/music/.mp3 http://www.watthaimn.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 กรรมการบริหารวัด

 บทความ

 ภาพกิจกรรม

 ร่วมบริจาคทำบุญ

 เว็บบอร์ด

 การเดินทาง

 ติดต่อเรา

ข่าวประชาสัมพันธ์

ศึกษาพระไตรปิฎก

ส.ค.ส.พระราชทาน

วันสำคัญทางศาสนา

เรียนธรรมศึกษาตรี

บทความน่าสนใจ

คำบูชาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

เบญจศีล-เบญจธรรม

เบญจศีล-เบญจธรรม
เบญจศีล-เบญจธรรม
หมวดที่ ๑
 
ข้อความเบื้องต้น
 
มนุษย์เกิดมาย่อมมีรูปพรรณสัณฐานต่างกัน สุดแท้แต่เหตุแต่งมา ทำให้บางคนมีรูปงาม บางคนมีรูปทราม ผู้มีรูปงามย่อมเป็นที่ชอบของผู้พบเห็น ตรงกันข้ามกับผู้มีรูปทราม ย่อมไม่เป็น    ที่ชอบใจ เหมือนดอกไม้ที่สวยทั้งยังมีกลิ่นหอม และไม่สวยซ้ำยังปราศจากกลิ่นเหม็น ถ้าเป็น     ดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม ก็ย่อมเป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย แต่ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีรูปและมีสีสัน   ไม่สวยงาม ซ้ำยังมีกลิ่นเหม็นแล้วย่อมไม่มีคนปรารถนาเลย เช่นเดียวกับคนที่มีรูปงาม น้ำใจดี    ย่อมเป็นที่รักใคร่นับถือของคนทั่วไปถึงมีรูปงาม ต่ำไร้คุณธรรมประจำใจ ก็สู้คนที่รูปชั่วตัวดำแต่มีคุณธรรมประจำใจไม่ได้ และถ้ายิ่งเป็นคนใจร้ายด้วยแล้ว ก็จะหาคนคบค้าสมาคมด้วยไม่ได้เลย
ส่วนใจนั้นก็มักเป็นไปตามพื้นเดิม แต่ก็ยังมีทางแก้ไขให้ดีได้ด้วยการตั้งใจดีเช่นเดียวกับของที่ไม่หอมมาแต่เดิม เขายังอบให้หอได้ พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดวางแบบแผ่นแห่งความประพฤติไว้เป็นหลักฐาน การตั้งใจประพฤติตามบทบัญญัตินั้นชื่อว่า ศีล เมื่อบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว ก็จะพบแนวทางสำหรับประพฤติความดีและสามารถปฏิบัติตามคุณธรรมอย่างอื่นได้ยั่งยืน    ไม่แปรผัน
การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันเป็นไปทางกายทวารนั้นโดยย่อมี ๓ ประการคือ       เบียดเบียนร่างกาย ๑ เบียดเบียนทรัพย์สิน ๑ เบียนเบียนประเวณี อันได้แก่ การทำเชื้อสายของผู้อื่นให้ผิดลำดับสับสน ๑ และความประพฤติเสียหายด้วยวาจาการที่คนเราจะประพฤติเสียหายก็เพราะความประมาท ความประมาทนั้น ไม่มีมูลเหตุอื่นจะสำคัญยิ่งไปกว่าการดื่มน้ำเมา เพราะเมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ย่อมทำให้ความคิดวิปริตทันที
ด้วยเหตุนี้เอง นักปราชญ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อเล็งเห็นเหตุการณ์ดังนี้ จึงได้บัญญัติศีลมีองค์ 5 คือ
. เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชิวิต
.เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร
.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
.เว้นจากการกล่าวคำเท็จ
.เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย
องค์แห่งศีลแต่ละข้อจัดเป็นสิกขาบทมี ๕ จึงเป็นสิขาบท ๕ ประการ รวมเรียกว่า      เบญจศีล
เบญจศีลมีกัลยณธรรมเป็นธรรมคู่กัน ตามที่แสดงไว้ในพระบาลีสรรเสริญความประพฤติของกัลยณชนว่า “เป็นคนมีศีล มีกัลยณธรรม” ดังนี้ กัลยณธรรมในที่นี้ หมายเอาความประพฤติที่เป็นส่วนดีงามทำศีลให้ผ่องใส คู่กับสิกขาบททั้ง ๕ คือ 
. เมตตากรุณา                  คู่กับสิกขาบทที่ ๑
.สัมมาอาชีวะ                   คู่กับสิกขาบทที่ ๒
.ความสำรวมในกาม           คู่กับสิกขาบทที่ ๓
.ความมีสัตย์                   คู่กับสิกขาบทที่ ๔
.ความมีสติรอบคอบ          คู่กับสิกขาบทที่ ๕
เมื่อจัดเป็นส่วน ก็จะได้เป็น ๒   ส่วนคือ
 
.ศีล ได้แก่   กิริยาที่เป็นข้อห้าม
.กัลยณธรรม ได้แก่ ความประพฤติชอบธรรม คู่กับศีลทั้ง ๕ ข้อ
 
เบญจศีล
แปลว่า ศีล (สิกขาบทที่ผู้ปฏิบัติพึงศึกษาและงดเว้น) ๕ ประการ
สิกขาบทที่ ๑   ว่าด้วยข้อห้าม ๓ ประการ คือ
.ห้ามฆ่า
.ห้ามทำร้ายร่างกาย
.ห้ามทรกรรมสัตว์ให้ลำบาก
บัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น โดยเพ่งความเมตตาจิตเป็นใหญ่
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยข้อห้าม ๓ ประการ คือ
.ห้ามโจรกรรม   คือ การกระทำของโจร
.ห้ามเลี้ยงชีพโดยอนุโลมโจรกรรม
.ห้ามกระทำกิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
บัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น โดยเพ่งความประพฤติชอบธรรม ในทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นใหญ่
 
สิกขาบทที่ ๓    ว่าด้วยข้อห้ามที่ไม่ให้ประพฤติผิดในกามทั้งฝ่ายชายฝ่ายหญิง
บัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น โดยเพ่งมิให้ประพฤติผิดในประเวณีเป็นใหญ่
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยข้อห้าม ๓ ประการ คือ
.ห้ามพูดสุรา           คือกล่าวเท็จ
.ห้ามพูดอนุโลมมุสา         คือกล่าววาจาที่คล้อยตามมุสา
.ห้ามทำปฏิสสวะ     คือรับคำแล้วไม่ทำตามคำที่รับปาก
บัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น   โดยเพ่งความสัตย์เป็นใหญ่
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยข้อห้าม ๒ ประการ คือ
.ห้ามดื่มน้ำเมา    คือสุราและเมรัย
.ห้ามเสพฝิ่น กัญชา เฮโรอีนและของทำให้มึนเมาอย่างอื่นทุกชนิด 
บัญญัติสิกชขาบทนี้ขึ้น โดยเพ่งไม่ให้เสียความสำราญและความดี
 
วิรัติ
แปลว่า เจตนาเครื่องงดเว้น
ผู้ปฏิบัติตามสิกขาบททั้ง ๕ ประการนั้นย่อมมีวิรัติคือความละเว้นจากข้อห้าม ๓   ประการ
.สัมปัตตวิรัติ          เว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงอันมาถึงเฉพาะหน้า
.สมาทานวิรัติ         เว้นเพราะการถือเป็นกิจวัตร
.สมุจเฉทวารัติ        เว้นได้โดยเด็ดขาด
ผู้ปฏิบัติจะละเว้นจากข้อห้ามดังกล่าวได้โดยวิรัติ   ๓ อย่างนี้ ตามกภูมิของตน
 
 
 
กัลยาณธรรม
แปลว่า   ธรรมอันดีงาม เป็นคู่ปรับกับสิกขาบททั้ง ๕ คือ
สิกขาบทที่ ๑ แก้ด้วย เมตตากรุณา
สิกขาบทที่ ๒ แก้ด้วย สัมมาอาชีวะ
สิกขาบทที่ ๓ แก้ด้วย ความสำรวมในกาม มี ๒ลักษณะ คือ
-       สทารสันโดษ   ยินดีเฉพาะภรรยาของตน   (สำหรับชาย)
-       ปติวัตร                     จงรักภักดีในสามีของตน (สำหรับหญิง)
สิกขาบทที่ ๔ แก้ด้วยการมีความสัตย์ มี ๔ ลักษณะ คือ
เที่ยงตรงในหน้าที่
.ซื่อตรงต่อมิตร
.จงรักภักดีต่อเจ้านายของตน
.กตัญญูในท่านผู้มีพระคุณตน
สิกขาบทที่ ๕ แก้ด้วยการมีความสติรอบคอบ มี ๔ ลักษณะ คือ
.รู้จักประมาณในอาหาร
.ไม่เลินเล่อในหน้าที่การงาน
.มีสัมปชัญญะในความประพฤติ
.ไม่ประมาทในธรรม
 
หมวดที่ ๒
 
อธิบายเบญจศีล
สิกขาบทที่ ๑
ปาณาติปาตา เวรมณี
แปลว่า เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์
คำว่า สัตว์ ในที่นี้หมายเอาทั้งมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน ที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ที่สุดซึ่งยังอยู่ในครรภ์ทุกประเภทไม่มีกำหนด
สิกขาบทนี้บัญญัติขึ้นเพื่อ หวังจะให้รู้จักปลูกเมตตาจิตในสัตว์ทุกจำพวก เพราะเมตตาจิตนี้เป็นความดี สามารถมีทั่วไปทั้งในหมู่มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน เช่น การเลี้ยงดูลูกของตัวเองด้วยความรัก แต่เมตตาจิตใจในหมู่มนุษย์สามารถขยายไปถึงหมู่มนุษย์ด้วยกันอื่นๆ อีกมากมายไม่จำกัด และตลอดถึงสัตว์ดิรัจฉานด้วยการอบรวมให้เมตตาจิตเกิดขึ้น เมื่อขยายออกไปมากเพียงใด ก็จะแผ่ความสุขให้เกิดมีแก่สรรพสัตว์มากเพียงนั้น
เรารักร่างกายรักชีวิตและกลัวภัยต่างๆ อันจะทำอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตต้องคอยระวังหลบลหลีกอยู่เสมอฉันใด มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานอื่นๆ ก็ฉันนั้น ผู้ที่เล็งเห็นแต่ความสุขของตัวเองอย่างเดียว ไม่แลเหลียวถึงสุขของผู้อื่นบ้าง ขาดเมตตาจิตคิดตัดสุขของผู้อื่นเสียสิ้นบ้าง ผู้นั้นเชื่อว่า ประพฤติผิดจากคลองธรรม   ประพฤติผิดจากคลองธรรม เช่นนี้จัดว่าเป็นบาป
เมื่อเพ่งถึงความเมตตาจิตเป็นใหญ่ มีข้อห้ามด้วยสิกขาบทนี้ แบ่งเป็น ๓ อย่างคือ
 
 
๑.การฆ่า
๒.การทำร่างกาย
๓.การทรกรรม
 
๑.   การฆ่า
การฆ่า ได้แก่ การทำให้ตาม แยกเป็น ๒ประเภท คือ
 
๑.      ฆ่ามนุษย์
๒.      ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
ฆ่ามนุษย์   มีโทษหนักโดยวัตถุ ฝ่ายพุทธจักร ปรับโทษแก่ภิกษุผู้ทำถึงขั้นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ ในอัตภาพนั้นจะบวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ ถือเป็นโทษหนักที่สุด ฝ่ายราชอาณาจักก็ปรับโทษผู้ทำอย่างหนักถึงขั้นประหารชีวิต หรือติดคุกตลอดชีวิต จะมีข้อแบ่งเบาได้บ้างก็โดยเจตนาหย่อยเท่านั้น
การฆ่านั้น ต่างกันโดยเจตนา มี ๒ ประเภทคือ
๑.      จงใจ
๒.      ไม่จงใจ
ฆ่าโดยจงใจ คือตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะฆ่าเขาให้ตาย ในขณะที่ใจไม่โกรธ แต่ถูกความโลกครอบงำ เช่น โจรปล้นชิงทรัพย์แล้วฆ่าเจ้าทรัพย์ตายเป็นตัวอย่างบ้าง ถูกความพยายามครอบงำ เช่น ลอบฆ่าคนมีเวรกับตนเป็นตัวอย่าง และเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากนี้บ้าง แล้วพยายามใช้เครื่องมือหรืออุบายอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เขาตาย
ฆ่าโดยไม่จงใจ คือ ไม่ได้คิดไว้ก่อน แต่บังเอิญเป็นเหตุให้เขาตายอย่างหนึ่งเพราะระงับยับยั้งไม่อยู่ เกิดบันดาลโทสะรุนแรงถึงขั้นทำให้เขาตายอย่างหนึ่ง เพราะประสงค์จะป้องกันตัวในกรณีเกิดการต่อสู่กับผู้เข้ามาทำร้ายตน และฆ่าเขาตายอย่างหนึ่ง เพราะไม่แกล้งเช่นหมายจะตีให้หลาบจำ แต่บังเอิญถูกที่สำคัญผู้ถูกตีนั้นตายหรือหมายจะยินยอมให้ถูกเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่ยิงไปถูกคนเข้า และผู้ถูกยิ่งนั้นตายอย่างหนึ่ง
การฆ่าโดยไม่จงใจนั้น เจตนาไม่เต็มที่ ย่อมมีโทษเพลาลงมาทั้งฝ่ายพุทธจักรและราชอาณาจักร
การฆ่านั้น สำเร็จด้วยประโยค (ความพยามยาม) ๒ ประการ คือ
๑.ฆ่าเอง
๒.ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือหรืออุบายอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งผู้ทำ ทั้งผู้ใช้ ทั้งผู้รับใช้ มีโทษฐานฆ่ามนุษย์ทั้งฝ่ายพุทธจักรและราชอาณาจักรด้วยกันทั้งสิ้น
เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม ย่อมจำแนกว่ามีโทษหนักได้๓ ชั้น คือ
๑.โดยวัตถุ จัดเป็น ๓ อย่าง คือ
๑.๑   ฆ่ามนุษย์ผู้หาความผิดมิได้ หรือไม่ได้ประทุษร้ายตัวและผู้อื่นมีโทษมาก เพราะปราศจากเหตุจำเป็น
๑.๒ ฆ่ามนุษย์ผู้มีอุปการะ เช่น บิดามารดา ผู้ทำอุปการะบุตรธิดา เป็นต้น มีโทษมาก   เพราะนอกจากได้ผลาญชีวิตของท่านแล้วยังได้ตัดประโยชน์ของคนอื่นอีกด้วย
๑.๓ ฆ่ามนุษย์ผู้มีคุณคือความดี มีโทษ เพราะไม่เพียงแต่ผลาญชีวิตเท่านั้นยังทำลายล้างคุณความดีที่เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นประพฤติตามอีกด้วย
 
