.
ทรงอนุญาตการบรรพชาอุปสมบท
ภิกษุที่ไปเผยแผ่พระศาสนาเหล่านั้น นำกุลบุตรที่ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทมาเฝ้า เพื่อให้พระผู้มีพระภาคทรงบรรพชาอุปสมบทให้ ได้รับความลำบาก จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นดำเนินการได้เอง โดยให้ผู้ประสงค์จะบวชโกนผม ปลงหนวด นุ่งห่มย้อมฝาด ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ครบ ๓ ครั้ง ก็เป็นอันได้บวชด้วยการถึงสรณะ ๓ (ติสรณคมนูปสัมปทา).
ตรัสเรื่องความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาเสร็จแล้ว ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เราได้บรรลุ ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม (อนุตตรวิมุติ) ด้วยการไตร่ตรองโดยแยบคาย (โยนิโส สัมมัปปธาน) แม้ท่านทั้งหลายก็ได้บรรลุ ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม ด้วยการไตร่ตรองอันแยบคาย และด้วยความเพียรชอบอันแยบคายเช่นเดียวกัน.
โปรดสหาย ๓๐ คน
ครั้นประทับ ณ กรุงพาราณสีพอสมควรแล้ว ก็เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ระหว่างทางทรงแวะพัก ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ได้แสดงธรรมโปรดภัททวัคคียกุมาร ซึ่งเป็นสหายกัน ๓๐ คน ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วขอบวช. พระองค์ก็ได้ประทานการบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด).
โปรดชฏิล ๓ พี่น้องและบริวาร
ครั้นถึงตำบลอุรุเวลา ซึ่งชฏิล ๓ พี่น้องอาศัยอยู่ คืออุรุเวลากัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป แต่ละคนมีบริวาร ๕๐๐, ๓๐๐, และ ๒๐๐ โดยลำดับ. ในชั้นแรกได้ทรงขอพักในเขตอาศรมของอุรุเวลากัสสป ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่าง จนอุรุเวลากัสสปคลายทิฏฐิมานะ ขอบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสให้บอกลาบริวารก่อน บริวารก็ตกใจ จะบวชด้วยจึงลอยบริขารลงในน้ำ ขอบวชร่วมกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ประทานการบวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด).
นทีกัสสป น้องคนที่สองเห็นบริขารลอยมาตามกระแสน้ำ คิดว่าเกิดอันตรายแก่พี่ของตน แต่เมื่อสอบถาม ทราบความถึงลอยบริขารของตนและบริวารขอบวช ทำนองเดียวกับพี่ชาย และคยากัสสปเห็นบริขารลอยมาก็สงสัย เมื่อสอบถาม ทราบความก็ขอบวช พร้อมด้วยบริวารเช่นเดียวกัน.
๑. เป็นพระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
เมื่อประทับ ณ ตำบลอุรุเวลาพอสมควรแล้ว ก็เสด็จไปยังตำบลยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้เคยเป็นชฎิลมาก่อน. ณ ที่นั้นทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร มีใจความว่า
๑. ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ (ซึ่งเป็นอายตนะภายใน) เป็นของร้อน; รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย, ธรรมะ คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ (ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก) เป็นของร้อน; วิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางตา, หู เป็นต้น เป็นของร้อน; ผัสสะ คือความกระทบอารมณ์ทางตา เป็นต้น เป็นของร้อน; เวทนา คือความเสวยอารมณ์เป็นสุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งเกิดจากสัมผัสทางตา เป็นต้น เป็นของร้อน. ร้อนเพราะไฟคือราคะ โทสะ ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ และความขัดใจ.
