ยังรอเนื้อหาอยู่ครับ
แต่มีข้อสอบตัวอย่างให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำข้อสอบ
ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
๑. ผู้มีความรอบคอบ ทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะมีธรรมอะไร ?
ก. ธรรมมีอุปการะมาก ข. ธรรมเป็นโลกบาล
ค. ธรรมอันทำให้งาม ง. ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
๒. “มียศอย่าประมาท มีอำนาจอย่ามัวเมา” สอนให้มีธรรมอะไร ?
ก. ขันติ ข. สติ
ค. โสรัจจะ ง. สัมปชัญญะ
๓. การก่อการร้ายเป็นเหตุให้โลกเดือดร้อน เพราะขาดคุณธรรมใด ?
ก. สติ-สัมปชัญญะ ข. หิริ-โอตตัปปะ
ค. ขันติ-โสรัจจะ ง. ฉันทะ-วิริยะ
๔. คนมีโอตตัปปะ ย่อมเกิดความรู้สึกอย่างไร ?
ก. กลัวจะถูกลงโทษ ข. กลัวเสียชื่อ
ค. กลัวตกนรก ง. ถูกทุกข้อ
๕. “ใครแช่ง ใครด่า ใครว่า เราเหมือนภูเขาถูกไข่ไม่ไหวหวั่น” สอนให้มีธรรมอะไร ?
ก. ขันติ ข. สติ
ค. หิริ ง. สัมปชัญญะ
๖. ความงามในข้อใด นับว่าสำคัญที่สุด ?
ก. งามเสื้อผ้าอาภรณ์ ข. งามรูปร่างหน้าตา
ค. งามกิริยามารยาท ง. งามคุณธรรม
๗. “ยามตายจะได้ฝากผี ยามดีจะได้ฝากท้อง ยามขัดข้องจะได้ช่วยแก้ไข” เป็นความหวังของใคร ?
ก. บิดามารดา ข. ครูอาจารย์
ค. บุตรธิดา ง. มิตรสหาย
๘. ความรักของบิดามารดา ตรงกับข้อใด ?
ก. รักแบบบูชา ข. รักแบบเสน่หา
ค. รักแบบเอ็นดู ง. รักยิ่งกว่าชีวิต
๙. สินค้าคุณภาพดีให้ดูยี่ห้อ จะดูคนดีให้ดูที่อะไร ?
ก. ทำบุญเป็นนิจ ข. ติดต่อสังคมดี
ค. ทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ง. สนองตอบแทนบุญคุณ
๑๐. ชาวพุทธพึงยึดถืออะไร เป็นที่พึ่งที่ระลึก ?
ก. พระไตรปิฎก ข. พระรัตนตรัย
ค. ไตรสิกขา ง. โอวาทปาฏิโมกข์
๑๑. คำว่า “รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว” เป็นคุณของข้อใด ?
ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์ ง. พระราชา
๑๒. พระพุทธเจ้าตรัสกะองคุลิมาลว่า “เราหยุดแล้ว ท่านสิยังไม่หยุด” หมายถึงหยุดอะไร ?
ก. หยุดทำบาป ข. หยุดฆ่าคน
ค. หยุดโกรธ ง. หยุดเดิน
๑๓. เมื่อเดินทางผิด คิดกลับเดินทางใหม่ สงเคราะห์เข้าในโอวาทใด ?
ก. ละชั่ว ข. ทำดี
ค. ทำจิตให้ผ่องใส ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
๑๔. การเขียนหนังสือหลอกลวงให้คนเข้าใจผิด จัดเป็นทุจริตข้อใด ?
ก. กายทุจริต ข. วจีทุจริต
ค. มโนทุจริต ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
๑๕. วาจาใด เป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและแตกสามัคคี ?
ก. พูดเท็จ ข. พูดส่อเสียด
ค. พูดคำหยาบ ง. พูดเพ้อเจ้อ
๑๖. คนมักโกรธ ขี้โมโห ฉุนเฉียว มีพฤติกรรมทางวาจาอย่างไร ?