๒.โดยเจตนา จัดเป็น ๓ อย่างคือ
๒.๑ ฆ่าโดยหาเหตุมิได้ เช่นผู้ถูกฆ่ามีโทษไม่ถึงตายตามกฎหมายหรือไม่ได้กำลังจะทำร้ายตน มีโทษมาก
๒.๒ ฆ่าด้วยกิเลสมีกำลังกล้า เช่น ถูกความโลภครอบงำจิต รับจ้างฆ่าเขา มีโทษมาก
๒.๓ ฆ่าด้วยมีพยาบาทร้ายกาจ ล้างผลาญเขาให้พินาศ มีโทษมาก
๓.      โดยประโยค ได้แก่ การฆ่าโดยทำให้เกิดทุกขเวทนา เช่นทุบตี ให้บอบช้ำ ต้องทนทุกข์ทรมานจนตาย มีโทษมาก เพราะผู้ถูกฆ่าได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส
มิใช่จะห้ามแต่เพียงการฆ่ามนุษย์อื่นเท่านั้น แม้การฆ่าตัวองให้ตายก็ไม่สมควร ห้ามทั้งฝ่ายพุทธจักร และราชอาณาจักร ผู้ฆ่าตัวตายถือว่าเป็นผู้สิ้นคิดแล้วเป็นที่ดูหมิ่นของคนทั้งปวง   ทำให้เกิดความอับอายขายหน้าแก่วงศ์ตระกูลและพวกพ้องของตน เกิดมาเป็นคนแล้วถึงจะตกทุกข์ได้ยากเพียงใด ก็ไม่ควรทำเช่นนั้น เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสมบัติที่ได้โดยยากเมื่อได้แล้ว       ก็ไม่ควรปล่อยให้เสียเปล่าจากประโยชน์ ถึงชีวิตจะสิ้นไป ก็ให้สิ้นไปด้วยดีในทางนักปราชญ์สรรเสริญ
ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน มีโทษเบาตามวัตถุ จากการฆ่ามนุษย์ ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษแก่ภิกษุผู้ทำเพียงปาจิตตีย์ ฝ่ายราชอาณามีจำกัดโทษเฉพาะฆ่าสัตว์บางเหล่าที่มีพระราชบัญญัติสงวนพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง แต่เมื่อว่าโดยความเป็นกรรมย่อมจำแนกว่ามีโทษหนักได้ ๓ ชั้น คือ
 
๑.โดยวัตถุ จัดเป็น ๕ อย่างคือ
๑.๑   ฆ่าสัตว์ที่เจ้าของหวงแหน มีโทษมาก เพราะนอกจากฆ่าสัตว์แล้ว ยังชื้อว่าประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่นอีกด้วย
๑.๒ ฆ่าสัตว์มีคุณ เช่น สัตว์พาหนะ มีโทษมาก เพราะตัดความสุขและอุบายเลี้ยงชีพของผู้อื่น
๑.๓ ฆ่าสัตว์ที่ใช้ประโยชน์ได้มาก มีโทษมาก เพราะตัดประโยชน์ของเขามาก
๑.๔ ฆ่าสัตว์ของตัวเองก็มีโทษเพราะทำให้เกิดความหายนะแก่ตนเอง
๑.๕ ฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ก็มีโทษ ตามสัตว์และใหญ่
๒.   โดยเจตนา จัดเป็น ๓ อย่าง คือ
๒.๑ ฆ่าโดยหาเหตุมิได้ คือ ไม่ใช่เพื่อป้องกันตัว ไม่ใช่เพื่อจะบำบัดโรค ไม่ใช่เพื่อจะลองวิชาหรือค้นหาความรู้เพื่อมาบำรุงรักษามนุษย์และสัตว์อื่น ไม่ใช่เพื่อเลียงชีพ ไม่ใช่เพื่อเป็นอาหาร และไม่ใช่เพื่อปลดความลำบากของสัตว์เป็นต้น มีโทษมาก
๒.๒ ฆ่าด้วยกำลังกิเลสกล้า เช่น มีวิธีหาเลี้ยงชีพในทางอื่นได้แต่ถูกความโลภครอบงำเห็นแก่ได้จึงทำปาณาติบาต มีโทษมาก
๒.๓ ฆ่าด้วยความพยาบาท หรือถูกโทสะครอบงำ มีโทษมาก
๓.   โดยประโยค ได้แก่ การฆ่าทำให้ทนทุกข์ทรมาน น่าสมเพส เช่น วางยาเบื่อปลาในคลองให้เมาตาย มีโทษมากการฆ่าโดยปราศจากเมตตาจิต ย่อมถือเป็นบาปทุกประการ พึงสันนิษฐานในทางกรรมว่า มีโทษหนักเป็นชั้นตามที่กล่าวแล้ว
 
 
 
 
 
 
๒. การทำร้ายร่างกาย
ในข้อนี้จะกล่าวเฉพาะทำแก่มนุษย์ ส่วนที่ทำแก่สัตว์ดิรัจฉาน จะกล่าวในทรกรรม ตามความรู้สึกของคน การทำร้ายร่างกายนี้ แม้ไม่ถึงกับสิ้นชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน มีโทษทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษแก่ภิกษุผู้กระทำ เป็นชั้นตามวัตถุ เจตนาและความพยายามในการฆ่าฝ่ายาราชอาณาจักรปรับโทษตามเครื่องมือประหารที่ใช้ประหาร
การทำร้ายร่างกายนั้น จำแนกออกเป็น๓สถาน   คือ
๑. ทำให้พิการ ได้แก่ การทำให้อวัยวะบางส่วนเสียหาย เช่น ทำให้ ตาบอด ขาขาด แขนขาด เป็นต้น
๒. ทำให้เสียโฉม ได้แก่ การทำร้ายร่างกายให้เสียรูปโฉม เสียความสวยงามแต่ไม่ถึงกับพิการ
๓.ทำให้เจ็บทรมาน ได้แก่ การทำร้ายไม่ถึงเสียโฉม แต่เสียความสำราญ เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม มีโทษหนักเป็นชั้นโดยวัตถุ เจตนาและประโยคเหมือนที่กล่าวแล้วในการฆ่ามนุษย์
 
๓. การทรกรรม
ข้อนี้จะกล่าวเฉพาะสัตว์ดิรัจฉาน เพราะมนุษย์ไม่เป็นวัตถุอันใครๆ จะพึงทรกรรมได้โดยทั่วไป
ทรกรรม หมายเอาความประพฤติเหี้ยโมหดแก่สัตว์โดยปราศจากความเมตตาปราณีมิได้ปมายถึงการนำสัตว์มากักขังไว้ธรรมดา เช่น เลี้ยงนกไว้ในกรงเป็นต้น จัดเป็น ๕ ลักษณะ
๑.ใช้งาน ได้แก่ การใช้สัตว์เป็นพาหนะ เช่น เทียมรถ เทียมไถ เป็นต้น ผู้ใช้ควรปราณีและเอาใจใส่ในการบำรุงเลี้ยงดูตามสมควร ถ้าไม่ปราณีแต่จะใช้งาน ปล่อยให้อดอยากซูบผอมไม่ให้พักผ่อนตามเวลาหรือทำร้ายร่างกายโดยขาดเมตตาจิต หรือใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ได้ชื่อว่าประพฤติเหี้ยมโหด แก่สัตว์จัดเป็นทรกรรมในการใช้งาน
๒.กักขัง ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ไว้ในกรง หรือผูกไว้เพื่อดูหรือชมเล่น แต่ผู้เลี้ยงควรปรนปรือเลี้ยงดูสัตว์นั้นให้ได้รับความสุข ถ้ากักขังหรือผูกมัดไว้จนไม่สามารถผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ จัดว่า เป็นทรกรรมในการกักขัง
๓.นำไป ได้แก่ การผูกมัดสัตว์แล้วนำไปควรทำให้สัตว์ได้รับความสะดวกบ้าง แต่ถ้านำไปผิดอิริยาบถของสัตว์เช่น ผูกมัดเป็ด ไก่ สุกร หิ้ว หรือหามเอาศีรษะ เอาเท้าขึ้น สัตว์ได้รับความทรมาน เพราะเลือกลงศีรษะ ต้องชูศีรษะไปตลอดทาง อีกอย่างหนึ่ง เอาปลายยังมีชีวิตขังในห้อง   ทับยัดเยียดกัน ปล่อยให้ดิ้นเสือกสนไปจนกว่าจะตาย ดูน่าสมเพชยิ่งนัก จัดเป็นทรกรรมในการ   นำไป
๔.เล่นสนุก ได้แก่ การนำสัตว์มาเล่นเพื่อเป็นการสนุก เช่น พวกเด็กๆ ให้ประทัด         มัดติดหางสุนัขแล้วเอาไฟจุดก็ดี เอาเทียนจุดไฟติดไว้ที่กระดองเต่า ให้ไฟไหม้มาถึงกระดองเต่าก็ดี เอาก้อนอิฐขว้างนกหรือคางคกเป็นต้นก็ดี ถอนขนปีกหักจาสัตว์ มีตั๊กแตนจิ้งหรีด เป็นต้นก็ดี         จัดเป็นทรกรรมในการเล่นสนุก
 
๕.ผจญสัตว์ ได้แก่ การจับสัตว์ให้ต่อสู่หรือชนกัน เช่นชนโค ชนกระบือ ชนไก่         กัดปลา เป็นต้น สัตว์ย่อมได้รับความทุกข์ทรมาน จัดเป็นทรกรรมในการผจญสัตว์
เมื่อกล่าวโดยความเป็นทรกรรม การทรกรรม จัดเป็นวิหิงสา (การเบียดเบียน) มีโทษหนักเป็นชั้นโดยวัตถุเจตนาและประโยคที่ยิ่งและหย่อน ตามนัยที่กล่าวแล้วในการฆ่า
เรารักชีวิตร่างกาย และปรารถนาความสุขสำราญแก่ตนเพียงใด คนอื่นและสัตว์อื่น ก็รับชีวิตร่างกายของเขาพียงนั้น ฉะนั้น เมื่อรู้แล้วจงสำรวม อย่าล่วงละเมิดสิกขาบทข้อแรกนี้              อย่าประพฤติตนเป็นคนหัวไม้ อย่าฆ่าเขา อย่าทำร้ายเขา อย่าประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์ จงมีเมตตาจิตปรารถนาความสุข ไม่มีเวร ไม่มีภัย แก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป 
 
สิกขาบทที่ ๒
 
อทินนาทานา เวรมณี
แปลว่า เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ กิริยาที่ถือเอาหมายถึง การถือเอาด้วยอาการเป็นโจร สิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ หมายถึง ๒ อย่าง คือ
๑.สิ่งของที่มีเจ้าของ ทั้งที่เป็นสิวญญาณกทรัพย์ ทั้งที่เป็นอวิญญาณกทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์
๒.สิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร แต่มีผู้รักษาหวงแหน ได้แก่ สิ่งของที่อุทิศบูชาปูชนียวัตถุในศาสนานั้นๆ และสิ่งของที่เป็นขอวกลางในหมู่ชนอันไม่พึงแบ่งกัน ได้แก่ ของสงฆ์และของมหาชนในสโมสรสถานนั้น ๆ
สิกขาบทนี้ บัญญัติขึ้นด้วยหวัง จะให้เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ เว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน ถ้าประพฤติฝ่าฝืน ได้ชื่อว่า ประพฤติผิดจากทางธรรมจัดเป็นบาป
เมื่อเพ่งความประพฤติชอบธรรมในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเป็นใหญ่ มีข้อห้ามด้วยสิกขาบทนี้ 3 อย่างคือ
๑.โจรกรรม
๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
 
โจรกรรม
หมายถึงกิริยาที่ถือเอาสิ่งของที่ไม่มีผู้ให้ด้วยอาการเป็นโจร มีหลายประเภท พอแยกแยะได้ ดังนี้
ลัก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของด้วยอาการเป็นโจร ในเวลาที่เงียบไม่ให้เจ้าของรู้ เช่น เห็นผ้าของเขาตากอยู่ ไม่มีเจ้าของหรือใคร่อื่นในที่นั้น และถืออาผ้านั้นที่เรียกว่า ขโมย เวลาสงัดคนแอบเข้าไปในเรือน แล้วหยิบฉวยเอาสิ่งของของเขาที่เรียกว่า ยอกเบา งัดแงะหรือเจาะประตูหน้าต่างที่ปิดอยู่ และถอดกลอนเปิดเข้าไปถือเอาสิ่งของของเขา ที่เรียกว่า ตัดช่อง เป็นต้น
ฉก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของในเวลาที่เจ้าของเผลอ เช่น เห็นเขาถือของมา สังเกตดูเห็นเขาเผลอตัว เข้าแย่งเอาของแล้ววิ่งหนี ที่เรียกว่า วิ่งราว หรือ บางทีตีเจ้าของให้เจ็บเสียก่อนแล้วถือเอา ที่เรียกว่า ตีชิง เป็นต้น
กรรโชก ได้แก่ กิริยาที่แสดงอำนาจให้เจ้าของตกใจกลัว แล้วยอมให้สิ่งของของตน หรือใช้อาวุธบังคับแร่งรัด ขู่ว่าไม่ให้จะฆ่าเสีย หรือเอาไฟลนให้บอกที่เก็บทรัพย์
ปล้น ได้แก่ กิริยาที่ยกพวกไปเก็บเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยอำนาจ เช่น พวกโจรถืออาวุธพากันขั้นบ้านเรือนของเขาและเข้าเก็บเอาทรัพย์สมบัติ ฆ่าหรือทำร้ายเจ้าของและพรรคพวกบ้าง ไม่ได้ทำร้ายบ้าง
ตู่ ได้แก่ กิริยาที่ฟ้องร้องเอาของผู้อื่น ซึ่งมิได้ตกอยู่ในมือตน เช่น ฟ้องร้องเอาที่ดินของเขา เป็นต้น
ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของผู้อื่นอันตกอยู่ในมือตน เช่น รับของฝากเขาไว้แล้ว       ภายหลังเจ้าของมารับคืน ปฏิเสธเสียว่าไม่ได้รับฝากไว้ หรืออาศัยที่ดินท่านอยู่ ภายหลังกลับว่าเป็นของตัว
หลอก ได้แก่ กิริยาพูดปด เพื่อถือเอาของผู้อื่น เช่นไปหาท่านและพูดปดท่านว่าท่านผู้นั้น ๆ ให้ขอยืมสิ่งนั้น ๆ ครั้นให้ไปแล้ว ก็ยึดเอาเป็นของตัวเองเสีย
ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งเอาสิ่งของของผู้อื่น โดยแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเข้าใจผิด เช่น คนขายของใช้ตาชั่งที่เบาเกินประมาณ วัตถุเพียงเล็กน้อยชั่งแล้ว มีน้ำหนักมาก
ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของไม่แท้ให้เห็นว่าเป็นของแท้ เช่น ทำเงินแดงหรือขายของปน เช่น น้ำผึ้งปนน้ำตาล ขี้ผึ้งปนแป้ง นมโคปนน้ำข้าว ปลอมขายว่าเป็นของแท้
ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมของท่านไปแล้ว ยึดเอาเป็นของตัวเสีย เช่น ขอยืมของไปใช้แล้วไม่สงคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย
เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น ท่านใช้ไปเก็บเงินค่าเช่า ได้มากให้ท่านแต่น้อย ถึงผู้ท่านใช้ให้ขายของก็เช่นกัน
สับเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่เอาสิ่งของของตนที่เลวเข้าไว้แทน ถือเอาสิ่งของผู้อื่นดีไปเสีย เช่น เปลี่ยนฉลากและเครื่องใช้สอยเป็นต้น
ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่นำของซ่อนหลบหนีภาษีเข้ามา หรือลอบทำของที่ต้องห้าม เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กลั่นสุราเป็นต้น หรือลอบประพฤติสิ่งที่ผิดกฎหมายทุกอย่าง
ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตน ที่จะต้องถูกยึดไปไว้เสียที่อื่น เช่น ผู้ต้องริบราชบาตร (คำสั่งหลวง) หรือเป็นหนี้เขาจะต้องล้มละลาย ยักยอกทรัพย์สมบัติมิให้ต้องตกเป็นของหลวงหรือเป็นของเจ้าหนี้
โจรกรรมที่มีลักษณะดังที่แสดงมานี้ บุคคลทำเองก็ดี ใช้ให้เขาทำก็ดี หรือเป็นพวกเขาด้วย แม้ตนเองมิได้ทำก็ดี ชื่อว่าประพฤติเป็นโจรทั้งนั้น มีโทษทั้งฝ่ายพุทธจักรและราชอาณาจักร ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษตามวัตถุฝ่ายราชอาณาจักร กำหนดโทษตามประโยค
 
เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม มีโทษหนักเป็นชั้น 3 อย่าง อื่น
๑.โดยวัตถุ   ถ้าของที่ทำโจรกรรมมีราคามาก สร้างความเดือนร้อนให้
๒.แก่เจ้าของมาก กู้มีโทษมาก
๓.โดยเจตนา ถ้าถือเอาด้วยความโลภ   มีเจตนากล้า ก็มีโทษมาก
๔.โดยประโยค ถ้าถือเอาพร้อมทั้งฆ่าหรือทำร้ายเจ้าทรัพย์หรือประทุษร้าย
 
เคหสถานและพัสดุของเขา ก็มีโทษมาก
ทรัพย์ที่ได้มาด้วยโจรกรรมเช่นนี้ ไม่ทำความสุขให้เกิดแก่ผู้ได้ เหมือนทรัพย์ที่หามาได้ในทางสุจริต ผู้ที่หาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบได้ทรัพย์มา ทรัพย์นั้นย่อมทำความอิ่มใจให้เกิดแก่ผู้ได้ในเบื้องต้น ต่อมาก็ให้ความสุข เพราะไม่ต้องเป็นหนี้ท่านไม่ต้องกลัวว่าเขาจะมารบกวนทวงถามให้เกิดความรำคาญ ไม่ต้องกลัวต่อการจับกุมไปลงโทษ ส่วนผู้ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการโจรกรรม หาทรัพย์ได้มาในเบื้องต้น พอได้มาก็ทำให้เกิดความร้อนใจ เพราะต้องอนเร้นไว้ ต้องหลบหน้าซ่อนตัวกลัวเขาจะจับได้ต้องระวังไม่ให้ใครรู้ใครเห็น ในที่สุดก็ไม่เป็นปัจจัยให้กลับตั้งตัวได้ เพราะจะต้องทำโจรกรราเช่นนั้นต่อไปอีก จนกว่าจะได้เสวยผลของโจนกรรมสักคราวหนึ่งหรือหลายคราวผู้หวังความเจริญแก่ตน ต้องเว้นให้ขาดจากการหาเลี้ยงชีพด้วยโจรกรรมเสีย
 
การเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
หมายถึง กิริยาที่แสวงหาทรัพย์ในทางที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ยังไม่นับเข้าในโจรกรรมมี ๓ ประเภท คือ
๑. สมโจร ได้แก่ กิริยาที่อุดหนุนส่งเสริมพฤติกรรมของโจร เช่น เป็นใจรับซื้อสัตว์พาหนะ หรือสิ่งของที่ผู้อื่นทำโจรกรรมได้มา ด้วยราคาถูก และขายเอากำไรอีกต่อหนึ่ง ข้อนี้เป็นปัจจัยแห่งโจรกรรม เพราะเมื่อพวกโจรมีที่หวังว่า มีที่ขายพัสดุ ที่ตนทำโจรกรรมได้มา จึงมีใจกำเริบและกล้าทำโจรกรรม ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเขา ในทางที่ผิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
๒.ปอกลอก ได้แก่ กิริยาที่คบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์มุ่งหมายจะเอาแต่ทรัพย์สมบัติของเขาถ่ายเดียว แล้วจะทิ้งเขาเสีย เมื่อเขาสิ้นเนื้อ_ประดาตัว ข้อนี้เป็นปัจจัยให้บุคคลตกยาก
๓.รับสินบท ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ที่เขาให้ เพื่อทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด เช่น ตุลาการรับสินบนของลูกความ ทำผู้จะแพ้ให้กลับชนะ ทำผู้จะชนะกลับแพ้เป็นต้น ข้อนี้เป็นปัจจัยให้บุคคลประพฤติผิดในทางธรรม
การเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรมที่ได้แสดงมาเป็นบาป มีโทษหนักเป็นชั้นตามวัตถุ เจตนา และประโยค พึงเทียบตามนัยที่กล่าวแล้วในโจรกรรม
 
กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
หมายถึง กิริยาที่ทำทรัพย์ของผู้อื่นให้สูญหาย และเป็นสินใช้ตกอยู่แก่ตน มี ๓ ประเภทคือ
๑.ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่นเช่น ผู้หนึ่งคือปองร้ายอีกผู้หนึ่ง ลอบฆ่าสัตว์พาหนะหรือลอบเผากองข้าวในนา เป็นต้น แม้เจตนาจะไม่เป็นโจร แต่ก็ให้ผลคือ ความสูญเสียแก่เจ้าของทรัพย์
๒.หยิบฉวย ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นด้วยความมักง่าย เช่น บุตรหลานผู้ประพฤติเป็นพาล   เอาทรัพย์ของมารดาบิดา ปู่ ย่า   ตา ยาย เป็นต้นไปใช้มิได้บอกให้เจ้าของรู้  แม้ตนจะถือเอาโดยวิสาหระก็จริง แต่บางทีอาจจะทำความไม่พอใจแก่เจ้าของทรัพย์ทำให้เขาสิ้นรักในตน และทำตนให้เป็นสงสัยของคนอื่นว่าเป็นโจร
ฉะนั้น   ผู้หวังความสวัสดีแก่ตน ต้องเว้นกิริยาที่เป็นฉายาโจรกรรมนี้โดยเด็ดขาด
 
สิกขาบทที่ ๓
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
แปลว่า เว้นจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คำว่า กาม ในที่นี้ ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันในประเวณี
ข้อบัญญัติขึ้นด้วยหวังจะป้องกันความแตกร้าวในสังคม ทำให้คนที่อยู่ในสังคมไว้วางใจกันและกันได้ เพราะความประพฤติผิดในทางประเวณีนั้น เป็นชนวนที่จะให้เกิดความแตกร้าวในระหว่างสามีภรรยาได้ ทั้งสมีแลภรรยาคู่นั้นยังจะผูกใจเป็นศัตรูต่อชายหญิงที่เป็นชู้นั้นอีก ในที่สุดสามีภรรยาคู่นั้น ก็จะไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความประพฤติผิดในกามนี้จัดเป็นบาป ห้ามทั้งหญิงและชาย เพราะต่างก็เป็นวัตถุต้องห้ามของกันและกัน
เมื่อเพ่งความประพฤติไม่ให้ผิดเป็นใหญ่ หญิงที่เป็นวัตถุห้องห้ามของชายมี ๓ จำพวกคือ
๑.ภรรยาท่าน
๒.หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน
๓.หญิงที่จารีตห้าม
 
ภรรยาท่าน ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก คือ
๑.หญิงแต่งงานกับชายแล้ว
๒.หญิงที่ไม่ได้แต่งงาน แต่อยู่กินกับชายโดยเปิดเผย
๓.หญิงผู้รับสิ่งของมีทรัพย์เป็นต้นของชายแล้ว ยอมอยู่กับเขา
๔.หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา
หญิงเหล่านี้ นับตั้งแต่เวลาที่ตั้งอยู่ในความเป็นภรรยาของท่านแล้ว ชายอื่นจะประพฤติเป็นชู้กับหญิงเหล่านี้ไม่ได้ เป็นกาเมสุ มิจฉาจาร ถึงการเคล้าคลึงพูดเกี้ยวแสดงการปฎิพัทธ์แม้ด้วยการชายตาเป็นต้น อันถือว่าการบริวาร ก็ห้ามเหมือนกันหญิงที่สามีตายหรือหย่าขาดจากสามีตามกฎหมาย ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจาร
หญิงที่อยู่ในปกครองของท่าน ได้แก่ หญิงที่มารดาบิดา ญาติพี่น้องหรือผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะเช่นนั้นพิทักษ์รักษาอยู่ ผู้พิทักษ์รักษานั้น ย่อมเป็นใหญ่เหนือหญิงนั้นชายลอบไปสมสู่หรือลักพาเอาไปเป็นกาเมสุมิจฉาจาร
 
หญิงที่จารีตห้าม ได้แก่หญิง ๓ จำพวก คือ
๑.หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาตนของตน คือ แม่ ย่า ยาย ย่าทวด และผู้เป็นกอของตน คือ ลูก หลาน เหลน
๒.หญิงที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติในทางพระศาสนา อันห้ามการสีสังวาสกับชาย เช่น ภิกษุในกาลก่อน หรือแม่ชีในเวลานี้
๓.หญิงที่กฎหมายบ้านเมืองห้าม และลงโทษแก่ชายผู้สมสู่ด้วย เช่น แม่หม้ายงานท่าน อันมีข้อห้ามในกฎหมาย
 
หญิงที่จารีตห้ามเหล่านี้ จะมีฉันทะร่วมด้วยหรือไม่ ไม่เป็นประมาณ ชายร่วมสังวาสด้วยย่อมเป็นกาเมสุมิจฉาจารส่วนหญิงนอกจากนี้ ถ้าเธอไม่มีความพอใจและถูกชายข่มขืน ชายคงเป็นกาเมสุมิจฉาจาร
ชายที่ต้องห้าม ก็เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงเหมือนกัน ท่านแจกกล่าวไว้เป็น ๒ ประเภท
๑.ชายอื่นนอกจาสามี เป็นวัตถุที่ต้องห้ามของหญิงที่มีสามี
๒.ชายที่จารีตห้าม  เป็นวัตถุที่ต้องห้ามของหญิงทั้งปวง
หญิงที่มีสามีแล้ว คบชายเป็นชู้เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เว้นแต่หญิงนั้นสามีตายหรือหย่าขาดจากสามีแล้ว ชื่อว่าเป็นอิสระในตนเองรับชายที่ไม่ต้องห้ามเป็นสามีได้ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร
ชายที่จารีตห้าม เช่น ภิกษุสามเณร ผู้อยู่ภายใต้บทบัญญัติในพระพุทธศาสนามีสิกชขาบทห้ามการร่วมประเวณี และผู้ที่กฎหมายบ้านเมืองห้ามไม่ให้ร่วมประเวณีด้วยถึงนักพรตผู้ถือเมถุนวิรัติในศาสนาอื่นก็เหมือนกัน หญิงประพฤติล่วงเข้า เป็นกาเมสุมิจฉารจาร
หญิงยินยอมร่วมสังวาสกับชายที่ต้องห้ามสำหรับตน ก็เป็นกาเมสุมิจฉาจารเว้นแต่ตนไม่ยินยอม ถ้าถูกชายทำโดยพลการจนไม่สามารถป้องกันหรือหลบหนีได้หญิงที่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร แต่ชายเป็น
 
โทษของกาเมสุมิจฉาจาร
กาเมสุมิจฉาจาร ถือเป็นความประพฤติอันชั่วร้าย มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม        ฝ่ายราชอาณาจักรมีกฎหมายสำหรับลงโทษผู้ประพฤติล่วง ฝ่ายพระศาสนาก็จัดว่าเป็นบาปแก่ผู้ทำกล่าวโดยความเป็นกรรม มีโทษหนักเป็นชั้นแยกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑.โดยวัตถุ ถ้าเป็นการทำชู้หรือล่วงในวัตถุที่มีคุณมีโทษมาก
๒.โดยเจตนา ถ้าเป็นไปด้วยกำลังราคะกล้ามีโทษมาก เช่น หญิงสมัครใจร่วมสังวาสกับชาย   แม้เป็นไปด้วยความกลัว ก็มีโทษเหมือนกัน แต่ไม่ถึงนัยแรก ข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างในหญิงผู้ไม่สมัครใจ แต่ยอมทำตามประสงค์ของชายเพราะกลัวถูกทำร้าย
๓.โดยประโยค ถ้าเป็นไปโดยพลการ ถึงขั้นร่วมประเวณี ก็มีโทษหนักแก่ผู้ทำ แต่ถ้าไม่ถึงขึ้นร่วมประเวณี ก็มีโทษเพลาลงมา
 
บุรุษหรือสตรีที่มีคู่ครองแล้วควรยินดีด้วยคู่ครองของตนส่วนผู้ที่ยังไม่มีถ้าจะเลือกหาคู่ครอง ก็ควรเลือกคนที่ไม่มีเจ้าของมาเป็นคู่ เพื่อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ผู้รักสงบ รักชื่อเสียง อย่าได้ประพฤติล่วงละเมิดข้อนี้เป็นอันขาด
ความลุอำนาจแก่ราคะอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิได้เป็นไปตามธรรมดาในทางที่ชอบ ถูกห้ามด้วยสิกขาบทนี่ทุกประการ
 