๒. เมื่ออริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นได้เช่นนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในตา, หู เป็นต้น (ซึ่งเป็นอายตนะภายใน), ย่อมเบื่อหน่ายในรูป, เสียง เป็นต้น (ซึ่งเป็นอายตนะภายนอก), ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ มีความรู้อารมณ์ ทางตา เป็นต้น, ย่อมเบื่อหน่ายในผัสสะ มีความกระทบอารมณ์ทางตา เป็นต้น, ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา มีความเสวยอารมณ์ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัส เป็นต้น. เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น, เมื่อพ้นก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว, รู้ว่าสิ้นความเกิด ได้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว, ได้ทำหน้าที่เสร็จแล้ว, ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก.
ผลของการแสดงพระธรรมเทศนานี้ ภิกษุพันรูปมีจิตพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อประทับ ณ ตำบลยาสีสะพอสมควรแล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุผู้เคยเป็นชฎิลพันรูป ประทับอยู่ ณ เจดีย์ซึ่งประดิษฐานไว้ดีแล้ว ณ สวนตาลหนุ่ม. พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ พร้อมด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวมคธ จำนวน ๑๒ นหุต๑ ได้สดับกิติศัพท์ของพระผู้มีพระภาค จึงเสด็จไปและไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. ในชั้นแรกพระผู้มีพระภาคทรงให้อุรุเวลกัสสปประกาศความที่ตนละเลิกลัทธิเดิมมาขอบวชว่ามีเหตุผลอย่างไร เพื่อทำลายทิฏฐิมานะของบุคคลบางคนก่อน แล้วจึงทรงแสดงอนุบุพพิกถา (แสดงเรื่องทาน, ศีล, สวรรค์, โทษของกามและอานิสงส์ของการออกจากกามโดยลำดับ) แล้วจึงทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมทั้งพราหมณ์คฤหบดี ๑๑ นหุต ได้ดวงตาเห็นธรรม (เป็นโสดาบันบุคคล).
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลในการที่ทรงสมพระราชประสงค์ ๕ ประการ คือ ขอให้ได้อภิเษกในราชสมบัติ, ขอให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่แว่นแคว้น, ขอให้ได้เข้าไปนั่งใกล้, ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมและขอให้ได้รู้ธรรมะของพระผู้มีพระภาค. ครั้นแล้วกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดพระชนมชีพ แล้วทรงอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยและฉันในวันรุ่งขึ้น.
ในวันรุ่งขึ้นที่พระผู้มีพระภาคเสด็จไปเสวย ณ ราชนิเวศน์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. เมื่ออังคาส (เลี้ยงดู) เสร็จแล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าทอง ถวายเวฬุวันป่าไผ่แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข. พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้วเสด็จกลับ. ทรงปรารภเหตุนั้น จึงประทานพระพุทธานุญาตให้มีอาราม (คือวัด) ได้.
๑. นหุตหนึ่ง เท่ากับหนึ่งหมื่น
สาริบุตร โมคคัลลานะออกบวช
สมัยนั้น สัญชัยปริพพาชกอาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริษัทปริพพาชกหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน และสมัยนั้น สาริบุตรและโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสัญชัยปริพพาชก ต่างทำกติกากันว่า ใครได้บรรลุอมตธรรมก่อน จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง. สาริบุตรได้เห็นพระอัสสชิเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต มีความเลื่อมใสในความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน จึงรอจนได้โอกาสก็เข้าไปถามถึงหลักธรรมในศาสนาที่ท่านบวช. ท่านกล่าวหลักธรรมเพียงย่อ ๆ ให้ฟังว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น .
สาริบุตรได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วนำมาเล่าให้โมคคัลลานะฟัง โมคคัลลานะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงพากันไปลาปริพพาชก ๒๕๐ คน เพื่อจะไปบวชในสำนักพระบรมศาสดา แต่ปริพพาชกเหล่านั้นขอไปด้วย จึงพร้อมกันไปลาสัญชัยผู้อาจารย์. สัญชัยขอให้อยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะถึง ๓ ครั้ง แต่สาริบุตร โมคคัลลานะไม่ยอม คงลาไป พร้อมทั้งปริพพาชกอีก ๒๕๐ คน. สัญชัยเสียใจ ถึงอาเจียนเป็นโลหิต.