ก. วาจาเท็จ ข. วาจาส่อเสียด
ค. วาจาหยาบ ง. วาจาเพ้อเจ้อ
๑๗. พฤติกรรมยกพวกตีกัน ฆ่าฟันจองเวรกัน มีอกุศลอะไรเป็นมูล ?
ก. โลภะ ข. โทสะ
ค. โมหะ ง. โทสะ และโมหะ
๑๘. ผู้ค้ายาเสพติด เพราะจิตประกอบด้วยอกุศลมูลใด ?
ก. โลภะ โทสะ ข. โลภะ โมหะ
ค. โทสะ โมหะ ง. ราคะ โทสะ
๑๙. “ยามอยู่ก็อุปัฏฐาก ล้มหายตายจากก็ช่วยทำศพให้” เป็นลักษณะของบุคคลใด ?
ก. กตัญญู ข. กตเวที
ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี
๒๐. “ทำดี พูดดี คิดดี” เป็นลักษณะของใคร ?
ก. สัตบุรุษ ข. พระภิกษุ
ค. บิดามารดา ง. ครูอาจารย์
๒๑. ความมีระเบียบวินัย เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุใด ?
ก. ทานมัย ข. สีลมัย
ค. ภาวนามัย ง. ข้อ ก. และข้อ ค. ถูก
๒๒. การฟังธรรมจัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุ ๓ ข้อใด ?
ก. ทานมัย ข. สีลมัย
ค. ภาวนามัย ง. ถูกทุกข้อ
๒๓.ความเจริญแห่งชีวิตจะสำเร็จได้ด้วยอาการอย่างไร ?
ก. เรียนเก่งจบชั้นสูงๆ ข. ประพฤติปฏิบัติดี
ค. เจริญภาวนา ง. เสริมดวงชะตา
๒๔. คำว่า “วาสนา” ในภาษิตว่า “มีวาสนาเป็นทุน มีบุญเป็นยา…ทำให้อายุยืน” หมายถึงอะไร ?
ก. อยู่ในประเทศอันสมควร ข. คบสัตบุรุษ
ค. ตั้งตนไว้ชอบ ง. การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน
๒๕. “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด” เป็นพฤติกรรมของคนเชื่อง่าย เพราะขาดธรรมอะไร ?
ก. คบสัตบุรุษ ข. ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ค. ตริตรองพิจารณาโดยแยบคาย ง. ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
๒๖. การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงข้อใด ?
ก. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ข. คบคนดี
ค. ทำบุญมากๆ ง. ละชั่วประพฤติดี
๒๗. ปฏิบัติซื่อ ถือเที่ยงตรง เช่นเปาบุ้นจิ้น เพราะยึดธรรมข้อใด ?
ก. เว้นทุจริต ๓ ข. เว้นอคติ ๔
ค. มีจักร ๔ ง. มีพรหมวิหาร ๔
๒๘. ชีวิตก้าวหน้า เพราะดำรงตนอย่างไร ?
ก. คบสัตบุรุษ ข. หยุดทำชั่ว
ค. วางตัวตามคำสอน ง. ถูกทุกข้อ
๒๙. คุณธรรมให้สำเร็จตามประสงค์ เรียกว่าอะไร ?
ก. วุฒิ ๔ ข. จักร ๔
ค. อธิษฐานธรรม ๔ ง. อิทธิบาท ๔
๓๐. ความจนในข้อใด ก่อทุกข์ให้ผู้อื่น ?
ก. จนเพราะไม่มี ข. จนเพราะไม่พอ
ค. จนเพราะแล้งน้ำใจ ง. จนเพราะขาดแคลนน้ำ
๓๑. ตัณหา เป็นตัวชักพาให้เกิดอะไรขึ้น ?