สิกขาบทที่ ๔
มุสาวาทา   เวรมณี
แปลว่า เว้นจากการพูดเท็จ ความเท็จชื่อว่า มุสา กิริยาที่พูดหรือแสดงอาการมุสา ชื่อว่า มุสาวาทา
สิกขาบทนี้บัญญัติขึ้นด้วยหวังจะห้ามการตัดประโยชน์ทางวาจา ทุกคนย่อมชอบและนับถือความจริงด้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่พูดด้วยถ้อยคำที่ไม่เป็นจริง ย่อมจะทำให้ผู้ฟังไม่เชื่อถือในคำพูด ของตน บางที่อาจทำประโยชน์ของผู้อื่นให้เสียไปก็ได้ผู้ที่ฝ่าฝืนความรู้สึกของตนพูดมุสาแก่คนอื่นเป็นการตัดประโยชน์ท่าน จัดเป็นบาป
เมื่อเพ่งความจริงเป็นใหญ่ ในสิกขาบทนี้ แยกข้อห้ามเป็น๓ ประการคือ
๑.มุสา
๒.อนุโลมมุสา
๓.ปฏิสสวะ
๑. มุสา
พึงกำหนดรู้ด้วยลักษณะ ๔ ประการ
๑.เรื่องที่กล่าวนั้นไม่เป็นจริง
๒.ผู้กล่าวจงใจ
๓.กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
๔.ผู้ฟังเข้าใจผิด
การแสดงมุสานี้ มิใช่เฉพาะแต่ทางวาจาอย่างเดียว แม้ทางกายก็อาจเป็นได้ เช่น เขียนหนังสือมุสาเขา หรือสั่นศีรษะที่ทำให้เขาเข้าใจว่าเป็นการปฏิเสธในข้อที่ไม่ควรปฏิเสธ มุสาจึงเป็นได้ทั้งกายและทางวาจาถึงไม่พูดด้วยปาก แต่ทำด้วยกายเพื่อจะให้เขาเข้าใจผิด ก็จัดเป็นมุสาวาทาเหมือนกัร
มุสานั้น เมื่อแยกพรรณนาให้เห็นเป็นตัวอย่างมี 7  ประเภท คือ
๑.ปด มุสาตรงๆ ไม่มีมูลเช่น เห็นอยู่ว่าไม่เห็น รู่อยู่ว่าไม่รู้ โดยโวหารกล่าวกันตามความมุ่งหมายของผู้พูด ท่านแสดงพอเป็นตัวอย่างมีลักษณะดังนี้ คือ 
ก.พูดจะให้เขาแตกกัน เรียกว่า ส่อเสียด
ข.พูดเพื่อจะโกงเขา            เรียกว่า มารยา
ค.พูดเพื่อจะยกย่อง              เรียกว่า ย่อ
ง.พูดแล้วไม่รับ                  เรียกว่า กลับคำ
 
 
๒.ทนสาบาน กิริยาที่เสี่ยงสัตย์ว่า จะพูดตามจริวหรือจุทำตามคำสาบานแต่ใจไม่ตั้งจริงตามนั้นมีปดในลำดับเป็นริวาร เช่น เป็นพยานทนสาบานแล้วเบิกความเท็จ
๓.ทำเล่ห์กระเท่ห์ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง เช่นอวดรู้วิชา             คงกระพันว่า ฟันไม่เข้ายิ่งไม่ออกเป็นต้น เพื่อให้คนหลงเชื่อถือและพากันนิยมในตัวเป็นอุบาย     มหาลาภ
๔.มารยา กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริงเช่น เป็นคนทุศีล ทำท่าทางให้เขาเห็นว่าเป็นคนมีศีล
๕.ทำเลศ พูดมุสาเล่นสำนวน เช่น เห็นคนวิ่งหนีเขามา เมื่อคนที่วิ่งไล่ตามถามว่า เห็นคนวิ่งหนีมาทางนี้หรือเปล่าไม่อยากให้เขขาจับคนผู้นั้น ได้ย้ายมายืน ณ ที่อื่นแล้วตอบว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่นี่ไม่เห็นใครเลย หมายถึงเล่นสำนวนว่า ตั้งแต่ตนย้ายจากที่นั่นมายืนที่นี่ไม่เห็นคนวิ่งมา เขาพูดเพื่อจะให้ผู้ถามเข้าใจว่าไม่ได้มีใครวิ่งมาทางนี้เลย เช่นนี้จะจัดว่าเป็นภาษาที่พ้นจากมุสาไปหาได้ไม่
๖.เสริมความ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่เสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง เช่น พรรณนาสรรพคุณยาให้เกินกว่าตัวยาที่พอจะรักษาได้
๗.อำความ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่ตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อทำความเข้าใจให้กลายเป็นอย่างอื่น ข้อนี้พึงเห็นในคนผู้กระทำผิดและหวังจะปกปิดโทษของตัวแล้วกล่าวอำความ เช่น นักเรียนผู้เริ่มจะเสียคนกลับจากโรงเรียนแล้ว ไปบ้านเพื่อนนักเรียนผู้มีพฤติกรรมเหมือนตน ชวนกันไปเที่ยวซุกซนตามที่ต่างๆ กลับบ้านผิดเวลา บิดาถามว่า เหตุใดจังกลับบ้านช้าไป เขาตอบว่าไปบ้านเพื่อน การที่เขาไปบ้านเพื่อนก็เป็นความจริง แต่เขาพูดเพียงเท่านั้น เพื่อจะให้เข้าใจว่า เขาหาได้ไปเที่ยวซุกซนในที่อื่นไม่
 
โทษของมุสา
ประเภทแห่งมุสาดังที่แสดงมาพอเป็นตัวอย่างนี้ บุคคลพูดด้วยวาจาหรือแสดงกิริยาท่าทางด้วยกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้อื่นรู้แล้วเขาจะเชื่อหรือไม่ ไม่ถือเป็นประมาณบุคคลผู้พูดหรือแสดงอาการนั้นได้ชื่อว่า พูดมุสาในสิกขาบทนี้ ข้อนี้มีโทษทั้งฝ่ายพุทธจักรและราชอาณาจักร      ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษอย่างหนักถึงขึ้นเป็นอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุ ข้อนี้ได้แก่อวดอุตริมนุสสธรรม อันไม่จริงในตนโดยตรงๆ โทษอย่างเบาปรับอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีข้อยกเว้น ฝ่ายราชอาณาจักร ปรับโทษตามฐานที่ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น
เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม จัดว่ามีโทษหนักเป็นชั้น มี ๓ ลักษณะ คือ
๑.โดยวัตถุ ถ้าข้อความนั้นเป็นเรื่องทำลายประโยชน์ของผู้อื่น เช่น ทนสาบานเบิก   ความเท็จ กล่าวใส่ความผู้อื่น หลอกลวงเอาทรัพย์เขาเป็นต้น หรือกล่าวมุสากะท่านผู้มีคุณ เช่น บิดา มารดา ครูอาจารย์ เจ้านายและผู้มีศีลธรรมเป็นต้น มีโทษหนัก
๒.โดยเจตนา ถ้าพูดคิดให้ร้ายแก่ท่าน เช่น กล่าวใสความท่าน มีโทษหนัก
๓.โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำให้เขาเชื่อได้สำเร็จ มีโทษหนัก
มุสานั้น เป็นข้อเท็จที่ยังไม่ยั่งยืนมั่นคง ผู้พูดย่อมแสดงกิริยามีพิรุธให้ผู้มีปัญญาจับได้ และถ้าถูกชักมากเข้า ก็ยิ่งแสดงอาการพิรุธมากขึ้น และผู้พูดมุสานั้น ชื่อว่าส่ออัธยาศัยไม่บริสุทธิ์ของตัวให้ปรากฏ เป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะเมื่อเขาได้ช่องหรือโอกาสเมื่อไร เขาอาจทำความชั่วแล้วปกปิดไว้ และแม้เขาจะเข้าสมาคมในที่ใดก็เป็นที่รังเกียจของคนทั้งหลาย ดุจคนเปื้อนของสกปรก มีกลิ่นเหม็นติดตัวฉะนั้นผู้หวังความบริสุทธิ์แห่งตน ควรเว้นจากมุสาวาทเสีย ทำตัวให้เป็นคนสั่งคง มีวาจาเป็นที่น่าเชื่อถือได้
 
 
๒. อนุโลมมุสา
ข้อนี้พึงกำหนดรู้ด้วยลักษณะ ๒   ประการ
๑.เร่งที่กล่าวนั้นไม่เป็นจริง และ
๒.ผู้กล่าวไม่ได้จงใจจะกล่าวให้ผู้ฟังเข้าใจผิด ข้อนี้มี ๒ ลักษณะ คือ
๒.๑ เสียดแทง กิริยาที่ว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น อ้างเรื่องไม่เป็นจริงกล่าวยกให้สูงกว่าพื้นเพของเขา ที่เรียกว่า ประชด หรือกล่าวทำให้เป็นคนเลวกว่าพื้นเพของเขา ที่เรียกว่า ด่า
๒.๒ สับปลับ พูดปดด้วยความคะนองวาจา แต่ผู้พูดไม่ได้จงใจจะทำให้เขาเข้าใจผิด
ยังมีคำพูดอีกชนิดหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่จริง แต่ให้โทษแก่ผู้อื่นได้ และผู้พูดก็พูดด้วยมุ่งอย่างนั้น ได้แก่ คำส่อเสียดและเสียดแทงที่มีวัตถุอันเป็นจริง ผู้หนึ่งดั้งข้างหนึ่ง แล้วติเตียนอีกข้างหนึ่ง อยากจะหาความชอบเกินไป บอกเขาและยุยงเขา ถึงเรื่องนั้นจะเป็นความจริง แต่ก็เป็นเหตุให้เขาแตกกัน อีกคนหนึ่งว่าเสียดแทงให้เขาเจ็บใจ อ้างวัตถุที่เขาเป็นจริงอย่างนั้นขึ้นกล่าว ถึงเรื่องนั้นเป็นความจริงแต่ก็เป็นเหตุให้ผู้ถูกว่าเจ็บใจ วาจาเช่นนี้มีมูลมาจากมุสา จัดเข้าในอนุโลมมุสา
 
โทษของอนุโลมมุสา
อนุโลมมุสานี้ มีโทษที่ควรเว้นทั้งฝ่ายพุทธจักรและราชอาณาจัก ฝ่ายราชอาณาจักร ถือว่าเป็นกิริยาที่หยาบช้าเลวทราม ส่ออัธยาศัยความสามกของผู้พูดสภาพชนผู้ได้รับการฝึกฝนมาดีแล้ว เขาจะไม่พูดกันเลย ฝ่ายพุทธจักร จัดเป็นบาปกรรมส่วนวจีทุจริต ไม่ควรประพฤติ มีโทษหนักเป็นชั้น มี ๓ ประเภทคือ
๑.โดยวัตถุ ข้อความที่นำมาพูดนั้น เป็นเรื่องที่ประทุษร้ายผู้อื่น เช่น พูดส่อเสียดหรือพูดเสียดแง มีโทษมาก อนึ่ง ถ้ากล่าวแก่ผู้มีคุณ มีโทษหนัก
๒.โดยเจตนา ถ้าผู้พูดมุ่งเพื่อให้ร้ายแก่ท่าน เช่น หวังจะให้ท่านได้รับความเจ็บใจ และกล่าวเสียดแง เช่นนี้มีโทษหนัก
๓.โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำความเสียหายให้แก่ท่านจนสำเร็จ เช่น ยุยงส่งเสริมให้ท่านแตกแยกกัน มีโทษหนัก แต่ถ้ายุงแล้ว ท่านไม่แตกแยกกันถึงอย่างนั้นก็คงไม่พ้นโทษไปได้
สุภาพชนทั่วไป ไม่ควรพูดคำอนุโลมมุสาเลย แม้จะกล่าวตักเตือนลูกหลานไม่ควรใช้      คำด่า พึงกล่าววาจาอันสุภาพ ชี้ความผิดให้สำนึกรู้สึกตัว และห้ามประพฤติกรรมเช่นนั้นเสีย แท้จริงคำด่านั้น เป็นเพียงสิ่งที่แสดงถึงความไม่พอใจของผู้ใหญ่เท่านั้นถ้าเด็กไม่ดี ถึงจะด่าแช่งเขาอย่างไร เขาก็คงประพฤติตัวเช่นนั้นอีก ถ้าเด็กดี เมื่อผู้ใหญ่ตักเตือนแล้ว ก็ย่อมประพฤติตามโดยไม่จำเป็นที่จะให้กล่าวบ่อยๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำด่า ใช้พียงวาจาห้ามปราม ชี้ให้เห็นโทษและความผิดเท่านั้น ข้อดีงามเช่นนี้ จะได้สืบทอดถึงลูกลานในวงศ์ตระกูล บุตรหลานที่เกิดในภายหลังและจะเติบโตไปภายหลัง จะได้เป็นคนมีอัธยาศัยสุภาพ เชิดชูวงศ์ตระกูลสืบไป
 
๓. ปฏิสสวะ
ข้อพึงกำหนดรู้ด้วยลักษณะอย่างนี้ คือ เดิมคำท่านด้วยเจตนาบริสุทธิ์คิดจะทำตามรับนั้นจริง แต่ภายหลังได้ทำตามนั้นไม่ แยกออกเป็น ๓ ลักษณะคือ
๑.ผิดสัญญา ทั้งสองฝ่ายทำสัญญาแก่กันว่า จะทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังอีกฝ่ายหนึ่งได้ช่องแล้วกลับบิดพลิ้ว ไม่ทำตามที่ตกลงไว้นั้น ข่อนี้พึงเห็นตัวอย่างในการทำสัญญาว่าจ้างเป็นต้น
๒.เสียสัตย์ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่า ตนจะทำหรือไม่ทำอย่างนั้น ภายหลังบิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น ข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างในข้าราชการผู้ถวายสัตว์ปฏิญาณว่าจะรรับราชการอันเป็นหน้าที่ของตนเช่นนั้นๆ แล้วกลับฝ่าฝืน ต่อมาทำทัณฑ์บนไว้ว่าจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก ภายหลังขืนประพฤติเข้าอีก เป็นต้น
๓.คืนคำ รับคำท่านว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้นภายหลังหาทำตาม    นั้นไม่ ข้อนี้พึงเห็นเป็นตัวอย่างในบุคคลผู้รับคำท่านว่า จะให้สิ่งของนั้นๆแก่ท่านแล้วไม่ให้
 