เมื่อไปเฝ้าทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาคก็ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา.
ครั้งนั้นคนสำคัญชาวมคธออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเป็นอันมาก. คนทั้งหลายจึงพากันติเตียน ว่าเป็นปฏิปทาที่ทำสกุลวงศ์ให้ขาดสูญ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายโต้ตอบว่าพระองค์แนะนำโดยธรรม มิใช่โดยอธรรม เมื่อมนุษย์ทั้งหลายจำนนต่อคำว่า "ธรรม" และหาทางจับผิดที่ว่ามีอะไรเป็น "อธรรม" ไม่ได้ ก็พากันเลิกติเตียนภายใน ๗ วัน.
ทรงอนุญาตให้มีอุปัชฌายะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่มีอุปัชฌายะ ไม่มีผู้ให้โอวาทสั่งสอน ก็นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีอากัปปกิริยาไม่เหมาะสมเที่ยวไปบิณฑบาต. เขากำลังบริโภคอยู่ก็ยื่นบาตรเข้าไปเหนือของบริโภค ของขบเคี้ยว เป็นต้น. บ้างก็ขอแกงบ้าง ขอข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน. บ้างก็ส่งเสียงสูงเสียงดังในโรงอาหาร เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงอนุญาตให้มีอุปัชฌายะ. ให้อุปัชฌายะตั้งจิตในสัทธิวิหาริกเหมือนบุตร. ให้สัทธิวหาริกตั้งจิตในอุปัชฌายะเหมือนบิดา. ทรงสอนวิธีถืออุปัชฌายะซึ่งต้องเปล่งวาจาด้วยกันทั้งสองฝ่าย, (อุปัชฌายะ แปลตามศัพท์ว่า ผู้สอน หมายถึงผู้บวชให้และสั่งสอน สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วย หมายถึงศิษย์ที่อุปัชฌายะบวชให้).
ทรงบัญญัติอุปัชฌายวัตร
ครั้นแล้วทรงบัญญัติอุปชาฌายวัตร คือข้อที่สัทธิวิหาริกจะพึงปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ มีการรับใช้การปฏิบัติตนต่อท่าน การช่วยจัดสิ่งต่าง ๆ ให้ท่าน ประมาณไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ข้อ.
ทรงบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร
ครั้นแล้วทรงบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร คือข้อที่อุปัชฌายะจะพึงปฏิบัติชอบในสัทธิวิหาริก มีการสั่งสอนการสงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร การพยาบาลเมื่อป่วยไข้ การทำอะไรต่ออะไรให้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ข้อเช่นกัน.
ทรงปรับอาบัติ, อนุญาตให้ประณามและขอขมา
ครั้งนั้น สัทธิวิหาริกไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ เป็นที่ติเตียน จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่สัทธิวิหาริกผู้ไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ.
แม้เช่นนั้น ก็ยังมีสิทธิวิหาริกที่ไม่ปฏิบัติชอบ, จึงทรงอนุญาตให้อุปัชฌายะประณาม คือไล่ลัทธิวิหาริกด้วยแจ้งให้ทราบด้วยกายหรือวาจาได้.
สัทธิวิหาริกที่ถูกไล่แล้ว ไม่ขอขมา จึงทรงอนุญาตให้ขอขมาและ ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ไม่ขอขมา.
สัทธิวิหาริกขอขมาแล้ว อุปัชฌายะไม่ยอมยกโทษให้ จึงทรงอนุญาตให้อุปัชฌายะยกโทษให้. อุปัชฌายะไม่ยกโทษให้ก็มี สัทธิวิหาริกจึงจากไปบ้าง สึกไปบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง. ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่อุปัชฌายะที่สัทธิวิหาริกขอขมาแล้วไม่ยอมยกโทษให้.