ก. ความรัก ข. ความสุข
ค. ความโกรธ ง. ความทุกข์
๓๒. มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ตรงกับอริยสัจ ๔ ข้อใด ?
ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
ค. นิโรธ ง. มรรค
๓๓. ธรรมในข้อใด ควรพิจารณาเนืองๆ ?
ก. หนีแก่ไม่ได้ หนีไข้ไม่พ้น
ข. ทุกคนต้องตาย ต้องห่างไกลของรัก
ค. ต้องยึดหลักกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ง. ถูกทุกข้อ
๓๔. “อยู่ให้เขารัก จากให้เขาคิดถึง” จัดเข้าในธรรมหมวดใด ?
ก. อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ข. คารวะ ๖
ค. สาราณิยธรรม ๖ ง. พรหมวิหาร ๔
๓๕. ความเคารพในการศึกษา ควรทำอย่างไร ?
ก. กราบไหว้ตำราเรียน ข. เชื่อตำราอย่างเด็ดเดี่ยว
ค. ปลูกอิทธิบาทในการศึกษา ง. ปลูกวุฒิธรรมในการศึกษา
๓๖. คุณสมบัติพิเศษของอริยทรัพย์คือข้อใด ?
ก. ทำให้ประพฤติดี ข. โจรลักไม่ได้ ยิ่งใช้ยิ่งมี
ค. ทำให้กลัวบาป ง. ทำให้เรียนเก่ง ดี มีสุข
๓๗. “จ่ายหมดจะลำบาก จ่ายมากจะยากนาน” ตรงกับข้อใด ?
ก. อัตถัญญุตา ข. อัตตัญญุตา
ค. มัตตัญญุตา ง. กาลัญญุตา
๓๘. “ช้าๆ ได้พร้า ๒ เล่มงาม” จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก. ธัมมัญญุตา ข. อัตถัญญุตา
ค. มัตตัญญุตา ง. กาลัญญุตา
๓๙. “มีลาภ เสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ ……” เรียกว่าอะไร ?
ก. โลกธรรม ข. สัปปุริสธรรม
ค. วุฒิธรรม ง. อิทธิบาทธรรม
๔๐. จากข้อ ๓๙ เมื่อธรรมนั้นเกิดขึ้นแล้ว ควรทำในใจอย่างไร ?
ก. ชื่นชมให้สมที่รอคอย ข. พิจารณาว่าไม่เที่ยง
ค. พิจารณาว่าเป็นทุกข์ ง. ไม่ยินดียินร้าย
๔๑. ทำอย่างไร จึงจะตั้งตัวได้ในสังคมปัจจุบันนี้ ?
ก. งดดื่มสุราเมรัย ข. งดเที่ยวกลางคืน
ค. คบกัลยาณมิตร ง. บำเพ็ญทิฏฐธัมมิกัตถะ
๔๒. ผู้ใดชื่อว่ามีอุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ?
ก. ขยันเรียน ขยันทำงาน ข. ขยันเก็บ ขยันใช้
ค. ขยันหา ขยันดูแล ง. ขยันพูด ขยันคิด
๔๓. เพื่อนที่ยอมร่วมหัวจมท้ายแม้ยามมีภัย จัดเป็นมิตรแท้ข้อใด ?
ก. มิตรมีอุปการะ ข. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค. มิตรแนะประโยชน์ ง. มิตรมีความรักใคร่
๔๔. ลักษณะของเพื่อนที่ชักชวนไปในทางฉิบหาย ตรงกับข้อใด ?
ก. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ข. ปากปราศรัยใจเชือดคอ
ค. มีเงินนับเป็นน้องมีทองนับเป็นพี่ ง. เช้าฮา เย็นเฮ ค่ำเซ ดึกสร่าง สว่างซ้ำ
๔๕. ผู้ปฏิบัติตามธรรมใด จึงจะสามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่นไว้ได้ ?