โทษแห่งปฏิสสวะ
ปฏิสสวะนี้ มีโทษควรเว้นทั้งฝ่ายพุทธจักรและฝ่ายราชอาณาจักร ฐานไม่ตั้งอยู่ในความสัตย์ เป็นเหตุให้บุคคลผู้ประพฤติเสื่อมเสียชื่อเสียง ผู้รักความสัตย์ไม่ควรประพฤติ แต่ปฎิญาณอันใดประกอบด้วยโทษ รับว่าจะไปปล้นด้วยกันปฏิญาณอันนั้นทำด้วยขาดสติ รู้จักแล้วควรงดเสีย แม้จะไม่พ้นจากปฏิสววะ ก็ยังดักว่าทำลงไป อีกอย่างหนึ่งให้ปฏิญาณอันไม่มีโทษ ภายหลังไม่อาจทำได้ เช่น นัดเขาไว้ว่าจะไปพบ ณ ที่นั้น   ในเวลานั้นป่วยเสียก่อน ไม่อาจไปได้ และได้บอกเขาให้รู้อย่างเรียกว่า ถอนคำ ไม่นับเข้าไปในปฏิสสวะ
 
มุสาวาทที่ไม่มีโทษ
หมายถึง คำที่เรียกว่า ยถาสัญญา พูดตามเข้าใจ พึงกำหนดรู้ด้วยลักษณะอย่างนี้ คือ เรื่องไม่จริงแต่ผู้พูดมีเจตนาบริสุทธิ์ และพูดตามความเข้าใจว่าจริง ไม่เป็นมุสา แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑.โวหาร ถ้อยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เช่น วิธีเขียนจดหมายแสดงความอ่อนน้อม แสดงความเสียใจ หรือแสดงความยินดีและแสดงความชอบใจอันไม่มีมูลเป็นได้พียงนั้น เป็นแต่พูดตามเหตุที่น่าสลดหรือน่าบันเทิงหรือสำหรับเสนะหูเท่านั้น
๒.นวนิยาย เรื่องที่เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ใจความเป็นสุภาษิต มีการกล่าวความว่า สัตว์พูดกับคนหรือกับสัตว์ชนิดอื่นๆ เป็นต้น เรื่องเช่นนั้นมองเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นความจริง แต่ผู้แต่งผู้เล่า ไม่ประสงค์จะปอด เพียงมุ่งหมายจะให้เข้าใจความของสุภาษิตสำหรับคนบางพวก แม้เรื่องที่จินตกวีประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความเสนะ ไม่ได้จงใจจะให้เข้าใจว่าเป็นจริง ก็จัดเข้าในที่นี้ด้วย
๓.สำคัญผิด กิริยาอาการที่พูดเพราะความเข้าใจผิด และพูดไปตามความเข้าใจนั้น เช่น พฤหัสบดี เข้าใจว่าเป็นวันศุกร์ จึงบอกเขาว่าวันศุกร์ เช่นนี้ ทั้งเรื่องก็เท็จและฟังจะเชื่อก็ได้ แต่ผู้พูดไม่ม่ความจงใจจะมุสาไม่มีโทษแก่ผู้บอก แต่เมื่อรู้ว่าผิด ถ้าไม่บอกจะเสียประโยชน์แก่เขาควรบอกเขาใหม่โดยถอนคำเดิมเสีย
๔.พลั่ง กิริยาที่ผู้พูดตั้งใจว่าจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากพูดไพล่ไปอีกย่างหนึ่ง พึงเห็นตัวอย่างในการบอกวันข้างต้น ต่างแต่ผู้ตั้งใจจะบอกตรงตามจริง และไม่มีเสียประโยชน์ฟัง ด้วยเขาคงจะให้รับคำบอกใหม่ในทันที
ลักษณะการพูดทั้ง ๔ ข้อแ ตามที่ว่ามานี้ ไม่มีโทษแก่ผู้พูด เพราะไม่มีเจตนา 
 
สิกขาบทที่ ๕
 
สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี
แปลว่า เว้นจาการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
น้ำเมาที่เป็นแต่เพียงของดอง เช่น น้ำตาลเมาต่างๆ ชื่อว่าเมรัย เมรัยนั้นถูกกลั่นเพื่อให้มีรสชาติเข้มข้นขึ้น เช่น เหล้าต่างๆ ชื่อว่า สุรา สุราเมรัยนี้เป็นทำให้ผู้ดื่มเมาแล้วครองสติไม่อยู่        อารมร์แปรปรวนขาดความเป็นตัวของตัวเองไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองไว้ได้ ปรกติเป็นคนดี ก็กลายเป็นคนชั่วไปได้ แม้กิริยาใดที่ไม่เหมาะ ในเวลาปรกติเขาทำไม่ได้ กิริยานั้นในเวลาที่เขาเมาแล้วเขาทำได้ทุกอย่างดังนั้น น้ำเมาคอสุราและเมรัย ได้ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เหตุบัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ละเมิดข้อห้าม ๔ สิกขาบทข้างต้น เพราะผู้ดื่มน้ำเมา เมาแล้วย่อมเป็นผู้เสียสติ สามารถทำสิ่งที่ไม่เคยทำ พูดสิ่งที่ไม่เคยพูดได้ ดังนั้น ผู้หวังยึดมั่นในทางที่ดี จำต้องมีสติสัมปชัญญะครองตนอยู่เสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอนให้คนตั้งอยู่ในศีล   ๔ ประเภทเบื้องต้น คือ ให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ให้เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งโจร ให้เว้นจากความประพฤติผิดในกาม และให้เว้นจากาการพูดเท็จจึงต้องบัญญัติสิกขาบท นี้ขึ้นเป็นข้อที่ ๕ คือให้เว้นจาการดื่มน้ำเมา เพื่อป้องกันมิให้ละเมิดข้อห้ามข้างต้นเพราะเหตุที่เสียสติ
 
โทษของการดื่มน้ำเมา
ในพระบาลีท่านแสดงโทษแห่งการดื่มน้ำเมาไว้ ๖ สถาน คือ
๑.เป็นเหตุเสียทรัพย์
๒.เป็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เป็นเหตุเกิดโรค
๔.เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
๕.เป็นเหตุประพฤติมารยาที่น่าอดสู
๖.ทอนกำลังปัญญา
 
๑.เป็นเหตุเสียทรัพย์ ทรัพย์มีประโยชน์เป็นเครื่องใช้จ่ายเลี้ยงชีพและบำรุงตนให้เป็นสุข การใช้จ่ายนั้น ควรรู้จักประมาณ คือ ฟุ่มเฟือยเกินกว่าทรัพย์ที่หามาได้ควรแบ่งไว้เพื่อความจำเป็นวันข้างหน้าของที่จะพึงใช้จ่าย ได้แก่
๑.๑   ของจำเป็นซึ่งจะขาดไม่ได้ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่และยารักษาโรคเป็นต้น
๑.๒ ของฟุ่มเฟือย คือ ขิงไม่จำเป็นควรงดเสีย เช่น เหล้า  บุหรี่ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ดื่มสุราเป็นประจำจะทำให้ติดและละทิ้งได้ยากจำเป็นต้องจ่ายทรัพย์เพื่อซื้อสุราเป็นนิตย์อีกอย่างหนึ่ง ชนชั้นกรรมาชีพ ต้องใช้แรงงานจึงได้ทรัพย์มาเพื่อเสพสุราจนเมาเกะกะระราน สร้างความรำคาญให้เกิดแก่ผู้อื่น เสียมารยาทอันเรียบร้อย มีสติฟั่นเฟือน เสียการเสียงาน      ในที่สุดก็กลายเป็นคนหย่อนสมรรถภาพตกงาน ทำให้ขาดหนทางที่จะหาทรัพย์ได้ แม้ไม่ถึงขั้นนั้น เพื่อเสพสุราจนเมา มีสติฟั่นเฟือนก็ควบคุมการงานผิดพลาด จนเกิดความเสียหาย ไม่เป็นทางเกิดทรัพย์กลับจะทำให้หน่วยงานนั้นๆขาดทุน เสียคุณประโยชน์ไป
๒.   เป็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท ในเวลาปรกติคนเราทุกคนรักความสงบไม่ชอบก่อการทะเลาะวิบาทกับใคร หากจะมีผู้หนึ่งผู้ใดมาก่อเหตุ ชวนวิวาทขึ้นก่อนพออดทนได้ ก็จะอดทนไม่โต้ตอบ เว้นแต่บันดาลโทสะขึ้นมาถึงขั้นรุนแรงอดกลั้นไว้ไม่อยู่ น้ำเมาย่อมเป็นเหตุบันดาลให้เกิดโทสะได้ง่าย ได้ยินใครพูดอะไรไม่พอที่จะทำให้โกรธก็เกิดโทสะขึ้นมาก่อเหตุทะเลาะวิวาทกับเขาง่ายๆบางคราวหาสาเหตุมิได้ถึงกับทำร้ายเขาก่อนก็มีทั้งนี้ก็เป็นเพราะเสียสติ อยู่ดีๆ ก็ทำคนทั้งหลายให้กลายเป็นศัตรูของตน
๓.   เป็นเหตุเกิดโรค คนติดสุรามักจะเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคตับ เมื่อยขบ ส้นตรงแน่นเสียด   รับประทานอาหารไม่ได้   มักจะอาเจียน อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรงนอนไม่หลับเป็นต้น
 
 
บรรดาสิ่งที่ซึมเข้าเส้นโลหิตมากก็ตามน้อยก็ตาม มักจะทำให้เสียความสำราญหรือทำลายความสุขในชีวิตเป็นที่สุด ได้ชื่อว่ายาพิษน้ำเมาก็เป็นยาพิษเช่นเดียวกันจึงทำความม่ผาสุกให้เกิดแก่ผู้เสพ มากบ้างน้อยบ้าง ตามฤทธิ์ของมัน
๔. เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ชื่อเสียงที่ดีจัดว่าเป็นศักดิ์ศรีของคนทำให้เป็นที่นิยมนับถือของประชุมชน เป็นเหตุส่งเสริมการประกอบอาชีพของเขาให้เป็นไปโดยสะดวกชื่อเสียงที่ดีนั้นกว่าจะอบรมขึ้นมาได้ ก็ต้องประพฤติความดีมาช้านานจนคนทั้งหลายเห็นว่า ความประพฤติเช่นนั้นเป็นปกติมารยาทของเขาไม่ใช่แสแสร้งทำความดีไประยะหนึ่ง เขาจะสรรเสริญก็หาไม่ และชื่อเสียงที่ดีเมื่อมีแล้วจะเสียหายนั้นง่ายนัก เช่น คนผู้เคยทำความดีมีผู้นิยมนับถือ ไม่รักษาชื่อเสียงและเกิดประพฤติไม่ดีเข้ามีผู้รู้เห็นแม้เพียงครั้งเดียว ก็จะได้รับการนินทา ทำให้เสียชื่อเสียง คนทั้งหลายก็สิ้นความนับถือดังคำว่า ความดีทำยาก ความชั่วทำง่าย
คนที่เมาสุราจะไม่มีสติคอยยับยั้งระวังความประพฤติของตัว จนเกิดมีความประพฤติเสียหายในที่สุด
๕.   เป็นเหตุประพฤติมารยาทน่าอดสู ตามปรกติใจของคนเรา ย่อมมีสติเป็นผู้ควบคุมจึงรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นถูกหรือผิด ควรหารือไม่ประคับประคองความประพฤติให้ดำเนินไปในแนวทางที่ถูกต้อง ผู้เสพสุราจนเมาแล้วย่อมทำให้สติฟั่นเฟือน กำลังสติหย่อนสมรรถภาพใช้การไม่ได้ดีเท่าที่ควรไม่สามารถควบคุมประพฤติของตัวเองได้ จึงทำให้แสดงมารยาทที่น่าอดสูออกมาในลักษณะต่างๆ ที่คนปรกติจะไม่ประพฤติกัน
๖.   ทอนกำลังปัญญา เชาว์คือความนึกคิดที่แล่นไป บางคนก็ว่องไวบางคนก็เนือยคือเชื่องช้า ทั้งนี้เป็นสิ่งที่เป็นเองกำเนิด แต่ถึงอย่างไรก็ยังอุบายวิธีที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ โดยหมั่นใช้ความคิดหาเหตุผลในสิ่งต่างๆจนเกิดความแตกฉานจะทำให้เชาว์ของผู้นั้นดีขึ้น ถ้าไม่หมั่นตริตรองในสิ่งต่างๆ เชาว์ก็เนือยลงยิ่งไปกว่านั้น ถ้ามีสิ่งอะไรมาทำมันสมองให้พิการ ก็ยิ่งทำให้เชาว์เนือยได้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะคนเสพสุรา เมื่อมันสมองถูกฤทธิ์ของสุราครอบครองจนมึนเมาแล้ว พอโลหิตอ่อนลง เชาว์ก็อ่อนลงไปตามกัน เขาจึงมีความคิดฟั่นเฟือนไปจากเดิม ถ้าจะถามว่าเป็นเพราะอะไร คงได้คำตอบว่าเพราะสุราเป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
 
ของที่ไม่ได้ห้ามไว้แต่อนุโลมเข้ากันได้
เมื่อเพ่งถึงความสำรวจจากของมึนเมา อันเป็นเหตุเสียความผาสุกแห่งร่างกายและสูญเสียความดีเป็นใหญ่แล้ว ฝิ่น กัญชา ยาม้า เฮโรอีน และของมึนเมาอย่างอื่นอีกก็อนุโลมเข้ากับของที่ห้ามในสิกขาบทนี้ เพราะคล้อยตามมหาปเทส ที่พระบรมศาสดาทรงตั้งไว้ ๔ อย่างคือ
๑.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร (กัปปิยะ)สิ่งนั้นไม่ควร
๒.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดต่อสิ่งที่ไม่ควรสิ่งนั้นควร
๓.สิ่งใดไม่ได้อนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดแต่สิ่งที่ควรสิ่งนั้นไม่ควร
๔.สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดต่อสิ่งที่ไม่ควรสิ่งนั้น
ดังนั้นฝิ่น กัญชา ยาม้า เฮโรอีน และสิ่งทีผลิตขึ้นมา เพื่อใช้แทนสิ่งเหล่านี้แม้ไม่ได้ระบุห้ามไว้ในสิกขาบทนี้ แต่เป็นสิ่งที่ทำให้มึนเมาทำลายระบบประสาทและสติไม่สามารถความคุมความประพฤติตัวเองได้เหมือนกันนี้ จึงอนุโลมเข้ากับมหาปเทส ๔ได้ สิ่งเหล่านี้จัดเข้าในประเภทสิ่งที่ไม่ควร
โทษของการฝิ่น กัญชา ยาม้า เฮโรอีน และสิ่งที่ผลิตขึ้นเพื่อเสพให้มึนเมาทุกชนิด
 