ทรงวางวิธีประณามให้รัดกุม
สมัยนั้น อุปัชฌายะประณาม (ขับไล่) สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติชอบ ไม่ประณามสัทธิวิหาริกที่ไม่ปฏิบัติชอบ. ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติว่า สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติชอบ ไม่ควรประณาม ผู้ใดประณาม ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ สัทธิวิหาริกที่ปฏิบัติไม่ชอบ จะไม่ประณามไม่ได้. ถ้าไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ครั้นแล้วจึงทรงแสดงองค์ ๕ ของสัทธิวิหาริกที่ควรประณาม มีขาดความละอาย ขาดความเคารพ เป็นต้น. แล้วทรงแสดงองค์ ๕ ของสัทธิวิหาริกที่ไม่ควรประณาม มีประกอบด้วยความละอาย ความเคารพ เป็นต้น. สัทธิวิหาริกที่ควรประณาม แต่ไม่ประณามก็มีโทษ ถ้าประณามก็ไม่มีโทษ. ส่วนสัทธิวิหาริกที่ไม่ควรประณาม ถ้าประณามก็มีโทษ ถ้าไม่ประณามก็ไม่มีโทษ.
ทรงอนุญาตการบวชเป็นการสงฆ์
พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อราธะ ขอบวช ไม่มีภิกษุรูปใดบวชให้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ใครระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์นี้ได้บ้าง พระสาริบุตรตอบว่า ท่านระลึกได้ ว่าพราหมณ์ผู้นี้เคยถวายอาหารแก่ท่านทัพพีหนึ่ง พระผู้มีพระภาคจึงสรรเสริญที่กตัญญูและมอบให้พระสาริบุตรบวชให้พราหมณ์นั้น โดยทรงแสดงวิธีบวชเป็นการสงฆ์ที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา (การบวชด้วยกรรม มีการเสนอญัตติเป็นที่ ๔ คือการเสนอญัตติ ขออนุมัติสงฆ์ ๑ ครั้ง; เป็นการสวดประกาศฟังมติ ว่าจะคัดค้านหรือไม่อีก ๓ ครั้ง) ภายหลังมีเหตุเกิดขึ้น คือผู้บวชประพฤติไม่เรียบร้อย และอ้างว่าไม่ได้ขอบวช พระบวชให้เอง จึงทรงอนุญาตให้บวชเฉพาะแก่ผู้ขอบวช.
ผู้บวชเพราะเห็นแก่ท้อง
พราหมณ์ผู้หนึ่งเห็นว่าบวชแล้วกินอิ่มนอนหลับ จึงออกบวช. ครั้นอาหารที่เขาถวายประจำหมดวาระ ภิกษุทั้งหลายจึงชวนออกบิณฑบาต ก็กล่าวว่า จะสึก เพราะคิดว่าจะบวชโดยไม่ต้องบิณฑบาต. มีผู้ติเตียนว่าบวชเพราะเห็นแก่ท้อง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้บอกนิสสัย ๔ แก่ผู้บวชใหม่ (นิสสัย ๔ คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต อันได้แก่อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค เพื่อซ้อมความเข้าใจกันก่อนว่า แม้ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เป็นของพออาศัยดำรงชีพอยู่ได้ก็ต้องอดทน เช่น อาหารที่เที่ยวบิณฑบาตได้มา, ผ้าที่เก็บตกมาปะติดปะต่อพอทำนุ่งห่ม, ที่อยู่อื่นไม่มีก็ใช้โคนไม้, ยาอื่นไม่มีก็ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ซึ่งปัจจุบันพบกันว่าเป็นยาปฏิชีวนะ).
ข้อบัญญัติเพิ่มเติมในการบวช
๑. ภิกษุบอกนิสสัยก่อน ผู้บวชไม่พอใจ จึงทรงห้ามบอกนิสสัยก่อน แต่ให้บอกเมื่อบวชเสร็จแล้ว ในเวลาติด ๆ กัน ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บอกนิสสัยก่อน.
๒. ภิกษุที่ร่วมในการบวชเป็นคณะ คือ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ให้บวชมีคณะต่ำกว่า ๑๐ คณะ ครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้.