ก. พรหมวิหาร ข. ฆราวาสธรรม
ค. วุฒิธรรม ง. สังคหวัตถุ
๔๖. ฆราวาสต้องยึดธรรมข้อใด เป็นหลักปฏิบัติ ?
ก. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ข. สัทธา สีล จาคะ ปัญญา
ค. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ง. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๔๗. “อย่าเอาวัดทำวิก อย่าเอาโบสถ์ทำบ่อน” หมายความว่าอะไร ?
ก. อย่าเล่นการพนันในวัด ข. อย่าทำอนาจารในวัด
ค. อย่าดื่มสุราในวัด ง. อย่าทำอบายมุขในวัด
๔๘. การไม่ถือมงคลตื่นข่าว มีลักษณะเช่นไร ?
ก. เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ข. เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
ค. เชื่อกรรม เชื่อมงคล ง. ไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔๙. “นิยมยกย่อง ปกป้องเชิดชู ไม่เจ้าชู้นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ ให้เครื่องประดับ”คือหน้าที่ของใคร ?
ก. สามี ข. ภรรยา
ค. บ่าว ง. มิตร
๕๐. “กายเมตตา วาจาไมตรี ฤดีมุ่งมิตร ไม่ปิดทวาร ให้ทานเสมอ” เป็นคุณสมบัติของใคร ?
ก. มิตร ข. เจ้านาย
ค. กุลบุตร ง. สมณพราหมณ์
ก. ธรรมมีอุปการะมาก ข. ธรรมเป็นโลกบาล
ค. ธรรมอันทำให้งาม ง. ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
๒. “มียศอย่าประมาท มีอำนาจอย่ามัวเมา” สอนให้มีธรรมอะไร ?
ก. ขันติ ข. สติ
ค. โสรัจจะ ง. สัมปชัญญะ
๓. การก่อการร้ายเป็นเหตุให้โลกเดือดร้อน เพราะขาดคุณธรรมใด ?
ก. สติ-สัมปชัญญะ ข. หิริ-โอตตัปปะ
ค. ขันติ-โสรัจจะ ง. ฉันทะ-วิริยะ
๔. คนมีโอตตัปปะ ย่อมเกิดความรู้สึกอย่างไร ?
ก. กลัวจะถูกลงโทษ ข. กลัวเสียชื่อ
ค. กลัวตกนรก ง. ถูกทุกข้อ
๕. “ใครแช่ง ใครด่า ใครว่า เราเหมือนภูเขาถูกไข่ไม่ไหวหวั่น” สอนให้มีธรรมอะไร ?
ก. ขันติ ข. สติ
ค. หิริ ง. สัมปชัญญะ
๖. ความงามในข้อใด นับว่าสำคัญที่สุด ?
ก. งามเสื้อผ้าอาภรณ์ ข. งามรูปร่างหน้าตา
ค. งามกิริยามารยาท ง. งามคุณธรรม
๗. “ยามตายจะได้ฝากผี ยามดีจะได้ฝากท้อง ยามขัดข้องจะได้ช่วยแก้ไข” เป็นความหวังของใคร ?
ก. บิดามารดา ข. ครูอาจารย์
ค. บุตรธิดา ง. มิตรสหาย
๘. ความรักของบิดามารดา ตรงกับข้อใด ?
ก. รักแบบบูชา ข. รักแบบเสน่หา
ค. รักแบบเอ็นดู ง. รักยิ่งกว่าชีวิต
๙. สินค้าคุณภาพดีให้ดูยี่ห้อ จะดูคนดีให้ดูที่อะไร ?
ก. ทำบุญเป็นนิจ ข. ติดต่อสังคมดี
ค. ทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ง. สนองตอบแทนบุญคุณ
๑๐. ชาวพุทธพึงยึดถืออะไร เป็นที่พึ่งที่ระลึก ?
ก. พระไตรปิฎก ข. พระรัตนตรัย
ค. ไตรสิกขา ง. โอวาทปาฏิโมกข์
๑๑. คำว่า “รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว” เป็นคุณของข้อใด ?