 
 
 
 
 
ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด มีโทษตามฤทธิ์ของขนาดปริมาณ ประเภทของแต่ละชนิดและตามพื้นเพของเสพ พอแยกออกเป็นประเภทได้ ๔ คือ 
๑. เป็นเหตุเสียความสำราญแห่งร่างกาย
๒.เป็นเหตุเสียทรัพย์
๓.เป็นเหตุเสียความดี
๔.เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
 
๑.   เป็นเหตุเสียความสำราญแห่งร่างกาย ยาเสพติดให้โทษบางชนิดเมื่อเสพแรกๆ ดูเหมือนจะให้คุณ เพราะทำให้เส้นประสาทมึนระงับความเจ็บปวดได้ ทำใจที่ทุกข์ร้อนหรือพลุกพล่านให้สงบ นอนหลับสบาย แต่ถ้าเสพมากเข้าจะทำให้ซึม เผลอสติไม่รู้สึกตัว ทำลายระบบการย่อยอาหารให้พิการ เบื่ออาหาร โลหิตจาง อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ทำลายระบบประสาท ทอนกำลังปัญญา
๒.   เป็นเหตุเสียทรัพย์ ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เป็นสิ่งที่ต้องซื้อมาเมื่อเสพจนติดแล้วก็ต้องซื้อตลอดไป เพราะความต้องการเรียกร้อง ทำให้เกิดความโหยหิว ชนิดที่ไม่รู้จักอิ่ม จำเป็นต้องจ่ายทรัพย์มากขึ้น ต้องผลาญทรัพย์ที่หามาได้ด้วยหยาดเหงื่อแรงกายไปในทางที่เปล่าประโยชน์
๓.   เป็นเหตุเสียความดี การลองเสพยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เป็นหนทางสูญเสียทรัพย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะมีทรัพย์มากมายก็ต้องหมดสิ้น เมื่อไม่มีทรัพย์สินเงินทองเหลืออยู่ ก็ต้องนำข้าวของเครื่องใช้ไปจำนองจำนำ แลกเอาเงินมาซื้อยาเสพติดในที่สุดก็ต้องหันเข้าปในทางมิจฉาชีพอย่างไม่มีทางเลือก ต้องทำโจรกรรมปล้นฆ่าชิงทรัพย์ และกลายเป็นอาชญากรของแผ่นดิน เป็น     จุดจบของความดีทุกอย่าง
๔.   เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ผู้ที่หลงเสพยาเสพติดให้โทษจนติดไม่สามารถถอนตัวได้แล้ว แม้จะมีทรัพย์มากมาย พอจ่ายหาซื้อมาปรนเปรอความต้องการได้ก็ตามแต่สังคมส่วนใหญ่             ไม่ยอมรับ กลับดูหมิ่นเหยียดหยามว่า เป็นคนที่สังคมไม่ต้องการเพราะสักวันหนึ่งทรัพย์สินจะต้องหมดสิ้นไป และจะกลายเป็นคนเลวเมื่อตนหาทรัพย์ไม่ได้แล้ว
คนทีเสพยาเสพติดให้โทษ จนไม่สามารถถอนตัวได้นั้น จะมีอาการมึนซึมเส้นประสาทเสีย ตาลายเห็นอะไรผิดไปจากความจริงเช่น เห็นเชือกเป็นงู หูเชือนตื่นตกใจง่าย ฟังอะไรคลาดเคลื่อนไปจากความจริง เช่น ได้ยินเสียงเพลง เป็นเสียงปืน นึกจะทำอะไรก็ทำไม่ได้ ความคิดฟั่นเฟือน มักหวาดระแวงต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับคนบ้า
ดังนั้นผู้หวังดีและความเจริญแก่ตัว ต้องงดเว้นให้ขาดจากยาเสพติดให้โทษ สิ่งที่ทำให้มึนเมาและของที่อนุโลมเข้ากับสิ่งเหล่านี้ทุกชนิด เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเลย
ศีล ๕ ประการที่กล่าวมา ถือเป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ต้องรักษาให้ได้ ยิ่งบ้างหย่อนบ้างตามภูมิความสามารถของตน
 
หมวดที่   ๓
 
 
วิรัติ
 
 
แปลว่า เจตนาเครื่องงดเว้น ผู้งดเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบท ๕ ประการ นั้นได้ ชื่อว่า ผู้มีศีล หมายถึง ผู้มีกายวาจาสะอาดปราศจากโทษ กิริยาคืออาการละเว้นที่เรียกว่า วิรัตินั้นมี ๓ ประการคือ
๑. สัมปัตตวิรัติ
๒. สมาทานวิรัติ
๓. สมุจเฉทวิรัติ
 
๑.   สัมปัตตวิรัติ อาการที่งดเว้นสิ่งที่ประจวบเข้าได้ หมายถึง เจตนาที่เว้นจากความชั่ว ซึ่งไม่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ก่อนว่า ตนจะละเว้นข้อนั้นๆเป็นแต่วัตถุที่จะพึงล่วงมาถึงเข้า แต่ไม่ทำให้ละเมิดข้อห้ามนั้นๆ เช่น ได้ช่องทางสามารถฆ่าเขาได้ทำร้ายเขาได้โดยเขาไม่มีทางสู้ และไม่มีใครล่วงรู้ หรือทรัพย์ของคนอื่นสามารถลักไปโดยไม่มีใครจับได้ ลูกเขาเมียเขาให้ท่า อาจผูกสมัครรักใคร่ ไม่ให้พ่อแม่และสามีของเขารู้ ได้โอกาสแล้ว อาจกล่าวกลับจริงเป็นเท็จไม่ให้เขาจับผิดได้ และมีทรัพย์จะซื้อสุรายาเสพติดได้ไม่ถึงกับต้องสิ้นเนื้อประดาตัวหรือเสียคนแต่มาพิจารณาเห็นพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่สมควรแก่ชาติตระกูล ยศศักดิ์ บริวาร หรือความรู้มีใจเมตตาปราณีคิดถึงอกเขาอกเรา มีความละอายบาป เกรงกลัวบาป เล็งเห็นประโยชน์ในการเว้นจากข้อห้ามอย่างอื่นอีกเช่นนี้แล้ว   จึงไม่ทำการล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ
๒.   สมาทานวิรัติ การงดเว้นด้วยการสมาทาน ของท่านผู้รักษาศีลประเภทต่างๆ เช่น ภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ชาย เรียกว่าอุบาสก คฤหัสถ์หญิง เรียกว่าอุบาสิกา หรือนักพรตอื่นๆ            คนเหล่านี้งดเว้นจาการล่วงละเมิดสิกขาบท ด้วยการสมาทานเป็นวัตร
การสมาทาน หมายถึง กิริยาที่รับข้อปฏิบัติมาถือหรือปฏิบัติตาม เช่น สมาทานศีล   คือ รับเอาศีลมาปฏิบัติ แยกกล่าวไว้ ๓ ลักษณะ คือ
๒.๑ การถือเพศเป็นผู้เข้าบวชเป็นภิกษุ    สามเณร
๒.๒ การลั่นวาจาปฏิญญาต่อหน้าผู้อื่น
๒.๓ ตั้งสัจจะไว้ในใจเฉพาะตน
 
การสมาทานวิรัตินั้น จะตั้งใจถือตลอดชีวิตก็ได้เชียงชั่วคราวก็ได้ เช่นบุคคลบวชเป็นภิกษุ สามเณร และลาสิกขาถือเพศเป็นคฤหัสถ์ตามเดิม หรือเช่นคฤหัสถ์รักษาศีลเฉพาะในวันพระ คือวันขึ้น-แรม ๘ ค่ำ หรือขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำ ของเดือน
ผู้สมาทานล่วงสิกขาบทข้อที่ตนสมาทานแล้วนั้น มิใช่มีโทษเพียงเป็นผู้ประพฤติฝืนข้อห้ามเท่านั้น ยังเป็นผู้ชื่อว่าเสียปฏิญญาหรือเสียความจริงใจของตนด้วย
๓.   สมุจเฉทวิรัติ การงดเว้นด้วยการตัดขาด เป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้าผู้มีปรกติไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามคือศีล ๕ นั้น จำเดิมแต่เวลาที่ท่านได้เป็นพระอริยบุคคลแล้ว กล่าวคือพระอริยเจ้าทั้งหลายเมื่อบรรลุภาวะเป็นอริยะแล้ว ย่อมไม่ล่วงละเมิดบทบัญญัติใดๆ เลย โดยที่การไม่ล่วงละเมิดของท่านนั้น ไม่ได้เกิดเพราะสัมปัตตวิรัติ คือความงดเว้นได้ซึ่งสิ่งที่ประจวบเข้าและตนไม่ได้ตั้งปฏิญญาไว้ ไม่ได้เกิดเพราะสมาทานวิรัติ คือความงดเว้นด้วยอำนาจการสมาทานแต่เกิดเพราะสุราสมุจเฉทวิรัติ คือ การงดได้โดยเด็ดขาดด้วยภาวะของท่านเอง
ศีล ๕ ประการนี้ ได้ชื่อว่าเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ สามารถน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติได้ดุจเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงแล้ว ย่อมจะปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วยิ่งบ้าง หย่อนบ้าง ตามแต่ภูมิความสามารถของตน ส่วนผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเสียเลยไม่ชื่อว่าเป็นผู้ถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เขาจะเป็นได้อย่างที่สุด ก็แต่เพียงผู้สรรเสริญพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง
หมวดที่ ๔
 
เบญจกัลยาณธรรม
แปลว่า ธรรมอันงาน ๕ ประการ คำว่า ธรรม หมายถึง สภาพที่ทรงหรือดำรงรักษาไว้ ในที่นี้หมายถึงส่วนที่ดีมี ๕ ประการคู่กับศีล ๕ เรียกว่า กัลยาณธรรม จึงมีความหมายว่า ธรรมอันงามเป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้งดงาม สร้างอัธยาศัยนิสัยที่ดีและปราณีต ศีลเป็นเหตุให้งดเว้นไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ ถ้ามีเพียงศีล ก็มีเพียงการงดเว้นจากโทษ แต่ยังไม่ได้ทำความดีอะไรให้กับตัวเลย ต่อเมื่อมีธรรมอยู่ด้วย จึงจะเป็นเหตุให้ทำความดี เช่น รักษาศีลไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เกิดไปพบคนนอนหลับอยู่บนทางรถไฟ มีรถไฟแล่นมาแต่ไกล ควรจะปลุกหรือบอกเขาได้ แต่ไม่ปลุก จนเขาถูกรถไฟทับตาย อย่างมีศีลไม่ขาด เพราะไม่ได้ฆ่าเขา แต่ขาดธรรมคือเมตตา ต่อเมื่อปลุกให้เขารีบหลีกออกจากทางรถไฟด้วยเมตตาจิต จึงได้ชื่อว่ามีธรรม กัลยาณธรรมมี ๕ ประการ
๑.เมตตากรุณา                             คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๑
๒.สมัมาอาชีวะ                      คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๒
๓.ความสำรวมในกาม           คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๓
๔.ความมีสัจจะ                       คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๔
๕.ความมีสติรอบคอบ   คู่กับศีลสิกขาบทที่ ๕
เบญจกัลยาณธรรมนี้ ไม่ต้องสมาทานอย่างศีล พียงแต่ปฏิบัติอบรมปลูกฝังให้มีขึ้นประจำจิตใจด้วยตนเองก็พอ พูดให้เข้าใจง่าย ได้แก่ ข้อปฏิบัติพิเศษที่ยิ่งขั้นไปกว่าศีลนั้นเอง 
 
กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๑
เมตตา ความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข คนที่มีจิตใจประกอบด้วยเมตตาคิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นมีความสุขนั้น ถึงจะประพฤติผิดพลาดต่อกันบ้าง ก็ให้อภัยกันโดยไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน เหมือนมารดา บิดา ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา ไม่ถือโทษโกรธเคือง หรือพยาบาทในบุตร แต่ถ้าขาดเมตตาต่อกันแล้ว ก็ตรงกันข้าม
เมตตา เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนควรให้แก่กันและกัน ตนเกิดมาแต่แรกต้องอาศัยเมตตาของผู้อื่น จึงมีชีวิตยืนยาวมาได้ ชั้นแรกมารดา บิดาบำรุงเลี้ยงดูและฝึกปรือเรามาก่อน หรือตนกำพร้าขาดมารดาบิดา ก็ยังได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้มีเมตตา ตั้งอยู่ในฐานะเป็นมารดาบิดาเช่นนั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้นพอเติบโตไปอยู่ในสำนักครูอาจารย์ ท่านคอยดูแลเอาใจใส่         สั่งสอนให้รู้วิชา ฝึกหัดอัธยาศัยและกิริยามารยาทให้เรียบร้อย สอนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ สิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ต่อมาถึงวัยที่ต้องประกอบกิจการงาน ก็ยังได้รับเมตตาจิตจาก    ผู้บังคับบัญชาและมิตรสหาย เพื่อนร่วมงานที่ตนมีธุระเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ถ้าไม่ได้รับเมตตาจากท่านผู้อื่นมาโดยตลอด ไหนเลยจะสามารถตั้งตอยู่ได้ เมื่อตนเป็นผู้ใหญ่ขึ้นถึงเวลาที่ต้องแสดงเมตตาแก่ผู้อื่นบ้าง ก็ควรทำ โลกมนุษย์เป็นอยู่ได้ เพราะทุกคนปฏิบัติต่อกันอย่างนี้
กรุณา ความปรารถนาดี มีความคิดให้ผู้อื่น สัตว์อื่นปราศจากทุกข์ เมื่อเห็นผู้อื่นได้รับความทกข์ ก็พลอยหวั่นไหวสงสาร เป็นเหตุให้คิดช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยของกันและกันตรงกันข้ามกับ วิหิงสา ความเบียดเบียน สิ่งที่เป็นเครื่องช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่คนทั้งหลาย เช่น         โรงพยาบาลเป็นต้น ล้วนประกาศกรุณาของท่านผู้สร้างทั้งสิ้น
ชีวิตของคนเราทุกคนดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัยความเตตากรุณาของผู้อื่นมาตั้งแต่เบื้องต้น เริ่มแต่มารดาบิดา ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ รัฐบาลและญาติมิตรสหายเป็นต้น ไม่เช่นนั้นถึงไม่ถูกใครฆ่าก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย เช่นถ้ามารดาบิดาทั้งทารกไว้โดยไม่เลี้ยงดู ไม่ต้องทำอะไร เพียงเท่านี้ทารกก็สิ้นชีวิตไปเองเมื่อทุกคนมีชีวิตเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ด้วยความเตตากรุณาของท่านก็ควรปลูกฝังเมตตากรุณาในชีวิตอื่นสืบต่อไป
 