๓. ภิกษุมีพรรษา ๑ บ้าง ๒ บ้าง ให้สัทธิวิหาริกบวช แม้พระอุปเสน วังคันตบุตรมีพรรษาเพียง ๑ ก็ให้สิทธิวิหาริกอุปสมบท จึงทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนกว่า ๑๐ ที่บวชให้สัทธิวิหาริก; พรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้บวชได้.
๔. ภิกษุมีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ให้สิทธิวิหาริกบวช ปรากฏเป็นผู้ด้อยกว่าสัทธิวหาริก. จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ฉลาด สามารถ ผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ ให้สัทธิวิหาริกบวชได้.
ทรงอนุญาตให้มีอาจารย์
สมัยนั้น อุปัชฌายะทั้งหลายเดินทางไปที่อื่นบ้าง สึกไปบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ไปเข้ารีดเสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายไม่มีใครให้โอวาทสั่งสอน ก็นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ประกอบด้วยอากัปปกิริยาอันไม่สมควรต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้มีอาจารย์. ให้อาจารย์ตั้งจิตในอันเตวาสิก (ผู้อยู่ใต้ปกครอง) เหมือนบุตรและให้อันเตวาสิกตั้งจิตในอาจารย์เหมือนบิดา. แล้วทรงแสดงวิธีถือนิสสัย (การขออาศัยอยู่ใต้ปกครอง) ของอันเตวาสิก และคำกล่าวตอบของอาจารย์.
อาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร
ครั้นแล้วทรงแสดงวัตรที่อันเตวาสิกคือผู้อยู่ใต้ปกครอง จะพึงปฏิบัติต่ออาจารย์. และวัตรที่อาจารย์จะพึงปฏิบัติต่ออันเตวาสิก ถ้อยทีปฏิบัติชอบต่อกัน ไม่น้อยกว่าฝ่ายละ ๑๐๐ ข้อ.
การประณาม, การขอขมา, การยกโทษ
สมัยนั้น อุปัชฌายะและอาจารย์เดินทางไปที่อื่นบ้าง สึกไปบ้าง เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงลักษณะ ๕ ประการ ที่นิสสัย (การอยู่ใต้ปกครอง) ระงับจากอุปัชฌายะ คืออุปัชฌายะ ๑. หลีกไปที่อื่น ๒. สึก ๓. ถึงมรณภาพ ๔. เข้ารีตเดียรถีย์ และ ๕. อุปัชฌายะมีคำสั่ง (เช่น สั่งประณาม คือไล่ไม่ให้อยู่ในปกครอง). ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะ ๖ ประการที่นิสสัยระงับจากอาจารย์ คือ ๕ ข้อแรกเหมือนกับของอุปัชฌายะ ส่วนข้อที่ ๖ เมื่ออันเตวาสิกพบเข้ากับอุปัชฌายะ (คือเมื่อพบกับผู้มีสิทธิปกครองอันสูงกว่า การอยู่ใต้ปกครองของอาจารย์ก็ระงับไป).
คุณสมบัติของอุปัชฌายะ ๕ อย่าง
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ ๕ อย่างและการประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างของภิกษุ ที่ทำให้เป็นผู้ไม่ควรให้อุปสมบท, ไม่ควรให้นิสสัย, ไม่ควรมีสามเณรรับใช้ รวม ๑๖ หมวด เป็นหมวดขาดคุณสมบัติ ๕ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน รวม ๘ ประเภท คือ ๘ หมวด. หมวดประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน รวม ๘ ประเภท หรือ ๘ หมวด. (การมีคุณสมบัติ หรือขาดคุณสมบัติดังกล่าวนี้ โปรดดูที่แปลไว้อย่างพิสดารแล้ว หน้า ๖๐ เพียงแต่ตัดข้อที่ ๖ ออกทุกข้อ. และการขาดคุณสมบัติก็คือ ไม่มีคุณสมบัติตามที่แปลไว้นั้น).