ก. พระพุทธเจ้า ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์ ง. พระราชา
๑๒. พระพุทธเจ้าตรัสกะองคุลิมาลว่า “เราหยุดแล้ว ท่านสิยังไม่หยุด” หมายถึงหยุดอะไร ?
ก. หยุดทำบาป ข. หยุดฆ่าคน
ค. หยุดโกรธ ง. หยุดเดิน
๑๓. เมื่อเดินทางผิด คิดกลับเดินทางใหม่ สงเคราะห์เข้าในโอวาทใด ?
ก. ละชั่ว ข. ทำดี
ค. ทำจิตให้ผ่องใส ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
๑๔. การเขียนหนังสือหลอกลวงให้คนเข้าใจผิด จัดเป็นทุจริตข้อใด ?
ก. กายทุจริต ข. วจีทุจริต
ค. มโนทุจริต ง. ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก
๑๕. วาจาใด เป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและแตกสามัคคี ?
ก. พูดเท็จ ข. พูดส่อเสียด
ค. พูดคำหยาบ ง. พูดเพ้อเจ้อ
๑๖. คนมักโกรธ ขี้โมโห ฉุนเฉียว มีพฤติกรรมทางวาจาอย่างไร ?
ก. วาจาเท็จ ข. วาจาส่อเสียด
ค. วาจาหยาบ ง. วาจาเพ้อเจ้อ
๑๗. พฤติกรรมยกพวกตีกัน ฆ่าฟันจองเวรกัน มีอกุศลอะไรเป็นมูล ?
ก. โลภะ ข. โทสะ
ค. โมหะ ง. โทสะ และโมหะ
๑๘. ผู้ค้ายาเสพติด เพราะจิตประกอบด้วยอกุศลมูลใด ?
ก. โลภะ โทสะ ข. โลภะ โมหะ
ค. โทสะ โมหะ ง. ราคะ โทสะ
๑๙. “ยามอยู่ก็อุปัฏฐาก ล้มหายตายจากก็ช่วยทำศพให้” เป็นลักษณะของบุคคลใด ?
ก. กตัญญู ข. กตเวที
ค. กตัญญูกตเวที ง. บุพพการี
๒๐. “ทำดี พูดดี คิดดี” เป็นลักษณะของใคร ?
ก. สัตบุรุษ ข. พระภิกษุ
ค. บิดามารดา ง. ครูอาจารย์
๒๑. ความมีระเบียบวินัย เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม จัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุใด ?
ก. ทานมัย ข. สีลมัย
ค. ภาวนามัย ง. ข้อ ก. และข้อ ค. ถูก
๒๒. การฟังธรรมจัดเข้าในบุญกิริยาวัตถุ ๓ ข้อใด ?
ก. ทานมัย ข. สีลมัย
ค. ภาวนามัย ง. ถูกทุกข้อ
๒๓.ความเจริญแห่งชีวิตจะสำเร็จได้ด้วยอาการอย่างไร ?
ก. เรียนเก่งจบชั้นสูงๆ ข. ประพฤติปฏิบัติดี
ค. เจริญภาวนา ง. เสริมดวงชะตา
๒๔. คำว่า “วาสนา” ในภาษิตว่า “มีวาสนาเป็นทุน มีบุญเป็นยา…ทำให้อายุยืน” หมายถึงอะไร ?
ก. อยู่ในประเทศอันสมควร ข. คบสัตบุรุษ
ค. ตั้งตนไว้ชอบ ง. การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน
๒๕. “ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอาไปกระเดียด” เป็นพฤติกรรมของคนเชื่อง่าย เพราะขาดธรรมอะไร ?
ก. คบสัตบุรุษ ข. ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ค. ตริตรองพิจารณาโดยแยบคาย ง. ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
๒๖. การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงข้อใด ?