 
วิธีปลูกฝังเมตตาและกรุณา คิดตั้งใจปรารถนาให้เขาเป็นสุข จัดเป็นเมตตาปรารถนาให้เขาปราศจากทุกข์ จัดเป็นกรุณา ในชั้นแรกท่านให้คิดปลูกฝังเมตตากรุณาในตนเองก่อนแล้วให้คิดเผื่อแผ่ปในคนที่รักนับถือ ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดสนิทกัน อันจะหัดให้เกิดเมตตากรุณาได้ง่ายต่อจากนั้นก็ให้คิดเผื่อแผ่ไปถึงคนที่ห่างออกไปตามลำดับจนถึงคนที่ไม่ชอบกัน เมื่อฝึกหัดคิดโดยเจาะจงได้สะดวก ก็หัดคิดแผ่ออกไปด้วยเมตตาในสรรพสัตว์ไม่มีประมาณเมื่อทำได้เช่นนี้บ่อยๆเมตตกรุณาก็จะเกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนหว่านพืชลงไป หมั่นปฏิบัติดูแลรักษาตามวิธีเพาะปลูก เช่น รดน้ำพรวนดิน เป็นต้นเป็นประจำ พืชก็จะงอกงามขึ้นฉะนั้น ดังนั้น ควรเมปลูกฝังเมตตากรุณาในมารดาบิดาญาติพี่น้องตลอดถึงคนที่ใม่ชอบพอกันเป็นต้น เมื่อพืชคือเมตตากรุณา งอกงามขึ้นแล้ว ตัวเรานี้แหละจะเป็นสุขก่อนใครหมด
ความมีเมตตากรุณาแก่กันและกัน เป็นธรรมอันงามก็จริงอยู่ แต่จะแสดงออกมาต้องเป็นคนฉลาดและรู้วิธีที่จะแสดงออกจึงจะไม่มีโทษและเป็นประโบชย์ด้วยเหมือนกันการเดินทางไกลโดยทางเรือพบคนตกน้ำ ตัวเองว่ายน้ำไม่เป็นหรือเป็นคนแต่ไม่แข็งแรงพอที่จะช่วยผู้อื่นในน้ำได้ถ้ากระโดดลงไป ก็คงช่วยเขาไม่ได้หรือบางที่จะเอาตัวเองไม่รอด หรือเรือเล็กไม่พอจะรับผู้โดยสารขึ้นได้อีกคนหนึ่ง ถ้ารับขึ้นเรือ เรือก็ล่มจะเป็นอันตรายแก่ตนและคนอื่นในลำเรือ อย่างนี้พึงเข้าใจว่า ความสามารถไม่พอจะแสดงเมตตาในลักษณะนี้ต้องรู้จักผ่อนผันช่วยเขา ด้วยการเกาะเรือหรือไม้ช่วยนำให้ถึงฝั่ง หรือขนวนขวายร้องเรียกให้ผู้อื่นช่วย อีกประการหนึ่ง ถ้าจะแสดงเมตตากรุณาแก่ผู้หนึ่ง แต่ทำลายประโยชน์ของคนทั้งหลาย เช่น เห็นเขาจับผู้ร้ายมา คิดจะช่วยให้ผู้ร้ายรอดพ้นจากอาญาแผ่นดินเข้าแย่งชิงให้หลุดรอดไปอย่างนี้ ถึงทำร้ายให้ปลอดภัยไปได้ชั่วคราว แต่ก็ได้ชื่อว่า ทำผู้ร้ายนั้นให้รอดพ้นกลับไปเบียดเบียนคนทั้งหลายอีก และกิริยาที่เข้าแย่งชิงผู้ร้ายจากเจ้าหน้าที่นั้น ก็เป็นการหมิ่นอาญาแผ่นดิน มีโทษตามกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง อย่างนี้ควรเข้าใจว่า เป็นกิจไม่สมควร
การแสดงเมตตากรุณานี้ ถ้าบุคคลประกอบให้ถูกที่แล้วย่อมอำนวยผลดีให้เกิดแก่ผู้ประกอบและผู้ได้รับ ทำความประพฤติปฏิบัติของผู้มีศีลให้งามขึ้น เหมือนเรือนแหวน ประดับหัวแหวนให้งามขึ้นฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เมตตากรุณา จึงได้ชื่อว่ากัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๑
 
กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๒
สัมมาอาชชีวะ การเลี้ยวชีพในทางที่ชอบ คุณธรรมข้อนี้อุดหนุนผู้มีศีลให้สามารถรักษาศีลได้มั่นคง คนมีศีลแต่ยากจนขัดสน และเป็นโจรเป็นขโมยก็เพราะขาดสัมมาอาชีวะ ถ้ามีสัมมาอาชีวะจะไม่ยากจน จะไม่เป็นขโมย อาชีพเป็นภาระหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับทุกคน เพราะทุกคนต้องกินต้องใช้เครื่องบริโภคที่จำเป็นได้แก่ ปัจจัย (เครื่อง อาศัย) ๔ คือ ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย        ยารักษาโรค และบางแห่งแยกเรียกของกินคืออาหารว่า เครื่องบริโภค เรียกของใช้นอกนี้ว่า เครื่องอุปโภค กิจการที่ทำให้มีของกินของใช้เดิมทีเคย เรียกว่า โภคกิจ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรียกว่า เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของปากท้อง หรือเป็นเรื่องที่ทำชีวิตให้ดำเนินไปได้ พระพุทธองค์ตรัสสอนให้ทุกคนทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีพ เพื่อให้ได้ทรัพย์ในทางที่ชอบให้พอเพียงเมื่อหาเลี้ยงชีพเองยังไม่ได้ เช่น ยังเป็นเด็กกำลังอยู่ในวัยเรียน ต้องอาศัยมารดาบิดา หรือผู้อื่นที่มีเมตตากรุณาช่วยเลี้ยงดู ก็ควรประพฤติอนุโลมสัมมาอาชีวะด้วย เช่น ช่วยมารดาบิดาหรือผู้ที่ตนอาศัยอยู่ทำงานที่พอเหมาะแก่กำลังและเวลาของตน ไม่ใช้ทรัพย์ที่ท่านให้ในทางทีผิด เช่น ไปเล่น การพนัน ใช้แต่ในทางที่เป็นประโยชน์ ให้รู้จักค่าของทรัพย์ ให้รู้ว่าท่านได้มา ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องรู้จักประหยัดอดออม
 
และทางประกอบอาชีพที่ชอบนั้น แม้เว้นมิจฉาชีพแล้ว ก็ต้องประกอบด้วยกิริยาที่ประพฤติธรรมในการหาเลี้ยงชีพอีก ซึ่งมี ๓ อย่างคือ
๑. ประพฤติเป็นธรรมในหน้าที่การงาน ได้แก่ การทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ทำโดยสุจริต ไม่บิดพลิ้วหลีกเลี่ยงงานที่ทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๒. ประพฤติเป็นธรรมในบุคคล คือ เป็นซื่อตรงไม่หลอกลวงเขาเช่น ผู้ขายของ เราตั้งราคาสินค้าไว้แล้วผู้ซื้อจะเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์หรือสามัญชนก็ตามตนก็ขายตามราคาที่ตั้งไว้นั่นเอง ไม่เห็นแก่ได้ เช่น พอเห็นเป็นคนแปลกหน้ามา ก็ไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาแก่เขา เช่นนี้ ชื่อว่า ประพฤติเป็นธรรมในบุคคล
๓. ประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ ได้แก่  เมื่อรู้ว่าเป็นของไม่จริง ก็ไม่หลอกลวงเขาว่าเป็นของจริง ต้องพูดตามที่เป็นจริง เช่น ผู้ขายของเมื่อสิ่งใดเป็นของปลอมก็บอกเขาว่าปลอม สิ่งใดเป็นของจริง ก็บอกว่าจริง ไม่เอาของปลอมมาลวงเขาเป็นของจริง เช่นนี้ ชื่อว่า ประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ
ผู้ที่จะเลือกหาการงานควรเว้นการงานที่มีโทษเสีย แม้จะทำให้ได้ทรัพย์มากก็ตามทรัพย์ที่เกิดจากการทำงานที่มีโทษ ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ได้เต็มที่ ดังที่ได้กล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๒ อีกอย่างหนึ่ง การงานที่ต้องเสี่ยงโชค เช่น การพนัน ก็ไม่ควรจะเลือกเอา เพราะถ้าพลาดท่าก็มีแต่ความสูญเสีย  ถ้าได้ทรัพย์ก็ไม่ถาวรเพราะเหตุผล ๒ ประการคือ
๑.เป็นของได้มาง่าย ความเสียดายน้อย จึงจ่ายง่าย เก็บไม่ค่อยอยู่
๒.ความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ได้มาแล้วก็อยากได้อีก เคยได้ในทางใดก็คงหาในทางนั้นอีก เมื่อเล่นการพนันไม่หยุด ก็คงมีเวลาพลาดท่าลงสักวันหนึ่งก็เป็นไปได้
เหตุนั้น ควรเลือกหาการงานที่จะต้องออกกำลังกาย กำลังความคิดหรือออกทรัพย์ ที่ทำให้ผู้นั้นรู้สึกว่าต้องลงทุน เมื่อได้ทรัพย์มาจะได้รู้สึกเสียดายไม่ใช้สอยสุรุ่ยสุร่าย
คนประกอบการงานควรมีอุตสาหะ อย่าท้อถ้อย จงดูเยี่ยงแมลงผึ้งบินหาเกสรดอกไม้ นำมาทีละน้อยๆ ยังสามารถทำน้ำผึ้ง เลี้ยงตัวและลูกน้อยได้ตลอดฤดูหนาวที่กันดารดอกไม้ เมื่อเขาหมั่นทำการงาน ได้ทรัพย์มาจับจ่ายเลี้ยงตนและครอบครัวบ้าง เก็บไว้เพื่อเหตุการณ์ในวันข้างหน้าบ้าง ถึงไม่มากแต่เพียงคราวละน้อยๆก็พอจะทำตนให้มีความสุขได้ แลไม่ประกอบทุจริต เพราะความเลี้ยงชีพเข้าบีบคั้นเป็นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์
ฉะนั้นสัมมาอาชีวะเป็นคุณธรรม ช่วยอุดหนุนศีลให้บริสุทธิ์มั่นคง จึงได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณธรรมมในสิกขาบทที่ ๒
 
กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๓
 
ความสำรวจในกาม คือ การระวังควบคุมคนให้ประพฤติผิด ให้ประพฤติในทางที่ชอบ เมื่อเป็นเยาวชนก็ให้ระวังควบคุมใจและกายไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางเว้นเหตุชักจูงในทางเสื่อมเสียต่างๆ เช่น หนังสือและภาพยนตร์ลามกเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุยั่วยุ ควรปฏิบัติตามชอบธรรมประเพณีอันดีงามของไทย ตามที่ผู้ปกครองของตนได้อบรมแนะนำมาแล้ว ควรหาทางป้องกันจะดีกว่าตามแก้ปัญหา และต้องป้องกันไว้แต่ต้น เหมือนป้องกันไฟไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการดับไฟ และดับไฟกองน้อยดีกว่าดับไฟกองโต ซ้ำอาจจะดับไม่ได้ ต้องปล่อยให้โทรมไปเอง และไฟบางชนิดเป็นไฟละเอียด อย่างไฟฟ้า ซึ่งเมื่อถูกไฟฟ้าที่มีพลังสูงช็อตแล้ว อาจทำให้ หัวใจหยุดทำงานได้
ความระมัดระวัง ไม่ประพฤติเป็นคนมักมากในกาม ส่องถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสชองชายหญิงให้แระจ่างแจ่มใส ชายหญิงผู้เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว แต่ยังประพฤติมักมากในกามอยู่ ย่อมไม่มีสง่าราศี ตกอยู่ในมลทิน ไม่พ้นจากการถูกติเตียนไปได้ คุณธรรมข้อนี้ จำแนกตามเพศของบุคคลเป็น ๒ คือ
๑. สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน เป็นคุณธรรมสำหรับประดับผู้ชาย
๒.ปติวัตร ความจงรักภักดีต่อสามีของตน เป็นคุณธรรมสำหรับประดับผู้หญิง
สทารสันโดษ กล่าวถึงชายที่มีภรรยาแล้ว ต้องยินดีอยู่แต่ในภรรยาของตนเอง ไม่ผูกสมัครรักใคร่กับหญิงอื่น ช่วยกันหาเลี้ยงชีพไม่ละทิ้งกัน เลี้ยงดูกันเช่นนี้ได้ชื่อว่ายินดีเฉพาะภรรยาของตนอย่างอุกฤษฏ์(เคร่งครัด) ผู้ที่ไม่สันโดษด้วยภรรยาของตนเที่ยวซุกซนคบหากับหญิงแพศยา(โสเภณี) ถึงไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจารแต่ก็ย่อมให้โทษแก่ตน ๓ สถาน คือ
๑.ต้องเสียทรัพย์เป็นค่าบำเรอแก่หญิงนั้นทุกคราวไป
๒.ย่อมเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่างๆ ที่จะทำให้ร่างกยายขาดภูมิต้านทานไป
๓.ย่อม เป็นผู้ใกล้ต่ออันตราย เพราะหญิงแพศยา ย่อมสมัครรักใคร่อยู่กับชายหลายคนทำให้เกิดการหึงหวงกันขึ้น เป็นเหตุให้ก่อการทะเลาะวิวาท ทำอันตรายแก่กันได้
ปติวัตร   กล่าวถึงหญิงที่มีสามีแล้ว ก็ต้องเอาใจใส่ปฏิบัติสามีตามหน้าที่ที่ผู้เป็นภรรยาจะพึงทำได้ และผูกสมัครรักใคร่กับสมีของตนเท่านั้น ไม่ควรมีใจไปคิดผูกพันกับชายที่ไม่ใช่สามีตน แม้สามีเสียชีวิตแล้ว ตนเองก็มีสิทธิ์ที่จะมีสามีใหม่ได้แต่ยังมีความรักใคร่นับถือในสามีผู้ซึ่งเสียวชิวิตไปแล้ว ไม่ผูกสมัครรักใคร่ในชายอื่นด้วยปฏิพัทธ์   หญิงผู้นี้ชื่อว่า   ปติวัตร จงรักภักดีต่อสามี
หญิงบางพวกเป็นผู้มักมากในกามหรือเห็นผิดเป็นชอบ ยอมทำตัวเป็นหญิงแพศยา นับว่าเป็นที่บัดสี แก่เพื่อนฝูงและผู้ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง คล้ายกับว่าหมดหนทางประกอบอาชีพอย่างอื่นแล้ว หญิงที่ประพฤติอย่างนี้ ย่อมขาดจากสมาคมด้วยสตรี มิได้ออกหน้าออกตา แม้เข้าสมาคม ณ ที่ใดๆ ต้องปลีกตัวอยู่เอกเทศหนึ่งต่างหาก เท่ากับกว่า เป็นผู้อาภัพ ดังนั้นควรขวานขวายหาเลี้ยงชีพในทางอื่นที่สุจริตจนสุดกำลังความสามราถ ยังดีกว่าที่จะยอมตนเป็นหญิงแพศยาเช่นนั้น ความสำรวมในกามส่องความประพฤติดีงามของชายหญิงผู้มี่ศีลยิ่งขึ้นจึงได้ชื่อว่า กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๓
 
กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๔
ความมีสัตย์ คือความจริง ความตรง คนที่มีความจริง จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม        ย่อมเป็นคนซื่อตรงต่อมิตรสหาย จงรักภักดีในเจ้านายของตน มีความกตัญญูกตเวทีในท่านผู้มีพระคุณ มีความเที่ยงธรรม รู้จักรับผิดชอบชั่วดี และว่าไปตามผิดตามถูกในบุคคลในเรื่องทั่วไป กล่าวโดยลักษณะเฉพาะ ก็เป็นคนที่มีวาจาสัตย์ เป็นที่เชื่อถือได้ ความประพฤติเป็นคนตรงมีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑.ความเที่ยงธรรม   คือ ความประพฤติเป็นธรรมในกิจการอันเป็นที่หน้าที่ของตน ไม่ทำภารกิจให้ผิดพลาดด้วยอำนาจอคติ   ๔ ประการ คือ
๑.๑   ฉันทาคติ                    ความชอบพอกัน
๑.๒ โทสาคติ                    ความเกลียดชัง
๑.๓ โมหาคติ                    ความหลงไม่รู้จักจริง
๑.๔ ภยาคติ                      ความกลัว
พึงเห็นตัวอย่างในผู้พิพากษา ผู้วินิจฉัยอรรถคดี ต้องเป็นผู้มีความยุติธรรมเป็นหลัก ไม่ถืออคติ ๔ เป็นเหตุทำลายความยุติธรรม ต้องพิจารณาวินิจฉัยด้วยเหตุผลเช่นนี้ชื่อว่า ผู้มีความเที่ยงธรรม
๒.   ความซื่อตรง คือความเป็นผู้ประพฤติซื่อตรงต่อมิตร ไม่คิดร้ายต่อมิตรนั้น ควรละเว้นจากโทษ ๔ สถาน คือ
๒.๑ ปอกลอกเพื่อน
๒.๒ เจราจาปราศรัยไม่สงเคราะห์จริง
๒.๓ ประจบสอพอ
๒.๔ ชักชวนในทางเสื่อมเสีย
แล้วพึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ สถาน คือ
๒.๑ อุปการะเกื้อหนุนมิตร
๒.๒ ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย
๒.๓ คอยตักเตือนให้สติแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์
๒.๔ มีความรักใคร่กันจริง
๓.   สวามิภักดิ์ คือ ความจงรักภักดีในเจ้านายของตน เมื่อยมอยกบุคคลใดให้เป็นเจ้านายของตนแล้ว ก็ประพฤติซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีในบุคคลนั้น แม้ชีวิตก็ยอมสละแทนได้ ถึงจะทำกิจการอะไรก็ทำโดยสุจริต เพื่อประโยชน์แก่เจ้านายของตนมีความสวามิภักดิ์ในเจ้านายของตน
๔.   ความกตัญญู คือรู้อุปการะที่ท่านได้ทำแล้วแก่ตน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนให้ทราบว่า ตนรู้จักอุปการะที่ท่านได้ทำแล้วแต่ที่นี้มิได้หมายความไปเช่นนั้น หมายความเฉพาะแต่บุคคลได้รับอุปการะเช่นนั้นจากท่านผู้ใดแล้ว ก็ยอมนับถือท่านผู้นั้นตั้งไว้ในที่ผู้มีคุณ เช่น บิดามารดา ครู อาจารย์ เจ้านาย เป็นต้น ไม่แสดงอาการลบหลู่ และยกตนเทียบเสมอ นี้จัดว่าเป็นอาการ รักษาความสัตย์อย่างหนึ่ง เช่น พระสารีบุตร มีความกตัญญูต่อพระอัสสชิ ผู้รู้จักบุญคุณของท่านผู้มีคุณและเคารพนับถือท่านได้ชื่อว่าเป็นคนกตัญญู
 
ความซื่อสัตย์ ทำให้บริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า เป็นกัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๔
 
 
กัลยาณธรรมในสิกขาบทที่ ๕
ความมีสติรอบคอบ คือ ความมีสติตรวจตราไม่เลินเล่อ ตรงกันข้ามกับความประมาท สติคือความระลึกนึกคิดได้ ประกอบกับสัมปชัญญะ ความรู้ตัว สติต้องมีสัมปชัญญะ กำกับอยู่ด้วยเสมอ จึงเป็นสิตที่ถูกต้อง ความมีสติที่ถูกต้อง ความมีสติรอบคอบไม่เลินเล่อ มีลักษณะพอกำหนดรู้ได้ ๔ ประการ คือ
๑. รู้จักประมาณในอาหารที่จะพึงบริโภค อาหารโดยปรกติมีประโยชน์สำหรับบำรุงร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้าบริโภคมากเกินประมาณหรือบริโภคอาหารที่บูดเน่า ย่อมให้โทษแก่ร่างกายได้ หรือบริโภคน้อยเกินไป ไม่พอแก่ความต้องการของร่างกาย ก็ย่อมให้โทษได้เหมือนกันการบริโภคอาหารไม่เป็นเวลาก็เช่นกันล้วนแต่ให้โทษทั้งนั้น และมิใช่แต่การบริโคอาหารเท่านั้น สิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์โดยปรกติ แต่ถ้าไม่ระวังรักษาก็กลับให้โทษได้ เช่น ไฟที่ใช้ในการหุงต้มและให้แสงสว่าง ดังนั้น การที่ผู้ใช้ไม่รู้จักระวังรักษาอาจเผาพลาญบ้านเรือนและ   ทรัพย์สินให้เสียหายได้ แต่เมื่อรู้จักประมาณในการรับประทานอาหารแต่พอสมควรอาหารที่รับประทานแล้วนั้น จึงให้คุณค่าแก่ร่างกายให้มีสุขภาพพลานามัยดี หรือสิ่งอื่น ถ้ามีสติระวังรักษา      จึงจะให้คุณประโยชน์และควรรู้จักประมาณในการจับจ่ายแต่พอควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้       ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป   จึงจะเป็นทางทำให้เกิดความสุขเสมอ
๒.ความไม่เลินเล่อในการงาน คือ ไม่ทอดทิ้งธุระ อาใจใส่หมั่นตรวจสอบประกอบให้ชอบแก่กาลเทศะ ไม่ปล่อยให้การงานคั่งค้าง เช่น ทำนาทำสวนก็ให้ทันฤดูกาล ขายของก็ต้องรู้จักคราว ทำราชการก็ต้องเข้าใจวิธีดำเนินและรักษาระเบียบผู้จักกาลเทศะ ไม่เลินเล่อเช่นนี้ จึงจะประกอบการงานให้มีผลไพบูลย์ได้
๓.มีสัมปชัญญะในการประพฤติ ความรอบคอบรู้จักระวัง ชื่อว่าสัมปชัญญะ ในที่นี้ผู้ประกอบกิจใด ๆ จำเป็นต้องตริตรองให้เห็นเหตุผลเสียก่อนว่าจะมีคุณหรือโทษ มีประโยชน์หรือไม่ ควรทำหรือไม่ ควรพูดหรือไม่ เมื่อทราบว่ามีคุณประโยชน์แล้วจึงทำและพูด ผู้มีสัมปชัญญะตรวจทางได้เสียให้ดีเสียก่อนแล้วจึงทำกิจนั้นๆ เช่นนี้ ย่อมจะส่งผลให้ทำอะไรไม่ผิดพลาดในกิจที่เป็นวิสัยของตน
๔. ความไม่ประมาทในธรรม ความเป็นผู้ไม่ปราศจากสติ เรียกว่า ความไม่ประมาท      พึงเห็นคนที่เกิดมา ย่อมตกอยู่ในวิสัยของธรรมดา แรกๆ อาศัยเหตุแต่งขึ้นคุมธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมเรียกว่า ร่างกาย ที่เรียกว่ารูปธรรม เพราะอาศัยความพร้อมเพรียงแห่งธาตุทั้ง ๔ จึงมีใจรู้จักคิดตริตรองและรู้สึกกำหนดหมายต่างๆเรียกว่านามธรรม รวมรูปธรรมและนามธรรมเข้า ด้วยกัน   เรียกว่าสังขาร คือสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
ธรรมดาของสังขารทั้งปวง ย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา เบื้องต้นก็เกิดเป็นเด็ก แล้วแปรเป็นหนุ่มสาว วัยนี้เรียกว่า ปฐมวัย ตั้งแต่นั้นไป ร่างกายก็คงที่และนับแต่จะทรุดโทรมฝ่ายเดียว วัยนี้เรียกว่า มัชฌิมวัย   ต่อจากนั้นร่างกายก็ทรุดโทรมหนัก เช่น ฟันหัก ผมหงอก เนื้อหนังเหี่ยวย่นเป็นเกลียว เป็นต้น วัยนี้เรียกว่า ปัจฉิมวัย อาการที่ร่างกายแปรเปลี่ยนไปเช่นนี้ ชื่อชรา ธาตุทั้ง ๔ ที่คุมกันเข้าเป็นรูปธรรมนี้ แยกออกไปเป็นอาการเฉพาะอย่าง ต่างก็มีธุระหน้าที่ทำเพื่อสืบต่อชีวิตอินทรีย์
มนุษย์ที่เกิดมาโลกนี้ จะต้องประสบชราพยาธิมรณะด้วยกันทั้งสิ้น ชรานั้นย่อมเป็นไปตามกาลของสังขารที่แปรไป ไม่ล่วงพ้นไปได้ตาราบเท่าที่ยังเป็นอยู่ส่วนพยาธิและมรณะเป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ ย่อมมีได้ทุก ๆ วัย ไม่ว่าเด็กหรือหนุ่มสาวผู้ใหญ่หรือแก่เฒ่า ย่อมเจ็บและตายเหมือนกันทั้งหมด เมื่อทราบถึงกฎธรรมดาเช่นนี้แล้ว ไม่ควรเลินเล่อมัวเมาอยู่ในความสุขสำราญควรเตรียมตัวที่จะต้องรับทุกข์ ๓ อย่างนี้ อันจะมีมาถึง เมื่อไม่เลินเล่อมัวเมา และตรียมตัวป้องกันอย่างนี้อยู่แล้วได้ชื่อว่า ไม่ประมาทในธรรม
ทุจริต คือ ความประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมให้ผลล้วนแต่ส่วนที่ไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่ พึงใจ ใครๆ จะเลินเล่อเสียว่า ความชั่วเพียงเล็กน้อยคงไม่เป็นไร ไม่พอจะให้ผลทำตนให้เสียหายได้ หรือ สุจริตความประพฤติชอบด้วยกายวาจา ใจ ย่อมให้ผลแก่ผู้ทำ ล้วนแต่เป็นส่วนที่ปรารถนา รักใคร่ พึงใจ ใครๆจะเห็นว่าทำความดีแต่เพียงเล็กน้อย ไหนเลยจะให้ผลได้ แล้วท้อถอย ทอดธุระเสียไม่สมควร สิ่งอะไรทั้งหมดที่มีมาก ย่อมมาจากสิ่งเล็กน้อยก่อน เมื่อสิ่งเล็กน้อยนั้นรวมกันเข้า ก็กลายเป็นของมากได้ ดังนั้น สุจริตและทุจริต เมื่อทำทีละเล็กน้อยต่ำทบอ่ยๆเข้าย่อมจะมากขึ้นๆผู้ไม่ว่างธุระคอยระวังตัวไม่ให้เกลือกกลั้วด้วยทุจริตหมั่นสั่งสมสุจริตเช่นนี้ ชื่อว่า ไม่ประมาทในธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้ว ชื่อว่าท่องเที่ยวในสังสารวัฎ ย่อมเป็นธรรมดาที่จะได้พบเห็นสิ่งต่างๆ เป็นที่น่าปรารถนาบ้าง ไม่เป็นที่น่าปรารถนาบ้าง ที่เรียกว่า โลกธรรม หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ประจะโลก มี ๘ อย่างคือ ลาภ๑ ยศ๑ สรรเสริญ๑ สุข ๑ เลื่อมลาภ ๑ เลื่อมยศ ๑ นินทา ๑ ทุกข์ ๑ ถ้าจะยอให้สั้นเข้า เพื่อจำง่ายขึ้นใน ก็มีเพียง ๒ คือ ส่วนที่ปรารถนา ๑ ส่วนที่ไม่ปรารถนา๑
 
 
โลกธรรม นี้ เป็นสิ่งที่คนเกิดมาแล้ว จะต้องประสบตลอดเวลา ไม่ควรเก็บเอามาเป็นเหตุทะเยอทะยานหรือซบเซา ด้วยอำนาจความยินดีดียินร้ายให้เกินกว่าที่จะเป็นผู้ไม่เลินเล่อคอยระวังไม่ให้โลกธรรมครอบงำ จนถึงแสดงอาการผิดปรกติให้ปรากฏ ชื่อว่าไม่ประมาทในธรรมที่มีอยู่สำหรับโลก
ความมีสติรอบคอบเป็นคุณธรรมประดับผู้มีศีลให้ประพฤติดีงามยิ่งขึ้นเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณธรรมสิกขาบทที่ ๕
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ผู้ตั้งอยู่ใน กัลยาณธรรม ได้ชื่อว่า กลัยาณชน คือคนที่มีความประพฤติดีงาม น่านิยมยกย่องนับถือน่านิยมยกย่องนับถือ และควรถือเป็นแบบอย่างของคนทั้งปวง
 
 
view

ปฎิทิน

« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     

สถิติ

เปิดเว็บ04/11/2008
อัพเดท20/03/2024
ผู้เข้าชม1,508,441
เปิดเพจ2,069,517

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

 หน้าแรก

 กรรมการบริหารวัด

 บทความ

 ภาพกิจกรรม

 ร่วมบริจาคทำบุญ

 เว็บบอร์ด

 การเดินทาง

 ติดต่อเรา

view