คุณสมบัติของอุปัชฌายะ ๖ อย่าง
ครั้นแล้วทรงแสดงการขาดคุณสมบัติ และการประกอบด้วยคุณสมบัติ ๖ อย่างในลักษณะต่าง ๆ กัน ฝ่ายละ ๘ หมวด รวม ๒ ฝ่ายเป็น ๑๖ หมวด ของภิกษุ ว่าควรให้อุปสมบท ควรให้นิสสัย และควรมีสามเณรรับใช้หรือไม่ ดังที่แปลไว้แล้วในหน้า ๖๐ (มีข้อน่าสังเกตว่า ๕ ข้อ หรือ ๖ ข้อนั้นต่างกันที่ข้อสุดท้าย คือมีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกิน ๑๐ คือในคุณสมบัติ ๕ อย่างไม่มีข้อกำหนดเรื่องพรรษา ถ้าเติมข้อกำหนดเรื่องพรรษาก็เป็น ๖ อย่าง).
ในตอนท้ายได้สรุปถึงคุณสมบัติ ๕ อันมี ๑๖ หมวดและคุณสมบัติ ๖ อันมี ๑๖ หมวด เพื่อกำหนดง่าย.
ข้อปฏิบัติต่อผู้เคยเป็นเดียรถีย์
มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้บวชแล้ว ไปเข้ารีตเป็นเดียรถีย์ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้เคยเป็นเดียรถีย์เข้ามาบวช อุปัชฌายะว่ากล่าวโดยธรรม กลับคัดค้านแล้วจากไปเข้ารีตเดียรถีย์. ครั้นแล้วขอเข้ามาบวชอีก ไม่ควรบวชให้.
ส่วนผู้ที่เคยเป็นเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องได้รับการอบรม (ปริวาส) ๔ เดือน คือให้โกนผม ปลงหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ๓ จบ. แล้วให้ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศขอให้สงฆ์ให้ปริวาส (การอบรม) ๔ เดือน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงสำเร็จไปขั้นหนึ่ง. ในระหว่าง ๔ เดือน ถ้าประพฤติตนไม่เรียบร้อย ไม่เป็นที่พอใจ ก็ไม่ควรบวชให้ ถ้าประพฤติตนเรียบร้อย เป็นที่น่าพอใจ จึงบวชให้.
อนึ่ง ได้ประทานข้อกำหนดพิเศษแก่พระญาติผู้เกิดในศากยสกุล ถ้าเคยเป็นเดียรถีย์มาก่อน แล้วมาขอบวช ให้บวชให้เลย ไม่ต้องรับการอบรม ๔ เดือน.
ห้ามบวชให้คนเป็นโรค ๕ ชนิด
สมัยนั้น มีโรค ๕ ชนิดเกิดขึ้นมากในแคว้นมคธ คือโรคเรื้อน, โรคฝี, โรคกลาก, โรคมองคร่อ และโรคลมบ้าหมู๑ มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นโรคเหล่านี้ ก็พากันไปหาหมอชีวกเพื่อให้ช่วยรักษาให้. หมอชีวกไม่รับรักษา อ้างว่า มีภาระต้องรักษาพระราชา, บุคคลในราชสำนักและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, คนเหล่านั้นเห็นไม่มีทางอื่น จึงขอบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ เป็นภาระแก่ภิกษุทั้งหลายที่จะต้องพยาบาล. แม้หมอชีวกเองก็ต้องทำงานหนักจนเสียราชกิจ. ชายคนหนึ่งออกบวชให้หมอชีวกรักษา พอหายแล้วก็สึกไป. หมอชีวกเห็นเข้าจำได้ ถามทราบความ ก็ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัย ห้ามบวชแก่คนเป็นโรค ๕ ชนิด ผู้ใดบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามบวชให้ข้าราชการ
เกิดความไม่สงบชายแดน พระเจ้าพิมพิสารตรัสสั่งมหาอำมาตย์ที่เป็นนายทัพให้ไปปราบ มีหลายคนหนีไปบวช ภิกษุทั้งหลายก็บวชให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงขอให้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติวินัย มิให้พระบวชคนที่เป็นข้าราชการ เพราะอาจมีพระราชาที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเบียดเบียนภิกษุเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสห้ามบวชให้ข้าราชการ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่บวชให้ (ในสมัยนี้ ผู้เป็นข้าราชการจะต้องมีใบอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายให้อนุญาตแทนพระองค์, พระอุปัชฌายะและสงฆ์จึงบวชให้).