ก. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ข. คบคนดี
ค. ทำบุญมากๆ ง. ละชั่วประพฤติดี
๒๗. ปฏิบัติซื่อ ถือเที่ยงตรง เช่นเปาบุ้นจิ้น เพราะยึดธรรมข้อใด ?
ก. เว้นทุจริต ๓ ข. เว้นอคติ ๔
ค. มีจักร ๔ ง. มีพรหมวิหาร ๔
๒๘. ชีวิตก้าวหน้า เพราะดำรงตนอย่างไร ?
ก. คบสัตบุรุษ ข. หยุดทำชั่ว
ค. วางตัวตามคำสอน ง. ถูกทุกข้อ
๒๙. คุณธรรมให้สำเร็จตามประสงค์ เรียกว่าอะไร ?
ก. วุฒิ ๔ ข. จักร ๔
ค. อธิษฐานธรรม ๔ ง. อิทธิบาท ๔
๓๐. ความจนในข้อใด ก่อทุกข์ให้ผู้อื่น ?
ก. จนเพราะไม่มี ข. จนเพราะไม่พอ
ค. จนเพราะแล้งน้ำใจ ง. จนเพราะขาดแคลนน้ำ
๓๑. ตัณหา เป็นตัวชักพาให้เกิดอะไรขึ้น ?
ก. ความรัก ข. ความสุข
ค. ความโกรธ ง. ความทุกข์
๓๒. มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ตรงกับอริยสัจ ๔ ข้อใด ?
ก. ทุกข์ ข. สมุทัย
ค. นิโรธ ง. มรรค
๓๓. ธรรมในข้อใด ควรพิจารณาเนืองๆ ?
ก. หนีแก่ไม่ได้ หนีไข้ไม่พ้น
ข. ทุกคนต้องตาย ต้องห่างไกลของรัก
ค. ต้องยึดหลักกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ง. ถูกทุกข้อ
๓๔. “อยู่ให้เขารัก จากให้เขาคิดถึง” จัดเข้าในธรรมหมวดใด ?
ก. อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ข. คารวะ ๖
ค. สาราณิยธรรม ๖ ง. พรหมวิหาร ๔
๓๕. ความเคารพในการศึกษา ควรทำอย่างไร ?
ก. กราบไหว้ตำราเรียน ข. เชื่อตำราอย่างเด็ดเดี่ยว
ค. ปลูกอิทธิบาทในการศึกษา ง. ปลูกวุฒิธรรมในการศึกษา
๓๖. คุณสมบัติพิเศษของอริยทรัพย์คือข้อใด ?
ก. ทำให้ประพฤติดี ข. โจรลักไม่ได้ ยิ่งใช้ยิ่งมี
ค. ทำให้กลัวบาป ง. ทำให้เรียนเก่ง ดี มีสุข
๓๗. “จ่ายหมดจะลำบาก จ่ายมากจะยากนาน” ตรงกับข้อใด ?
ก. อัตถัญญุตา ข. อัตตัญญุตา
ค. มัตตัญญุตา ง. กาลัญญุตา
๓๘. “ช้าๆ ได้พร้า ๒ เล่มงาม” จัดเข้าในสัปปุริสธรรมข้อใด ?
ก. ธัมมัญญุตา ข. อัตถัญญุตา
ค. มัตตัญญุตา ง. กาลัญญุตา
๓๙. “มีลาภ เสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ ……” เรียกว่าอะไร ?
ก. โลกธรรม ข. สัปปุริสธรรม
ค. วุฒิธรรม ง. อิทธิบาทธรรม
๔๐. จากข้อ ๓๙ เมื่อธรรมนั้นเกิดขึ้นแล้ว ควรทำในใจอย่างไร ?
ก. ชื่นชมให้สมที่รอคอย ข. พิจารณาว่าไม่เที่ยง
ค. พิจารณาว่าเป็นทุกข์ ง. ไม่ยินดียินร้าย
๔๑. ทำอย่างไร จึงจะตั้งตัวได้ในสังคมปัจจุบันนี้ ?