ห้ามบวชให้โจรที่มีชื่อ
สมัยนั้น โจรองคุลิมาลบวชอยู่ในสำนักภิกษุทั้งหลาย. คนเห็นก็ตกใจกลัวบ้าง สะดุ้งบ้าง วิ่งหนีบ้าง มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติวินัย ห้ามบวชให้โจรที่มีชื่อเสียงทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้บวชให้.
ห้ามบวชโจรที่ทำลายเครื่องพันธนาการ
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงประกาศมิให้ใครทำอะไร (เช่น จับกุม) บุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา. โจรผู้หนึ่งทำโจรกรรม ถูกพันธนาการด้วยเครื่องจองจำ แต่ทำลายเครื่องจองจำได้ จึงหนีไปบวช. คนทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุผู้บวชให้. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้โจรที่ทำลายเครื่องพันธนาการ, ผู้บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามบวชบุคคลที่ไม่สมควรอื่นอีก
ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ภิกษุทั้งหลายให้บุคคลผู้ไม่สมควร มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้บุคคลผู้ไม่สมควรอื่นอีก คือ
โจรที่ถูกหมายประกาศให้ฆ่า
บุคคลที่ถูกโบยด้วยแส้ ถูกลงโทษแล้วเนรเทศ
บุคคลที่ถูกนาบด้วยเหล็กแดงให้เสียโฉม
บุคคลที่เป็นหนี้
บุคคลที่เป็นทาส
ให้บอกสงฆ์เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช
เด็กลูกช่างทอง๒ ทะเลาะกับพ่อแม่ หนีมาบวช พ่อแม่มาถาม ภิกษุทั้งหลายไม่ทราบจึงปฏิเสธ ครั้นเขาพบว่ามาบวชก็ติเตียน หาว่าภิกษุเหล่านั้นพูดปด (ความจริงไม่รู้). พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้บอกกล่าวสงฆ์เมื่อจะโกนศีรษะคนบวช (ภัณฑุกัมม์-การโกนศีรษะ).
ห้ามบวชผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐
เด็ก ๑๗ คนขออนุญาตมารดาบิดาออกบวช ถึงเวลากลางคืนลุกขึ้นร้องไห้ขออาหาร, พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามบวชให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ทั้งที่รู้อยู่ (ว่าอายุไม่ถึง). ถ้าบวชให้ให้จัดการตามควร. (มีวินัยที่อื่นปรับอาบัติปาจิตตีย์อยู่แล้ว).
๑. คำแปลโรคทั้งห้าชนิดนี้ เป็นไปตามที่ฝ่ายไทยเราเคยแปลกันมา มีข้อที่ควรอธิบาย คือโรคมองคร่อนั้น ได้แก่โรคที่เมีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด ได้สอบดูกับคำแปลของศาสตราจารย์ริดส์ เดวิดส์ ร่วมกับ โอลเดนเบอร์ก มีดังนี้ ๑. โรคเรื้อน (Leprosy) ๒. โรคฝี (Boils) ๓. โรคเรื้อนแห้ง (Dry leprosy) ๔. วัณโรคแห่งปอด ZConsumption) ๕. โรคลมชัก (Fit)
๒. ลูกช่างทองคนหนึ่ง ในภาษาบาลีใช้คำว่า กัมมารภัณฑุ ฝรั่งแปลว่า ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นหรือล้าน แต่อรรถกถาอธิบายไว้ว่า ไว้ผมแหยม ๕ แหยม ตรงอื่นโกนหมด