ก. งดดื่มสุราเมรัย ข. งดเที่ยวกลางคืน
ค. คบกัลยาณมิตร ง. บำเพ็ญทิฏฐธัมมิกัตถะ
๔๒. ผู้ใดชื่อว่ามีอุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ?
ก. ขยันเรียน ขยันทำงาน ข. ขยันเก็บ ขยันใช้
ค. ขยันหา ขยันดูแล ง. ขยันพูด ขยันคิด
๔๓. เพื่อนที่ยอมร่วมหัวจมท้ายแม้ยามมีภัย จัดเป็นมิตรแท้ข้อใด ?
ก. มิตรมีอุปการะ ข. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค. มิตรแนะประโยชน์ ง. มิตรมีความรักใคร่
๔๔. ลักษณะของเพื่อนที่ชักชวนไปในทางฉิบหาย ตรงกับข้อใด ?
ก. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ข. ปากปราศรัยใจเชือดคอ
ค. มีเงินนับเป็นน้องมีทองนับเป็นพี่ ง. เช้าฮา เย็นเฮ ค่ำเซ ดึกสร่าง สว่างซ้ำ
๔๕. ผู้ปฏิบัติตามธรรมใด จึงจะสามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่นไว้ได้ ?
ก. พรหมวิหาร ข. ฆราวาสธรรม
ค. วุฒิธรรม ง. สังคหวัตถุ
๔๖. ฆราวาสต้องยึดธรรมข้อใด เป็นหลักปฏิบัติ ?
ก. สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ข. สัทธา สีล จาคะ ปัญญา
ค. ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ง. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๔๗. “อย่าเอาวัดทำวิก อย่าเอาโบสถ์ทำบ่อน” หมายความว่าอะไร ?
ก. อย่าเล่นการพนันในวัด ข. อย่าทำอนาจารในวัด
ค. อย่าดื่มสุราในวัด ง. อย่าทำอบายมุขในวัด
๔๘. การไม่ถือมงคลตื่นข่าว มีลักษณะเช่นไร ?
ก. เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ข. เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
ค. เชื่อกรรม เชื่อมงคล ง. ไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔๙. “นิยมยกย่อง ปกป้องเชิดชู ไม่เจ้าชู้นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ ให้เครื่องประดับ”คือหน้าที่ของใคร ?
ก. สามี ข. ภรรยา
ค. บ่าว ง. มิตร
๕๐. “กายเมตตา วาจาไมตรี ฤดีมุ่งมิตร ไม่ปิดทวาร ให้ทานเสมอ” เป็นคุณสมบัติของใคร ?
ก. มิตร ข. เจ้านาย
ค. กุลบุตร ง. สมณพราหมณ์
เฉลยข้อสอบ
1
|
ก
|
11
|
ข
|
21
|
ข
|
31
|
ง
|
41
|
ง
|
2
|
ข
|
12
|
ก
|
22
|
ค
|
32
|
ง
|
42
|
ก
|
3
|
ข
|
13
|
ง
|
23
|
ข
|
33
|
ง
|
43
|
ข
|
4
|
ง
|
14
|
ข
|
24
|
ง
|
34
|
ค
|
44
|
ง
|
5
|
ก
|
15
|
ข
|
25
|
ค
|
35
|
ค
|
45
|
ง
|
6
|
ง
|
16
|
ค
|
26
|
ง
|
36
|
ข
|
46
|
ก
|
7
|
ก
|
17
|
ง
|
27
|
ข
|
37
|
ค
|
47
|
ง
|
8
|
ค
|
18
|
ข
|
28
|
ง
|
38
|
ง
|
48
|
ก
|
9
|
ง
|
19
|
ค
|
29
|
ง
|
39
|
ก
|
49
|
ก
|
10
|
ข
|
20
|
ก
|
30
|
ข
|
40
|
ง
|
50
|
ค
|